การจัดการความรู้ KM


  1. โรงพยาบาลศิริราช

โรงพยาบาลศิริราชมีการจัดบริหารจัดการ  การจัดประชุมมีการแลกเปลี่ยนความรู้   มีการประเมินและมีการวิเคราะห์องค์กรยู่เสมอ  มีการสนับสนุนต่อเนื่องจากผู้บริหารทุกระดับ  และการสร้างชุมชนแห่งการปฏิบัติ  บุคลากรมีการเรียนรู้และพัฒนาตน เมื่อองค์กรมีความรู้และตระหนักถึงความสำคัญของการจัดการความรู้  จึงทำให้องค์กรประสบความสำเร็จ

2. บริษัท สแปนชั่น (ไทยแลนด์) จำกัด

บริษัท สแปนชั่น มีปรัชญาการบริหารงานมีแผนกลยุทธ์  เป้าหมาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจที่ชัดเจน  และมีการนำไปปฏิบัติจริง   มุ่งเน้นให้ความสำคัญกับพนักงาน ให้รางวัลยกย่อง เพราะบุคลากรเป็นทรัพย์ยากรที่สำคัญที่สุดขององค์กร  จึงทำให้พนักงานทุกคนมีความรักในองค์กรและให้ความร่วมมือ  อีกทั้งบริษัทยังมีการปรับปรุงกระบวนการผลิตและนวัตกรรมIT อยู่เสมอ  รวมทั้งเสริมสร้างพฤติกรรมการเรียนรู้  ความคิดที่ร้างสรรค์ นำไปสู่ความสำเร็จ

3. บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)

บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด  มีความเข้าใจในวัตถุประสงค์ การมีส่วนร่วมและความรู้สึกเป็นเจ้าของ มีกระบวนการทำงานการจัดเก็บรวบรวม สนับสนุนการทำงาน ภายในองค์กร  มีการจัดทำขั้นตอนการวางแผน การประชุม การเสนอความคิด โดยมีกลุ่มบุคคลที่เชี่ยวชาญของการสร้างความรู้  มีสื่อในการเชื่อมต่อสื่อสารซึ่งกันและกัน  มีการส่งเสริมและให้รางวัลแก่พนักงาน  ทำให้ทรูประสบความสำเร็จในการจัดทำ KM

4. สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ

สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติมีความมุ่งมั่นของผู้บริหารเป็นปัจจัยสำคัญประการแรกคือความมุ่งมั่นของผู้บริหารให้การสนับสนุนและสร้างแรงบันดาลใจให้กับพนักงานทำให้เป็นจุดเริ่มต้นในการยอมรับให้เปลี่ยนแปลงความรู้ได้  และมีทีมงานที่มีความรู้และทักษะศาสตร์แขนงใหม่ๆ  มีแผนกลยุทธ์สามารถบูรณาการใช้ได้จริง   มีการปรับปรุงตลอดเวลาการกำหนดให้มีพฤติกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้(Knowledge sharing) เป็นส่วนหนึ่งของ Competency ของพนักงานทุกระดับ  ทำให้สามารถพัฒนาได้อย่างต่อเนื่อง

               

สรุปทั้ง      เราสามารถนำกลยุทธ์เหล่านี้มาประยุกต์ใช้ในสถานศึกษาได้  ดังนี้

  1. จัดทำแผนและกลยุทธ์มาพัฒนาใช้  โดยมีกลยุทธ์  เป้าหมาย วิสัยทัศน์ และพันธกิจที่ชัดเจน  สามารถนำไปปฏิบัติจริง 
  2.  มีการเรียนรู้และพัฒนาของบุคลากรทุกคนที่อยู่ในองค์กร  กำหนดให้มีพฤติกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้(Knowledge sharing)    รวมทั้งเสริมสร้างพฤติกรรมการเรียนรู้  เพื่อเกิดความคิดที่ร้างสรรค์
  3. สร้างขวัญกำลังใจให้บุคลากร  โดยการยกย่อง ชมเชย ให้รางวัล
  4. มีการประเมินผล  และแก้ไขปรับปรุงจุดบกพร่อง

 

 

หมายเลขบันทึก: 379627เขียนเมื่อ 29 กรกฎาคม 2010 22:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มีนาคม 2012 08:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท