ความหมายของวัฒนธรรม


วัฒนธรรมไทย

ความหมายของวัฒนธรรม
           วัฒนธรรม หมายรวมถึง ทุกสิ่ง ทุกอย่างที่มนุษย์สร้างขึ้นมา นับตั้งแต่ภาษา ขนบธรรมเนียมประเพณี ศาสนา  กฎหมาย  ศิลปะ จริยธรรม ตลอดจนวิทยาการและเทคโนโลยีต่าง ๆ อาจกล่าวได้ว่าวัฒนธรรมเป็นเครื่องมือที่มนุษย์ คิดค้นขึ้นมาเพื่อช่วยให้มนุษย์สามารถดำรงอยู่ต่อไปได้ เพราะการจะมีชีวิตอยู่ในโลกนี้ได้มนุษย์จะต้องรู้จักใช้ประโยชน์จากธรรมชาติและจะต้องรู้จักควบคุมความประพฤติของมนุษย์ด้วยกัน วัฒนธรรม คือคำตอบที่มนุษย์ในสังคมคิดขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาเหล่านี้

เนื้อหาของวัฒนธรรม
         1.  วัฒนธรรมเป็นพฤติกรรมที่เกิดจากการเรียนรู้
         2.  วัฒนธรรมมีลักษณะเป็นสิ่งเหนืออินทรีย์ (superorganic) 
         3.  วัฒนธรรมเป็นมรดกทางสังคม
         4. วัฒนธรรมเป็นแบบแผนของการดำเนินชีวิต

องค์ประกอบของวัฒนธรรม
        วัฒนธรรมเป็นผลจากการที่มนุษย์ได้เข้าควบคุมธรรมชาติและพฤติกรรมของมนุษย์ ทำให้เกิดการจัดระเบียบทางสังคม  ระบบความเชื่อ ศิลปกรรม
ค่านิยมและวิทยาการต่าง ๆ อาจแยก องค์ประกอบของวัฒนธรรมได้เป็น 4 ประการ
        1.  องค์มติ (concept)  บรรดาความคิด ความเชื่อ ความเข้าใจ ความคิดเห็น ตลอดจนอุดมการณ์ต่าง ๆ
        2.  องค์พิธีการ (usage) หมายถึง ขนบธรรมเนียมประเพณีที่แสดงออกในรูปพิธีกรรม

        3.  องค์การ (organization) หมายถึง กลุ่มที่มีการจัดอย่างเป็นระเบียบหรือมีโครงสร้างอย่างเป็นทางการ มีการวางกฎเกณฑ์ระเบียบข้อบังคับและวัตถุประสงค์ไว้อย่างแน่นอน
       4.  องค์วัตถุ (instrumental and symbolic objects) ได้แก่ วัฒนธรรมทาง วัตถุทั้งหลาย เช่น บ้าน โบสถ์ วิหาร รวมตลอดถึงเครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ

ความสำคัญของวัฒนธรรม
         1.  วัฒนธรรมเป็นเครื่องกำหนดความเจริญหรือความเสื่อมของสังคม และเป็นเครื่องกำหนดชีวิตความเป็นอยู่ของคนในสังคม
        2. การศึกษาวัฒนธรรมจะทำให้เข้าใจชีวิตความเป็นอยู่ ค่านิยมของสังคม เจตคติความคิดเห็นและความเชื่อถือของบุคคลได้อย่างถูกต้อง
        3.  ทำให้มีความรู้สึกเป็นพวกเดียวกันและให้ความร่วมมือกันได้
        4.  ทำให้เกิดความสงบเรียบร้อยในสังคม เพราะวัฒนธรรมคือกรอบหรือแบบแผนของ การดำรงชีวิต
        5.  ทำให้มีพฤติกรรมเป็นแบบเดียวกัน 
        6.  ทำให้เข้ากับคนพวกอื่นในสังคมเดียวกันได้
        7.  ทำให้มนุษย์มีสภาวะที่แตกต่างจากสัตว์

ประเภทของวัฒนธรรม
         1. วัฒนธรรมทางวัตถุ (material culture) หมายถึง สิ่งของหรือวัตถุอันเกิดจากความคิดและการประดิษฐ์ขึ้นมาของมนุษย์
         2.  วัฒนธรรมที่ไม่ใช่วัตถุ (non-material culture) หมายถึง วัฒนธรรมที่แสดงออกได้โดยทัศนะ ประเพณี ขนบธรรมเนียม การปฏิบัติสืบต่อกันมาและเป็นที่ยอมรับในกลุ่มของตน ว่าดีงามเหมาะสม

วัฒนธรรมไทย
ความหมายของวัฒนธรรม

        วัฒนธรรม หมายความถึง ลักษณะที่แสดงถึงความเจริญงอกงาม ความเป็นระเบียบ
เรียบร้อย ความกลมเกลียวก้าวหน้าของชาติ และศีลธรรมอันดีของประชาชน
      1.  ลักษณะที่แสดงถึงความเจริญงอกงาม
            1.1  ความเจริญทางวัตถุ           1.2  ความงอกงามทางจิตใจ 
2.  ลักษณะที่แสดงถึงความเป็นระเบียบเรียบร้อย
           2.1  ความเป็นระเบียบเรียบร้อยในการแต่งกาย จรรยามารยาทในที่สาธารณะ
           2.2  ความเป็นระเบียบเรียบร้อยในการปฏิบัติงานและการปฏิบัติต่อบ้านเมือง
           2.3  ความเป็นระเบียบเรียบร้อยในการประพฤติตนอันเป็นทางนำมาซึ่งเกียรติ ของชาติไทยและพุทธศาสนา
3.  ลักษณะที่แสดงถึงความกลมเกลียวก้าวหน้าของชาติ
          3.1  ความสามัคคีของหมู่คณะ             3.2  ความเจริญก้าวหน้าในทางวรรณกรรมและศิลปกรรม
          3.3  ความนิยมไทย
 4.  ลักษณะที่แสดงถึงศีลธรรมอันดีของประชาชน
            4.1  ทำตนให้เป็นคนมีศาสนา            4.2  การปฏิบัติตนในหลักธรรมของพุทธศาสนา 
            4.3  การรักษาระเบียบประเพณีทางศาสนา             

 

 

 

ที่มาของวัฒนธรรม
        1.  ทฤษฎี Parallelism เชื่อว่า วัฒนธรรมเกิดขึ้นในที่ต่าง ๆ พร้อมกัน เนื่องจาก ธรรมชาติของมนุษย์คล้ายคลึงกันมาก
        2.  ทฤษฎี Diffusionism เชื่อว่า วัฒนธรรมเกิดจากศูนย์กลางแห่งเดียวกันและแพร่ กระจายออกไปยังชุมชนต่าง ๆ  

ปัจจัยที่ทำให้ชาวไทยได้สร้างวัฒนธรรมขึ้นมา
        1.  สภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์
        2.  ระบบเกษตรกรรม
        3.  ค่านิยมจากการที่ได้สะสมวัฒนธรรมต่อเนื่องกันเป็นเวลายาวนานจึงเป็นการหล่อหลอมให้เกิดแนวความคิด
             ความพึงพอใจ  และความนิยม
       4.  อิทธิพลจากวัฒนธรรมอื่น

อิทธิพลของวัฒนธรรมต่างชาติที่มีต่อสังคมไทย
 สาเหตุของการหลั่งไหลเข้ามาของวัฒนธรรมตะวันตก 
        1.  ความเจริญด้านการคมนาคมขนส่ง
        2.  อิทธิพลจากสื่อมวลชนต่าง ๆ
        3.  การเผยแพร่วัฒนธรรมโดยตรง

 อิทธิพลของวัฒนธรรมต่างชาติในสังคมไทย มีผลต่อ
        1.  ระบบการศึกษา
        2.  ระบบการเมือง
        3.  ระบบเศรษฐกิจ
        4.  ระบบสังคมและวัฒนธรรม   

ประเภทของวัฒนธรรมไทย
1.  คติธรรม คือ วัฒนธรรมที่เกี่ยวกับหลักในการดำเนินชีวิต
2.  เนติธรรม  คือ วัฒนธรรมทางกฎหมาย รวมทั้งระเบียบประเพณีที่ยอมรับนับถือกันว่ามีความสำคัญเช่นเดียวกับกฎหมาย
3.  สหธรรม คือ วัฒนธรรมทางสังคม นอกจากหมายถึงคุณธรรมต่าง ๆ ที่ทำให้คนอยู่ร่วมกันอย่างผาสุก ถ้อยทีถ้อยอาศัยกันแล้ว  ยังรวมถึงระเบียบมารยาทที่จะติดต่อเกี่ยวข้องกับสังคมทุกชนิด
4.  วัตถุธรรม คือ วัฒนธรรมทางวัตถุ  เช่นที่เกี่ยวข้องกับการกินดีอยู่ดี เครื่อง
     นุ่งห่ม บ้านเรือน และอื่น ๆ

เอกลักษณ์ของวัฒนธรรมไทย
 1.  ความรักอิสรภาพหรือความเป็นไท
2.  การย้ำความเป็นตัวของตัวเองหรือปัจเจกบุคคลนิยม
3.  ความรู้สึกมักน้อย สันโดษ และพอใจในสิ่งที่มีอยู่
4.  การทำบุญและการประกอบการกุศล
5.  การย้ำการหาความสุขจากชีวิต
6.  การย้ำการเคารพเชื่อฟังอำนาจ
7.  การย้ำความสุภาพอ่อนโยนและความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่
8.  ความโอ่อ่า

คำสำคัญ (Tags): #วัฒนธรรม
หมายเลขบันทึก: 377088เขียนเมื่อ 20 กรกฎาคม 2010 12:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 18:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

ดีคับ กำลังทำข้อสอบเรื่องนี้อยู่พอดี

ช่วยกันอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย ก่อนจะถูกวัฒนธรรมตะวันตกทำลาย

ขอบคุรมากค่ะ

ตรงหัวข้อวัฒนธรรมไทย วัฒนธรรมหมายถึง “ลักษณะที่แสดงถึงความเจริญงอกงาม ความเป็นระเบียบเรียบร้อย ความกลมเกลียวก้าวหน้าของชาติ และศีลธรรมอันดีของประชาชน” …ผมไม่ทราบว่าคุณเอานิยามนี้มาจากไหน เพราะแค่เทียบกับนิยามวัฒนธรรมตรงย่อหน้าแรกสุดก็จะเห็นว่านิยามกันคนละเรื่องคนละความหมายกันเลย

นิยามคำว่าวัฒนธรรมจากย่อหน้าแรก = หมายถึงทุกสิ่งทุกอย่างอันเกิดจากการสร้างสรรค์ของมนุษย์แต่พอมานิยามตรงส่วนของวัฒนธรรมไทย = ความเจริญงอกงาม ศีลธรรมอันดี

เห็นความแตกต่างของความหมายกว้าง/แคบของนิยามที่ไม่เหมือนกันทั้งสองนี้ไหมครับ?

รบกวนผู้ดูแลช่วยทบทวนแก้ไขความผิดพลาดด้วยนะครับ

ตรงหัวข้อวัฒนธรรมไทย วัฒนธรรมหมายถึง “ลักษณะที่แสดงถึงความเจริญงอกงาม ความเป็นระเบียบเรียบร้อย ความกลมเกลียวก้าวหน้าของชาติ และศีลธรรมอันดีของประชาชน” …ผมไม่ทราบว่าคุณเอานิยามนี้มาจากไหน เพราะแค่เทียบกับนิยามวัฒนธรรมตรงย่อหน้าแรกสุดก็จะเห็นว่านิยามกันคนละเรื่องคนละความหมายกันเลย

นิยามคำว่าวัฒนธรรมจากย่อหน้าแรก = หมายถึงทุกสิ่งทุกอย่างอันเกิดจากการสร้างสรรค์ของมนุษย์แต่พอมานิยามตรงส่วนของวัฒนธรรมไทย = ความเจริญงอกงาม ศีลธรรมอันดี

เห็นความแตกต่างของความหมายกว้าง/แคบของนิยามที่ไม่เหมือนกันทั้งสองนี้ไหมครับ?

รบกวนผู้ดูแลช่วยทบทวนแก้ไขความผิดพลาดด้วยนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท