GAJIAB (WARAPORN)
นางสาว วราภรณ์ เจี๊ยบ เปียขุนทด

วิจัยเชิงประเมินผล ( Evaluation Research )


วิจัยเชิงประเมินผล ( Evaluation Research )

วิจัยเชิงประเมินผล ( Evaluation Research )

การวิจัยเชิงประเมินผล ( Evaluation Research ) เป็นรูปแบบการวิจัยชนิดหนึ่ง เหมือนการวิจัยเชิงสำรวจ แต่การวิจัยเชิงประเมินผล เป็นวิธีการวิจัยที่มุ่งหาความรู้+ความจริงมาหาคุณค่า ของสิ่งที่วิจัยนั้นเพื่อให้ผู้บริหารคิดสนใจว่าความยุติโครงการหรือให้ดำเนินการต่อไป

ในการวิจัยเชิงประเมินผลนั้น สามารถดำเนินการประเมินได้ใน 3 ระดับ

1. ก่อนการดำเนินงาน

2 . ระหว่างดำเนินงาน

3. สิ้นสุดโครงการ

กระบวนการและขั้นตอนการทำวิจัยเชิงประเมินผล

ขั้นที่ 1 เลือกโครงการและตั้งหัวข้อวิจัย

ขั้นที่ 2 ทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง

ขั้นที่ 3 กำหนดปัญหา เป้าหมายและวัตถุประสงค์ของการประเมิน

ขั้นที่ 4 ออกแบบวิจัย วางแผนวิจัยประเมิน

ขั้นที่ 5 เก็บรวบรวมข้อมูล

ขั้นที่ 6 วิเคราะห์ข้อมูลและแปรผล

ขั้นที่ 7 การเสนอรายงานวิจัยเชิงประเมินผล

การนำทฤษฎีมากำหนดกรอบแนวคิดในการวิจัยเชิงประเมินผล

ในการวิจัยเชิงประเมินโครงการนั้น ทฤษฎีที่นิยม นำมาใช้มากที่สุด คือทฤษฎี CIPP Model ของ Stufflebeanc หรือ CIPPO Model ของ นายธเนศ ต่วนชะเอม

C                             I                              P                             P                             O

C = Contexts บริบท ได้แก่ สภาพเศรษฐกิจ สังคม การเมือง สิ่งแวดล้อม ปัญหาของพื้นที่ ความต้องการและความพร้อมของประชาชน

I = Input คือ โครงการ นั้นคือ เมื่อประเมินบริบทว่ามีความพร้อมและต้องการแล้วจึงนำโครงการสู่ชุมชน แล้วจึงประเมินโครงการนั้นว่ามีความเป็นได้มากน้อยเพียงใด เป้าหมายเป็นอย่างไร

P= Process คือกระบวนการในการดำเนินงานตามโครงการที่กำหนดไว้ นั้นคือ นักวิจัยเชิงประเมินให้ทำการประเมินในหัวข้อต่อไปนี้ หลักการ/การวางแผน ,กิจกรรมและวิธีการขั้นตอนการดำเนินงาน, การร่วมมือ, วัสดุอุปกรณ์, งบประมาณ

P= Product คือผลผลิต เช่น จำนวนคน, เป้าหมายที่กำหนดไว้, ผลที่ได้รับ, มีนวัตกรรมใหม่ ๆ

O= Outcome คือ ผลลัพธ์ที่ตามมาจากโครงการนั้น เช่น ความสบายใจ, ความคุ้มค่า, การขยายเครือข่าย, ผลประโยชน์ที่ตามมาในภายหลัง ซึ่งอาจมีทั้งผลบวกและผลลบ

 

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการวิจัยเชิงประเมิน

การวิจัยเชิงประเมิน หรือบางคนเรียกว่าการวิจัยประเมินผล เป็นวิทยาการ (discipline) ทางสังคมศาสตร์สาขาใหม่ที่เพิ่งได้รับการพัฒนาขึ้นมายอ่างจริงจัง ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมานับตั้งแต่ที่ได้มีความพยายามในการประยุกต์เอาวิธีการเชิงระบบ(system approach) มาใช้ในการวางแผนทางสังคมของนักวางแผนรุ่นใหม่ เนื่องจากเป็นวิทยาการที่เกิดขึ้นมาใหม่ จึงทำให้การใช้คำยังไม่สอดคล้องกัน บางคนเรียกการวิจัยเชิงประเมิน (evaluative research) บางคนเรียกการวิจัยเชิงประเมินผล (evaluation research) และบางคนเรียกการประเมินแผนงาน (program evaluation)  แม้ว่าเราจะเรียกชื่อการวิจัยประเภทนี้แตกต่างกันไปก็ตาม แต่สาระสำคัญของโดยทั่วไปไม่แตกต่างกัน กล่าวคือ การวิจัยประเภทนี้เป็นกระบวนการเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลอย่างเป็นระบบ  เพื่อนำผลที่ได้ไปใช้เป็นพื้นฐานประกอบการตัดสินใจเกี่ยวกับแผนงานหรือโครงการทางสังคม  แต่ในบทความนี้ขอใช้คำว่า การวิจัยเชิงประเมิน

            บุคคลทั่วไปๆมักกล่าวว่า "การวางแผนที่ดีก็เท่ากับว่างานสำเร็จไปแล้วครึ่งหนึ่ง" แต่ในความเป็นจริงนั้นการวางแผนที่ดี แม้จะช่วยเพิ่มโอกาสในความสำเร็จก็ตาม แต่ก็ไม่ใช่เป็นหลักประกันความสำเร็จแต่อย่างใด ความสำเร็จหรือความล้มเหลวของโครงการต่าง ๆ ต้องผ่านกระบวนการต่างๆ อีกมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กระบวนการของการดำเนินงานและการประเมินผล  ถ้าจะกล่าวกันง่าย ๆ การวางแผนก็คือ "กาคิด" การดำเนินงานก็คือ "การทำ" แล้วการวิจัยเชิงประเมินก็คือการเปรียบเทียบระหว่างการคิดและการทำนั่นเอง กล่าวอีกนัยหนึ่ง การวิจัยเชิงประเมินเป็นการตอบคำถามที่ว่าผลการกระทำเกิดผลอย่างที่คิดหรือไม่ และเพราะเหตุใด ดังนั้นถ้าการวางแผนได้กระทำอย่างรอบคอบและรอบรู้ และการดำเนินงานได้กระทำอย่างจริงใจและต่อเนื่องแล้ว การประเมินผลก็ย่อมประสบกับอุปสรรคน้อยลง แต่ในโลกแห่งความเป็นจริงมักไม่ได้เป็นไปดั่งที่คาดหวัง  ดังมีคำที่กล่าวว่า "สิ่งที่แน่นอนที่สุดคือสิ่งที่ไม่แน่นอน" ในกรณีที่ความเป็นจริงที่เกิดขึ้นเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทำให้ต้องมีการวางแผนหลายครั้ง ทำให้การประเมินผลมีความซับซ้อนมากขึ้น ทำให้นักวิจัยประเมินผลไม่สามารถสรุปเกี่ยวกับความสำเร็จหรือความล้มเหลวได้โดยง่าย

ความหมายของการวิจัยเชิงประเมิน

มีผู้รู้หลายท่านได้ให้ความหมายของการวิจัยเชิงประเมินไว้ ซึ่งจะกล่าวไว้ดังต่อไปนี้

ริคเคน (Riecken,1952 อ้างในปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์, 2539: 8) ได้ให้นิยามของการวิจัยเชิงประเมินไว้ว่า การวิจัยเชิงประเมิน คือ การวัดทั้งที่พึงปรารถนา และไม่พึงปรารถนา อันสืบเนื่องมาจากการดำเนินงานที่กำลังกระทำอยู่  เพื่อที่มุ่งไปสู่เป้าประสงค์ที่ต้องการ

ไฮแมน (Hyman,1962 อ้างในปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์, 2539 : 9) ได้ในนิยามของการวิจัยเชิงประเมินไว้ว่า การวิจัยเชิงประเมิน คือ ขั้นตอนของการแสวงหาความเป็นจริงซึ่งเป็นผลจากการดำเนินงานทางสังคม  ที่ได้วางแผนไว้ล่วงหน้า

ซัซแมน (Suchman, 1967 : 31 อ้างในปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์, 2539 : 9) ได้ให้นิยามของการวิจัยเชิงประเมินไว้ว่า การวิจัยเชิงประเมิน คือ การศึกษาพิจารณา เกี่ยวกับผลลัพธ์ ซึ่งเกิดจากกิจกรรมบางประเภทที่มุ่งให้บรรลุถึงวัตถุประสงค์ หรือเป้าหมายที่ปรารถนา

อัลคิน (Alkin, 1972 : 107 อ้างในปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ , 2539 : 10) ได้ให้นิยามของการวิจัยเชิงประเมินไว้ว่า การวิจัยเชิงประเมิน คือ กระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ การเลือกสรรข้อมูลที่เหมาะสม รวมทั้งการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อรายงานสรุปผลในทางที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ตัดสินใจในการกำหนดทางเลือก

รอสซิและฟรีแมน (Rossi & Freeman , 1982 : 20 อ้างในปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์, 2539 : 11) ได้ให้นิยามของการวิจัยเชิงประเมินไว้ว่า การวิจัยเชิงประเมิน คือ การประยุกต์ใช้กระบวนการวิจัยทางสังคมศาสตร์อย่างเป็นระบบเพื่อประเมินกรอบความคิด  รูปแบบการวิจัยประเมินผล การดำเนินงานและประโยชน์ของแผนงานในการเข้าแทรกแซงทางสังคม กล่าวอีกนัยหนึ่ง การวิจัยเชิงประเมินเกี่ยวข้องกับการใช้ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์ เพื่อวินิจฉัยและปรับปรุงการวางแผน การติดตามผล ประสิทธิผลและประสิทธิภาพของแผนงานที่เกี่ยวกับสาธารณสุข การศึกษา สังคมสงเคราะห์ และงานบริการสาธารณะด้านอื่น ๆ

ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ (2526 : 10) ได้ให้นิยามของการวิจัยเชิงประเมินไว้ว่า การวิจัยเชิงประเมิน คือ การวิจัยประยุกต์ซึ่งนำระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์มาประยุกต์ใช้ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์เชิงสาเหตุและผลระหว่างสิ่งป้อนเข้าและสิ่งที่ส่งออก เพื่อศึกษาเปรียบเทียบระหว่างผลลัพธ์ที่พึงปรารถนากับวัตถุประสงค์และเป้าประสงค์ เพื่อศึกษาสังเกตรวบรวมผลลัพธ์ข้างเคียงที่ไม่คาดคิดไว้ล่วงหน้ารวมตลอดถึงเพื่อการติดตามควบคมการปฏิบัติต่าง ๆ ในขั้นดำเนินการให้เป็นไปตามแนวทางหรือแบบแผนที่ได้วางไว้ล่วงหน้า

สรุปได้ว่า การวิจัยเชิงประเมิน คือการนำระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมและพฤติกรรมศาสตร์มาประยุกต์ใช้ เพื่อศึกษาถึงผลลัพธ์และผลกระทบที่พึงปรารถนาและไม่พึงปรารถนากับวัตถุประสงค์ที่ได้วางไว้ เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินการวิจัยให้เป็นไปตามแบบแผนที่ได้วางไว้ล่วงหน้าและเป็นแนวทางในการตัดสินใจเกี่ยวกับโครงการและการปรับปรุงโครงการในอนาคต

เปรียบเทียบการวิจัยทางวิชาการกับการวิจัยเชิงประเมิน

การเปรียบเทียบความแตกต่างของการวิจัยทางวิชาการกับการวิจัยเชิงประเมิน พอจะสรุปประเด็นได้ 9 ประการ ดังนี้

1) จุดมุ่งหมายของการวิจัย การวิจัยเชิงประเมินเป็นการวิจัยประยุกต์เพื่อ

ทดสอบการนำองค์ความรู้ที่มีอยู่ในสาขาวิชาต่าง ๆ ไปใช้ประโยชน์ในทางปฏิบัติ การวิจัยเชิงประเมินจะมุ่งเน้นผลทางด้านการปฏิบัติมากกว่าทางด้านทฤษฎี แต่การวิจัยทางวิชาการแม้จะคำนึงถึงประโยชน์ในทางปฏิบัติอยู่บ้าง แต่จุดมุ่งหมายสำคัญก็เพื่อสร้างองค์ความรู้และทดสอบทฤษฎีที่กำลังศึกษามากกว่าการมุ่งใช้ผลการวิจัยเพื่อประโยชน์ในทางปฏิบัติโดยตรง

2) ขอบเขตของการวิจัย การวิจัยเชิงประเมินมีขอบเขตการวิจัยที่แคบและ/หรือ

เป็นรูปธรรมมีลักษณะจำกัดเกี่ยวกับเวลา สถานที่ ส่วนการวิจัยทางวิชาการมีขอบเขตการวิจัยที่กว้างขวางและ/หรือเป็นนามธรรม ที่กล่าวว่าการวิจัยทางวิชาการเป็นนามธรรมเนื่องจากไม่มีข้อจำกัดด้านเวลาและสถานที่ การวิจัยเชิงประเมินแม้จะมีประโยชน์อย่างมากในการบริหารและการปฏิบัติภายใต้นโยบาย/แผนงาน/โครงการ แต่มีข้อจำกัดว่าผลการวิจัยไม่สามารถสรุปไปสู่ประชากรหรือพื้นที่ที่ใหญ่กว่า ส่วนการวิจัยทางวิชาการสามารถนำผลการวิจัยไปสู่ประชากรหรือพื้นที่ที่ใหญ่กว่าโดยอาศัยรูปแบบการวิจัยสำรวจ

3) การกำหนดปัญหาการวิจัย ในการวิจัยทางวิชาการนักวิจัยเป็นผู้กำหนดปัญหา

การวิจัย ตั้งสมมติฐาน และวางแผนการวิจัยด้วยตนเอง ปัญหาการวิจัยที่ศึกษาส่วนใหญ่มักเป็นประเด็นที่ผู้วิจัยสนใจและมีความถนัดอยู่แล้วเป็นพื้นฐาน  นอกจากนี้นักวิจัยทางวิชาการยังมีอำนาจเต็มที่ในการตัดสินใจและดำเนินการวิจัยโดยอิสระภายใต้ข้อจำกัดของสภาพแวดล้อมทางการวิจัย  ส่วนการวิจัยเชิงประเมิน ปัญหาการวิจัยจะกำหนดโดยผู้อื่นที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย ปัญหาการวิจัยจึงไม่ใช่ปัญหาที่นักวิจัยกำหนดขึ้นโดยตรง แม้นักวิจัยเชิงประเมินจะมีอิสระในการคิดเกี่ยวกับการวางแผนการวิจัย แต่มักจะอยู่ภายในขอบเขตของความเห็นชอบของผู้อื่นที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย  ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อความเป็นกลางของนักวิจัยตลอดกระบวนการดำเนินการ

4) ลำดับของการกำหนดตัวแปร ไม่ว่าการวิจัยทางวิชาการหรือการวิจัยเชิง

ประเมินต่างก็ควรเริ่มต้นจากการศึกษาตัวแปรตาม หรือผลลัพธ์ หรือวัตถุประสงค์ที่พึงปรารถนาก่อนการกำหนดตัวแปรอิสระ นักวิจัยเชิงประเมินมักต้องประสานงานร่วมกับผู้ที่เกี่ยวข้องซึ่งส่วนมากจะกล่าวถึงกิจกรรมที่จะกระทำที่สนใจก่อนที่จะตอบคำถามว่า ทำไปเพื่ออะไร ในทางปฏิบัติมักสวนทางกับการวิจัยเชิงประเมิน ส่วนใหญ่ผู้ที่เกี่ยวข้องจะเริ่มต้นจากตัวแปรอิสระและสืบสาวไปสู่ตัวแปรตามหรือวัตถุประสงค์ ขณะที่การวิจัยทางวิชาการมักเริ่มต้นจากตัวแปรตามเป็นอันดับแรก และค้นคว้าหาตัวแปรอิสระที่น่าจะมีผลกระทบต่อตัวแปรตามเป็นอันดับรอง

5) การควบคุมตัวแปร ในการดำเนินการวิจัยทางวิชาการ การควบคุมตัวแปรถือ

เป็นกระบวนการที่มีความสำคัญมากต่อการสรุปผลตีความในสิ่งที่ค้นพบ  กล่าวคือ ถ้านักวิจัยสามารถควบคุมอิทธิพลของตัวแปรแทรกซ้อนได้มากขึ้นเพียงใด ก็จะยิ่งสร้างความมั่นใจได้มากขึ้นเท่านั้น ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระกับตัวแปรตามไม่ได้เกิดขึ้นจากตัวแปรแทรกซ้อน ที่นักวิจัยไม่ได้คาดคิดมาก่อน ส่วนในการดำเนินการวิจัยเชิงประเมิน นักวิจัยบางคนอาจขาดความสนใจต่อการควบคุมตัวแปรอื่นๆ ที่อาจจะมีผลกระทบระหว่างความสัมพันธ์ของตัวแปรอิสระกับตัวแปรตาม การควบคุมตัวแปรนับว่ามีความสำคัญมากต่อการวิจัยเชิงประเมิน โดยเฉพาะการวิจัยเชิงประเมินแบบดำเนินการหลังเสร็จสิ้นแผนงานโครงการ

6) เกณฑ์การตัดสินใจ การเปรียบเทียบระหว่าง "สิ่งที่เป็นจริง" กับ "สิ่งที่ควร

จะเป็น" นับได้ว่าเป็นขั้นตอนสำคัญขั้นตอนหนึ่งของการวิจัยเชิงประเมิน  การตัดสินใจโดยเปรียบเทียบผลลัพธ์และผลกระทบของนโยบาย/ แผนงาน /โครงการ กับเกณฑ์มาตรฐานที่ตั้งไว้ จัดเป็นหลักการพื้นฐานของวิชาการวิจัยประเมินผล การกำหนดวัตถุประสงค์จึงจำเป็นยิ่งต่อการวิจัยเชิงประเมิน แต่ในทางปฏิบัติมักพบว่า ความยากลำบากประการหนึ่งในการดำเนินงานวิจัยเชิงประเมิน ก็คือ การที่นโยบาย/แผนงาน/โครงการต่าง ๆ ส่วนมากขาดการกำหนดวัตถุประสงค์ตามหลักการของวิชาการวิจัยเชิงประเมิน

 

7) บทบาทขัดแย้ง ความขัดแย้งระหว่างนักบริหารนักปฏิบัติกับนักวิจัยเชิง

ประเมินมักไม่ใช่สิ่งผิดปกติในการวิจัยประเมินผล ทั้งนี้เพราะนักบริหารและนักปฏิบัติอาจมีความเชื่อพื้นฐานอยู่ก่อนว่านโยบาย/แผนงาน/โครงการ ที่ตนได้ลงทุนลงแรงไปนั้นน่าจะมีคุณค่า มีประสิทธิผลและประสิทธิภาพคุ้มค่าแก่การดำเนินงานโดยไม่จำเป็นต้องให้บุคคลอื่นมาตรวจสอบหรือประเมินผลอีกแต่อย่างใด การดำเนินงานวิจัยเชิงประเมินจึงมักถูกมองโดยนักบริหารและนักปฏิบัติบางคนด้วยความระแวงสงสัยว่านโยบาย/แผนงาน/โครงการอาจได้รับการวิเคราะห์วิจารณ์ไปในทิศทางที่อาจก่อนให้เกิดผลเสีย  ส่วนการวิจัยทางวิชาการมักไม่มีผลกระทบต่อบุคคลหรือองค์การโดยตรง  ปัญหาความขัดแย้งระหว่างนักบริหารและนักปฏิบัติจึงมักไม่ปรากฏขึ้น

8) การตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัย นักวิจัยทางวิชาการนิยมตีพิมพ์เผยแพร่ผลงาน

การวิจัยอย่างกว้างขวาง ทั้งในลักษณะของหนังสือ และ/หรือบทความส่วนการวิจัยเชิงประเมินส่วนมากมักไม่มีการตีพิมพ์เผยแพร่ เหตุผลประการหนึ่งอาจสืบเนื่องจากความประสงค์และความเชื่อของนักบริหารที่ถือว่า ข้อมูลและผลการประเมินเป็นการตอบคำถามที่นักบริหารต้องการทราบในลักษณะปกปิด จึงไม่นิยมที่จะเปิดผลต่อสาธารณชน เหตุผลอีกประการหนึ่งก็คือ  การวิจัยประเมินผลบางครั้งมีเวลาและทรัพยากรจำกัด ทำให้นักวิจัยเชิงประเมินย่อหย่อนต่อการวางแผนและการดำเนินงานวิจัยประเมินผลจนขาดความภาคภูมิใจในผลงานของตน

         9) ภาพพจน์ของนักวิจัย การวิจัยเชิงประเมินมักถูกมองไปในลักษณะที่อยู่ "หางแถว" ของการวิจัยทั้งหลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบกับการวิจัยทางวิชาการ นักวิจัยเชิงประเมินมักถูกวิจารณ์ว่าเปรียบเทียบเสมือน "ค้างคาว"  ในชุมชนนักวิชาการ ทั้งนี้เพราะตามทรรศนะของนักวิจัยทางวิชาการ นักวิจัยเชิงประเมินก็คือนักวิชาการผู้ลดตัวลงทำงานที่อาจก่อให้เกิดมลทินมัวหมองต่ออุดมการณ์ทางวิชาการและต่อแวดวงทางวิชาการ  นักวิจัยเชิงประเมินยังจะต้องมีทักษะและความชำนาญในการปรับใช้หลักการวิจัยเชิงประเมินผลให้เข้ากับสภาวะแวดล้อมที่เป็นจริง การวิจัยเชิงประเมินที่ขาดความยืดหยุ่นระหว่างทฤษฎีและปฏิบัติก็อาจทำให้ไม่สามารถกระจายผลไปอย่างกว้างขวางได้ เพราะอาจขัดต่อสภาพความเป็นจริง

จุดมุ่งหมายของการวิจัยเชิงประเมิน

หลักวิชาการวิจัยเชิงประเมินได้แพร่กระจายอย่างกว้างขวาง ความแพร่หลายของหลักการวิจัยเชิงประเมินไม่ได้ก่อให้เกิดเฉพาะการประยุกต์ใช้วิชาการแขนงนี้อย่างถูกต้องเท่านั้น แต่บ่อยครั้งที่มีการนำวิชาการแขนงนี้ไปใช้ในทางที่ผิดอีกด้วย บุคคลในหลายวงการและหลายระดับซึ่งมักเป็นกลุ่มที่รู้จักการวิจัยเชิงประเมินแต่เพียงผิวเผิน  เริ่มมองการวิจัยเชิงประเมินเสมือน "แก้วสารพัดนึก" การวิจัยเชิงประเมินเปรียบเสมือนเครื่องมือชนิดหนึ่งซึ่งผู้ใช้ต้องรู้จักประยุกต์ใช้ให้ถูกประเภท จึงจะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด วิชาการแขนงนี่จะไร้ประโยชน์ต่อการพัฒนาสังคม ถ้าบุคคลทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง  ไมว่าจะเป็นนักบริหาร นักปฏิบัติ หรือนักประเมินผลขาดความรู้ ความจริงจังและจริงใจที่จะมุ่งพัฒนาใช้เครื่องมือดังกล่าวอย่างถูกต้องเหมาะสม ฐานคตินี้นับได้ว่าเป็นหัวใจสำคัญของการประยุกต์ใช้หลักวิชาการวิจัยเชิงประเมินการประยุกต์วิชาการเชิงประเมินที่ถูกต้องเหมาะสมนั้น ย่อมก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการวินิจฉัยสั่งการในกรณีดังต่อไปนี้

1. เพื่อดำเนินงานต่อหรือเลิกดำเนินงานตามโครงการ

2. เพื่อปรับปรุงกระบวนการปฏิบัติในโครงการ

3. เพื่อเพิ่มหรือลดมาตรการและเทคนิคบางประเภทในโครงการ

4. เพื่อสร้างโครงการในลักษณะคล้ายคลึงกันในท้องที่อื่นๆ

5. เพื่อแบ่งทรัพยากรระหว่างโครงการที่ต่างแก่งแย่งแข่งขันกัน

6. เพื่อสนับสนุนหรือหักล้างกรอบทฤษฎีซึ่งเป็นรากฐานของโครงการ

มาวซันต์ (Moursund, 1973 : 9)  พิจารณาจุดมุ่งหมายของการวิจัยเชิงประเมินไว้เป็น 2 ประการคือ

1. เพื่อพิจารณาว่าการดำเนินงานบรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการหรือไม่

2. เพื่อพิจารณาว่าวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้เป็นเป้าหมายที่แท้จริง ซึ่งกำลังเป็น

จุดมุ่งหมายของการดำเนินงานใช่หรือไม่และถ้าใช่ วัตถุประสงค์เหล่านี้มีความเหมาะสมหรือไม่นักวิชาการวิจัยเชิงประเมินจำนวนมากต่างให้ทรรศนะคล้ายคลึงกันว่า การประยุกต์ใช้หลักวิชาการวิจัยเชิงประเมินอย่างถูกต้องจะสามารถช่วยให้นักบริหารผู้ที่จำเป็นต้องตัดสินใจได้รับข้อมูลเชิงประจักษ์เกี่ยวกับประโยชน์ของนโยบาย/แผนงาน/โครงการที่กำลังดำเนินอยู่  เกี่ยวกับการประเมินอัตราส่วนค่าใช้จ่ายกับผลลัพธ์รวมทั้งเกี่ยวกับประสิทธิผลสัมพัทธ์ของทางเลือกต่างๆในส่วนของนโยบาย/แผนงาน/ โครงการ นักวิชาการการวิจัยเชิงประเมินส่วนใหญ่ไม่ได้เล็งเห็นถึงผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นของการวิจัยเชิงประเมิน เพราะนักวิชาการการวิจัยเชิงประเมินต่างก็ตระหนักดีว่ารายงานการวิจัยเชิงประเมินเป็นเพียงองค์ประกอบหนึ่งที่จำเป็นต้องได้รับการพิจารณาจากนักบริหารก่อนการตัดสินใจจุดมุ่งหมายสำคัญของการวิจัยเชิงประเมินก็คือ การแสวงหาข้อมูลเพื่อช่วยในการตัดสินใจของนักบริหารเกี่ยวกับการสนับสนุนหรือล้มเลิกนโยบาย/ แผนงาน/ โครงการ

พัฒนาการขององค์ความรู้ว่าด้วยการวิจัยเชิงประเมิน

องค์ความรู้เกี่ยวกับการวิจัยเชิงประเมินไม่ได้เกิดขึ้นในสุญญากาศ แต่ได้รับการพัฒนามาเป็นลำดับขั้นตอน โดยเริ่มจากแนวความคิดต้น ซึ่งในที่นี้ได้แก่การประเมินความพยายาม (effort evaluation) จากนั้นก็ได้มีการพัฒนาแนวความคิดแย้ง ซึ่งหมายถึง  การประเมินผลลัพธ์ (effect evaluation) และในลำดับสุดท้ายเป็นการรวมแนวความคิดต้นกับแนวความคิดแย้งเข้าด้วยกัน พร้อมทั้งพัฒนาแนวความคิดใหม่ขึ้นมา หรือที่เรียกว่า "การสังเคราะห์"  ซึ่งในที่นี้ได้แก่ การประเมินผลรวบยอด (overall evaluation)  หรือการประเมินผลพิสดาร (comprehensive evaluation)  การประเมินความพยายามจัดเป็นการประเมินผลนโยบาย/แผนงาน/โครงการในยุคต้น ซึ่งมุ่งความสนใจไปที่ปัจจัยนำเข้าโดยไม่คำนึงถึงสิ่งที่ส่งออกหรือผลลัพธ์ และไม่ได้คำถึงถึงผลกระทบด้านต่าง ๆ  การประเมินความพยายามจัดเป็นการตอบคำถามที่ว่า "การวางนโยบาย/ แผนงาน/โครงการได้ลงทุนเกี่ยวกับทรัพยากรด้านต่าง ๆไปเพียงใด และบุคลากรภายใต้นโยบาย/แผนงาน/โครงการได้ดำเนินการอะไรไปบ้าง"  ในการประเมินผลประเภทนี้  ผู้ประเมินมักมีฐานคติแฝงที่ว่า กิจกรรมที่กำลังดำเนินการอยู่นั้น คือมรรควิธี ซึ่งสามารถจะนำไปสู่ความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ได้โดยไม่ต้องศึกษาถึงผลลัพธ์ที่แท้จริง

            การประเมินผลลัพธ์จัดได้ว่า มีความยากลำบากมากกว่าการประเมินความพยายาม จุดมุ่งหมายสำคัญของการประเมินผลลัพธ์ก็คือ การศึกษาว่าผลลัพธ์ที่ปรากฏบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้หรือไม่เพียงใด ซึ่งเป็นเรื่องของ "ประสิทธิผล"  (effectiveness) การประเมินประสิทธิผลไมได้สนใจว่านโยบาย/แผนงาน/โครงการจะดำเนินไปตามกระบวนการที่วางแผนไว้หรือไม่ แต่มุ่งที่การวัดผลลัพธ์ซึ่งปรากฏในสภาพแวดล้อม เมื่อนโยบาย/แผนงาน/โครงการเสร็จสิ้นเป็นประการสำคัญ 

การประเมินผลรวบยอด หรือการประเมินผลพิสดาร (comprehensive evaluation) จัดเป็นการวิจัยเชิงประเมิน ซึ่งพยายามผสมผสานองค์ความรู้ของการประเมินความพยายาม และการประเมินผลลัพธ์เข้าด้วยกัน  พร้อมทั้งปรับปรุงแก้ไขข้อจำกัดบางประการของการประเมินผลสองประการแรก ในการประเมินผลรวบยอด นักวิจัยมีความสนใจไม่เพียงแต่ว่านโยบาย/ แผนงาน/ โครงการประสบผลสำเร็จหรือไม่ แต่ยังรวบถึงการตอบคำถามที่ว่า "ทำไมนโยบาย/แผนงาน/โครงการที่ศึกษาจึงประสบความสำเร็จหรือความล้มเหลว" อีกด้วย การวิจัยเชิงประเมินในลักษณะนี้จึงมีความสำคัญทั้งทางทฤษฎีและทางปฏิบัติ

การประเมินผลรวบยอด ก็คือ การวิจัยเชิงประเมินที่มีความหมายครอบคลุมทั้งการประเมินสภาวะแวดล้อม การประเมินปัจจัยนำเข้า การประเมินกระบวนการ การประเมินผลลัพธ์และผลกระทบ

โดยปกตินโยบาย/แผนงาน/โครงการ ที่ประสบความสำเร็จ ได้แก่นโยบาย/ แผนงาน/โครงการซึ่งเมื่อเริ่มดำเนินงานแล้ว ก่อให้เกิดกระบวนการสาเหตุและผลอันนำไปสู่ผลลัพธ์  และผลกระทบที่พึงปรารถนาตามรูปที่ 1 อย่างไรก็ดี ในโลกของความเป็นจริง นโยบาย/แผนงาน/โครงการที่ประสบความล้มเหลวมีมากกว่านโยบาย/แผนงาน/โครงการที่ประสบความสำเร็จอยู่เป็นจำนวนมาก

                                                                                                   

 

 

นโยบาย/แผนงาน

กระบวนการ

สาเหตุและผล

 

ผลลัพธ์และผลกระทบ

นำไปสู่                                                                                                                                      นำไปสู่

                                                                                                                                                

  

รูปที่ 1 แบบจำลองของโครงการประสบความสำเร็จ

 

 

 

 

ในทรรศนะของนักวิจัยเชิงประเมินนโยบาย/แผนงาน/โครงการ มักประสบความล้มเหลวใน 2 ลักษณะ คือ

1. ความล้มเหลวทางเทคนิค หมายถึง การที่นโยบาย/ แผนงาน/ โครงการไม่

กระตุ้นให้เกิดกระบวนการสาเหตุผลผล ซึ่งน่าจะนำไปสู่การบรรลุถึงวัตถุประสงค์ที่วางไว้  ในทางหลักการ ความล้มเหลวทางเทคนิคนับว่าสามารถแก้ไขได้ไม่ยากนัก เพราะสืบเนื่องมาจากการขาดงบประมาณ  บุคลากร วัสดุ อุปกรณ์ และเวลา  เป็นต้น

2. ความล้มเหลวทางทฤษฎี การที่นโยบาย/ แผนงาน/โครงการได้กระตุ้นให้

เกิดกระบวนการสาเหตุและผลแล้ว แต่ไม่ได้นำไปสู่ผลลัพธ์และผลกระทบที่พึงปรารถนา หรืออาจนำไปสู่ผลลัพธ์และผลกระทบที่มีลักษณะตรงข้ามกับความมุ่งหวังโดยสิ้นเชิง  ความล้มเหลวประเภทนี้ยากต่อการแก้ไขมากกว่าความล้มเหลวทางเทคนิค  และมักนำไปสู่การล้มเลิกนโยบาย/แผนงาน/โครงการทั้งหมด

(ก) ความล้มเหลวทางเทคนิค

 

นโยบาย/แผนงาน

 

ผลลัพธ์และผลกระทบที่

 

กระบวนการ

สาเหตุและผล

                               ไม่นำไปสู่                                                                                       อาจนำไปสู่

 

 

                                                                                                                       

(ข) ความล้มเหลวทางทฤษฎี

นโยบาย/แผนงาน

 

กระบวนการสาเหตุและผล

 

ผลลัพธ์และผลกระทบที่

   

                              นำไปสู่                                                                                       ไม่นำไปสู่                                                                                                                                                                                                                                        

 

รูปที่ 2 ความล้มเหลวทางเทคนิคและความล้มเหลวทางทฤษฎี

ของนโยบาย/แผนงาน/โครงการ

  

 

  ประเภทของการวิจัยเชิงประเมิน

การจำแนกประเภทของการวิจัยเชิงประเมินตามแนวคิดของโปแลนด์(Poland) และเฮ้าส์ (House) แบ่งออกเป็น 3 แนวทาง ซึ่งได้แก่

(1) การวิจัยทางสังคมศาสตร์ ได้เข้ามามีบทบาทต่อการดำเนินงานวิจัยเชิงประเมินผลนโยบาย/แผนงาน/โครงการทางสังคมและทางการศึกษาอย่างมากกว่าการวิจัยเชิงประเมินประเภทอื่น ๆ นักวิทยาศาสตร์สังคมผู้เข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงานวิจัยเชิงประเมินดังกล่าวมักได้แก่นักสังคมวิทยาและนักวิจัยวิทยาสังคม  ซึ่งนักวิชาการเหล่านี้ได้นำเครื่องมือต่างๆ เข้าประยุกต์ใช้ในทางรัฐประศาสนศาสนตร์ การดำเนินงานวิจัยเชิงประเมินจึงเปิดโอกาสสำหรับนักวิทยาศาสตร์กลุ่มดังกล่าวที่จะแนะนำระเบียบวิธีวิจัย รวมทั้งเทคนิคการวิเคราะห์แบบใหม่เข้าสู่สาขาวิชารัฐประศาสนศาสนตร์

(2) การวิเคราะห์ประสิทธิผล  มีต้นกำเนิดมาจากการงบประมาณแบบแผนงาน และเกณฑ์การประเมิน 3 ประการ ประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และความเหมาะสม เกณฑ์การวิจัยเชิงประเมินทั้งสามนี้ เกี่ยวข้องกับการตอบคำถามที่แตกต่าง เกณฑ์แรก ประสิทธิผล เกี่ยวข้องกับคำถามที่ว่า นโยบาย แผนงาน โครงการประสบผงสำฤทธิ์ตามที่ตั้งวัตถุประสงค์ไว้หรือไม่ ขณะที่เกณฑ์ที่สอง ประสิทธิภาพ  เกี่ยวข้องกับคำถามที่ว่า อัตราส่วนผลลัพธ์ต่อ 1 หน่วยของปัจจัยนำเข้าเป็นเท่าใด ส่วนเกณฑ์ที่สามเกี่ยวข้องกับคำถามที่ว่าวัตถุประสงค์ที่วางไว้มีความเหมาะสมหรือไม่ หรือการดำเนินงานตามนโยบาย แผนงาน โครงการมีความเหมาะสมเพียงใด เกณฑ์การวิจัยเชิงประเมินทั้งสามนี้ได้สะท้อนให้เห็นถึงความเกี่ยวข้องระหว่างการงบประมาณแบบแผนงาน  การวิเคราะห์ระบบ และการวิจัยเชิงประเมินอย่างประจักษ์ชัด

(3) การใช้เกณฑ์ทุติยภูมิ  การวิจัยเชิงประเมินส่วนมากจัดดำเนินการโดยอาศัยเกณฑ์ทุติยภูมิ กล่าวคือ นักวิจัยประเมินผลมักไม่สามารถวัดผลลัพธ์และผลกระทบของนโยบาย แผนงาน โครงการ ก็ไม่อาจวัดได้โดยตรงเช่นกัน ด้วยเหตุนี้ นักวิจัยเชิงประเมินแทนที่จะวัดประสิทธิภาพของนโยบาย แผนงาน โครงการ ก็มักวัดเพียงเกณฑ์ที่มีสหสัมพันธ์กับประสิทธิภาพเท่านั้น

 ประเภทอื่น ๆ ของการวิจัยเชิงประเมิน

            นอกจากประเภทของการวิจัยเชิงประเมินในทรรศนะของโปแลนด์และเฮ้าท์ แล้วยังมีการวิจัยเชิงประเมินประเภทอื่น ๆ อีก ได้แก่

1. การประเมินเบื้องต้นหรือสรุปรวม  (formative - summative evoluation ) จัดเป็นประเภทของการวิจัยเชิงประเมิน ซึ่งได้รับการพัฒนาขึ้นโดยสคริวเวน (scriven'1972)  การวิจัยประเมินเบื้องต้นเกี่ยวข้องกับการประเมินความก้าวหน้า ของนโยบาย แผนงาน โครงการในการมุ่งเข้าสู่วัตถุประสงค์และเป้าประสงค์ที่ตั้งไว้ในขณะที่ดำเนินการอยู่

หมายเลขบันทึก: 378034เขียนเมื่อ 23 กรกฎาคม 2010 10:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 01:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท