ศาสตราจารย์ เซน (แบบไทยๆ)


หัวข้อบทความว่า
ศาสตราจารย์ เซน ว่าสื่อทางประเทศตะวันตก เข้าใจเหตุรุนแรงและความไม่สงบในประเทศไม่ถูกต้อง

เขากล่าวว่า เมื่อคนที่รวยที่สุดของประเทศเป็นผู้ชักนำคนยากจนในเหตุการณ์ที่ผ่านมานั้น  มันต้องมีอะไรบางอย่างที่มากกว่าความขัดแย้ง

"คิดต่อ ซิครับ (ท่านแนะให้ท่านปัญญาชนลองตรึกคิด) ว่า คนรวยที่สุด ปลุกคนยากคนจน เข้ามา เพื่อความขัดแย้งเท่านั้นหรือ เขาต้องการอะไรที่ใหญ่กว่านั้นไหม อะไรที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ ....ว้าว..ว้าว.."

เมื่อถูกถามว่า ถูกต้องหรือไม่ถ้าใช้กำลังติดอาวุธ ในการสลายผู้ประท้วง ศาสตราจารย์เซนกล่าวว่า การนำกำลังทหารเข้าจัดการผู้ก่อจราจลวุ่นวายต้องทำในสถานะการณ์สมควรจริงๆ (ในอินเดีย เขากล่าวว่าบางครั้งมีความจำเป็นต้องใช้ทหารปราบผู้ก่อการจราจลที่ควบคุมไม่ได้แล้ว)

หน้าที่ทหารเกี่ยวกับกรณีนี้คือการคอยคุมภัยคุกคามจากภายนอก (คงอย่างที่เรามักว่า พอประเทศกำลังมีเรื่องวุ่นๆ ปรากฏว่ามีมือที่สามเข้ามา ต้องระวังหน้าระวังหลังในการรักษาความมั่นคงของประเทศ) และปราบการจราจลภายในประเทศ

ศาสตราจารย์เซนว่า เราไม่ควรจำกัดการมองความไม่ปลอดภัยและความรุนแรงที่เกิดขึ้นจากมุมเดียว เขาไม่เชื่อวิทยานิพนธ์ที่เขียนโดย Samuel Huntington ที่เขียนเรื่อง การต่อสู้กันระหว่างชนชาติที่เจริญต่างๆ (Clash of Civilisations) คือมองว่า โลกจะขัดแย้งกันจากสงครามศาสนาหรือขับสู้กันเนื่องจากความต่างในวัฒนธรรมที่ยึดถือ

แต่จะเกิดจากองค์ประกอบหลายๆอย่างเข้ามาร่วมกันในเวลาๆเดียวกันภายในมนุษยชาติหรือภายในกลุ่มพวกเดียวกันหลายๆกลุ่ม

เขาอ้างตัวอย่างที่เกิดในเขตหนึ่งในเยอรมัน เป็นเขตชุมชนที่ดีมากในการร่วมมือกันของชุมชนและการแบ่งปันความรับผิดชอบร่วมกัน แต่สิ่งที่เกิดขึ้นคือคนในชุมชนนี้ก็เขวี่ยงปาอิฐใส่ผู้อพยพ นั่นคือสิ่งที่เป็นสิ่งดีกับชุมชนอาจไม่ใช่สิ่งดีต่อบุคคลอื่นที่อยู่นอกชุมชน

(อันนี้ ทิ้งอีกหนึ่งประเด็นนะครับ ว่าเรามองอย่างไร....)

โลกมนุษย์เหมือนว่าจะเอนเอียงไปสู่การเกิดความรุนแรงและมีความมั่นคงปลอดภัยน้อยลง แม้ว่าเศรษฐกิจจะดีขึ้น

ศาสตราจารย์เซน กล่าวว่า แม้ว่าเศรษฐกิจที่ดีขึ้นจะลดความยากจนและเพิ่มโอกาส แต่ไม่มีหลักประกันว่ามนุษย์จะอยู่กันอย่างสงบสุข ตัวอย่างคือมีภัยคุกคามความมั่นคงใหม่เกี่ยวกับการก่อการร้ายและการแพร่กระจายตัวของภัยคุกคาม

(....ทำใจ และเตรียมรับมือภัยคุกคามได้ อย่างวางใจ)

อันสุดท้ายนี้ ฝากทุกท่านเพราะเป็นคำทิ้งท้ายที่ฝากไว้ได้สวยงามครับ
"We should not be surprised that not every good thing leads to another good thing," he said.

nationmultimedia.com/home/2010/07/21/politics/Sen-faults-western-media-coverage-of-unrest-30134219.html

------------------------------------
ผิดพลาดอย่างไรขออภัยครับ มืออยากแปลเป็นไทย
เสนอแนะเปลี่ยนสำนวนแปลได้ครับ

คำสำคัญ (Tags): #ศาสตราจารย์เซน
หมายเลขบันทึก: 378209เขียนเมื่อ 23 กรกฎาคม 2010 21:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 15:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขออภัย ตกส่วนแรกไปครับที่เป็นเรื่องสำคัญของเรื่อง

คือ ท่านกล่าวตำหนิ และไม่เห็นด้วยกับสื่อทางตะวัน (ทั้งบีบีซี ซีเอ็นเอ็น และ นิวยอร์กไทมส์) ที่รายงานออกมาว่า ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นเป็น สงครามระหว่างชนชั้นคนรวยกับคนจน

(ย้อนกลับไปส่วนท้ายของบทความ ท่านว่าอย่ามองอะไรจากมุมเดียว)

สิ่งที่สื่อตะวันตกเหล่านั้นรายงานนั้น คืออะไรที่พูดที่เปลือกนอก (ชุ่ยๆว่างั้นเหอะ) คือ มองเรื่องตื้นๆ oversimplification แล้วพอรายงานให้ชาวโลกรู้เรื่อง มันก็ไม่มีประโยชน์อะไร

ท่านไม่พยายามที่จะอธิบายสาเหตุ (ท่านว่าไม่ได้เข้าใจประเทศถึงระดับที่จะอธิบายได้) แต่ทิ้งข้อคิดว่า "คนที่รวยที่สุดแล้วมานำคนจนนั้น เพื่อแค่เรื่องของความขัดแย้ง หรือ"

เขากล่าวว่า เมื่อคนที่รวยที่สุดของประเทศเป็นผู้ชักนำคนยากจนในเหตุการณ์ที่ผ่านมานั้น  มันต้องมีอะไรบางอย่างที่มากกว่าความขัดแย้ง

"คิดต่อ ซิครับ (ท่านแนะให้ท่านปัญญาชนลองตรึกคิด) ว่า คนรวยที่สุด ปลุกคนยากคนจน เข้ามา เพื่อความขัดแย้งเท่านั้นหรือ เขาต้องการอะไรที่ใหญ่กว่านั้นไหม อะไรที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ ....ว้าว..ว้าว.."

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท