ถอดบทเรียนการอบรมเชิงปฏิบัติการ : การตรวจหลอดเลือดหัวใจ


รังสีแพทย์ นักรังสีเทคนิค และพยาบาล เป็นทีมงานสหสาขาวิชาชีพทางการแพทย์ ที่ทำหน้าที่ในการตรวจวินิจฉัย สร้างภาพอวัยวะ ให้การดูแลผู้ป่วยที่อยู่ในระหว่างขั้นตอนการตรวจทางรังสีวินิจฉัย การได้มาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในขบวนการตรวจวินิจฉัยที่เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาตนเอง พัฒนาองค์ความรู้ในวิชาชีพ พัฒนาการเรียนการสอน เพื่อนำไปสู่การทำงานที่มีประสิทธิภาพและปลอดภัย

สวัสดีครับ วันที่ 22-23 กรกฏาคม พ.ศ.2553 ผมได้มีส่วนเข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การตรวจหลอดเลือดหัวใจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ สำหรับผู้ปฏิบัติงานรุ่นใหม่ (Coronary CT angiogram course for beginner) โดยวิทยากร ผศ.นพ.สุทธิพงษ์ จงจิระสิริ  อาจารย์ประจำจาก ภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

อาจารย์ได้กรุณามาให้ความรู้แก่พวกเรา ณ ภาควิชารังสีวิทยา คณะแทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งผมอยากเผยแพร่ความรู้ที่ได้อบรม เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันกับผู้สนใจ

 

หัวข้อที่หน้าสนใจ คือ 10 หลักการ ที่นำไปสู่ความสำเร็จในการตรวจวินิจฉัยหลอดเลือดหัวใจ

 

1.การเตรียมและการจัดท่าในการตรวจสำหรับผู้ป่วย

 

การเตรียมตัวผู้ป่วย 

- ผู้ป่วยต้องงดน้ำและอาหารก่อนการตรวจ ประมาณ 4 ชั่วโมง เพื่อลดความเสี่ยงจากการสำลักอาหารหรือน้ำเข้าหลอดลม เนื่องจากผู้ป่วยอาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ที่เป็นผลจากการกระตุ้นของการฉีดสารทึบรังสีเข้าหลอดเลือด

 

- ผู้ป่วยต้องงดทานสารที่มีผลในการกระตุ้นให้ร่างกายตื่นตัว หรือใจสั่น เช่น ชา หรือ กาแฟ

 

- ผู้ป่วยควรงดการออกกำลังกายก่อนตรวจประมาณ 6 ชั่วโมง

 

การใช้คำแนะนำที่ถูกต้องกับผู้ป่วย ช่วยทำให้เกิดความกระจ่าง สร้างความเข้าใจ ลดความวิตกกังวล ลดความเสี่ยงจากการตรวจลงได้

 

การจัดท่าในการตรวจสำหรับผู้ป่วย

- ผู้ป่วยนอนหงายบนเตียง แขนทั้งสองข้างวางเหนือศีรษะ

 

- การติด ECG leads ควรวางส่วนที่เป็นโลหะให้พ้นออกจากพื้นที่การตรวจ เนื่องจากโลหะเป็นที่ส่วนที่ทึบรังสี ทำให้เกิดสัญญาณรบกวน ส่งผลให้ภาพถ่ายที่ได้ไม่ชัดเจนบางส่วน ซึ่งอาจเป็นอุปสรรคในการวินิจฉัยภาพของรังสีแพทย์ได้

 

 

ลูกศร(สีเขียว) แสดงสายของ ECG วางอยู่บนลำตัวผู้ป่วย รวมถึงพาดบริเวณใกล้หัวใจ เมื่อสร้างภาพอาจมีสัญญารรบกวนปรากฏบนภาพได้

 

ภาพ การจัดสาย ECG ให้พ้นจากลำตัวผู้ป่วย เป็นวิธีการที่ถูกต้อง

 

ความผิดพลาดเล็กๆ น้อยๆ ที่เกิดขึ้นจากการทำงานหากบุคลากร ละเลย ไม่สนใจ ไม่ใส่ใจ ก็จะมีส่วนทำให้คุณภาพของภาพการตรวจ คุณภาพของงานที่ลงมือทำ เกิดความบกพร่องได้ ผิดพลาด ลดคุณค่าลงไปได้ แต่ถ้าหากรู้จักสังเกต คิดและวางแผนก่อนทำ ก็จะสามารถแก้ไข ปรับปรุง และป้องกันความผิดพลาดก่อนที่จะเกิดเหตุที่ไม่พึงประสงค์ได้

 

- ควรเลือกใช้เข็มเจาะเลือดเบอร์ 18 เจาะให้น้ำเกลือที่แขนข้างขวา เพื่อความสะดวกในการฉีดสารทึบรังสีและยาอื่นๆ

 

 

2.การฝึกซ้อมการหายใจและการกลั้นลมหายใจ

 

- ผู้ป่วยต้องได้รับการแนะนำและฝึกซ้อมการหายใจและการกลั้นลมหายใจก่อนการตรวจ เนื่องจากหากผู้ป่วยมีการหายใจระหว่างการตรวจจะทำให้ภาพที่ได้จากการตรวจไม่ชัดเจน

 

- ควรสังเกตว่าอัตราการเต้นของหัวใจร่วมกับการกลั้นหายใจของผู้ป่วยเป็นอย่างไร ที่เหมาะสม คือโดยอัตราการเต้นของหัวใจระหว่างการหายใจและการกลั้นหายใจ ควรมีความแตกต่างกันไม่เกิน 10% 

  

3. Calcium Scoring Scan (CaCs) 

- เป็นเทคนิค เพื่อประเมินว่ามีหินปูนอุดตันบริเวณใดของหลอดเลือดหัวใจหรือไม่? (ลูกศรชี้แสดงจุดสีขาว เป็นหินปูนในหลอดเลือด)

- เทคนิคในการสแกน จะสแกนเป็นช่วง (แท่งสี่เหลี่ยม) ตามจังหวะของการคลายตัวของหัวใจ (เส้นสีเขียว) และโดยเลือกใช้ Picth ที่สูง mAs ต่ำ เพื่อการเคลื่อนไหวของหัวใจ ช่วยลดปริมาณรังสีให้กับผู้ป่วยในระหว่างการตรวจ

 

- เทคนิคการ คือ เมื่อผู้ป่วยที่มีอัตราการเต้นของหัวใจ (Heart rate : bpm) ที่เร็ว จะเลือกใช้ %Cariad Phase (Triger) ที่ต่ำ เช่น Heart rate 50,60,70,80, and 90 จะใช้ %Cariad Phase79,75,71,67, and 63 ตามลำดับ

 

   

4.การเลือกพื้นที่ในการตรวจที่เหมาะสม  

 

โดยมากจะเลือกพื้นที่การสแกนคล้ายกับการทำ Calcium Scoring Scan แต่ ตำแหน่งเริ่มต้นจะอยู่สูงขึ้นจากเดิม ประมาณ 1 cm และส่วนล่างต่ำลงอีก 1 cm  

 

 

5.การเลือกเทคนิคในการตรวจที่เหมาะสม

  

- เครื่องที่เหมาะในการตรวจ คือ Helical CT Scan ชนิด Multi-sclice จำนวน Detectors ที่ใช้มีตั้งแต่ 64-320 Slices หากเครื่องใดมีจำนวน Slices ที่มาก ช่วยทำให้ประสบความสำเร็จในการตรวจมากขึ้น 

 

- Parameters and Protocal ที่ใช้ เช่น 120 kV, 150-160 mAs โดยพิจารณาเปลี่ยนแปลงตามความหนาของผู้ป่วย สามารถฉายรังสีที่สัมพันธ์กับเครื่องตรวจคลื่นหัวใจ (ECG synchronize) เป็นต้น

 

- พื้นที่ในการตรวจ บางครั้งครอบคลุมเฉพาะหัวใจ แต่บางรายก็จะครอบคลุมรวมถึงปอดด้วย เนื่องจากในผู้ป่วยบางรายจะมีความผิดปกติของหัวใจ ร่วมกับความผิดปกติของปอด

 

 

6.เลือกใช้โปรแกรมสนับสนุนที่สอดคล้องกับเครื่องตรวจวินิจฉัย  

- ควรเลือกใช้ Soft ware ที่สามารถทำงานได้ดีการเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ที่ใช้งานอยู่

 

 

7.การฉีดสารทึบรังสี

- การฉีดสารทึบรังสีให้เข้าไปสู่อวัยวะหรือบริเวณที่สนใจ เป็นส่วนหนึ่งที่มีความสำคัญต่อคุณภาพของภาพที่ได้ เพื่อนำไปใช้ในการวินิจฉัยโรค สิ่งที่ควรคำนึงถึง คือ

* การเลือกชนิดและปริมาณของสารทึบรังสี อัตราการฉีด แรงดันและระยะเวลาที่ฉีดให้เหมาะสม

* ตรวจสอบการเชื่อมต่อการไหล รอยรั่ว ระหว่างสายฉีดสารทึบรังสีและผู้ป่วย

  

8.การตรวจสอบครั้งสุดท้ายก่อนตรวจ

- การเลือกตำแหน่งที่จะฉีดสารทึบรังสีเพื่อทดสอบ

- การใช้โปรแกรมอัตโนมัติในการตรวจจับสารทึบรังสี

 

 

 

9.โปรแกรมการสร้างภาพ 

- ในการฝึกอบรมครั้งนี้รังสีแพทย์ รังสีเทคนิค กำลังร่วมฝึกการใช้งานโปรแกรมต่างๆที่มีอยู่ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการทำงานต่อไป

 

 

 

10.การปรับปรุงและสร้างภาพสำหรับการตรวจวินิจฉัย

- การปรบปรุงสร้างภาพในลักษณะต่างๆ เป็นพื้นฐานที่นักรังสีเทคนิค รังสีแพทย์ ต้องเรียนรู้เพื่อนำมาใช้ในการประกอบวิชาชีพ

 

 

 

 

10 ข้อที่กล่าวมานี้ เป็นสิ่งสำคัญที่มีผลต่อผู้รับและผู้ให้บริการ

ฝึกฝนให้มาก เรียนรู้แลกเปลี่ยนร่วมกัน เพื่อพัฒนาทีมงานพวกเราต่อไป 

 

หมายเลขบันทึก: 377833เขียนเมื่อ 22 กรกฎาคม 2010 16:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอบคุณมากค่ะอ.ที่ให้ความรู้เกี่ยวกับการทำ CTA coronary

สวัสดีครับ คุณชนัญชิดา

ที่ มข. กำลังเก็บรวบรวมข้อมูล เทคนิคการทำ CTA ให้มากขึ้น เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ร่วมกันต่อไป

ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยม ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท