workingage
กลุ่มอนามัยวัยทำงาน สำนักส่งเสริมสุขภาพ

สมรรถนะหลักในการปฏิบัติงานส่งเสริมสุขภาพ


           หนึ่งในกลยุทธ์สำคัญตามกฎบัตรกรุงเทพ คือ การเสริมสร้างสมรรถนะของภาคส่วนต่างๆที่เกี่ยวข้องเพื่อผลสัมฤทธิ์ของการปฏิบัติงานส่งเสริมสุขภาพ ประเด็นอยู่ที่นิยามของ การส่งเสริมสุขภาพให้เกิดสัมฤทธิผล” และตัวชี้วัดของการทำงานให้ได้ผลดังกล่าวซึ่งนำไปสู่การประชุมผู้เชี่ยวชาญและผู้ปฏิบัติงานส่งเสริมสุขภาพจากประเทศสมาชิกองค์การอนามัยโลกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ บังคลาเทศ อินเดีย อินโดนีเซีย มัลดีฟส์ ศรีลังกา และไทย เมื่อวันที่ 18-20 มิถุนายน มิถุนายน 2551 ณ กรุง นิวเดลี โดยมีผู้แทนจากประเทศไทย นายแพทย์สมศักดิ์ ภัทรกุลวณิชย์  เป็นประธาน  และผู้แทนจากบังคลาเทศ มัลดีฟส์ และศรีลังกา เป็นประธานร่วม

      ที่ประชุมได้พิจารณาและมีมติเห็นชอบรับรองสมรรถนะหลักด้านความรู้ ทักษะ ค่านิยม และทัศนคติรวม 15 เรื่อง และมาตรฐานการปฏิบัติงานส่งเสริมสุขภาพในยุคโลกาภิวัฒน์อย่างมีคุณภาพภายใต้สมรรถนะหลักดังกล่าว

 

 

สมรรถนะหลัก

 

เกณฑ์มาตรฐานการปฏิบัติงาน

1. ความรู้ ความเข้าใจเรื่องการส่งเสริมสุขภาพ

  • นำเสนอความรู้เกี่ยวกับระบบสุขภาพ หลักการส่งเสริมสุขภาพ การดูแลสุขภาพและปัจจัยที่มีผลต่อสุขภาพ

  • ประยุกต์ใช้ความรู้เพื่อยกระดับความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชนและชุมชน

  • เผยแพร่ความรู้และวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ

2. การสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน

  • แสดงสมรรถนะด้านวัฒนธรรม (cultural competency)

  • สร้างเสริมพลังให้ชุมชน

  • สร้างความเชื่อมั่นในผลการพัฒนาที่ยั่งยืน

3. การเสริมสร้างความร่วมมือ

  • สร้างพันธมิตรในและนอกสาขาสุขภาพ

  • สร้างสัมพันธ์กับภาคประชาสังคมและเอกชน

  • ส่งเสริมความร่วมมือและการดำเนินงานเพื่อความยั่งยืน

4. การปฏิบัติงานโดยใช้ข้อมูลเชิงประจักษ์

  • จัดลำดับความสำคัญของปัญหาสาธารณสุข

  • รวบรวมหลักฐานข้อมูลสารสนเทศด้วยวิธีการที่เหมาะสม

  • ใช้ข้อมูลเชิงประจักษ์ร่วมกับภาคส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อปรับปรุงการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพให้ดีขึ้น 

5. การบริหารโครงการ

  • ประเมินความต้องการบนฐานความเข้าใจในปัจจัยที่มีผลต่อสุขภาพ

  • วางแผนและดำเนินงานโครงการให้เหมาะสม

  • ติดตามและประเมินผล

6. การตลาดเพื่อสังคม

  • เข้าใจแนวคิดและยุทธศาสตร์การตลาดเพื่อสังคม

  • กระตุ้นสังคมให้เกิดอุปสงค์ด้านส่งเสริมสุขภาพ

  • ใช้กลวิธี ช่องทาง และวิธีการต่างๆ เพื่อสร้างการเข้าถึงตลาดสุขภาพ

  • ส่งเสริมเครือข่ายการตลาดเพื่อสังคม

7. การนำเสนอและสนับสนุน

  • ระบุประเด็นที่จะนำเสนอต่อสาธารณะ

  • สร้างพันธมิตรระดับต่างๆ องค์กรที่เกี่ยวข้อง

  • รณรงค์เพื่อการรับรู้ของสาธารณชน

  • เจรจากับผู้กำหนดนโยบายเพื่อขอรับการสนับสนุน

8. การสร้างนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพ

  • ระบุเหตุผลความสำคัญของนโยบายสาธารณะ กฎระเบียบต่างๆ ที่มีส่วนส่งเสริมและคุ้มครอง สุขภาพประชาชน

  • ประเมินอย่างเป็นระบบในแง่ความเป็นไปได้และการนำนโยบายไปปฏิบัติ

  • ใช้กลไกภายในองค์กรและต่างองค์กรเพื่อกระตุ้นสังคมให้ยอมรับและสนับสนุนนโยบายเพื่อสุขภาพ หรือสนับสนุนการเปลี่ยนแปลง เพื่อการส่งเสริมสุขภาพทั้งในด้านการบริหารองค์กร โครงสร้าง หรือสิ่งแวดล้อม

9. การบริหารความเปลี่ยนแปลง

  • ระบุเหตุปัจจัยที่สำคัญ เช่น การเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ประชากร สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจและสังคม

  • สนับสนุนภาคสาธารณสุขในการพัฒนาศักยภาพและสร้างเครือข่ายส่งเสริมสุขภาพ

  • เสริมสร้างสมรรถนะภาคสาธารณสุขและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพในสถานที่ต่างๆ

10. การบริหารทุน

  • ระบุแหล่งที่มาของทุน

  • พัฒนากระบวนการการประเมินความคุ้มค่าและกลไกการส่งเสริมสุขภาพ

  • · สร้างระบบบริหารจัดการด้านการเงิน ความรับผิดชอบ และความโปร่งใส

11. การสื่อสาร

  • สื่อสารกับภาคส่วนต่างๆด้วยวิธีการและช่องทางที่เหมาะสม

  • ใช้ทักษะการสร้างสัมพันธภาพ เช่น การเจรจา การจูงใจ การทำงานเป็นทีม การแก้ปัญหาความขัดแย้ง และทักษะในการฟัง

  • สื่อสารให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายที่แตกต่างกัน ด้านวัฒนธรรม เพศ วัย ฯลฯ

12. การใช้เทคโนโลยีอย่างเหมาะสม

  • เข้าใจความแตกต่างหลากหลายของเทคโนโลยีที่มีอยู่

  • สามารถเลือกใช้ได้เหมาะสมกับสถานการณ์

13. การวางแผนและการบริหารจัดการ

  • ส่งเสริมการสร้างวิสัยทัศน์ร่วม

  • ประยุกต์ใช้เครื่องมือบริหารจัดการประกอบการจัดทำแผนยุทธศาสตร์

  • ระบุกลไกเพื่อการเจรจาหารือกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและจำทำแผนการเจรจาหารือ

14. ภาวะผู้นำและการทำงานเป็นทีม

  • แสดงภาวะผู้นำที่เหมาะสมกับสถานการณ์

  • พัฒนาศักยภาพการทำงานเป็นทีม

  • สร้างและรักษาไว้ซึ่งความร่วมมือกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและชุมชน

15. มีจริยธรรมและปฏิบัติงานด้วยความเชี่ยวชาญ

  • รวบรวม บริหารจัดการ เผยแพร่ และใช้ข้อมูลสารสนเทศโดยยึดหลักจริยธรรม

  • แสวงหาและยึดหลักจริยธรรมที่ได้รับการรับรองจากองค์กรที่เชื่อถือได้

  • รักษาความลับของข้อมูล ไม่เลือกปฏิบัติ และให้ความเสมอภาคในการให้บริการ

แหล่งข้อมูล : Developing Health Promotion Competencies and Standards for Countries in WHO South-East Asia Region, Report of a Meeting of expert, WHO/SEARO, New Delhi, 18-20 June 2008
 

 

“Competence, like truth, beauty and contact lenses,

is in  the eye of the beholder.”

Laurence J. Peter (1919 - 1988)

หมายเลขบันทึก: 377819เขียนเมื่อ 22 กรกฎาคม 2010 15:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 11:14 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท