วิจัยความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำของผู้บริหารระดับกลางกับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพนักงาน


ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำของผู้บริหารระดับกลางกับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพนักงาน

ชูชาติ บัวเสถียร

              การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาภาวะผู้นำของผู้บริหารระดับกลางด้านภาวะผู้นำแบบมุ่งงานและภาวะผู้นำแบบมุ่งสัมพันธ์ โดยใช้แบบสอบถาม LBDQ มาใช้ในการวัดภาวะผู้นำและใช้แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มาใช้ในการวัดความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัท เปรียบเทียบความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัทจำแนกตาม เพศ อายุ ระดับการศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อเดือน ประสบการณ์การทำงาน และความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำของผู้บริหารระดับกลางกับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัท
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ได้แก่ พนักงานบริษัทผลิตชิ้นส่วนเครื่องทำความเย็น จังหวัดระยอง จำนวน 242 คน ที่ปฏิบัติงานในปี พ.ศ.2548 โดยการกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างตามสูตรของยามาเน่ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามวัดความัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำของผู้บริหารระดับกลางกับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัท และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว การทดสอบความแตกต่างรายคู่โดยวิธี LSD และการทดสอบความสัมพันธ์โดยวีธีการวิเคราะห์แบบเพียร์สัน (Pearson).
ผลการวิเคราะห์สรุปได้ดังนี้
1. ภาวะผู้นำของผู้บริหารระดับกลางแบบมุ่งงาน และแบบมุ่งสัมพันธ์อยู่ในเกณฑ์สูง
2. ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัท โดยภาพรวมและรายด้านมีความพึงพอใจในการปฏิบัติงานอยู่ในระดับมาก
3. ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัท
3.1 ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัท โดยภาพรวม จำแนกตามเพศ, ระดับการศึกษาและประสบการณ์ การทำงาน แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (P>.05)
3.2 ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัท โดยภาพรวม พบว่ากลุ่มระดับอายุต่ำกว่า24 ปี มีความพึงพอใจในการปฏิบัติงานมากกว่า ระดับอายุ 24-29 ปี และระดับอายุ 30 -36 ปี ระดับอายุ 36 ปีขึ้นไป มีความพึงพอใจในการปฏิบัติงานมากกว่า ระดับอายุ 24-29 ปี, ระดับอายุ 30-36 ปี และระดับอายุ 24-29 ปี มีความพึงพอใจในการปฏิบัติงานมากกว่าระดับอายุ 30-36 ปี ระดับรายได้มากกว่า 50,000 บาท มีความพึงพอใจในการปฏิบัติงานมากกว่าระดับรายได้ต่ำกว่า 7,500 บาท, 7,501-12,000 บาท,และ 35,001-50,000 บาท และระดับรายได้ 20,001 - 35,000 บาท มีความพึงพอใจในการปฏิบัติงานมากกว่าระดับรายได้ ต่ำกว่า 7,500 บาท และ 7,501-12,000 บาท
4. ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำของผู้บริหารระดับกลางแบบมุ่งงานและแบบมุ่งสัมพันธ์กับความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัทฯ โดยภาพรวมและรายด้านพบว่ามีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) ทุกด้าน โดยภาวะผู้นำแบบมุ่งงานมีความสัมพันธ์อยู่ในระดับปานกลางและภาวะผู้นำแบบมุ่งสัมพันธ์มีความสัมพันธ์อยู่ในระดับสูง.

http://chonlinet.lib.buu.ac.th/interweb/source/Research_gra/SPU_CHONBURI/M.B.A/choochart2/html/index.html

หมายเลขบันทึก: 375957เขียนเมื่อ 16 กรกฎาคม 2010 22:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 15:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท