รางวัลซีไรต์


ซีไรต์

รางวัลซีไรท์ (S.E.A. WRITE AWARD)

S.E.A. WRITE AWARD มาจากคำเต็มว่า SouthEast Asian Writers Award แปลเป็นภาษาไทยว่า รางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยม...

รางวัลซีไรต์ หมายถึง รางวัลวรรณกรรมที่มอบให้แก่นักเขียน 10 ประเทศอาเซียน ได้แก่ บรูไน กัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย พม่า ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม โดยมี เจตนารมย์เพื่อส่งเสริมนักเขียนในกลุ่มประเทศอาเซียนและเผยแพร่วัฒนธรรมของวรรณกรรมของภูมิภาคนี้

ประวัติความเป็นมาของรางวัลซีไรต์

เมื่อต้นปี พ.ศ. 2522 ฝ่ายบริหารของโรงแรมโอเรียนเต็ลได้ริเริ่มรางวัลนี้ เนื่องจากโรงแรมโอเรียนเต็ลมีประวัติเกี่ยวข้องกับนักเขียนชั้นนำของโลกมาเป็นเวลาช้านาน จะเห็นได้จากการที่อาคารเก่าแก่ของโรงแรมที่ชื่อว่า "ตึกนักเขียน" (AUTHORS’ RESIDENCE) อันประกอบด้วยห้องชุดพิเศษ โดยใช้ชื่อนักเขียนคนสำคัญที่เคยมาพัก ได้แก่ ซอมเมอร์เซ้ท มอห์ม โนเอล โฆเวิด โจเซฟ คอนราด และเจมส์ มิเชนเนอร์ นอกจากนี้ยังมีห้องชุดเกรแฮม กรีน จอห์น เลอ คาร์เร่ และ บาร์บาร่า คาร์ทแลนด์ ในตึกริเวอร์วิงด้วย

ฝ่ายบริหารของโรงแรมโอเรียนเต็ล จึงได้ร่วมปรึกษากับ บริษัท การบินไทย และกลุ่มบริษัทในเครืออิตัลไทย จัดตั้งรางวัลวรรณกรรมนี้ขึ้น โดยมีพระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าเปรม บุรฉัตร ทรงเป็นประธานและได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย และสมาคมภาษาและหนังสือแห่งประเทศไทย
หัวข้อในการหารือในครั้งนั้น คือ การส่งเสริมสนับสนุนนักเขียนในกลุ่มอาเซียนทั้ง 5 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และ ไทย และการเผยแพร่ให้โลกรู้ถึงวัฒนธรรมทางวรรณกรรมของภูมิภาคนี้ ต่อมาได้มีประเทศต่างๆในกลุ่มอาเซียนทยอยเข้าร่วมงานซีไรต์จนครบสิบประเทศดังนี้ บรูไน กัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย พม่า ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม
ประเทศบรูไนดารุสซาลัมเข้าร่วมเมื่อปี 2529 ประเทศเวียดนามเข้าร่วมเมื่อปี 2539 ประเทศลาว และพม่าเข้าร่วมเมื่อปี 2541 ประเทศกัมพูชาเข้าร่วมเมื่อปี 2542

 

 

วัตถุประสงค์มีดังนี้ คือ

*เพื่อให้เป็นที่รู้จักถึงความสามารถด้านสร้างสรรค์ของนักเขียนในกลุ่มประเทศอาเซียน
*เพื่อให้ทราบถึงโภคทรัพย์ทางวรรณกรรม ทรัพย์สินทางปัญญาวรรณศิลป์แห่งกลุ่มประเทศอาเซียน
*เพื่อรับทราบ รับรอง ส่งเสริมและจรรโลงเกียรติ อัจฉริยะ ทางวรรณกรรมของนักเขียนผู้สร้างสรรค์
*เพื่อส่งเสริมความเข้าใจและสัมพันธภาพอันดีในหมู่นักเขียนและประชาชนทั่วไปในกลุ่มประเทศอาเซียน

 

กฎเกณฑ์การเลือกสรรงานวรรณกรรม มีดังนี้ คือ

*เป็นงานเขียนภาษาไทย

*เป็นงานริเริ่มของผู้เขียนเอง มิใช่งานแปลหรือแปลงจากของผู้อื่น

*ผู้เขียนยังมีชีวิตอยู่ขณะส่งงานเข้าประกวด

*เป็นงานตีพิมพ์เผยแพร่ (มี ISBN) เป็นเล่มครั้งแรกย้อนหลังไม่เกิน 3 ปี ภายในวันสิ้นกำหนดส่งงาน

*งานวรรณกรรมที่เคยได้รับรางวัลอื่นใดในประเทศไทยมาแล้วจะส่งเข้าพิจารณาอีกก็ได้

*รางวัลที่ตัดสินในแต่ละปีจะสลับประเภทของวรรณกรรม เป็น นวนิยาย กวีนิพนธ์ และเรื่องสั้น


รางวัลประกอบด้วย

*แผ่นโลหะจารึกเป็นอนุสรณ์เกียรติประวัติ
*นักเขียนไทยที่ได้รับรางวัลซีไรต์มีสิทธิเลือกไปเที่ยวประเทศใดประเทศหนึ่งในกลุ่มประเทศอาเซียน เป็นเวลา 1 สัปดาห์ โดยผู้จัดจะเป็นผู้ออกค่าเดินทาง ค่าที่พัก และอาหาร ทั้งหมด สามารถใช้สิทธิภายในระยะเวลา 1 ปี
*นักเขียนกลุ่มประเทศอาเซียน 9 ประเทศ มารับรางวัลพร้อมกับทัศนาจรที่ประเทศไทยกับนักเขียนซีไรต์ไทย   เป็นเวลา 1 สัปดาห์
*เงินสด

ผู้ได้รับรางวัลซีไรต์

รายชื่อนักเขียนชาวไทย ผู้ได้รับรางวัลซีไรต์ เรียงลำดับตามปีที่ได้รับรางวัล

ปี พ.ศ.

นักเขียน

ประเภท

ชื่อเรื่อง

2522

คำพูน บุญทวี

นวนิยาย

ลูกอีสาน

2523

เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์

กวีนิพนธ์

เพียงความเคลื่อนไหว

2524

อัศศิริ ธรรมโชติ

รวมเรื่องสั้น

ขุนทอง เจ้าจะกลับมาเมื่อฟ้าสาง

2525

ชาติ กอบจิตติ

นวนิยาย

คำพิพากษา

2526

คมทวน คันธนู

บทกวี

นาฏกรรมบนลานกว้าง

2527

วาณิช จรุงกิจอนันต์

เรื่องสั้น

ซอยเดียวกัน

2528

กฤษณา อโศกสิน

นวนิยาย

ปูนปิดทอง

2529

อังคาร กัลยาณพงศ์

บทกวี

ปณิธานกวี

2530

ไพฑูรย์ ธัญญา

เรื่องสั้น

ก่อกองทราย

2531

นิคม รายยวา

นวนิยาย

ตลิ่งสูง ซุงหนัก

2532

จิระนันท์ พิตรปรีชา

บทกวี

ใบไม้ที่หายไป

2533

อัญชัน

รวมเรื่องสั้น

อัญมณีแห่งชีวิต

2534

มาลา คำจันทร์

นวนิยาย

เจ้าจันทร์ผมหอม นิราศพระธาตุอินแขวน

2535

ศักดิ์ศิริ มีสมสืบ

บทกวี

มือนั้นสีขาว

2536

ศิลา โคมฉาย

เรื่องสั้น

ครอบครัวกลางถนน

2537

ชาติ กอบจิตติ

นวนิยาย

เวลา

2538

ไพวรินทร์ ขาวงาม

บทกวี

ม้าก้านกล้วย

2539

กนกพงศ์ สงสมพันธุ์

เรื่องสั้น

แผ่นดินอื่น

2540

วินทร์ เลียววาริณ

นวนิยาย

ประชาธิปไตยบนเส้นขนาน

2541

แรคำ ประโดยคำ

บทกวี

ในเวลา

2542

วินทร์ เลียววาริณ

เรื่องสั้น

สิ่งมีชีวิตที่เรียกว่าคน

2543

วิมล ไทรนิ่มนวล

นวนิยาย

อมตะ

2544

โชคชัย บัณฑิต

บทกวี

บ้านเก่า

2545

ปราบดา หยุ่น

เรื่องสั้น

ความน่าจะเป็น

2546

เดือนวาด พิมวนา

นวนิยาย

ช่างสำราญ

2547

เรวัตร์ พันธุ์พิพัฒน์

กวีนิพนธ์

แม่น้ำรำลึก

2548

บินหลา สันกาลาคีรี

เรื่องสั้น

เจ้าหงิญ

2549

งามพรรณ เวชชาชีวะ

นวนิยาย

ความสุขของกะทิ

2550

มนตรี ศรียงค์

บทกวี

โลกในดวงตาข้าพเจ้า

2551

วัชระ สัจจะสารสิน

รวมเรื่องสั้น

เราหลงลืมอะไรบางอย่าง

2552

2553

อุทิศ เหมะมูล

ซะการีย์ยา อมตยา

นวนิยาย

บทกวี

ลับแล แก่งคอย

ไม่มีหญิงสาวในบทกวี

แหล่งอ้างอิง  http://www.seawrite.com/

 

หมายเลขบันทึก: 376771เขียนเมื่อ 19 กรกฎาคม 2010 14:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 02:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท