ศาสตร์ในโลกนี้มีเพียงสอง


สิ่งที่มนุษย์ไม่ต้องการนั้นมีสองสิ่ง นั่นคือ ความทุกข์กาย และความทุกข์ใจ

"ศาสตร์" ที่ไทยเราใช้นั้นหมายถึงความรู้ แต่ก็มีความหมายถึง อาวุธ นั่นคือเป็นเครื่องมือหรือวิธีการที่ใช้ในการกำจัดสิ่งที่ไม่พึงประสงค์-ไม่พอใจ

    วันหนึ่งผมสอนนักศึกษา ด้วยคำถามว่า อะไรคือสิ่งที่คนไม่ต้องการ แล้วต้องใช้อะไรในการกำจัดสิ่งไม่พึงพอใจนั้น

    นศ. ร่วมกันแสดงความคิดเห็นอย่างกว้างขวาง และได้คำตอบที่ดีมาก ว่า "สิ่งที่มนุษย์ไม่ต้องการนั้นมีสองสิ่ง นั่นคือ ความทุกข์กาย และความทุกข์ใจ" เมื่อมีสิ่งที่ต้องกำจัด 2 ประเภท ดังนั้น ศาสตร์ที่จะใช้จึงมี 2 ประเภท เช่นกัน

    มีคำถามจาก น.ศ. ในชั้น ถึงความหมายของ "ศาสตร์" ผมเลือกความหมายหนึ่งว่า

science is about explaining the natural world and you can't believe it if you don't see it ( http://philosophersplayground.blogspot.com/2007/03/does-learning-science-mean-doing.html )

the English word "science"comes from Latin 'scire, scientia', which simply means 'to know, knowledge'

นี่เป็นความหมายของศาสตร์ ถ้าแปลด้วยคำ sciences

    ถ้าผมใช้ในความหมายนี้ ว่า "ศาสตร์" คือ "รู้", "ความรู้" ผมจะถามต่อว่า รู้อะไร หรืออะไรที่เราไม่รู้ หรือ รู้ไปทำไม

   ทีนี้ วิธีที่จะเรียนรู้ได้ง่าย ก็โดยการแบ่งหั่น หรือเรียกว่า "วิภัชวิธ๊" ศึกษาเป็นชิ้นๆ แล้วนำมาประกอบเป็นองค์รวม ในที่นี้ผมจึงแบ่งเป็นสองชิ้น

   คนแต่ยุคดึกดำบรรพ์ ต้องดิ้นรนเพื่อเอาตัวรอด สืบเผ่าพันธ์ แต่ละคนก็จะได้ประสบการณ์ทุกครั้ง ที่ออกไปหาอาหาร เขาจะสะสมประสบการณ์นี้ เพื่อใช้ต่อไป เช่น เช้าวันนี้ ไปทางที่ตะวันขึ้น ถึงหนองน้ำ แล้วสามารถจับสัตว์ได้ ในวันรุ่งขึ้น เขาก็จะไปในทิศทางเดียวกัน แต่ถ้าเขาไปสาย วันที่สองนี้ เขาจะไม่ได้สัตว์ วันที่สาม เขาก็จะเรียนรู้ว่า จะต้องไปทางตะวันขึ้น และต้องไปตอนเช้า จึงจะได้สัตว์ ในทำนองเดียวกัน คนก็เรียนรู้การอยู่ในโพรงตอนกลางคืน เพื่อหลบภัย เรียนรู้การหาฟางหรือหนังสัตว์มาห่มร่างกายเพื่อกันหนาว เรียนรู้การเก็บหญ้า-ยา เพื่อรักษาไข้ ทั้งหมดนี้ เป็นความรู้-"ศาสตร์" เพื่อดับทุกข์ทางกายของแต่ละคน เป็นศาสตร์ที่เกิดขึ้นจากประสบการณ์

    คนแต่ยุคดึกดำบรรพ์ มักจะอยู่กันเป็นครอบครัว แต่ละคนที่มาอยู่ร่วมกัน ก็จะเข้าใจกันว่า การอยู่เป็นกลุ่มก็เพื่อช่วยกันให้อยู่รอด วันหนึ่ง กลุ่มที่มีกันห้าคน มีสองคนไปทางตะวันขึ้นในตอนเช้า มีคนหนึ่งเกิดพลาดท่าถูกสัตว์ทำร้ายถึงตาย อีกคนหนึ่งกลับมาที่โพรงของกลุ่ม คนที่อยู่ที่โพรงก็สงสัย คนที่เพิ่งกลับมาก็อยากจะบอกเล่า ทั้งสองฝ่ายต่างพยายามยามที่จะแสดงความในใจให้อีกฝ่ายหนึ่งรู้ ในที่สุดก็เกิดความรู้ที่จะหาสิ่งตัวแทนเพื่ออธิบายความในใจ ในทำนองเดียวกัน คืน หนึ่งมีฟ้าผ่าเสียงดังมาก ทุกคนตกใจ อีกครั้งหนึ่ง เกิดแผ่นดินไหว ทุกคนตกใจมาก ในความมืด มีเสียงแปลกๆแล้วทำให้ปากโพรงปิดลง ทุกคนตกใจมาก ต่างพยายามแสดงความในใจ ความสงสัย และมีอยู่คนหนึ่งพยายามหาสิ่งตัวแทน ว่าสิ่งต่างๆนั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร ความรู้ที่เกิดขึ้นนี้ ทำให้ทุกคน หายอึดอัดสบายใจขึ้นไม่ทุกข์ร้อน ทั้งหมดนี้ เป็นความรู้-"ศาสตร์" เพื่อดับทุกข์ทางใจของแต่ละคน เป็นศาสตร์ที่เกิดขึ้นจากการสร้างสรรของใจ "มโน"

    ศาสตร์เพื่อดับทุกข์ทางกาย เกิดจากการสังเกต ตั้งสมมติฐาน ทดลอง ทำซ้ำ สรุปผล สร้างเป็นองค์ความรู้ เป็นวิธีทำงาน เป็นสิ่งประดิษฐ์ เป็นศาสตร์แขนงที่หนึ่ง เป็นการรู้จากธรรมชาติ

    ศาสตร์เพื่อดับทุกข์ทางใจ เกิดจากแรงขับแรงบันดาลจากภายในใจ จากสิ่งที่สะสมอยู่ภายใน การคิด จินตนาการ สร้างเป็นเครื่องมือเพื่อถ่ายทอดความคิด-ความรู้ สร้างผลงานเพื่อให้ความคิดเกิดเป็นผลเป็นรูปขึ้นมา เพื่อการสื่อสารข้อมูลข่าวสาร เพื่อการถ่ายทอดสิ่งที่จิตรังสรรขึ้น เพื่อให้การอยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุข-เป็นประเพณีระเบียบสังคม เพื่อตอบคำถามซึ่งเหนือความสามารที่จะรับรู้ได้ เป็นศาสตร์แขนงที่หนึ่ง เป็นการรู้จากใจ-มโน

    ต่อมา คนเราก็แบ่งเรื่องในการเรียน แบ่งไปแบ่งมาก็เลยเรียนกันมาคนละท่อน ศาสตร์-ความรู้ก็เลยแยกเป็นชิ้นๆ เป็นศาสตร์ต่างๆ ตามที่กล่าวมาข้างต้น ผมก็เลยขอสรุปว่า ศาสตร์ทั้งหลายในโลกนี้มีเพียงสอง

    1. ขอเรียกว่า วิทยาศาสตร์ (Natural Sci.) ศาสตร์ที่เกิดจากธรรมชาติ แบ่งเป็นสองแขนง คือ แขนงบริสุทธิ เช่น ชีววิทยา เคมี ฟิสิคส์ และวิทยาศาสตร์แขนงประยุกต์ เช่น แพทยศาสตร์ เกษตรศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์

    2. ขอเรียกว่า มโนศาสตร์ (Abstract Sci.) ศาสตร์ที่เกิดจากใจ-มโน แบ่งเป็นสองแขนงเช่นกัน คือ แขนงบริสุทธิ เช่น คณิตศาสตร์ ภาษา ศิลปวัฒนธรรม ประเพณี-ความเชื่อและศาสนา แขนงประยุกต์ เช่น การประมวลผลข้อมูล การสื่อสาร การบริหาร การปกครอง เป็นต้น

หมายเลขบันทึก: 376883เขียนเมื่อ 19 กรกฎาคม 2010 20:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 18:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ยินดีครับ....................

โค้งคำนับนั่งอ่านช่วยสานฝัน

สาระดีมีจุดเด่นเป็นสำคัญ

ชอบสร้างสรรค์เสพหาวิชาการ

ขยันเขียนเวียนหามาบันทึก

เริ่องไม่นึกก็ได้เห็นเป็นแก่นสาร

เกิดความคิดติดปัญญาพาเชี่ยวชาญ

ประสบการณ์พบเห็นเป็นบทเรียน

ธนา นนทพุทธ

จักสานอักษรกลอนคิดเห็น

ผมชอบจัง คำร้อยกรอง

จะพยายามหัดเขียนมั่ง

ขอบคุณมากครับกับการมาเยี่ยมชม และให้กำลังใจ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท