ส่งงานค่ะ


การวิเคราะห์ภาวะผู้นำ

การวิเคราะห์ภาวะผู้นำของนิสิตสตรีระดับปริญญาโท

สาขาวิชาการบริหารการศึกษา

คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

An Analysis of Female Students Leadership of Master Program in

Educational Administration under Faculty of Education in

Burapha University

ดร.ภารดี อนันต์นาวี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบองค์ประกอบภาวะผู้นำพิสัยเต็มหาเกณฑ์ปกติของภาวะผู้นำ และเปรียบเทียบภาวะผู้นำของนิสิตสตรีระดับปริญญาโทสาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัย บูรพา จำแนกตามตำแหน่ง อายุ และประสบการณ์การทำงาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนิสิตสตรีระดับปริญญาโท ภาควิชา

บริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ปี 2545 - 2547 จำนวน 144 คน โดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่น .91 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้หาร้อยละ ค่าเฉลี่ยความเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์-ประกอบ การหาเกณฑ์ปกติคะแนนมาตรฐานที

และเปรียบเทียบภาวะผู้นำโดยการใช้วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA)

ผลการวิจัย พบว่า

1. การตรวจสอบภาวะผู้นำพิสัยเต็มของนิสิตสตรี ปรากฏว่ามี 5 องค์ประกอบ คือการส่งเสริมการกระตุ้นเชาวน์ปัญญา ภาวะผู้นำแบบค่อนข้างตามสบาย การบริหารแบบมีข้อยกเว้นโดยอ้อมและคำนึงถึงบุคคล การบริหารแบบมีข้อยกเว้นโดยตรงและให้รางวัลอย่างเหมาะสมและการส่งเสริมการสร้างแรงบันดาลใจ

2. ภาวะผู้นำของนิสิตสตรีด้านการเปลี่ยนแปลงอยู่ในระดับมาก เกณฑ์ปกติภาวะผู้นำเท่ากับ 28.91-78.38 ด้านแลกเปลี่ยนอยู่ในระดับปานกลาง เกณฑ์ปกติภาวะผู้นำเท่ากับ 21.35-79.05และภาวะผู้นำแบบตามสบายอยู่ในระดับน้อย เกณฑ์ปกติภาวะผู้นำเท่ากับ 31.28-86.08

3. การเปรียบเทียบภาวะผู้นำนิสิตสตรี  จำแนกตามตำแหน่ง อายุ และประสบการณ์การทำงานโดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกันยกเว้นด้านการกระตุ้นเชาวน์ปัญญาและด้านการคำนึงถึงเอกบุคคล จำแนกตามอายุแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <.05)

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 ได้บัญญัติให้ความคุ้มครองรับรองสิทธิและสร้างหลักประกัน กำหนดให้เป็นหน้าที่ของรัฐที่ต้องคำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และจะต้องส่งเสริมความเสมอภาคของหญิงและชาย

เสริมสร้างและพัฒนาความเป็นปึกแผ่นของครอบครัวและความเข้มแข็งของชุมชน ทั้งยังกำหนดให้มีมาตรการและกระบวนการต่าง ๆ ทั้งทางด้านการเมือง การปกครอง และในกระบวนการนิติบัญญัติ เพื่อขจัดอุปสรรคต่าง ๆที่เกิดจากการเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมและเพื่อส่งเสริมให้บุคคลสามารถใช้สิทธิเสรีภาพได้อย่างเท่าเทียมและเสมอภาค โดยเฉพาะสภาพปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ทุกคนวารสารศึกษาศาสตร์ ปีที่ 17 ฉบับที่ 2 เดือนพฤศจิกายน 2548 -มีนาคม 2549 หน้า 65ต้องเผชิญกับการแข่งขันหลายรูปแบบก่อให้เกิดความขัดแย้ง จึงต้องมี กฏเกณฑ์ เพื่อควบคุม

ความประพฤติในการกระทำ เป็นข้อบังคับที่คนในสังคมต้องปฏิบัติ ครูอาจารย์ที่เป็นชายหรือหญิงเป็นผู้ทำหน้าที่ให้ความรู้กับเยาวชนนักเรียน นิสิต นักศึกษาที่จะนำกฏเกณฑ์ไปใช้ให้ถูกต้องในสังคม และเป็นการขจัดปัญหาความ

เดือดร้อนได้อีกทางหนึ่ง การอบรมสั่งสอนให้เยาวชนเป็นคนดีจะต้องทุ่มเทกำลังกายสติปัญญา ความรู้ความสามารถ อดทน เสียสละเพื่อให้งานที่รับผิดชอบบรรลุเป้าหมาย (สมชายจายะภูมิ, 2536, หน้า 6) โดยทั่วไปผู้ชายมักจะเป็นใหญ่ในวงการทำงาน ผู้หญิงกลายเป็นส่วนเกินและไม่ค่อยรู้เรื่องการบริหารต่าง ๆบางครั้งผู้บริหารสตรีพลาดพลั้งเพราะไม่รู้

กฎเกณฑ์ที่ถูกต้อง สตรีนักบริหารตระหนักดีว่าสิ่งเดียวที่แย่ที่สุดในตัวเอง คือเป็นสตรี ทั้งนี้เพราะผู้ชายมีทัศนคติที่ไม่ดีเกี่ยวกับความสามารถของผู้หญิง และคิดว่าผู้หญิงไม่มีคุณลักษณะทัดเทียมชาย เนื่องจากสตรีนักบริหารในยุคปัจจุบันไม่เคยมีลักษณะในการเป็นผู้นำของการทำงานเลยหรือมีแต่ไม่ดีพอ สหประชาชาติได้กำหนดให้ปี พ.ศ.2518 เป็นปีสตรีสากล โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมความ เท่าเทียมกันระหว่างบุรุษและสตรีเพื่อมีส่วนร่วมในการพัฒนาและรักษาสันติภาพของโลก และกำหนดให้ปี 2518 - 2528 เป็นทศวรรษสตรีสากลแห่งสหประชาชาติ และขอให้ประเทศสมาชิกจัดให้มีองค์กรสตรีระดับชาติ (มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2546, หน้า 2)การพัฒนาสตรีได้รับการพัฒนาอย่างเป็นระบบ

สตรีจึงได้รับการพัฒนาทั้งคุณภาพชีวิตและศักยภาพอย่างมีประสิทธิภาพอย่างเต็มที่มีการจัดตั้งองค์กรสตรีเป็นแกนในการพัฒนาชนบทจะเห็นว่าปัจจุบันสตรีมีบทบาททางการบริหารในองค์การประเทศต่าง ๆ มากขึ้น และแนวโน้ม

ในอนาคตจะมีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะในองค์การต่าง ๆ มีการเปิดโอกาสให้สตรีเข้าสู่ตำแหน่งทางการบริหารได้เท่าเทียมกับบุรุษ (เดชาอินทับทัน, 2539) กรอสและทราส (Gross & Trask,1987, pp. 82 - 83 อ้างถึงใน ชีวิต ศรีวิสรณ์, 2531)พบว่า ครูในโรงเรียนประถมศึกษาที่บริหารโดยผู้หญิง สามารถปฏิบัติงานได้ดีกว่าโรงเรียนประถมศึกษาที่มีผู้บริหารเป็นชาย และเช่นเดียวกันสำหรับนักเรียนที่บริหารโดยครูหญิงมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่า แสดงว่าสตรีมีบทบาททางการบริหารการศึกษาด้วย ดังที่แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2540- 2544) เน้นถึงการพัฒนาคนในทุกเพศ ทุกวัยทำให้สตรียิ่งมีโอกาสพัฒนาขีดความสามารถของตนเองอย่างเต็มที่ เพื่อคุ้มครองให้สิทธิและโอกาสอย่างทัดเทียมกันในสังคม (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, 2540) จากสถิติการเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาโท สาขาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ปีการศึกษา 2545 มีนิสิตชาย 33 คนนิสิตหญิง 39 คน ปีการศึกษา 2546 มีนิสิตชาย 64คน นิสิตหญิง 44 คน และปีการศึกษา 2547มีนิสิตชาย 40 คน นิสิตหญิง 114 คนจะเห็นได้ว่านิสิตหญิงมีจำนวนมากกว่านิสิตชายเพิ่มขึ้นจำนวนมาก (ภาคบริหารการศึกษา,2545,2546,2547) หลักการเพื่อสร้างนักบริหารการศึกษา นักวิชาการทางการบริหารการศึกษาและนักวิจัยทางการบริหารการศึกษา โดยมีวิสัยทัศน์ในการเป็นผู้นำการผลิตนักบริหารการศึกษามืออาชีพ เป็นแหล่งบริการงานวิจัยและพัฒนาด้านการบริหารองค์กร เพื่อเป็นศูนย์กลางการพัฒนาสังคมภาคตะวันออกอย่างยั่งยืนและมีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1)หน้า 66 วารสารศึกษาศาสตร์ ปีที่ 17 ฉบับที่ 2 เดือนพฤศจิกายน 2548 -มีนาคม 2549เพื่อผลิตผู้บริหารการศึกษาให้มีความสามารถในการวิจัยและหรือนำผลการวิจัยไปประยุกต์ใช้ในการบริหารงาน 2) เพื่อผลิตผู้บริหารการศึกษาให้มีความรู้ความสามารถและมีคุณธรรมในการบริหารงานให้เกิดการพัฒนาและความเจริญก้าวหน้าตามสภาพของสังคม และ 3) เพื่อผลิตผู้บริหารการศึกษาให้มีความสามารถในการเป็นผู้นำและประสานสัมพันธ์กับสถาบันหรือองค์กรต่าง ๆ (ภาควิชาบริหารการศึกษา, 2541) จากสภาพปัญหาของสตรี ทิศทางความต้องการและวัตถุประสงค์ของภาควิชาบริหารการศึกษา และเพื่อให้การจัดการศึกษาสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วจึงควรมีการวิจัยภาวะผู้นำของนิสิตสตรีระดับปริญญาโทสาขาวิชาการบริหารการศึกษา เพื่อเป็นข้อมูลในการปรับปรุงหลักสูตรและพัฒนานิสิตสตรีให้มีภาวะผู้นำทางการบริหารการศึกษาให้บรรลุวัตถุประสงค์ของหลักสูตรต่อไป

 

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

1. เพื่อตรวจสอบองค์ประกอบภาวะผู้นำเต็มพิสัยของนิสิตสตรี ระดับปริญญาโทสาขาวิชาบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา

2. เพื่อหาเกณฑ์ปกติภาวะผู้นำของนิสิตสตรี ระดับปริญญาโท สาขาวิชาบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

3. เพื่อเปรียบเทียบภาวะผู้นำของนิสิตสตรี ระดับปริญญาโท สาขาวิชาบริหารการศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จำแนกตามตำแหน่ง อายุ และประสบการณ์การทำงาน

 

สมมติฐานของการวิจัย

1. องค์ประกอบภาวะผู้นำของนิสิตสตรี  ระดับปริญญาโท สาขาวิชาบริหารการศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เป็นไปตามภาวะผู้นำพิสัยเต็ม

2. ภาวะผู้นำของนิสิตสตรีระดับปริญญาโท สาขาวิชาบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา จำแนกตามตำแหน่ง อายุและประสบการณ์การทำงานแตกต่างกัน

 

ความสำคัญของการวิจัย

ผลการวิจัยครั้งนี้ เพื่อตรวจสอบองค์ประกอบภาวะผู้นำพิสัยเต็มตามบริบทไทย และทราบภาวะผู้นำของนิสิตสตรีระดับปริญญาโทเพื่อเป็นข้อมูลในการหาเกณฑ์ปกติเป็นฐานข้อมูลเป็นแนวทางปรับปรุงหลักสูตรและพัฒนาภาวะผู้นำของนิสิตปริญญาโท สาขาบริหารการศึกษาภาควิชาบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา

 

ขอบเขตของการวิจัย

1. ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนิสิตสตรีระดับปริญญาโท สาขาบริหารการศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ปี 2545, 2546และ 2547 รวมทั้งหมด 224 คน

2. กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนิสิตสตรีระดับปริญญาโท สาขาบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาซึ่งได้รับการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified randomsampling) โดยใช้ปีที่เข้าศึกษาเป็นเกณฑ์ในการ

แบ่งชั้น ได้กลุ่มตัวอย่าง รวมทั้งหมด 144 คน

3. ตัวแปรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ มีดังนี้

3.1 ตัวแปรต้น ประกอบด้วย ปัจจัยชีวสังคมของนิสิตสตรีปริญญาโท ได้แก่ 1)ตำแหน่ง จำแนกเป็น ผู้บริหาร ผู้ปฏิบัติงานหัวหน้างาน 2) อายุ แบ่งเป็น อายุน้อยกว่า 30 ปี 30- 39 ปี ตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป 3) ประสบการณ์การ

ทำงาน แบ่งเป็น น้อยกว่า 6 ปี 6-10 ปี มากกว่า 10ปีขึ้นไป

3.2 ตัวแปรตาม ได้แก่ ภาวะผู้นำของนิสิตสตรีระดับปริญญาโท แบ่งเป็น 3 ประเภท

3.2.1 ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง  ประกอบด้วย การสร้างบารมี การสร้างแรงบันดาลใจ การกระตุ้นเชาวน์ปัญญา การคำนึงถึงเอกบุคคล

3.2.2 ภาวะผู้นำการแลกเปลี่ยน   ประกอบด้วย การให้รางวัลอย่างเหมาะสม การบริหารแบบมีข้อยกเว้นโดยตรง การบริหารแบบมีข้อยกเว้นโดยอ้อม

3.2.3 ภาวะผู้นำแบบตามสบาย

 

เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล

สูงกว่านิสิตสตรีที่มีอายุน้อยกว่า 30 ปี อภิปรายผลเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย แบบสำรวจข้อมูลส่วนตัวของนิสิตสตรีและแบบสอบถามวัดภาวะผู้นำ

1. แบบสำรวจข้อมูลชีวสังคมของนิสิตสตรีระดับปริญญาโท สาขาวิชาการบริหารการศึกษา ประกอบด้วย ตำแหน่ง อายุ และประสบการณ์การทำงาน จำนวน 3 ข้อ

2. แบบสอบถามวัดภาวะผู้นำของนิสิตสตรีระดับปริญญาโท สาขาวิชาการบริหารการศึกษา วัดภาวะผู้นำพิสัยเต็ม 3 แบบ จำนวน 78ข้อ ผู้วิจัยได้พัฒนาปรับปรุงจากแบบสอบถามภาวะผู้นำ พหุองค์ประกอบ ฉบับ 5X สร้างโดยแบสและอโวลิโอ (Bass & Avolio, 1991)เพื่อให้สอดคล้องกับ หลักสูตร และสภาพแวดล้อมของภาควิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษา-ศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา และนำแบบสอบถามที่พัฒนาปรับปรุง ปรึกษาอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิ 3ท่าน ตรวจสอบ ปรับปรุงแก้ไขได้ แบบสอบถามเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5ระดับ ประกอบด้วยภาวะผู้นำ การเปลี่ยนแปลง(Transformational Leadership) จำนวน 47 ข้อแบ่งออกเป็น การสร้างบารมี 18 ข้อ การสร้าง

แรงบันดาลใจ 10 ข้อ การกระตุ้น เชาวน์ปัญญา 10ข้อ การคำนึงถึงเอกบุคคล 9 ข้อ ภาวะผู้นำแลกเปลี่ยน (Transactional Leadership) จำนวน 23ข้อ แบ่งออกเป็น การให้รางวัลอย่างเหมาะสม 9ข้อ การบริหารแบบมีข้อยกเว้นโดยตรง 7 ข้อ

การบริหารแบบมีข้อยกเว้นโดยอ้อม 7 ข้อและภาวะผู้นำแบบตามสบาย (Laisser - FaireLeadership) จำนวน 8 ข้อ

วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล

ผู้วิจัยดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยนำแบบสอบถามส่งถึงนิสิตสตรีระดับปริญญาโทสาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ 4แห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยบูรพา จังหวัดชลบุรีวิทยาเขตสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว วิทยาเขตจันทบุรีจังหวัดจันทบุรี และวิทยาเขตดอนทอง จังหวัดฉะเชิงเทรา ที่เป็นกลุ่มตัวอย่างเพื่อตอบแบบสอบถาม จำนวน 144 ฉบับ

การวิเคราะห์ข้อมูล

การวิเคราะห์ข้อมูลครั้งนี้ใช้คอมพิวเตอร์โปรแกรม SPSS For Windows ดังนี้

1. ข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ตำแหน่ง อายุ และประสบการณ์การทำงาน ใช้ร้อยละ และศึกษาภาวะผู้นำของนิสิตสตรีระดับปริญญาโท ใช้ค่าเฉลี่ย ( X ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD)

2. วิเคราะห์องค์ประกอบ (Factor Analysis)หาองค์ประกอบภาวะผู้นำของนิสิตสตรี ระดับปริญญาโทเพื่อสกัดองค์ประกอบด้วยเทคนิคแกนสำคัญ PC (Principal Component Analysis)

และใช้การหมุนแกนแบบออโธกอนอล (OrthogonalRotation) โดยวิธี Varimax Method

3. หาเกณฑ์มาตรฐานของภาวะผู้นำของนิสิตสตรีระดับปริญญาโท โดยใช้ T-scores

4. เปรียบเทียบความแตกต่างของภาวะผู้นำของนิสิตสตรีระดับปริญญาโท จำแนกตามตำแหน่ง อายุ และประสบการณ์การทำงานโดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One- way ANOVA)

ผลการวิเคราะห์ข้อมูล

1. การตรวจสอบภาวะผู้นำพิสัยเต็มปรากฏว่ามี 5 องค์ประกอบ คือ การส่งเสริมการกระตุ้นเชาวน์ปัญญา ภาวะผู้นำแบบค่อนข้างตามสบาย การบริหารแบบมีข้อยกเว้นโดยอ้อมและคำนึงถึงบุคคล การบริหารแบบมีข้อยกเว้นโดยตรงและให้รางวัลอย่างเหมาะสม และการส่งเสริมการสร้างแรงบันดาลใจ

2. ภาวะผู้นำของนิสิตสตรีด้านการเปลี่ยนแปลงอยู่ในระดับมาก โดยมีด้านการสร้างบารมี การสร้างแรงบันดาลใจ การกระตุ้นเชาวน์ปัญญา และการคำนึงถึงเอกบุคคลอยู่ในระดับมาก ภาวะผู้นำการแลกเปลี่ยนอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีด้านการให้รางวัลอย่างเหมาะสมอยู่ในระดับมาก การบริหารแบบมีข้อยกเว้นโดยตรง อยู่ในระดับปานกลาง และการบริหารแบบมีข้อยกเว้นโดยอ้อม อยู่ในระดับน้อยโดยภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง เกณฑ์ปกติภาวะผู้นำมีคะแนนมาตรฐานอยู่ระหว่าง 28.91 - 78.38ภาวะผู้นำการแลกเปลี่ยน เกณฑ์ปกติภาวะผู้นำมีคะแนนมาตรฐานอยู่ระหว่าง 21.23 - 79.05

และภาวะผู้นำแบบตามสบาย เกณฑ์ปกติภาวะผู้นำมีคะแนนมาตรฐานอยู่ระหว่าง 31.28 - 86.08

3. การเปรียบเทียบภาวะผู้นำนิสิตสตรีจำแนกตามตำแหน่ง อายุ และประสบการณ์การทำงาน โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกันยกเว้นด้านการกระตุ้นเชาวน์ปัญญาและด้านการคำนึงถึงเอกบุคคลจำแนกตามอายุแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p <.05) โดยนิสิตสตรีที่มีอายุตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไปมีภาวะผู้นำ

1. ตรวจสอบองค์ประกอบภาวะผู้นำพิสัยเต็มของนิสิตปริญญาโท สาขาวิชาบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาพบว่า เมื่อทำการสกัดองค์ประกอบที่ได้มีค่าไอเกนมากกว่าหนึ่งถึง 22 องค์ประกอบ ความแปรปรวน

สะสมเท่ากับ 73.41 % ของความแปรปรวนทั้งหมดหมายความว่า 73.41 % ของความแปรปรวนระหว่างตัวแปร ตัวแปรสามารถอธิบายได้ด้วยองค์ประกอบทั้ง 22 องค์ประกอบ แสดงว่าภาวะผู้นำของนิสิตปริญญาโท สาขาวิชาบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพามีความแปรปรวนระหว่างตัวแปรที่ใช้อธิบายองค์ประกอบได้มากกว่าครึ่งหนึ่งของความแปรปรวนทั้งหมด จึงนับได้ว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ใช้ได้ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบโดยใช้เทคนิควิธีสกัดองค์ประกอบ PC (Principle ComponentAnalysis) หมุนแกนแบบออโธกอนอล (OrthogonalRotation) โดยวิธีแวรแมกซ์ (Varimas Method)ภาวะผู้นำของนิสิตปริญญาโท สาขาวิชาบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพาโดยรวมพบว่าจำนวนองค์ประกอบภาวะผู้นำของนิสิตปริญญาโทสาขาวิชาบริหารการศึกษาคณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพามี 5องค์ประกอบ คือ การส่งเสริมการกระตุ้นวารสารศึกษาศาสตร์ ปีที่ 17 ฉบับที่ 2 เดือนพฤศจิกายน 2548 -มีนาคม 2549 หน้า 69เชาวน์ปัญญา ภาวะผู้นำค่อนข้างตามสบาย การบริหารแบบมีข้อยกเว้นโดยอ้อมและคำนึงถึง

บุคคล การบริหารแบบมีข้อแยกเว้นโดยตรงและให้รางวัลอย่างเหมาะสม และการส่งเสริมการสร้างแรง บันดาลใจ ซึ่งเหตุผลในการตั้งชื่อองค์ประกอบแต่ละองค์ประกอบ ดังนี้องค์ประกอบที่ 1 ให้ชื่อว่า การส่งเสริมการกระตุ้นเชาวน์ปัญญา ทั้งนี้เนื่องจากเป็นองค์ประกอบที่มีภาวะผู้นำด้านการสร้างบารมีและด้านการสร้างแรงบันดาลใจ เพื่อส่งเสริม

ให้เกิดการกระตุ้นเชาวน์ปัญญาของผู้ร่วมงานองค์ประกอบที่ 2 ให้ชื่อว่าภาวะผู้นำแบบค่อนข้างตามสบาย เพราะว่าเป็นองค์ประกอบที่ส่วนใหญ่มีภาวะผู้นำแบบตามสบายองค์ประกอบที่ 3 ให้ชื่อว่า การบริหารแบบมีข้อยกเว้นโดยอ้อมและคำนึงถึงบุคคลทั้งนี้เนื่องจากเป็นองค์ประกอบที่มีภาวะผู้นำการบริหารแบบมีข้อยกเว้นโดยอ้อม และภาวะผู้นำคำนึงถึงเอกบุคคลองค์ประกอบที่ 4 ให้ชื่อว่า การบริหารแบบมีข้อยกเว้นโดยตรงและให้รางวัลอย่างเหมาะสม ทั้งนี้เนื่องจากเป็นองค์ประกอบที่มีภาวะผู้นำการบริหารแบบมีข้อยกเว้นโดยตรงและภาวะผู้นำด้านการให้รางวัลอย่างเหมาะสมองค์ประกอบที่ 5 ให้ชื่อว่า การส่งเสริมการสร้างแรงบันดาลใจ เนื่องจากเป็นองค์ประกอบที่มีภาวะผู้นำด้านการสร้างแรงบันดาลใจจะเห็นได้ว่า องค์ประกอบทั้ง 5 องค์-ประกอบนั้นค่อนข้างสอดคล้องกับภาวะผู้นำพิสัยเต็มของ แบส (Bass, 1991) โดยภาวะผู้นำด้านการสร้างบารมี การสร้างแรงบันดาลใจ และการกระตุ้นเชาวน์ปัญญาร่วมกันเป็น องค์ประกอบ

1 ภาวะผู้นำการบริหารแบบมีข้อ ยกเว้นโดยอ้อมภาวะผู้นำการบริหารแบบมีข้อยกเว้นโดยตรงและภาวะผู้นำแบบตามสบายร่วมกันเป็นองค์ประกอบที่ 2 ภาวะผู้นำการบริหารแบบมีข้อยกเว้นโดยอ้อม ภาวะผู้นำด้านการคำนึงถึงเอกบุคคล ร่วมกันเป็นองค์ประกอบที่ 3 ส่วนภาวะผู้นำการบริหารแบบมีข้อยกเว้นโดยตรงและภาวะผู้นำด้านการให้รางวัลอย่างเหมาะสมร่วมกันเป็นองค์ประกอบที่ 4 และภาวะผู้นำการบริหารงานแบบมีข้อยกเว้นโดยตรง ภาวะผู้นำด้านการสร้างบารมี และภาวะผู้นำด้านการแรงบันดาลใจ ร่วมกันเป็นองค์ประกอบ 5

2. จากการวิเคราะห์ภาวะผู้นำพิสัยเต็มของนิสิตสตรีระดับปริญญาโท สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ผลปรากฏว่า มีภาวะผู้นำพิสัยเต็ม (FullrangeLeadership) สอดคล้องตามทฤษฎีภาวะผู้นำของแบส (Bass, 1991) ประกอบด้วย ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง(Transformational Leadership)ภาวะผู้นำแลกเปลี่ยน(Transactional Leadership)และภาวะผู้นำแบบตามสบาย (Laissez-faire Leadership)โดยมีภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงอยู่ในระดับมาก ภาวะผู้นำการแลกเปลี่ยนอยู่ในระดับปานกลาง และภาวะผู้นำแบบตามสบายอยู่ในระดับน้อย แสดงว่านิสิตสตรีได้ใช้ภาวะผู้นำในการปฏิบัติงานให้ประสบผลสำเร็จนั้นได้ใช้ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงเป็นพฤติกรรมที่สำคัญ และใช้ภาวะผู้นำการแลกเปลี่ยนเป็นพฤติกรรมเสริมประกอบที่ต้องมีอยู่ในระดับรองลงมา ส่วนภาวะผู้นำแบบตามสบายเป็นพฤติกรรมที่ไม่จำเป็นต้องมีมากนัก ทั้งนี้เนื่องจากภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง เป็นกระบวนการที่แสดงพฤติกรรมที่ทำให้ผู้ร่วมงานเชื่อถือ ศรัทธาสร้างแรงบันดาลใจแก่ผู้ร่วมงานที่ปรารถนาจะปฏิบัติงานให้ประสบผลสำเร็จ พัฒนาผู้ร่วมงาน

ให้แก้ปัญหาต่าง ๆ ได้ และมุ่งพิจารณา ผู้ร่วมงานหน้า 70 วารสารศึกษาศาสตร์ ปีที่ 17 ฉบับที่ 2 เดือนพฤศจิกายน 2548 -มีนาคม 2549ให้เกิดการพัฒนาหรือสนองความต้องการเป็นรายบุคคล แสดงว่า เป็นพฤติกรรมภาวะผู้นำที่จำเป็นต้องมีอยู่ในระดับมากในสังคมไทย และในการปฏิบัติงานทางการศึกษา อย่างไรก็ตามภาวะผู้นำ ผู้นำการแลกเปลี่ยนก็เป็นพฤติกรรมที่สำคัญที่จะต้องมีแต่อยู่ในระดับปานกลางเพื่อทำให้ขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงาน หรือในกรณีที่มีปัญหาในการปฏิบัติงานบ้าง เช่นการปฏิบัติงานไม่เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด ผลการปฏิบัติงานไม่สำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด ก็สามารถเข้าแก้ไขได้สอดคล้องกับผลงานวิจัยของ ภารดี อนันต์นาวี(2545) ที่ได้ศึกษาภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาระดับประถมศึกษา พบว่า มีภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงอยู่ในระดับมาก และภาวะผู้นำการแลกเปลี่ยนอยู่ในระดับปานกลาง เฟลตัน(Felton, 1995) ได้ศึกษาภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาและโรงเรียนมัธยมศึกษาพบว่า ผู้บริหารในโรงเรียนประถมศึกษามีภาวะผู้นำเพื่อการเปลี่ยนแปลงสูงกว่า ผู้บริหารในโรงเรียนมัธยมศึกษา และปาลิกา นิธิประเสริฐกุล(2547) ที่ศึกษาภาวะผู้นำของผู้บริหาร โรงเรียนประถมศึกษา พบว่า ภาวะผู้นำเชิงจัดการและภาวะผู้นำเชิงปฏิรูปอยู่ในระดับมาก ดังนั้น การพัฒนานิสิตสตรีจำเป็นต้องพัฒนาให้สอดคล้องกับแนวทางของทฤษฎีภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้ทำหน้าที่สอดคล้องกับบทบาท ซึ่งประสบการณ์ที่ผ่านมาและการปฏิบัติงานมีผลต่อการพัฒนา รวมทั้งการได้รับการศึกษาเล่าเรียนจะทำให้ได้รับการพัฒนายิ่งขึ้น ภาวะผู้นำแต่ละแบบสามารถนำมาอภิปรายให้เห็นประเด็นของภาวะผู้นำได้ดังนี้

    2.1 ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง พบว่านิสิตสตรีมีภาวะผู้นำอยู่ในระดับมาก โดยมีภาวะผู้นำด้านต่าง ๆ ได้แก่ การสร้างบารมีการสร้างแรงบันดาลใจ การกระตุ้นเชาวน์ปัญญาและการคำนึงถึงเอกบุคคล แสดงให้เห็นว่าภาวะผู้นำในองค์ประกอบย่อยของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ทั้ง 4 ด้าน จำเป็นต้องมีการใช้ภาวะผู้นำในการปฏิบัติงานของนิสิตสตรี ทั้งนี้เนื่องจาก นิสิตสตรีส่วนมากปฏิบัติงานเป็นผู้บริหาร หัวหน้างาน และผู้ปฏิบัติงานโดยมีภาวะผู้นำการสร้างบารมี (Charisma ) เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานเกิดความศรัทธา นับถือ นิสิตสตรีมีความเชื่อมั่นในตนเอง กำหนดตนเอง กำหนดแนวโน้มการเปลี่ยนแปลง มีวิสัยทัศน์ มีความสามารถในการเปลี่ยนแปลง มีความสามารถในการแก้ปัญหา

ความขัดแย้งภายในจิตใจ กำหนดเป้าหมายชัดเจนเป็นแบบอย่างแก่ผู้ร่วมงานและคนอื่น ๆ ยึดถือเป็นแบบอย่างที่ดีการสร้างแรงบันดาลใจของนิสิตสตรีมีอยู่ในระดับมาก เพราะว่าการที่นิสิตสตรีได้รับการศึกษาเกี่ยวกับแนวคิด ทฤษฎี หลักการบริหาร การร่วมกิจกรรมการเรียนการสอนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงให้ไม่เห็นประโยชน์ส่วนตน แต่อุทิศตนเพื่อทีมงานเห็นคุณค่าของผลการปฏิบัติงานมากขึ้น โดยนิสิตสตรีใช้คำพูดสัญลักษณ์ หรือจินตนาการชักชวนให้เข้าใน

วิสัยทัศน์และความหมาย ความรู้สึกที่เห็นว่าภารกิจที่จะต้องทำเป็นสิ่งสำคัญ สอดคล้องกับ แบส (Bass,1985, p. 64) ที่กล่าวว่า เป็นความสามารถในการโน้มน้าวจิตใจให้ผู้บังคับบัญชาเปลี่ยนแปลงความสนใจในการกระทำเพื่อตนเองไปสู่การกระทำ ประโยชน์เพื่อกลุ่มหรือเพื่อหน่วยงานโดยการใช้วิธีการพูดที่โน้มน้าวจิตใจในการทำงานตลอดจนการหาวิธีการกระตุ้น การจูงใจให้วารสารศึกษาศาสตร์ ปีที่ 17 ฉบับที่ 2 เดือนพฤศจิกายน 2548 -มีนาคม 2549 หน้า 71ผู้ใต้บังคับบัญชาได้รับการตอบสนองต่อความต้องการความสำเร็จ ความต้องการอำนาจและความต้องการมิตรสัมพันธ์

การกระตุ้นเชาวน์ปัญญาของนิสิตสตรีมีอยู่ในระดับมาก ทั้งนี้เป็นเพราะว่านิสิตสตรีได้รับความรู้จากการศึกษาเล่าเรียน การแลกเปลี่ยนความคิดระหว่างเพื่อนร่วมเรียน อาจารย์ผู้สอนสามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์ เห็นวิธีการหรือแนวทางใหม่ในการแก้ปัญหา การจัดการ ทำให้เข้าใจบทบาทและยอมรับในบทบาท มีความมั่นใจเป็นผลให้นิสิตสตรีเกิดความพยายามในการเรียนและนำไปใช้ปฏิบัติงานทำให้เสนอแนวทางการแก้ปัญหา ริเริ่มสร้างสรรค์สิ่งใหม่ให้แก่หน่วยงานได้อย่างเหมาะสม สอดคล้องกับพลานท์ (Plant, 1987) ที่กล่าวว่า การกระตุ้นเชาวน์ปัญญาเป็นการใช้อำนาจของตรรกะ (Powerof logic) การจูงใจโดยให้ข้อเท็จจริง ความรู้หลักการ แนวคิด ทฤษฎีต่าง ๆ รวมทั้งกิจกรรมกลวิธี โครงการข้อเสนอแนะ เป็นการเสนอความคิดอย่างตรงไปตรงมาก มีการสนับสนุนคัดค้าน โต้แย้ง เปลี่ยนแปลงและริเริ่มวิธีการ

ที่สามารถแก้ปัญหาที่เผชิญอยู่การคำนึงถึงเอกบุคคลของนิสิตสตรีมีอยู่ในระดับมาก เนื่องจากนิสิตสตรีคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล มีการติดต่อกันเป็นรายบุคคลเอาใจใส่ในความต้องการของผู้ร่วมงานกระจายความรับผิดชอบ มีการส่งเสริมให้ผู้ร่วมงานเกิดวิสัยทัศน์ มีความมั่นคง รู้สึกเป็นตัวของตัวเอง มีความรับผิดชอบและควบคุมตนเองได้ สอดคล้องกับ อโวลิโอ วาล์ดแมน และยัมมาริโน (Avolio, Waldman & Yammarino,1991) ที่กล่าวว่า การคำนึงเอกบุคคลเป็นกระบวนการที่สำคัญที่ผู้นำมีตำแหน่งสูงขององค์การคำนึงถึงผู้ตามแต่ละคน ลักษณะดังกล่าวยังสามารถใช้ได้ระหว่างเพื่อนร่วมงานเพื่อช่วยเหลือกันในการแก้ปัญหา หลักการสำคัญของการคำนึงถึงเอกบุคคลคือผู้ตามแต่ละคนมีความต้องการ (needs)ที่แตกต่างกันและโดยเฉพาะผู้ตามบางคน ความต้องการของเขาเหล่านั้นจะเปลี่ยนแปลงได้ด้วย

อิทธิพลของผู้นำ

    2.2 ภาวะผู้นำแลกเปลี่ยน พบว่านิสิตสตรีมีภาวะผู้นำอยู่ในระดับปานกลางโดยมีภาวะผู้นำด้านต่าง ๆ ได้แก่ การให้รางวัลอย่างเหมาะสม อยู่ในระดับมาก การบริหารแบบมีข้อยกเว้นโดยตรง อยู่ในระดับปานกลาง และการบริหารแบบมีข้อยกเว้นโดยอ้อม อยู่ในระดับน้อยแสดงให้เห็นว่าการปฏิบัติงานของนิสิตสตรีโดยทั่วไปได้ใช้การให้รางวัลอย่างเหมาะสมอยู่ในระดับมากทั้งนี้เนื่องจากการปฏิบัติงานร่วมกับผู้อื่นจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องให้มีผู้ร่วมงานมีขวัญกำลังใจในการทำงาน จึงต้องให้รางวัลแก่ผู้ปฏิบัติงานตามสถานการณ์อย่างเหมาะสมส่วนการบริหารแบบมีข้อยกเว้นโดยตรง อยู่ในระดับ ปานกลาง และการบริหารแบบมีข้อยกเว้นโดยอ้อม อยู่ในระดับน้อย ทั้งนี้เนื่องจากมีผลกระทบจากภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงอยู่ในระดับมาก คือเป็นผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ พัฒนาผู้ร่วมงานมีความสามารถในการปฏิบัติงานการผิดพลาดจากการปฏิบัติงานทั้งกระบวนการและผลจึงมีน้อยจึงทำให้นิสิตสตรีใช้ภาวะผู้นำการบริหารแบบมีข้อยำเว้นโดยตรงและโดยอ้อมอยู่ในระดับปานกลางและน้อยตามลำดับและการที่นิสิตสตรีใช้ภาวะผู้นำการบริหารแบบมีข้อยกเว้นโดยตรงอยู่ในระดับปานกลางแสดงว่าการแทรกแซงเพื่อแก้ไขการปฏิบัติงานระหว่างการปฏิบัติงานมีมากกว่าการแก้ไขผลการปฏิบัติงาน จึงมีภาวะผู้นำการบริหารแบบมีข้อยกเว้นทางอ้อม อยู่ในระดับน้อยหน้า 72 วารสาศึกษาศาสตร์ ปีที่ 17 ฉบับที่ 2 เดือนพฤศจิกายน 2548 -มีนาคม 2549การให้รางวัลตามสถานการณ์ของนิสิตสตรี มีอยู่ในระดับมาก เนื่องจากนิสิตสตรีมีการจูงใจ ผู้ร่วมงาน ให้มีความพยายามทำงานให้สำเร็จ มีการสร้างความเชื่อมั่นโดยการบอกผลลัพธ์ที่ต้องการบอกวิธีทำงานและบอกด้วยว่าหากผู้ร่วมงาน ทำงานสำเร็จจะได้ผลตอบแทนอะไร หรือได้รางวัลตามที่ผู้ร่วมงานต้องการ เมื่อทำงาน บรรลุผลลัพธ์ที่กำหนด ซึ่งเป็นการให้รางวัลเพื่อส่งเสริมให้ผู้ร่วมงานยอมรับในบทบาทสอดคล้องกับเบียร์ และเคนดริค และเซอร์จิโอวันนี(Beare et al., 1989, p. 106 ; Kendrick, 1988, p. 106; Sergiovanni, 1989, p. 215) กล่าวว่า เป็นการที่ผู้นำให้รางวัลตอบแทนสำหรับความพยายามในการปฏิบัติตนเพื่อบรรลุผลของผู้ใต้บังคับบัญชาอาจจะทำโดยการชมเชยเมื่อปฏิบัติงานดี และการสนับสนุนให้ได้รับเงินเดือนขึ้น ให้โบนัสและการเลื่อนตำแหน่ง การให้บรรยากาศการทำงานที่ดีปลอดภัย เพื่อให้ผู้ใต้บังคับบัญชาทำงานได้ดีซึ่งผู้นำแบบนี้มักจะจูงใจ โดยการให้รางวัลเป็นการตอบแทน และจูงใจด้วยแรงจูงใจขั้นพื้นฐานหรือแรงจูงใจภายนอก (Extrinsic Motives)การบริหารแบบมีข้อยกเว้นโดยตรงของนิสิตสตรี มีอยู่ในระดับปานกลาง เพราะว่านิสิตสตรี เห็นว่าการปฏิบัติงานของผู้ร่วมงานไม่มีสิ่งใดที่จะทำให้เกิดความสูญเสีย ผลการปฏิบัติงานยังดีอยู่จึงปล่อยให้ผู้ร่วมงานปฏิบัติงานตามวิธีการที่เคยปฏิบัติมา แต่จะคอยกำกับดูแลการปฏิบัติงานว่าเป็นไปตามวิธีการที่กำหนดหรือไม่หากไม่เป็นไปตามวิธีการที่กำหนดไว้นิสิตสตรีจะดำเนินการเข้าไปให้ผู้ร่วมงานปฏิบัติให้ถูกต้องในลักษณะนี้อยู่ในระดับปานกลาง สอดคล้องกับแบส (Bass, 1991) กล่าวว่า การบริหารแบบมีข้อยกเว้นโดยตรง เป็นกระบวนการที่ผู้นำมุ่งรักษาสภาพเดิมขององค์การโดยให้ผู้ตามปฏิบัติงานตามวิธีการที่เคยปฏิบัติมาและผู้นำจะกำกับดูแลการปฏิบัติงานของผู้ตามและหากผู้ตามปฏิบัติผิดไปจากมาตรฐานที่กำหนดผู้นำจะแก้ไขการปฏิบัติให้ถูกต้อง ซึ่งเป็นการบริหารจัดการในลักษณะรักษาสถานภาพเดิม ขาดการพัฒนาการบริหารแบบมีข้อยกเว้นโดยอ้อมของนิสิตสตรี มีอยู่ในระดับน้อย เนื่องจากนิสิตสตรีมีการพิจารณาถึงผลได้ผลเสียของผลการปฏิบัติงาน และให้ผู้ร่วมงานปฏิบัติงานตามวิธีการที่เคยปฏิบัติมาเมื่อเห็นว่าผลการปฏิบัติงานไม่บรรลุเป้าหมายจึงจะช่วยแก้ไขให้ผู้ร่วมงานปฏิบัติงานให้บรรลุเป้าหมาย สอดคล้องกับแบสและ อโวลิโอ (Bass & Avolio, 1990, p. 22) กล่าวว่าเป็นผู้นำที่จะไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับการปฏิบัติงานจนกว่าจะมีความผ

คำสำคัญ (Tags): #ภาวะผู้นำ
หมายเลขบันทึก: 375882เขียนเมื่อ 16 กรกฎาคม 2010 20:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 13:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท