ส่งงานภาวะผู้นำ


จากการสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับผู้นำการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษา (Leaders of educational change)  ช่วยให้พบข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับการเป็นผู้นำของครู  (Teacher leadership)  ในแง่คุณลักษณะส่วนบุคคลพบว่าคล้ายคลึงกับของผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่พบอยู่ในองค์การวิชาชีพอื่นๆ  กล่าวคือ  ผู้นำการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาส่วนใหญ่จะมีคุณลักษณะสำคัญ 6 ประการต่อไปนี้  ได้แก่

                1)  ต้องเป็นผู้มีวิสัยทัศน์ (Having vision)

            2) มีความเชื่อว่า “โรงเรียนมีไว้เพื่อเป็นสถานที่เรียนรู้ (Believing that the schools are for learning)

            3) ต้องให้คุณค่าและความสำคัญของทรัพยากรมนุษย์ (Valuing human resources)

            4) ต้องมีทักษะที่ดีของการเป็น “นักสื่อสารและนักฟัง” ที่มีประสิทธิผล (Being a skill communicators and listener)

            5)  ต้องแสดงพฤติกรรมเชิงรุก (Acting proactively)   และ

            6)  ต้องกล้าที่จะเสี่ยง (Taking risks)

1.  ต้องมีวิสัยทัศน์  (Having Vision)

                วิสัยทัศน์เป็นสิ่งจำเป็นที่ผู้นำจะขาดมิได้  เพราะเป็นพลังที่สร้างความหมาย (meaning) และวัตถุประสงค์ (Purpose)  ของการทำงานในองค์การ  ดังนั้น  ผู้นำการเปลี่ยนแปลงจึงต้องเป็นผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ (Visionary leaders)  โดยต้องมีวิสัยทัศน์ใช้เป็นฐานของการปฏิบัติงานที่รับผิดชอบทั้งหลาย ซึ่ง Manasse (1986, P. 151)  ได้ให้ทัศนะว่า  ถ้าต้องการให้องค์การมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ผู้นำจำเป็นต้องมีความสามารถในการตัดสินใจในเรื่องที่เกี่ยวกับสภาพที่ควรเป็นในอนาคตขององค์การ โดยเริ่มต้นจากการมีวิสัยทัศน์ส่วนตัว (Personal vision)  ของผู้นำก่อน  แล้วจึงหล่อหลอมให้กลายเป็นวิสัยทัศน์ร่วม (Shared vision)  กับผู้ร่วมงานทั้งหลาย  จากนั้นจึงช่วยกันสื่อสารวิสัยทัศน์ร่วมดังกล่าวพร้อมทั้งมอบอำนาจการตัดสินใจ (Empower)  แก่ผู้ที่ต้องปฏิบัติให้เป็นจริงตามวิสัยนั้น   แนวคิดการเป็นผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ หรือ Visionary leadership นั้น Westley และ Mintzberg  (1989)  กล่าวว่า เป็นกระบวนการที่มีพลวัตซึ่งเกี่ยวพันกัน 3 ขั้นตอนดังนี้

                -  เป็นภาพลักษณ์ (Image)  ที่พึงประสงค์ในอนาคตขององค์การ (คือ Vision)……..

                -  มีการสื่อสารเพื่อให้เกิดการร่วม (Shared)   ต่อวิสัยทัศน์ ซึ่งทำได้โดย.............

                -  ให้อำนาจการตัดสินใจแก่ผู้ตาม (Empowered)    เพื่อให้คนเหล่านี้สามารถนำวิสัยทัศน์ร่วมดังกล่าวสู่การปฏิบัติให้กลายเป็นจริงในที่สุด

ความสัมพันธ์ระหว่างวิสัยทัศน์ของครูกับวิสัยทัศน์ของผู้บริหารนับว่า  มีความสำคัญมาก  โดยปกติวิสัยทัศน์ของผู้บริหารมักครอบคลุมภาพกว้างทั้งระบบซึ่ง Manasse เรียกวิสัยทัศน์เช่นนี้ว่า วิสัยทัศน์ขององค์การ (Organizational vision) ส่วนวิสัยทัศน์ของครูมักเน้นที่ระดับบุคคลหรือการปฏิบัติงานของบุคคลที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของโรงเรียน  อย่างไรก็ตามจากการพิจารณาวิสัยทัศน์ของบุคคลทั้งสองกลุ่มอย่างใกล้ชิดแล้วพบว่า  เป็นวิสัยทัศน์อย่างเดียวกันเพียงแต่ต่างมุมมองกันเท่านั้น  ดังนั้น ถ้าผู้บริหารโรงเรียนคนใดที่สามารถพัฒนาวิสัยทัศน์ร่วมกับครูได้แล้ว  ย่อมสะดวกต่อการทำให้เกิดพันธะผูกพันร่วมกันที่จะช่วยผลักดันให้วิสัยทัศน์นั้นบรรลุเป้าหมายได้มากขึ้น และพบว่ามีบ่อยมากที่วิสัยทัศน์ร่วมของครูและผู้บริหารนั้น มักมีฐานที่มาของค่านิยม(Values)และความเชื่อ(Beliefs)ที่เหมือนกัน  โดยเฉพาะความเชื่อที่ว่าโรงเรียนตั้งขึ้นเพื่อการเรียนรู้ของนักเรียน ซึ่งจะกล่าวรายละเอียดของประเด็นนี้ต่อไป

 

2.  มีความเชื่อว่า  “โรงเรียนมีไว้เพื่อเป็นสถานที่เรียนรู้ (Believing that the schools are for learning)

กล่าวโดยสรุป ควรมีการวิจัยหาความสัมพันธ์ด้านค่านิยมและความเชื่อของนักการศึกษาเหล่านี้ว่า  มีผลต่อการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาอย่างไร  และด้วยความจำกัดด้านข้อมูลสารสนเทศในด้านนี้ทำให้ความเชื่อที่ว่าโรงเรียนเป็นสถานที่เรียนรู้ของนักเรียนนั้นยังอยู่ในระดับผิวเผิน(Surface)เท่านั้นไม่ลุ่มลึกมากนัก เช่นเดียวกับการหาคุณลักษณะร่วมของผู้นำที่จำเป็นต่อการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษา แต่พอสรุปโดยย่อได้ว่า ผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษาที่มีประสิทธิผลมีความเชื่อ “นักเรียนต้องมาก่อนหรือ Students come first”  โดยเรื่องเดียวกันครูใหญ่มีความเชื่อว่า “ต้องจัดการเรียนการสอนให้ตรงกับความต้องการของนักเรียน”  ส่วนครูผู้สอนเน้น “ความสำคัญของการทำงานร่วมกับนักเรียนอย่างใกล้ชิดและเชื่อว่าการจัดการเรียนการสอนของตนส่งผลกระทบต่อความสำเร็จของนักเรียน”  โดยนักการศึกษาทั้งสามระดับดังกล่าวต่างมีความเชื่อร่วม (Shared belief)  กันว่า  “การเรียนรู้ของนักเรียนเป็นความสำคัญสูงสุดอันดับแรก” ของโรงเรียน  นอกจากนี้นักการศึกษาดังกล่าว ยังมีค่านิยมร่วมกันอย่างหนึ่ง  นั่นคือ  การให้คุณค่าความสำคัญต่อทรัพยากรมนุษย์

3.  การให้คุณค่าต่อทรัพยากรมนุษย์  (Valuing Human Resources)

กล่าวโดยสรุป  คุณลักษณะของผู้นำการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาในประเด็นการให้คุณค่าทรัพยากรมนุษย์  (Valuing human resources)  แบ่งเป็น 3 มิติ  ได้แก่ 1)  ผู้นำให้คุณค่าต่อผลงานด้านวิชาชีพที่ผู้ร่วมงานสร้างให้แก่โรงเรียน     2)  ผู้นำต้องมีทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์อย่างเยี่ยมยอดในการทำงานกับผู้อื่นและ นำมาสู่    3)  การสร้างสัมพันธภาพแบบร่วมมือร่วมใจในการทำงานให้เกิดขึ้น  โดยส่วนใหญ่พบว่า  ทั้งครูผู้สอนและครูผู้นำชอบการเป็น “ผู้รับ (Recipients)” มากกว่าการเป็น “ผู้ริเริ่มเปลี่ยนแปลง (Initiators)   การให้คุณค่าความสำคัญของทรัพยากรมนุษย์ในองค์การ ถือเป็นคุณลักษณะที่สำคัญอย่างหนึ่งของผู้นำการเปลี่ยนแปลงในสถานศึกษาที่มีประสิทธิผล  ซึ่งเชื่อมโยงคุณลักษณะต่อไปคือ  ความสามารถด้านการสื่อสารและรับฟังที่ดีต่อไป

 

4.  ผู้นำการเปลี่ยนแปลงต้องเป็นนักสื่อสารและเป็นผู้ฟังที่มีประสิทธิผล

(Leaders of Change are Communicators and Listeners)

กล่าวโดยสรุป   ทักษะการสื่อสารและการรับฟังเป็นคุณลักษณะที่สำคัญต่อผู้อำนวยการเขตการศึกษา ต่อครูใหญ่ และต่อครู ในฐานะที่บุคคลเหล่านี้เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงของโรงเรียน การมีทักษะและคุณลักษณะดังกล่าวจำเป็นต่อการสร้างวิสัยทัศน์  การพัฒนาให้กลายเป็นวิสัยทัศน์ร่วม  การแสดงออกซึ่งความเชื่อของตนให้เป็นที่ประจักษ์ว่า  โรงเรียนเป็นสถานที่เพื่อการเรียนรู้ของนักเรียน  และเพื่อแสดงออกเห็นว่า  ผู้นำให้คุณค่าต่อทรัพยากรมนุษย์ของโรงเรียน ซึ่งได้แก่เพื่อนร่วมงานและผู้ใต้บังคับบัญชา การที่ผู้นำมีคุณลักษณะการเป็นนักสื่อสารและผู้ฟังที่ดีดังกล่าว มีส่วนเสริมคุณลักษณะการเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงด้านการมีพฤติกรรมเชิงรุก (Proactive)  และพฤติกรรมที่กล้าเสี่ยง (Taking risks)ของผู้นำ  ซึ่งจะกล่าวในรายละเอียดต่อไป

5.  ผู้นำการเปลี่ยนแปลงต้องมีพฤติกรรมเชิงรุก

     (Leaders of Change are Proactive)

กล่าวโดยสรุป  คุณลักษณะของผู้นำการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาในแง่การมีพฤติกรรมเชิงรุกนั้น พบว่าทุกระดับตั้งแต่ผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา ครูใหญ่และครูผู้นำที่มีประสิทธิผลล้วนแต่มีพฤติกรรมเชิงรุกแทบทั้งสิ้น กล่าวคือ  คนเหล่านี้จะแสดงพฤติกรรมการริเริ่ม  การคาดการณ์ล่วงหน้าและการยอมรับว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงที่กระทบต่อโรงเรียนและเขตพื้นที่การศึกษา จะรู้สึกว่ามีภาวะท้าทายต่อการดำรงสถานภาพเดิม จะต้องปรับปรุงแนวทางดำเนินงานด้วยวิธีใหม่ ๆ เป็นต้น  ทั้งหลายที่กล่าวมานี้ล้วนส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานให้วิสัยทัศน์ของโรงเรียนสู่ความเป็นจริงแทบทั้งสิ้น  คุณลักษณะพฤติกรรมเชิงรุกของผู้นำการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาจำเป็นต้องควบคู่กับคุณลักษณะการเป็นผู้นำที่กล้าเสี่ยงหรือ Risk taker ซึ่งจะกล่าวในรายละเอียดต่อไป

6.  ผู้นำการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาต้องเป็นผู้ที่กล้าเสี่ยง

     (Leaders of Educational Change are Risk Takers)

กล่าวโดยสรุป การเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษา ในประเด็นคุณลักษณะของการเป็นผู้กล้าเสี่ยงนั้น พบว่า  ทั้งผู้อำนวยการเขตการศึกษาและครูใหญ่ซึ่งมีหน้าที่ด้านการนำและให้คำปรึกษาแนะนำผู้อื่นในกระบวนการเปลี่ยนแปลงของโรงเรียนนั้นมีคุณลักษณะของผู้กล้าเสี่ยงแต่มีความรอบคอบและมีความคิดไปข้างหน้า (Fore thought) ยิ่งกว่านั้นยังเป็นผู้กระตุ้นผู้อื่นให้ทำการริเริ่มสิ่งใหม่ และยังช่วยสร้างสถานการณ์แวดล้อมต่าง ๆ   เพื่อเป็นหลักประกันความปลอดภัยให้แก่ผู้ใต้บังคับบัญชาอีกด้วย  แต่ในส่วนของครูนั้นงานวิจัยชี้ว่า ครูส่วนใหญ่ยังมีความลังเลที่จะมีพฤติกรรมกล้าเสี่ยงด้วยเหตุผลต่าง ๆ กัน จะมีบ้างตามที่ Boles และ Troen (1992)  ได้ยกตัวอย่างมาก่อนหน้านี้ในเรื่องการมีพฤติกรรมเชิงรุกของครู  การปฏิรูปการศึกษาที่เกิดขึ้นอาจช่วยลดความลังเลใจของครูต่อการเปลี่ยนแปลงให้น้อยลง

บทสรุปส่งท้าย

 

                คุณลักษณะสำคัญ 6 ประการของการเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษา ได้แก่  การมีวิสัยทัศน์ (Being visionary)  การเชื่อว่าโรงเรียนเป็นสถานที่เพื่อการเรียนรู้ (Believing that school are for learning)  การให้คุณค่าต่อทรัพยากรมนุษย์  (Valuing human resources)  การมีทักษะการสื่อสารและการรับฟังอย่างมีประสิทธิผล  (Communicating and listening effectively)  การมีพฤติกรรมเชิงรุก (Being proactive)  และการมีความกล้าเสี่ยง (Taking risks)  เป็นคุณลักษณะร่วมของผู้นำการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาที่ประสบความสำเร็จ  นอกจากคุณลักษณะเหล่านี้จะเป็นดัชนีบ่งชี้ การเป็นผู้นำการศึกษาที่ประสบความสำเร็จแล้ว  เมื่อนำมาพิจารณาร่วมกับทฤษฎีภาวะผู้นำที่มีประสิทธิผล 2 มิติ คือ  มิติพฤติกรรมมุ่งกิจสัมพันธ์ (Initiating structure)  ซึ่งบ่งบอกถึงพฤติกรรมของผู้นำที่เกี่ยวข้องกับงานที่เป็นภารกิจขององค์การ  กับมิติพฤติกรรมมุ่งมิตรสัมพันธ์ (Consideration) ซึ่งบ่งบอกถึงพฤติกรรมที่เกี่ยวกับผู้ปฏิบัติงานและความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล แล้ว สรุปได้ว่า  มิติทั้งสองของผู้นำการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาประกอบด้วยคุณลักษณะในกรอบของทฤษฎีภาวะผู้นำที่มีประสิทธิผลทั้ง 2 มิติที่กล่าวมาแล้ว ดังนี้

 

                มิติพฤติกรรมมุ่งมิตรสัมพันธ์ของผู้นำการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาประกอบด้วยคุณลักษณะต่อไปนี้

                                -  การมีวิสัยทัศน์

                                -  การเชื่อว่าโรงเรียนเป็นสถานที่เพื่อการเรียนรู้

                                -  การให้คุณค่าต่อทรัพยากรมนุษย์ และ

                                -  การมีทักษะสื่อสารและการรับฟังอย่างมีประสิทธิผล

 

                ส่วนมิติพฤติกรรมมุ่งกิจสัมพันธ์  ประกอบด้วยคุณลักษณะ ต่อไปนี้

                                -  การมีพฤติกรรมเชิงรุก และ

                                -  การมีความกล้าเสี่ยง

 

                การเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาจำเป็นต้องตอบสนองด้านความต้องการของมนุษย์ควบคู่ไปกับด้านภารกิจต่างๆ ของโรงเรียนหรือเขตพื้นที่การศึกษา ทั้งนี้การเปลี่ยนแปลงอย่างมีประสิทธิผลนั้นต้องมีทักษะด้านภาวะผู้นำ  ที่สามารถบูรณาการองค์ประกอบด้านมนุษย์ (Solf  human  elements) เข้ากับองค์ประกอบด้านงานภารกิจ (Hard business actions) (Joiner, 1987)

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 376345เขียนเมื่อ 17 กรกฎาคม 2010 23:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 มิถุนายน 2012 10:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท