อันตรายจากการใช้โทรศัพท์มือถือ


มือถือ อันตรายขนาดนี้เชียว

    เพียง ไม่กี่ปีที่โทรศัพท์เคลื่อนที่เข้ามามีบทบาทกับชีวิตคนไทย ก็ได้รับความนิยมอย่างมากมาย สร้างยอดขายถล่มทะลายจนทำเอานักธุรกิจน้อยใหญ่ร่ำรวยไปตามๆ กัน แรกๆ ก็เป็นเพียงเครื่องอำนวยความสะดวกด้านการสื่อสาร แต่ปัจจุบันเป็นมากยิ่งกว่าเครื่องมือสื่อสารไปเสียแล้ว เพราะโทรศัพท์มือถือกลายเป็นเครื่องประดับชนิดหนึ่งของผู้นิยมความไฮเทค กลายเป็นเครื่องคิดเลข นาฬิกา วิทยุ กล้องถ่ายรูป เกม แม้แต่โทรทัศน์ และอินเตอร์เน็ต จนกลายเป็นแฟชั่นมือถือที่ใครซื้อรุ่นล่าสุด แพงสุดๆ มาครอบครองได้ ถึงจะเป็นจุดเด่นในกลุ่มเพื่อนฝูงและสังคม โทรศัพท์มือถือในปัจจุบันจึงเป็นความจำเป็นในชีวิตที่ไม่ใช่แค่เพียงใช้ เพื่อการสื่อสารเท่านั้น แต่ใช้อวดความอินเทรนของผู้ใช้ได้อีกต่างหากเมื่อมีการใช้โทรศัพท์กันมาก ขึ้นหลายคนก็เริ่มสงสัยว่า คลื่นโทรศัพท์ที่ใช้กันเกลื่อนกลาดนี้มีผลดีผลเสียต่อสุขภาพของเราอย่างไร ข่าวคราวอันตรายจากการใช้มือถือก็เริ่มมีเข้ามาให้ได้ยินกันบ่อยขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของอาการปวดศีรษะเมื่อใช้โทรศัพท์นานๆ อาการร้อนหู ขาดสมาธิ อ่อนเพลีย บางคนบอกว่า ความจำไม่ดีเลยหลังจากใช้โทรศัพท์มือถือ ผลที่ผู้ใช้มือถือกังวลที่สุดก็เห็นจะเป็นเรื่องของมะเร็งในสมอง ในต่างประเทศบริษัทยักษ์ใหญ่เคยถูกผู้ป่วยมะเร็งในสมองฟ้องร้องเรียกค่าเสีย หายโดยกล่าวหาว่า เขาเป็นมะเร็งในสมองจากการใช้โทรศัพท์ แบบนี้ก็มีให้เห็นกันมาแล้ว แม้ว่าจะแพ้คดีเพราะไม่มีข้อพิสูจน์ที่ชัดเจน แต่ผู้ใช้หลายคนก็ยังคลางแคลงใจว่ามันจะส่งผลระยะยาวได้หรือไม่ เพราะโรคมะเร็งมักจะส่งผลร้ายในระยะยาวจึงเกิดอาการ
    ผลการวิจัยของนักวิจัยชาสวีเดน ชื่อ เจล แฮนส์สัน ที่วิจัยถึงผลกระทบของโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่มีต่อชาวสวีเดน และชาวนอร์เวย์จำนวน 1,100 คน พบว่า ถ้าใช้วันละ 15-20 นาทีก่อให้เกิดความเมื่อยล้าได้ มากกว่าผู้ที่ไม่ใช้ หรือใช้น้อยกว่า 2 นาที และถ้าใช้เกิน 60 นาที มีจำนวนผู้ที่รู้สึกเมื่อยล้าเพิ่มขึ้นถึง 4.1 เท่า และผู้ที่ใช้โทรศัพท์นาน 15-60 นาทีต่อวันมีอาการปวดศีรษะมากขึ้นเป็น 2.7 เท่า และเพิ่มเป็น 6.3 เท่าเมื่อใช้นานเกิน 60 นาทีต่อวัน มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด วิเคราะห์สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนพบว่า สาเหตุของอุบัติเหตุบนท้องถนนเนื่องมากจากผู้ขับขี่ใช้โทรศัพท์มือถือขณะขับ รถเพิ่มสูงขึ้นถึงปีละ 2,600 รายเมื่อเทียบกับสองปีที่ผ่านมา มีผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นจากสาเหตุนี้ถึง 1.5 เท่า ความเสียหายที่เกิดขึ้นคำนวณเป็นเงินเสียหายมากถึง 1.5 ล้านดอลลาร์แม้การวิจัยที่ผ่านมายังไม่สามารถระบุได้ว่า การใช้โทรศัพท์จะส่งผลต่อการเป็นมะเร็งในสมอง แต่สิ่งหนึ่งที่น่าจะเป็นตัวสร้างความตระหนักให้พวกเราผู้ใช้ก็คือผลการ วิจัยที่พบว่า เนื้องอกในสมอง จะพบเนื้องอกในสมองซีกขวามากกว่าสมองซีกซ้าย ซึ่งผู้คนส่วนใหญ่ถนัดขวาและมักใช้โทรศัพท์มือถือแนบกับหูด้านขวา ไม่เชื่อคุณๆ ที่ถนัดขวาลองสังเกตตัวเองดูว่า ถ้าต้องโทรศัพท์แล้วจะใช้มือข้างไหนหยิบก่อนเป็นส่วนมาก อาการปวดหัว อ่อนเพลีย เนื้องอก มะเร็ง และอุบัติเหตุทางจราจร เป็นผลพวงของการโทรศัพท์ใช้มือถือที่มีต่อสุขภาพกาย อย่ามองข้ามความสำคัญของการใช้มือถือที่มีผลต่อสุขภาพจิต ท่านที่เคยนั่งในห้องประชุมที่เงียบและต้องการสมาธิในการฟัง แล้วจู่ๆ มีเสียงโทรศัพท์ดังขึ้น ทำเอาเราสะดุ้งและเสียสมาธิได้ แม้ในโรงหนังที่กำลังสนุก แต่กลับมีเสียงโทรศัพท์ดังขึ้น ก็ทำลายอารมณ์การดูหนังได้ไม่น้อย นั่นคือผลกระทบด้านจิตใจ แม้ไม่มีผลการวิจัยที่ชี้ชัดถึงมหัตภัยร้ายแรงของคลื่นโทรศัพท์มือถือ แต่เราก็ไม่ควรละเลยที่จะระมัดระวัง เพราะงานวิจัยที่ได้ผลชัดเจนมักต้องใช้เวลาในการเก็บข้อมูลนานพอสมควร กว่าข้อมูลยืนยันจะออกมาเราอาจจะกลายเป็นหนึ่งในสถิติข้อมูลโรคที่เกิดจาก มือถือก็ได้ คงไม่มีใครอยากให้ตัวเองเป็นหนึ่งในสถิติผู้เป็นโรคเกี่ยวกับการใช้โทรศัพท์ มือถือ ดังนั้นจึงควรระมัดระวัง อย่าใช้โทรศัพท์มือถือนานเกินไป แต่ละครั้งไม่ควรเกิน 15 นาที เพราะถ้าเกิน 15 นาทีก็สามารถทำให้ท่านร้อนหู อ่อนเพลีย และถ้าใช้มากถึง 60 นาทีต่อวัน ก็อาจเกิดอาการปวดศีรษะได้ ถ้าคุณเป็นคนที่ใช้โทรศัพท์มือถือเป็นประจำการใช้ Hand Free หรือ small talk จะช่วยลดความเสี่ยงที่เกิดจากคลื่นโทรศัพท์ลงไปได้บ้าง ยิ่งขณะขับรถด้วยแล้วการใช้ Hand Free หรือ small talk จะช่วยลดอุบัติเหตุได้สูงมากสิ่งต่างๆ ในโลกล้วนมีทั้งคุณและโทษ โทรศัพท์มือถือเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ต่อชีวิตผู้คนในปัจจุบันเป็นอย่างยิ่ง หากขาดโทรศัพท์มือถือในสังคมวันนี้ สังคมไทยคงปั่นป่วนไม่น้อย แต่หากผู้ใช้ไม่ตระหนักถึงอันตราย และใช้อย่างไม่มีความพอดี ก็อาจทำให้ชีวิตของท่านปั่นป่วนได้ การใช้โทรศัพท์มือถืออย่างฉลาดใช้จะช่วยให้ท่านห่างไกลหมอได้

คำสำคัญ (Tags): #มือถือ#โทรศัพท์
หมายเลขบันทึก: 378160เขียนเมื่อ 23 กรกฎาคม 2010 17:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 09:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท