พื้นฐานนาฏศิลป์ไทยเบื้องต้น (เล่มที่ 1)


ชมรมนาฏศิลป์ไทย

พื้นฐานนาฏศิลป์ไทยเบื้องต้น

ที่มาของนาฏศิลป์ไทย

                ประเทศไทยได้ชื่อว่าเป็นประเทศที่มีความเป็นเอกราชมาช้านาน 

มีศิลปวัฒนธรรมแสดงถึงความเป็นเอกลักษณ์ของชาติ  จนเป็นที่ชื่นชอบ

ของนานาประเทศที่ได้พบเห็นความงดงามในศิลปวัฒนธรรมไทย  แม้ในปัจจุบัน

ประเทศไทยกำลังได้รับอิทธิพลทางด้านวัฒนธรรมจากต่างชาติกันหลากหลาย

ที่กำลังหลั่งไหลเข้ามามีบทบาทในสังคมไทย  แต่สิ่งหนึ่งที่คนไทยยังสามารถอนุรักษ์และสืบทอดได้จนถึงทุกวันนี้ก็คือ  นาฏศิลป์  อันเป็นศิลปะประจำชาติที่คนไทยทุกคนควรอนุรักษ์และให้การสนับสนุน  เพื่อให้ศิลปะแขนงนี้ดำรงอยู่สืบไป  ในอนาคต

 

ความหมายของคำว่า  “นาฏศิลป์”

            นาฏศิลป์  มาจากคำว่า  “นาฏ”  กับคำว่า  “ศิลปะ”

            นาฏ                 คือ  การร่ายรำและการเคลื่อนไหวไปมา

            ศิลปะ               คือ  การแสดงออกมาให้ปรากฏขึ้นอย่างงดงาม  น่าพึงชมก่อให้เกิดอารมณ์สะเทือนใจ

            เมื่อนำทั้งสองคำมารวมกันมีผู้ให้ความหมายต่าง ๆ กัน  ดังนี้

            นาฏศิลป์         คือ  ศิลปะแห่งการละครหรือการฟ้อนรำ

            นาฏศิลป์         คือ  การฟ้อนรำ

            นาฏศิลป์         คือ  ความช่ำชองในการฟ้อนรำ

            นาฏศิลป์         คือ  การร้องรำทำเพลง  ให้ความบันเทิงใจ  อันประกอบด้วยความโน้มเอียงแห่งอารมณ์และความรู้สึก

            สรุปได้ว่า  “นาฏศิลป์”  คือ  ศิลปะการร้องรำทำเพลงที่มนุษย์เป็นผู้สร้างสรรค์โดยประดิษฐ์ขึ้นอย่างประณีตและมีแบบแผน  ให้ความรู้ความบันเทิง

ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญที่ยังคงให้เห็นถึงวัฒนธรรมความรุ่งเรืองของชาติได้เป็นอย่างดี

  

ความสำคัญของนาฏศิลป์

            นาฏศิลป์  เป็นส่วนหนึ่งที่มีความสำคัญไม่น้อยกว่าศิลปะแขนงอื่นๆ 

ความสำคัญของนาฏศิลป์มีดังนี้

       1.      นาฏศิลป์  แสดงความเป็นอารยประเทศ  บ้านเมืองมีความเจริญรุ่งเรืองดี

ก็ด้วยประชาชนมีความเข้าใจศิลปะ  เพราะศิลปะเป็นสิ่งมีค่าเป็นเครื่องโน้มน้าวอารมณ์  ให้ไปในทางที่ดีเป็นแนวทางนำให้คิด  และให้กำลังใจในการที่จะสร้างความเจริญรุ่งเรืองให้แก่บ้านเมืองสืบไป

       2.      นาฏศิลป์เป็นแหล่งรวมศิลปะ  ประกอบด้วยศิลปะประเภทต่าง ๆ 

มาเกี่ยวข้องสอดคล้องกัน  เช่น  ศิลปะการเขียน  การก่อสร้าง  การออกแบบ

เครื่องแต่งกาย  และวรรณคดี  ศิลปะแต่ละประเภทได้จัดทำกันด้วยความประณีตสุขุม

ทั้งนี้ก็เนื่องด้วยศิลปะเป็นส่วนที่สำคัญส่วนหนึ่งของชาติ  มนุษย์ทุกชาติทุกภาษา

ต้องมีศิลปะของตนไว้เป็นประจำ  นับแต่โบราณมาจนถึงทุกวันนี้  รวมความว่า

นาฏศิลป์มีความสำคัญเกี่ยวเนื่องกันทั้งสิ้น  สร้างความเป็นแก่นสารให้แก่บ้านเมืองด้วยกันทั้งนั้น

การเกิดนาฏศิลป์

            นาฏศิลป์  หรือศิลปะแห่งการแสดงละครฟ้อนรำนั้นมีมูลเหตุที่เกิด  ดังนี้

1.      เกิดจากที่มนุษย์ต้องการแสดงอารมณ์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ  ให้ปรากฏ

โดยมีจุดประสงค์เพื่อเป็นการสื่อความหมายเป็นสำคัญ  เริ่มตั้งแต่

          1.1     มนุษย์แสดงอารมณ์ตามธรรมชาติออกมาตรง ๆ  เช่น 

       การเสียใจก็ร้องให้  ดีใจถูกใจก็ตบมือส่งเสียงหัวเราะ

          1.2      เกิดจากการที่มนุษย์ต้องการเอาชนะธรรมชาติด้วยวิธีต่างๆ  ที่นำไปสู่การรำเพื่อบูชาสิ่งที่ตนเคารพตามลัทธิศาสนาของตน  ต่อมาจึงเกิดเป็นความเชื่อ

      ในเรื่องเทพเจ้า  ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิที่เราเคารพบูชา  โดยเริ่มจาก

      การวิงวอนอธิษฐาน  จนถึงสุดท้ายมีการประดิษฐ์เครื่องดนตรี  ดีด  สี  ตี

      และเป่า  การเล่นดนตรี  การร้องและการรำเกิดขึ้นเพื่อให้เทพเจ้า

      เกิดความพอใจมากยิ่งขึ้น

          1.3     เกิดจากการที่มนุษย์คิดประดิษฐ์หาเครื่องบันเทิงใจ  หลังจากหยุดพัก

      จากภารกิจประจำวัน  เริ่มแรกอาจเป็นการเล่านิทาน  นิยาย 

      มีการนำเอาดนตรี  และการแสดงท่าทางต่าง ๆ ประกอบเป็นการร่ายรำ 

      จนถึงขั้นแสดงเป็นเรื่องราว

           1.4     เกิดจากการเล่นเลียนแบบของมนุษย์  ซึ่งเป็นการเรียนรู้ในขั้นต้นของมนุษย์  นำไปสู่การสร้างสรรค์ศิลปะแบบต่าง ๆ นาฏศิลป์ก็เช่นกัน  จะเห็นว่ามนุษย์นิยมเลียนแบบสิ่งต่าง ๆ ทั้งจากมนุษย์เองสังเกตจากเด็ก ๆ ชอบแสดงบทบาทสมมุติเป็นพ่อเป็นแม่ในเวลาเล่นกัน  เช่น การเล่นตุ๊กตา  การเล่นหม้อข้าวหม้อแกง  หรือเลียนแบบจากธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ  ทำให้เกิดการเล่น  เช่น  การเล่นงูกินหาง  การแสดงระบำนกยูง  ระบำม้า  เป็นต้น

ความมุ่งหมายในการเรียนนาฏศิลป์

 การเรียนนาฏศิลป์มีความมุ่งหมายดังนี้

1.      เพื่อเป็นการปลูกฝังและส่งเสริมนิสัยทางศิลปะแก่ผู้เรียน

2.      เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจยิ่งขึ้น

3.      เพื่อเป็นการส่งเสริมและอนุรักษ์วัฒนธรรมของชาติให้คงอยู่สืบไป

4.      เพื่อเป็นการฝึกให้รู้จักกล้าแสดงออก

 

ประโยชน์ในการเรียนนาฏศิลป์

            การเรียนนาฏศิลป์ทำให้เกิดประโยชน์ดังนี้

1.      ทำให้เป็นคนรื่นเริงแจ่มใส

2.      มีความสามัคคีในหมู่คณะ

3.      สามารถยึดเป็นอาชีพได้

4.      ทำให้รู้จักดนตรีและเพลงต่าง ๆ

5.      ทำให้เกิดความจำและปฏิภาณดี

6.      ช่วยให้เป็นคนที่มีบุคลิกท่าทางเคลื่อนไหวสง่างาม

7.      ช่วยในการออกกำลังกายได้เป็นอย่างดี

8.      ได้รับความรู้นาฏศิลป์จนเกิดความชำนาญ  สามารถปฏิบัติได้ดีมีชื่อเสียง

 คุณสมบัติของผู้เริ่มเรียนนาฏศิลป์

            การเรียนนาฏศิลป์ผู้ที่เริ่มเรียนควรมีคุณสมบัติดังนี้

1.      ต้องมีความสนใจและตั้งใจจริง

2.      ต้องทำใจให้รักและนิยมในศิลปะแขนงนี้

3.      ต้องมีสมาธิแน่วแน่ในขณะปฏิบัติ

4.      ต้องเป็นผู้ที่ช่างสังเกต

5.      ต้องพยายามเลียนแบบครูให้มากที่สุด

6.      ต้องเป็นผู้ที่ไม่ท้อถอยต่อความยากของบทเรียน  หรือความเมื่อยล้า

      ที่เกิดขึ้น

7.      ต้องเป็นผู้ที่ขยันในการทบทวนฝึกซ้อมท่ารำอยู่สม่ำเสมอ

                 นาฏยศัพท์ 

             นาฏยศัพท์  หมายถึง  ศัพท์ที่เกี่ยวกับลักษณะท่ารำ

ที่ใช้ในการถ่ายทอดและฝึกหัดในการรำนาฏศิลป์ไทย 

ซึ่งจะใช้คำนาฏยศัพท์เป็นสื่อกลางในการถ่ายทอดท่ารำ 

ซึ่งนักเรียนจะต้องเป็นผู้ที่รู้จักในเรื่องของนาฏยศัพท์มาแล้ว 

จะทำให้การสื่อสารระหว่างครูกับนักเรียนเป็นไปอย่างราบรื่น

นาฏยศัพท์ที่ควรทราบในพื้นฐานเบื้องต้น  มีดังนี้

1.  ตั้งวง

            เป็นลักษณะของลำแขนที่ทอดโค้ง  ปลายนิ้วตั้งขึ้น  นิ้วทั้งสี่เรียงชิดติดกัน  นิ้วหัวแม่มือหักเข้าหาฝ่ามือเล็กน้อย  หักข้อมือเข้าหาลำแขน

 

การตั้งวง   มีดังนี้

1.1     วงล่าง

 ตัวนาง  -  ตั้งวงระดับชายพก  หรือระดับหัวเข็มขัด

 ตัวพระ  -  ตั้งวงระดับชายพก  หรือระดับหัวเข็มขัด 

                  กันข้อศอกให้วงกว้างกว่าตัวนาง

 

                              ภาพที่ 2  แสดงการตั้งวงล่าง 

1.2     วงกลาง

        ตัวนาง  -  ตั้งวง  ปลายนิ้วอยู่ระดับไหล่  โค้งลำแขนมาข้างหน้าเล็กน้อย

        ตัวพระ  -  ตั้งวง  ปลายนิ้วอยู่ระดับไหล่  กันวงกว้างกว่าตัวนาง

  

                                 ภาพที่ 3  แสดงการตั้งวงกลาง 

1.3     วงบน

 ตัวนาง  -  ตั้งวง  ปลายนิ้วสูงระดับหางคิ้ว  โค้งลำแขนมาข้างหน้าเล็กน้อย

 ตัวพระ -  ตั้งวง  ปลายนิ้วสูงระดับแง่ศีรษะ  กันวงกว้างกว่าตัวนาง

 

 

                                ภาพที่ 4  แสดงการตั้งวงบน 

1.4   วงหน้า

        ตัวนาง  -  ตั้งวงอยู่ด้านหน้า  ระดับปาก  โค้งลำแขนมาข้างหน้า

        ตัวพระ -  ตั้งวงอยู่ด้านหน้า  ระดับปาก  โค้งลำแขนมาข้างหน้า 

             กันข้อศอกให้วงกว้างกว่าตัวนาง

 

                                    ภาพที่ 5  แสดงการตั้งวงหน้า 

1.5    วงบัวบาน

        ตัวนาง  -  มือทั้งสอง  ดึงจีบขึ้นมาแล้วคลายจีบตั้งวง 

                        หงายฝ่ามือขึ้น  ปลายนิ้วชี้เฉียงออกมาด้านหน้าข้างลำตัว 

                        หักข้อศอก  ให้แขนท่อนล่างพับเข้าหาลำตัว 

                        ข้อศอกสูงระดับไหล่  มืออยู่ระดับหางคิ้ว 

        ตัวพระ -  มือทั้งสอง ดึงจีบขึ้นมาแล้วคลายจีบตั้งวง 

                        หงายฝ่ามือขึ้น  ปลายนิ้วชี้เฉียงออกมาด้านหน้าข้างลำตัว 

                        หักข้อศอก  ให้แขนท่อนล่างพับเข้าหาลำตัว 

                        ข้อศอกสูงระดับไหล่  มืออยู่ระดับแง่ศีรษะ 

                        กันข้อศอกออกกว้างกว่าตัวนาง

 

 

 

                       ภาพที่ 6  แสดงการตั้งวงบัวบาน 

2. จีบ

                 เป็นลักษณะของการใช้นิ้วหัวแม่มือ  จรดข้อแรกของปลายนิ้วชี้ 

นิ้วที่เหลือทั้งสาม  กรีดออกให้มากที่สุดคล้ายรูปพัด  หักข้อมือเข้าหาท้องแขน 

 

 

                                             ภาพที่ 7  แสดงลักษณะการจีบ 

การจีบ  แบ่งออกดังนี้

2.1     จีบคว่ำ

ตัวนาง  -  คว่ำมือจีบ ให้ปลายนิ้วที่จีบ  ชี้ลงข้างล่างหักข้อมือเข้าหาท้องแขน 

ตัวพระ -  คว่ำมือจีบ ให้ปลายนิ้วที่จีบ  ชี้ลงข้างล่างหักข้อมือเข้าหาท้องแขน 

                        วงแขนกันออกกว้างกว่าตัวนาง

 

                       

                                   ภาพที่ 8  แสดงลักษณะจีบคว่ำ 

2.2     จีบหงาย

          ตัวนาง  -  หงายมือจีบ  ให้ปลายนิ้วที่จีบชี้ขึ้นข้างบน หักข้อมือเข้าหาท้องแขน 

          ตัวพระ -  หงายมือจีบ  ให้ปลายนิ้วที่จีบชี้ขึ้นข้างบน                                                             

               หักข้อมือเข้าหาท้องแขน  วงแขนกันออกกว้างกว่าตัวนาง

 

 

                              ภาพที่ 9  แสดงลักษณะจีบหงาย 

2.3  จีบปรกหน้า

       ตัวนาง  -  จีบหงาย  ดึงมือจีบอยู่ด้านหน้า  หันปลายนิ้วเข้าหาหน้าผาก

                หักข้อมือเข้าหาท้องแขน

      ตัวพระ -  จีบหงาย  ดึงมือจีบอยู่ด้านหน้า  หันปลายนิ้วเข้าหาหน้าผาก

                       หักข้อมือเข้าหาท้องแขน  วงแขนกันออกกว้างกว่าตัวนาง

 

 

                              ภาพที่ 10  แสดงลักษณะจีบปรกหน้า 

2.4   จีบปรกข้าง

        ตัวนาง  -  จีบหงาย  ดึงมือจีบมาอยู่ด้านข้าง  หันปลายนิ้วเข้าหาศีรษะ 

                       หักข้อมือเข้าหาท้องแขน

        ตัวพระ  -  จีบหงาย  ดึงมือจีบมาอยู่ด้านข้าง  หันปลายนิ้วเข้าหาศีรษะ 

                         หักข้อมือเข้าหาท้องแขน  วงแขนกันออกกว้างกว่าตัวนาง

 

                                    ภาพที่ 11  แสดงลักษณะจีบปรกข้าง 

2.5   จีบหงายระดับชายพก

        ตัวนาง  -  จีบหงายระดับชายพกหรือระดับหัวเข็มขัด หักข้อมือเข้าหาท้องแขน

         ตัวพระ -  จีบหงายระดับชายพก  หรือระดับหัวเข็มขัด 

                         หักข้อมือเข้าหาท้องแขน  กันข้อศอกกว้างกว่าตัวนาง

 

                          ภาพที่ 12  แสดงลักษณะจีบหงายระดับชายพก 

2.6   จีบส่งหลัง

       ตัวนาง  -  จีบหงายส่งมือไปข้างหลัง  ลำแขนเหยียดตึง

                      พยายามให้แขนที่ส่งไปข้างหลังห่างจากลำตัว 

                      ปลายนิ้วที่จีบชี้ขึ้นข้างบน

       ตัวพระ -  จีบหงาย  ส่งมือไปข้างหลัง   ลำแขนเหยียดตึงพยายามให้แขน

                       ที่ส่งไปข้างหลังห่างจากลำตัว  ปลายนิ้วที่จีบชี้ขึ้นข้างบน

 

 

                                    ภาพที่ 13  แสดงลักษณะจีบส่งหลัง 

3.  นาฏยศัพท์ส่วนเท้า

            นาฏยศัพท์ส่วนเท้า  คือ  การใช้ร่างกายในส่วนของเท้าเคลื่อนไหว

เพื่อให้สอดคล้องกับการเคลื่อนไหวของร่างกายในส่วนอื่นได้อย่างถูกต้องสวยงาม  ตามแบบนาฏศิลป์ไทย     ดังนี

   3.1  จรดเท้า

ตัวนาง  -   เท้าวางเหลื่อมกันเล็กน้อย  เท้าข้างหนึ่งวางราบกับพื้นรับน้ำหนักตัว 

                  เท้าอีกข้างใช้จมูกเท้าแตะลงบนพื้น  และเปิดส้นเท้าขึ้นจากพื้น

ตัวพระ  -   เท้าวางเหลื่อมกันเล็กน้อย  เท้าข้างหนึ่งวางราบกับพื้นรับน้ำหนักตัว 

                  เท้าอีกข้างใช้จมูกเท้าแตะกับพื้น  และเปิดส้นเท้าขึ้นจากพื้น

                  กันเข่าออกให้ได้เหลี่ยม

 

                               ภาพที่ 15  แสดงลักษณะการจรดเท้า

3.2  วางส้น

        ตัวนาง  -  วางเท้าลงทางด้านหน้าด้วยส้นเท้าแตะกับพื้น  ปลายเท้าเชิดขึ้น 

             เท้าอีกข้างที่วางอยู่รับน้ำหนักตัวในลักษณะหันปลายเท้าเฉียงออกไป

             ด้านข้างเล็กน้อย  ย่อและหนีบเข่า

        ตัวพระ -  วางเท้าลงทางด้านหน้าด้วยส้นเท้าแตะกับพื้น  ปลายเท้าเชิดขึ้น

            เท้าอีกข้างที่วางอยู่รับน้ำหนักตัวในลักษณะหันปลายเท้าเฉียง

            ออกไปด้านข้าง  ย่อและกันเข่าออกให้ได้เหลี่ยม

           

  ภาพที่ 16  แสดงลักษณะการวางส้น

3.3  กระทุ้ง

       ตัวนาง  -  วางเท้าข้างหนึ่งไว้ข้างหลังเปิดส้นเท้า  กระทุ้งด้วยจมูกเท้ากับพื้นเบา ๆ เท้าอีกข้างหนึ่งวางยืนรับน้ำหนักตัว  ย่อและหนีบเข่า

       ตัวพระ -  วางเท้าข้างหนึ่งไว้ข้างหลังเปิดส้นเท้า  กระทุ้งด้วยจมูกเท้ากับพื้นเบา ๆ เท้าอีกข้างหนึ่งวางยืนรับน้ำหนักตัว  ย่อและกันเข่าออกให้ได้เหลี่ยม

  

                                         ภาพที่ 17  แสดงลักษณะการกระทุ้ง

3.4   กระดก

        ตัวนาง  -  เป็นท่าสืบเนื่องมาจากท่ากระทุ้ง  แล้วยกขึ้นข้างหลัง 

            หนีบน่องดันเข่าไปข้างหลัง  หักปลายเท้าลง

        ตัวพระ -  เป็นท่าสืบเนื่องมาจากท่ากระทุ้ง  แล้วยกขึ้นข้างหลังดันเข่า

                        ไปข้างหลัง  หักปลายเท้าลง  กันเข่าออกให้ได้เหลี่ยม

 

 

                                  ภาพที่ 18  แสดงลักษณะการกระดกเท้า

3.5  ก้าวข้าง

       ตัวนาง  -  ก้าวเท้าข้างใดข้างหนึ่งในลักษณะเฉียงออกข้างเท้าอีกข้าง

           ที่ยืนอยู่พร้อมทั้งหลบเข่า  น้ำหนักตัวอยู่เท้าที่ก้าวข้าง

       ตัวพระ -  ก้าวเท้าข้างใดข้างหนึ่งในลักษณะเฉียงออกข้างเท้าอีกข้าง

           ที่ยืนอยู่  กันเข่าออกให้ได้เหลี่ยม

 

                

                                   ภาพที่ 19  แสดงลักษณะการก้าวข้าง

3.6  ก้าวหน้า

        ตัวนาง  - ก้าวเท้าไปข้างหน้า  ลักษณะปลายเท้าที่ก้าวจะเฉียงไปทางด้านข้างเล็กน้อย  ห่างจากส้นเท้าหลังประมาณหนึ่งคืบ  เท้าหลังอยู่ในลักษณะเปิดส้น

        ตัวพระ - ก้าวเท้าไปข้างหน้า  กันเข่าออกให้ได้เหลี่ยม  ปลายเท้าที่ก้าวจะเฉียงไปทางด้านข้างเล็กน้อย   ให้ส้นเท้าหน้าอยู่ในแนวเดียวกันกับหัวแม่เท้าหลัง

ห่างกันประมาณหนึ่งคืบ  เท้าหลังอยู่ในลักษณะเปิดส้น

 

             

                                  ภาพที่ 20  แสดงลักษณะการก้าวหน้า 

3.7  ประเท้า

         ตัวนาง  -  เท้าข้างใดข้างหนึ่ง  วางส้นและใช้จมูกเท้าปรบพื้นเบา ๆ แล้วยกขึ้น  เท้าอีกข้างหนึ่งย่อเข่า  รับน้ำหนักตัว

        ตัวพระ -  เท้าข้างใดข้างหนึ่ง  วางส้นและใช้จมูกเท้าปรบพื้นเบา ๆ แล้วยกขึ้น    เท้าอีกข้างหนึ่งย่อเข่า  รับน้ำหนักตัว  กันเข่าออกให้ได้เหลี่ยม

 

 

                                          ภาพที่ 21  แสดงลักษณะการก้าวประเท้า  

3.8  ยกเท้า

        ตัวนาง  -  เป็นท่าต่อเนื่องจากการประเท้า  แล้วยกเท้าขึ้นสูงระดับกลางน่องของขาอีกข้างหนึ่งที่ยืนรับน้ำหนักตัว  ปลายเท้าที่ยกไปด้านข้าง

เล็กน้อย  และกระดกปลายนิ้วเท้าให้งอนขึ้น

        ตัวพระ  -  เป็นท่าต่อเนื่องจากการประเท้า  แล้วยกเท้าขึ้นสูงระดับกลางน่องของขาอีกข้างหนึ่งที่ยืนรับน้ำหนักตัว  ปลายเท้าที่ยกไปด้านข้างเล็กน้อย  และกระดกปลายนิ้วเท้าให้งอนขึ้น

 

                                         ภาพที่ 22  แสดงลักษณะการยกเท้า 

 

ภาษาท่านาฏศิลป์

              ภาษาท่านาฏศิลป์  คือ  การแสดงท่าทางแทนคำพูด  รวมทั้งการแสดงอารมณ์ต่าง ๆ ภาษาท่าเป็นการใช้ภาษาอย่างหนึ่งที่วิวัฒนาการมาจากธรรมชาติแล้วนำมาปรับแต่งท่าทางให้งดงามมากขึ้น   

 

ภาษาท่านาฏศิลป์  ที่มาจากท่าทางธรรมชาติของมนุษย์ 

 

   
   

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 376103เขียนเมื่อ 17 กรกฎาคม 2010 11:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

สวัสดีค่ะ

  • มาเรียนรู้เรื่องนาฏศิลป์เบื้องต้นค่ะ
  • ขอบคุณนะคะที่นำมาแบ่งปัน
  • จะนำไปเป็นสื่อสอนนักเรียนค่ะ
  • มีความสุขเสมอ ๆ นะคะ

ยินดีที่รู้จักค่ะคุณครูอิงจันทร์  ณ  เรือนปั้นหยา

ยินดีมากเลยค่ะ  ที่คุณครูนำไปเป็นสื่อการสอน

เดี๋ยวจะลงเพิ่มเติมอีกค่ะ  อย่าลืมมาเยี่ยมอีกนะคะ

ขอบคุณสำหรับกำลังใจค่ะ

  • สวัสดีค่ะ
  • บุษราเพิ่งเปิดเจอที่อาจารย์เข้าไปคอมเม้นท์งานในอัลบัลไฟล์รูป บางครั้งบุษราจะไม่ค่อยได้เข้าไปดู  ถ้าไม่เป็นการรบกวนอาจารย์ ให้อาจารย์ไปทักทายบุษราที่บล๊อกเรื่องเล่านะค่ะ
  • เป็นกำลังใจให้คุณครูโอ๋นะค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ

                    

Awesome ;-) ;-) ;-) Thank you. Waiting for more.

May we see pictures of foot/leg movements too, please? And how do these movements correlate to 'verbal'/'emotional'/... expressions so we understand what the dance is saying to us?

ขอบคุณค่ะจะเป็นสื่อการสอนในเทอมหน้าค่ะ

หนูเด็ก  ช.น. สระบุรี

ขอให้มีความสุข  ในการสอน

ขอบคุณค่

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท