ผมก็รู้... AI ก็แค่ 4-D ผมก็ท่องไ้ด้..#$@^*())__++(**# .


Appreciative Inquiry

มีกัลยาณมิตรด้านวิชาการผู้หวังดี บอกว่า..."ผมรู้อยู่แล้วว่า AI ไม่มีอะไร.. ก็แค่ 4-D ผมก็ท่องได้ Discovery Dream Design Destiny ไง..#$@^*())__++(**#

ถ้าพูดอย่างนี้ก็ถูกครับ..แต่ถูกเพียงส่วนหนึ่ง...

 

มอง AI อย้่างนี้ เหมือนมันเป็นเครื่องมือช่างครับ...ประมาณว่าเป็นเครื่องมือแกะสลัก..ก็แล้วกัน..

 

ในความเป็นจริงการที่เรามีเครื่องมือแกะสลัก..ไม่ทำให้ใครเป็นช่างได้ หรือแม้กระทั่งแกะสลักเป็นครับ..ไม่ต้องพูดถึงว่าจะไปเป็นช่างเอก แกะสลักประสาท ราชวังอะไร..เลย..เป็นครูอาจยังไม่ได้...

......................................................................................

จริงๆ ไอ้ 4-D นี่เป็นเครื่องมือ หรือขั้นตอน ที่ช่วยให้เราคิดเป็นระบบ เท่านั้น ครับ...

ผมอยากให้เรากลับมาหาพื้นฐานเดิมของ AI คือ สมมติฐานตั้งต้นครับ คือ.." ในทุกระบบ ทุกคน มีอะไรที่ดีซ่อนเร้นอยู่ สิ่งดีๆเหล่านั้นทำให้ระบบเดินไปได้อย่างมีประสิทธิผลสูงสุด" ครับ...จริงๆ นี่คือหัวใจของ AI ครับ

........................................................

แม้กระทั่งการทำ 4-D ก็มีอะไรซ่อนเร้นอยู่ ถ้าหาเจออาจทำให้การทำ 4-D ของเราในบางครั้งไปได้ไกล...

........

ผมรู้ตั้งแต่วันแรกที่ผมทำ AI ครั้งแรกเมื่อปี 2546 ทำตามตำราเด๊ะ แปลคำต่อคำ..

ไม่ออกครับ...

ในที่สุดก็พัฒนาเป็นคำถามสั้นๆ ถามจุดเปลี่ยนของเหตุการณ์เอา ไม่เข้าใจก็ ซักเอา จนเข้าใจ...

......

ครับ..

ย้อนกลับไป ถ้าเราคิดว่าเครื่องมือแกะสลัก จะทำให้ใครเป็นช่างได้แกะสลักชั้นครูได้ นี่ ไม่ใช่ครับ...

ช่างแกะสลักก็ต้องค่อยๆพัฒนาฝีมือครับ..ต้องค่อยๆ พัฒนาวิธีการใช้เครื่องมือ ว่่า เครื่องมือแบบนี้จะแกะกับวัสดุแบบไหนได้ดี..

จินตนาการ ระดับของโครงการ ระหว่างประตูบานเดียว..กับประสาททั้งหลัง..ความกดดัน ระดับจินตานาการ...ระดับทักษะการบริหารโครงการ..ก็ต่างกัน..

ถ้าเป็นช่าง..จะรู้จักสังเกต..เรียนรู้จากครู..จากเพื่อน..จากตัวเอง.. เฉลียวและัฉลาด..รู้จักลองผิดลองถูก...กล้าลุย...รับผิดชอบ..ศาสนาพุทธเรียกว่าโยนิโสมนสิการครับ..

การทำอย่างนี้สมัยใหม่เรียกว่า KM หรือทำAAR

.....

ตามประสบการณ์ของผม เพียงแค่รู้ขั้นตอน 4-D นี่รับรองทำไม่ได้ "ดี"หรอกครับ..(จนถึงวัดผล Performance)..ผมหมายความว่า..ยังทำอะไรกับ AI ได้อีกมาก

เหมือนช่งแกะสลัก..ผู้ทำควร KM หรือทำ AAR เพื่อปรับปรุงทักษะการถาม โดยเฉพาะการถาม การสังเกตนะครับ...หมั่นทำ AI ค้นหาสิ่งที่ work ในแต่ละ D..หมั่นทดลองทำโครงการ ลองขยายผลมากๆ นะครับ...ถึงจะทำไปได้ไกลพอ สอนคนอื่นได้...ไม่งั่น AI ของคุณก็เหมือนเครื่องมือแกะสลักครับ..ไม่สามารถนำไปสร้างสรรค์อะไรให้เต็มศักยภาพของมันได้.. 

...

 คุณล่ะคิดอย่างไร

 

คำสำคัญ (Tags): #appreciative coaching#appreciative inquiry
หมายเลขบันทึก: 379182เขียนเมื่อ 28 กรกฎาคม 2010 12:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท