ล้านเล่าคุณภาพ
ล้านเล่าคุณภาพงานประกันคุณภาพการศึกษา มศว ล้านเล่าคุณภาพ งานประกันคุณภาพการศึกษา มศว

ไคเซนเพื่อการปรับปรุงงาน


ไคเซนเพื่อการปรับปรุงงาน

Kaizen for Work Improvement

           การปรับปรุงเพื่อการเพิ่มผลผลิต มี 2 แนวคิด คือ

  1. แนวคิดทางวิทยาศาสตร์  คือ การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรให้คุ้มค่า
  2. แนวคิดทางด้านเศรษฐกิจและสังคม คือ การแสวงหาแนวทางการปรับปรุงสิ่งต่างๆให้ดีขึ้น โดยมีความเชื่อมันว่า “ เราสามารถทำวันนี้ให้ดีกว่าเมื่อวานและพรุ่งนี้จะต้องดีกว่าวันนี้

           ลักษณะของระบบข้อเสนอแนะแบบไคเซ็น (Kaizen Suggestion System)     

        เป็นระบบที่ใช้ในการค้นหาแนวทางและวิธีการในการปรับปรุงการดำเนินงานขององค์กรอย่างต่อเนื่อง เป็นระบบที่เอื้ออำนวยต่อพนักงานให้สามารถนำเสนอแนวทางปละวิธีการในการปรับปรุงกิจการขององค์กร ซึ่งถือเป็นหน้าที่ของพนักงานทุกคนที่จะต้องมีส่วนร่วมในระบบ

            ประวัติความเป็นมาของ “ไคเซ็น”

       ในปี 1986 Masaaki Imai ได้ทำการตีพิมพ์หนังสือชื่อ “Kaizen” ด้วยชื่อที่แปลก จึงทำให้เป็นที่สนใจแก่คนทั่วไปทั้งในเอเชีย ในยุโรป รวมทั้งอเมริกา  นับตั้งแต่นั้นมา แนวความคิดนี้จึงได้แพร่หลายทั้งในบริษัทของชาวเอเชียและบริษัทของชาวตะวันตก

            วัตถุประสงค์ของ “ไคเซ็น” คือ การปรับปรุงทรัพยากรมนุษย์ ปรับปรุงเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการปฏิบัติงาน เพื่อปรับปรุงวัฒธรรมองค์กร เพื่อทำให้องค์กรเข้มแข็ง

            การปรับปรุง (Improvement) จะต้องปรับปรุงตลอดเวลา (Every Time) เป็นหน้าที่ของทุกคน (Every Level) เป็นแนวคิดที่มุ่งเกี่ยวกับกระบวนการทำงาน (Every Process)

   ก่อนการปรับปรุงต้องแยะแยะความสูญเปล่าที่เกิดขึ้นในการปฏิบัติงาน 3U คือ

Muda : ความสูญเสีย  Mura : ความไม่สม่ำเสมอ  Muri : การทำงานหนักเกินไป-คนและเครื่องจักร

1. การเคลื่อนไหวที่ไม่จำเป็น (Unnecessary Motion)

2. การรอคอย (Idle time / Delay)

3. กระบวนการที่ขาดประสิทธิผล  (Non-effective Process)

4. ของเสีย / แก้ไขงานเสีย (Defects / Reworks)

5. การผลิต / ปฏิบัติงานปริมาณ มากเกินไป (Overproduction)

6. การเก็บวัสดุคงคลังที่ไม่จำเป็น (Unnecessary stock)

7. การขนส่ง (Transportation)                                

              การดำเนินการแบบ Lean

            คือ วิธีการที่เป็นระบบในการระบุและกำจัดความสูญเสีย หรือสิ่งที่ไม่เพิ่มคุณค่าภายในกระแสคุณค่าของกระบวนการ โดยอาศัยการดำเนินตามจังหวะความต้องการของลูกค้าด้วยระบบดึงทำให้เกิดสภาพการไหลอย่างต่อเนื่อง ราบเรียบ และทำการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างคุณค่าให้แก่ระบบอยู่เสมอ โดยมีหลักการ 5 ประการ คือ

  1. ระบุคุณค่า (Value) ของสินค้าและบริการในมุมมองของลูกค้าไม่ว่าจะเป็นลูกค้าภายใน และลูกค้าภายนอก
  2. สร้างกระแสคุณค่า (Value Stream) ในทุกๆ ขั้นตอนการดำเนินงาน เริ่มตั้งแต่การออกแบบ การวางแผน และการผลิตสินค้า การจัดจำหน่ายฯลฯเพื่อพิจารณาว่ากิจกรรมใดที่ไม่เพิ่มคุณค่าและเป็นความสูญเปล่า
  3. ทำให้กิจกรรมต่างๆ ที่มีคุณค่าเพิ่มดำเนินไปได้อย่างต่อเนื่อง (Flow) โดยปราศจากการติดขัด การอ้อม การย้อนกลับ การคอย หรือการเกิดของเสีย
  4. ใช้ระบบดึง (Pull)โดยให้ความสำคัญเฉพาะสิ่งที่ลูกค้าต้องการเท่านั้น
  5. สร้างคุณค่า และกำจัดความสูญเปล่า (Perfection) โดยค้นหาส่วนเกินที่ถูกซ่อนไว้ซึ่งเป็นความสูญเปล่าและกำจัดออกไปอย่างต่อเนื่อง

หลักการ E C R S โดยการตั้งคำถาม

-          ถามถึงวัตถุประสงค์ ว่า ทำอะไร ทำไมต้องทำ เพื่อขจัดส่วนที่ไม่จำเป็นออก

-          ถามถึงสถานที่ ว่า กำลังทำที่ไหน ทำไมต้องทำที่นั่น

-          ถามถึงการลำดับขั้น ว่า ทำเมื่อไหร่ ทำไมต้องทำเวลานั้น

-          ถามถึงบุคคล ว่า ใครคนทำ ทำไมต้องคนนั้น

ทั้งสามคำถามนี้เพื่อรวมเข้าด้วยกัน หรือจัดใหม่

-           ถามถึงวิธีการ ว่า ทำอย่างไร ทำไมต้องทำอย่างนั้น เพื่อทำให้ง่ายขึ้น

เอกสารประกอบ

รายงานการเข้าอบรม/สัมนา/ศึกษาดูงาน

เอกสารประกอบการถ่ายทอดความรู้

หมายเลขบันทึก: 375047เขียนเมื่อ 14 กรกฎาคม 2010 17:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท