ผลการประชุมเครือข่ายอาชีพ


งานพัฒนาศักยภาพอาสาสัมครเกษตร
ผลการดำเนินงานกลุ่มส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกรปะจำเดือน  เมษายน  2553
งานพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครเกษตร ประจำเดือน  เมษายน  2553  ดังนี้
      วันที่  7  เมษายน  2553การฝึกอบรมเครือข่ายอาชีพภายใต้โครงการสายใยรักแห่งครอบครัวและอาสาสมัครเกษตรจังหวัดพะเยา ครั้งที่ 1 / 2553 วันที่  7  เมษายน  2553 ร่วมกับเครือข่ายกลุ่มวิสาหกิจชุมชนและกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร สรุปได้ ดังนี้

       1  เจ้าหน้าที่หน่วยงานภาคีร่วม   จำนวน  11  คน

           1.1 สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดพะเยา     จำนวน  1  คน

           1.2 สำนักงานเกษตรจังหวัดพะเยา    จำนวน 4  คน

           1.3 สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดพะเยา   จำนวน 1  คน

           1.4 สำนักงานพาณิชย์จังหวัดพะเยา   จำนวน 1  คน

           1.5 สำนักงานแรงงานจังหวัดพะเยา   จำนวน 1  คน

           1.6 สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดพะเยา   จำนวน 1  คน

           1.7 สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดพะเยา   จำนวน 1  คน

            1.8 ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดพะเยา   จำนวน 1  คน

      2  จังหวัดพะเยารับขึ้นทะเบียนอาสาสมัครเกษตรเข้าระบบของกรมส่งเสริมการเกษตรสมาชิกอาสาสมัครเกษตรจำนวน 1,481   คน ซึ่งเป็นอาสาสมัครเกษตรของหน่วยงานกระทรวงเกษตรและสหกรณ์   ดังนี้

หน่วยงาน 

จำนวน (ราย)

หน่วยงาน 

จำนวน (ราย)

ตรวจบัญชีสหกรณ์

49

ปฏิรูป

39

พัฒนาที่ดิน(หมอดิน)

107

จีเอพี

91

ประมง

62

ปศุสัตว์

101

กรมวิชาการ

39

ชลประทาน

34

ยางพารา

30

สหกรณ์

76

ยุวเกษตรกร

16

เกษตรอินทรีย์

26

เกษตรกรผู้นำ(กษจ.)

362

เกษตรหมู่บ้าน

942

อื่น ๆ

27

รวมทั้งสิน  1,481  คน

      3  อาสาสมัครเกษตรได้เสนอโครงการจัดเวทีเสวนาโดยขอรับการสนับสนุนจากเกษตรและสหกรณ์ 10,000  บาท โดยมีวัตถุประสงค์การฝึกอบรมในวันนี้  ดังนี้

          1)   เพื่อทำให้เกิด แนวทางการดำเนินงานแก้ไขปัญหาด้านการตลาด

          2)   เพื่อทำให้เกิดการบูรณาการหน่วยงานภาคี

          3)    ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ก่อให้เกิดองค์ความรู้ในการดำเนินงานโครงการเชื่อมโยงเครือข่ายอาชีพ และสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกโครงการฯ กับภาคีเครือข่ายในชุมชนในการพัฒนาอาชีพ   แก้ไขปัญหาและสนองความต้องการของเครือข่ายอาชีพ

     4   นายประสิทธิ์   ไชยลังกา  ประธานคณะกรรมการ อาสาสมัครเกษตรจังหวัดพะเยาได้แจ้งรายงานผลการดำเนินงานของคณะกรรมการอาสาสมัครเกษตรจังหวัดพะเยา ปี 2553 -2553  ดังนี้ 

          1)  สำนักงานเกษตรจังหวัดพะเยา ได้ส่งตัวแทนอาสาสมัครเกษตรเข้าเป็นคณะกรรมการเพื่อประสานงานพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครเกษตรจังหวัดพะเยา ดังนี้

          2)  นายสรศักดิ์  แสงศรีจันทร์  เป็นคณะกรรมการบริหารอาสาสมัครเกษตรระดับประเทศ

           3)  นายณัฐ  โกษิวากาจญน์  รองประธานอาสาสมัครเกษตรระดับจังหวัดฯ เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการคุ้มครองพันธุ์ ตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี  ลงวันที่  10 กุมภาพันธ์ 2553

           4)  เสนอโครงกาแก้ไขปัญหาภัยธรรมชาติ ( ภัยแล้ง ) ปี 2552/2553

นายณัฐ  โกษิวากาจญน์  ดังนี้

              4.1 เสนอโครงการเจาะบ่อบาดาลเพื่อการเกษตรจำนวน  500  บ่อ ผ่านพัฒนาที่ดินจังหวัดพะเยา ครอบคลุม อำเภอเมืองพะเยา  ดอกคำใต้    ภูกามยาว และ เสนอความต้องการเจาะบ่อบาดาลขนาดใหญ่พื้นที่รับประโยชน์  200  ไร่ จำนวน  11  แห่ง เสนอกรมทรัพย์ธรณี

              4.2 เสนอขุดลอกห้วย เหมืองในเขตอำเภอภูกามยาว  จำนวน 2  แห่ง  เสนอ

สำนักงานงบประมาณ

              4.3 จัดอบรม GAP  พืชสมุนไพร อำเภอภูกามยาวร่วมกับสำนักงานเกษตร

อำเภอภูกามยาวจำนวน  60  คน ณ.  ห้องประชุมที่ว่าการอำเภอภูกามยาว  ได้รับวิทยากรจากมหาวิทยาลัยนเรศวรพะเยา

             4.4 จัดอบรมเวทีสัมมนาเครือข่ายวิจัยในพื้นที่และหาประเด็นวิจัยของจังหวัดพะเยา โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยาเป็นประธานนำสมันนา ห้องประชุม   มหาวิทยาลัยนเรศวร

              4.5  จากการประชุมหน่วยงานกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่ให้การสนับสนุน / ผลการให้การสนับสนุน ปี 2552 และปี 2553   มีแผนการให้สนับสนุนอาสาสมัครเกษตร ปี 2553   ดังนี้

 

ที่

 

หน่วยงาน

ผลการสนับสนุนพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครเกษตร

ปี 2552

 

แผนปฏิบัติงานสนับสนุน ปี 2553

งาน / กิจกรรม

เป้าหมายอาสา

ผลการให้การสนับสนุน

1

สำนักงานเกษตรจังหวัด

1.เลือกตั้งคณะกรรมการอาสา 3 ระดับๆ ละ 15 คนและจัดเวทีเสวนาจัดทำแผนพัฒนาการเกษตร  การสร้างเครือข่ายอาชีพ การพัฒนาองค์ความรู้เพื่อนำไปถ่ายทอดกับเกษตรกรทั่วไป

-ตำบล 1,140 คน

ถ่ายทอดความรู้

ด้านการบริหาร, ด้านสร้างเครือข่ายอาชีพ,ด้านธุรกิจ,การพัฒนาผลผลิตแบบปลอดภัย

- คัดเลือกผู้นำอาสาฯร่วมเป็นกรรมการระดับจังหวัด

 

 

1.จัดเวทีเสวนากรรมการอาสาสมัคร จำนวน  3  ครั้ง135  คน

2. จัดตลาดสินค้าเกษตรระดับจังหวัด 2 ครั้ง

 

 

-ระดับตำบล

-ระดับอำเภอ

-ระดับจังหวัด

-บันทึกทะเบียนอาสาสมัครเกษตรเข้าระบบของกรมส่งเสริมการเกษตรและของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

990 คน

135 คน

15 คน

    1.เป็นกรรมการติตามโครงการจังหวัด  3  คน

    2. เป็นกรรมการดูแลพืชสมุนไพร  1 คน

   3. เป็นกรรมการสิ่งแวดล้อม    3  คน

   4. กรรมการเครือข่ายวิจัยกลุ่มล้านนา  4  คน

   5. กรรมการผู้ทรงวุฒิอนุรักษ์พันธุ์พืช  1 คน

3. จัดเวทีวางแผนการตลาดล่วงหน้า

4. จัดตั้งศูนย์เรียนรู้ด้านเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดชุมชน 2 ศูนย์

2

เกษตรและสหกรณ์

จัดตั้งศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอพียง 2 ศูนย์

- อบรมอาสาสมัครเกษตรเป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้แนวทางเศรษฐกิจพอเพียง

 

 

 

 30  คน

 

 

 

 

 

 

1. อบรมอาสาสมัครเกษตรเป็นวิทายกรถ่ายทอดความรู้ในศูนย์ฯ 5  คน 

2.  ตั้งศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง 2 ศูนย์

3. อบรมเกษตรกรผู้สนใจ  ศูนย์ละ500 คน รวม  1,000  คน

4. จัดเวทีกระบวนการเรียนรู้ตามแนวทางพอเพียง 1 ครั้ง 

 

 

 

ที่

 

หน่วยงาน

ผลการสนับสนุนพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครเกษตร

ปี 2552

 

แผนปฏิบัติงานสนับสนุน ปี 2553

งาน / กิจกรรม

เป้าหมายอาสา

ผลการให้การสนับสนุน

3

ตรวจบัญชีสหกรณ์

1. อบรมครูบัญชีอาสาสมัครเกษตรกร

เป็นวิทยากรถ่ายทอดบัญชีอำเภอละ 10 คน

90  คน

1. อบรมครุบัญชี 90 คน

2.ถ่ายทอดความรู้ด้านบัญชีให้กับเกษตรกร 270  คน

1. อบรบ บัญชีครัวเรือน 300  คน

4

สำนักงานปศุสัตว์

1. อบรมอาสาสมัครเกษตรปศุสัตว์เกษตรอินทรีย์ เป็นวิทยากรถ่ายทอดปศุสัตว์อินทรีย์

27 คน

1. อบรมอาสาฯเป็นวิทยากร  80  คน

2. ถ่ายทอดความรู้

ปศุสัตว์อินทรีย์  3 ครั้ง 150 คน

3. จัดเวทีสร้างเครือข่ายปศุสัตว์อินทรีย์  จำนวน 3 ครั้ง  3 เครือข่าย

1. อบรมอาสาฯป้องกันโรคสัตว์

2. อบรมการอาสาฯการผสมเทียม

3. อบรมอาสาผลิตอาหารสัตว์

5

ประมง

1. อบรมการเลี้ยงปลากินพืช ให้วิทยากรถ่ายทอดความรู้การเลี้ยงปลากินพืช

3 กลุ่ม 150 คน

1. อบรมจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้เลี้ยงปลา  3  กลุ่ม 150 คน

2. อบรมเกษตรกรปรับปรุงบำรุงพันธุ์ปลา 2 รุ่น 100 คน

1. อบรมอาสาสมัครประมงอำเภอละ  5 คน รวม 3 รุ่น

รวม 45 คน

6

พัฒนาที่ดิน

1. อบรมหมอดิน  9 รุ่น

ให้เป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้การปรับปรุงบำรุงดิน

135  คน

1. อบรมการใช้

จุลลินทรีย์ ปรับปรุงดิน

2. จัดเวทีเสวนาจัดทำแผนการผลิตปุ๋ยอินทรีย์

1. อบรมหมอดิน 2 รุ่น รวม 100  คน

7

สหกรณ์

1. ประชุมคณะกรรมการสหกรณ์ 10 ครั้ง

2. อบรมคณะกรรมการ4 ครั้ง ด้านการบริหารฯ

 

- 10  ครั้ง

 

-  4  ครั้ง

 

 

- สร้างเวทีพบปะ 30 คน

 

 - จัดกระบวนการเรียนรู้ 

   20  คน

 

สร้างเวทีพบปะ 10 ครั้ง

จัดกระบวนการเรียนรู้  4  ครั้ง

 

 

ที่

 

หน่วยงาน

ผลการสนับสนุนพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครเกษตร

ปี 25532

 

แผนปฏิบัติงานสนับสนุน ปี 2553

งาน / กิจกรรม

เป้าหมายอาสา

ผลการให้การสนับสนุน

8

ศูนย์ข้าวจังหวัดพะเยา

1.จัดเวทีเรียนรู้การวางแผนการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวชุมชน 3 ครั้ง

 

 50  คน

1.จัดประชุมกระบวนการกลุ่มจำนวน 2 ครั้ง  50 คน

2. จัดการศึกษาดูงานการทำธุรกิจการผลิตเมล็ดพันธุ์

จัดประชุมกระบวนการกลุ่มจำนวน 2 ครั้ง 

 

9

ชลประทาน

จัดอบรมอาสาสมัครชลประทานจำนวน

 3 ครั้ง

25  คน

-อบรมการบริหารจัดการน้ำแหล่งน้ำและกองทุนชลประทานราษฏร์

-รับสมัครอาสาฯชลประทานและอบรม 2 ครั้ง

 

              4.6  การเปิดการค้าเสรี  นายประสิทธิ์   ไชยลังกา  ประธานฯ  ได้นำเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดสุวรรณ  5 ที่ให้อาสาสมัครเกษตรอำเภอปง ( นายนิทัศน์  จุลพงษ์ )  ตำบล ออย ปลูกขยายพันธุ์และรวบรวมจำหน่ายสร้างเครือข่ายกับประเทศลาว  จำนวน  2,500  กิโลกรัม ใช้ปลูกพื้นที่  500  ไร่

 

งานส่งเสริมและพัฒนาวิสาหกิจชุมชน                      

1.สรุปปัญหาด้านการตลาดจากหน่วยงานภาคี

        ตัวแทนพาณิชย์จังหวัด

             ปัญหาการออกจำหน่ายและแสดงสินค้าของกลุ่มวิสาหกิจยังไม่มีความพร้อม ด้านสินค้า ด้านค่าใช้จ่ายในการสนับสนุนกลุ่ม เช่น ค่าเดินทางเข้าร่วมงาน

         ตัวแทนสหกรณ์จังหวัด

                   1. ปัญหากลุ่มวิสาหกิจแจ้งความจำนงเข้าร่วมงานแสดงสินค้า แต่ไม่สามารถเข้าร่วมงานได้ตามที่แจ้ง ซึ่งอาจมีผลต่ออนาคตทำให้จังหวัดพะเยาเสียโควต้าสิทธิ์การเข้าร่วมงาน

                   2. การแจ้งสินค้าเข้าร่วมงานแสดงและจำหน่ายสินค้า ทางกลุ่มวิสาหกิจไม่สามารถนำสินค้าที่ได้แจ้งตั้งต้นมาร่วมงานได้ แต่กลับนำสินค้าอื่นมาจำหน่ายแทน ทำให้สินค้าซ้อนทับกับกลุ่มวิสาหกิจของจังหวัดอื่น ทำให้เกิดการแข่งขันการทางการตลาดภายในงาน

                  3. ปัญหาการคัดเลือกสินค้าไปจำหน่าย สินค้าที่นำไปไม่ตรงกับมาตรฐานทำให้ไม่ได้สินค้าตามคุณภาพ

        ตัวแทนฝีมือแรงงานจังหวัด

                   ปัญหาด้านสินค้าและผลิตภัณฑ์ที่นำไปเข้าร่วมงานมีการแข่งขันทางการตลาด เช่น สินค้าบริโภค (หมูสวรรค์) เป็นต้น

 

2. สรุปปัญหาด้านการตลาดของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน

สินค้าทางการเกษตร

       1. เกิดการกดราคาจากพ่อค้าคนกลาง/ผู้รับซื้อ

       2. สินค้าไม่มีคุณภาพ/มาตรฐานรองรับ (เช่นไม่ได้รับGAP) ทำให้ตลาดไม่รับซื้อ หรือรับซื้อในราคาที่ต่ำ

สินค้าแปรรูป/ผลิตภัณฑ์

       1.ต้นทุนปัจจัยการผลิตสูง ทำให้ผลิตภัณฑ์มีราคาสูง มีผลกระทบด้านการแข่งขัน

       2. กลุ่มขาดแคลนปัจจัยการผลิต มีสินค้าออกตลาดน้อย

       3. การผลิตสินค้าไม่ทันตามความต้องการของตลาด เนื่องจากขาดแรงงานการผลิต

        4. ปัญหาไม่สามารถขยายตลาดออกภายนอกชุมชนได้ เนื่องจากต้นทุนด้านการขนส่ง

        5. สินค้าไม่มีความหลากหลาย รูปแบบสินค้าเป็นรูปแบบเดิมๆ ทำให้การตลาดไม่มีทางเลือก และไม่สามารถเพิ่มมูลค่าสินค้าได้มากเท่าที่ควร

 แนวทางการแก้ไขปัญหาด้านการตลาด

  สินค้าทางการเกษตร

          1. การจัดตั้งตลาดกลางสินค้าของชุมชน ในรูปกลุ่มวิสาหกิจชุมชน เพื่อลดปัญหาพ่อค้าคนกลาง ติดต่อเกษตรกรหรือสมาชิกโดยตรง

          2. ควรมีการรวมกลุ่มเกษตรกร ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐแก้ไขปัญหาราคาสินค้าการเกษตรตกต่ำ หรือหาแหล่งจำหน่ายสินค้าทางการเกษตรให้แก่กลุ่มเกษตรกร

สินค้าแปรรูป/ผลิตภัณฑ์

           1. ขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานภาครัฐด้านความรู้เกี่ยวกับการแปรรูป และพัฒนาผลิตภัณฑ์

           2. ควรมีการประชาสัมพันธ์สินค้าผ่านสื่อ

           3. ควรมีการรวมกลุ่มวิสาหกิจชุมชนทุกกลุ่ม ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างจริงจัง เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาที่ต่อเนื่องของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน

           4. ต้องการให้หน่วยงานภาครัฐ เครือข่ายวิสาหกิจชุมชนสนับสนุนหาตลาดและการกระจายสินค้าให้ครอบคลุมทุกปี และควรจัดทำตารางการแสดงสินค้าในแต่ละปีของหน่วยงานภาครัฐ เพื่อให้กลุ่มวิสาหกิจได้วางแผนและเตรียมสินค้าออกจำหน่าย

4. การแต่งตั้งคณะทำงาน

    4.1 คณะทำงาน  จากการคัดเลือกตัวแทนวิสาหกิจระดับอำเภอ อำเภอละ 1 คน

รายชื่อ

ตำแหน่ง

ตัวแทนอำเภอ

เบอร์โทรศัพท์

นายรัตน์          คำใส

ประธาน

เชียงคำ

082-8348759

นายมานะ        เขจร

รองประธาน

ภูซาง

081-8816070

นางแสงอรุณ   มูลสถาน

เลขานุการ

แม่ใจ

081-0267761

นางอารีย์         เมืองซื่อ

เหรัญญิก

เมืองพะเยา

086-6985402

นางเอื้องคำ     สิงห์แก้ว

ประชาสัมพันธ์

ภูกามยาว

081-7717037

นายสุพจน์     พรมเมืองดี

กรรมการ

จุน

087-1801683

นางยุพิน        พุทธามรกต

กรรมการ

ปง

081-0287978

นางพนาวรรณ   กุลชาติ

กรรมการ

ดอกคำใต้

080-1309052

นายประจัน    อุ่นตาล

กรรมการ

เชียงม่วน

 

    4.2 ที่ปรึกษา

                1. ตัวแทนหน่วยงานภาครัฐ ภาคีเครือข่ายวิสากิจชุมชน

                2. ตัวแทนอาสาเกษตรกร           จำนวน 2 ท่าน

                3. ตัวแทนกลุ่มวิสาหกิจ

 

งานประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อเพิ่มศักยภาพการปฏิบัติราชการ

 โครงการปิดทองหลังพระระหว่างวันที่  25 – 27  เมษายน 2553  สถานที่ประชุม โครงการดอยตุงพื้นที่ทรงงานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สรุปผล

      1. ที่ประชุมฯ  ผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา  ได้มอบหมายให้นายอำเภอทุกอำเภอดำเนินการค้นหาพื้นที่เหมาะสมเพื่อดำเนินงานโครงการแบบมีส่วนร่วม

     2.  กำหนดประชุมเพื่อวางแผนการดำเนินงาน ภายในเดือน  พฤษภาคม  2553

     3.  ขอให้สำนักงานเกษตรอำเภอจัดเตรียมข้อมูลประสานนายอำเภอเพื่อวางแผนพัฒนาด้านการเกษตร  กลุ่ม / องค์กรเกษตรกรที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมเวที ซึ่งจังหวัดจะแจ้งให้ทราบต่อไป

 

 

หมายเลขบันทึก: 377180เขียนเมื่อ 20 กรกฎาคม 2010 16:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 พฤษภาคม 2012 11:20 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท