ขอความรู้การบริหารงาน


การบริหารงานห้องสมุด

เรื่องเล่าเกี่ยวกับการบริหารงานห้องสมุดแห่งหนึ่ง

งานห้องสมุดเป็นหน่วยบริการ (Services Unit) แน่นอนผู้ให้บริการต้องมีจิตบริการ ผู้บริหารย่อมเล็งเห็นความจำเป็นในข้อนี้ บุคลากรในห้องสมุดแม้ไม่แบ่งแยกชนชั้น แต่ก็ต้องจำแนกตามบทบาทหน้าที่ ตามตำแหน่ง เช่นเจ้าหน้าที่ให้บริการยืม-คืน , บรรณารักษ์ให้บริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้า, เจ้าหน้าที่ควบคุมทางเข้าออก เป็นต้น ผู้ใช้ห้องสมุดส่วนใหญ่ไม่ทราบความแตกต่างระหว่างตำแหน่งต่าง ๆ   แต่คนในห้องสมุดรับรู้ถึงตำแหน่งและบทบาทหน้าที่ที่ปฏิบัติงาน ใครมีความรู้ช่วยแนะนำประเด็นต่อไปนี้ด้วย

 1 .ถ้าต้องการให้บุคลากรห้องสมุดมีจิตบริการ โดยจัดอบรมเฉพาะเจ้าหน้าที่ใช่หรือไม่

 2. เมื่อต้องเปิดบริการควบคู่กับการอบรม ผู้บริหารตัดสินใจให้บรรณารักษ์วิชาชีพที่ทั้งหมดสำเร็จการศึกษาระดับมหาบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศ ปฏิบัติงานแทนเจ้าหน้าที่ทุกจุดบริการ ไม่เว้นแม้กระทั่งการนั่งขายคูปองทางเข้าห้องสมุด การตรวจกระเป๋าทางออก จะมีวิธีการบริหารจัดการที่ดีกว่านี้หรือไม่

3. ผู้บริหารจัดให้มีการเตรียมความพร้อมโดยขอให้เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานตามจุดบริการสอนงานหรือถ่ายทอดงานให้แก่บรรณารักษ์ ท่านคิดว่าถูกต้องหรือไม่

3. ผู้บริหารไม่สามารถสั่งการให้บรรณารักษ์มาประจำได้ทุกจุด จึงได้ขอให้บรรณารักษ์ที่เกษียณอายุราชการเข้ามาปฏิบัติหน้าที่แทนเจ้าหน้าที่ ท่านคิดว่าเหมาะสมหรือไม่

ถ้าหากเราคิดบวก................เราก็ได้กำไร .......แต่การควบคุมงาน สายการบังคับบัญชาขององค์กรจะเป็นอย่างไร ..................และวิชาชีพบรรณารักษ์จะเป็นอย่างไร คิดถึงอาจารย์ผู้สอนวิชาบริหารงานห้องสมุดจัง......ท่านเสียชีวิตไปแล้ว

หมายเลขบันทึก: 374399เขียนเมื่อ 12 กรกฎาคม 2010 18:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 พฤษภาคม 2012 14:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

1 .ถ้าต้องการให้บุคลากรห้องสมุดมีจิตบริการ โดยจัดอบรมเฉพาะเจ้าหน้าที่ใช่หรือไม่

ไม่ใช่ค่ะ ต้องทุกระดับและที่สำคัญ ผู้บังคับบัญชาต้องทำให้ดูเป็นตัวอย่างแก่ลูกน้อง

2. เมื่อต้องเปิดบริการควบคู่กับการอบรม ผู้บริหารตัดสินใจให้บรรณารักษ์วิชาชีพที่ทั้งหมดสำเร็จการศึกษาระดับมหาบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศ ปฏิบัติงานแทนเจ้าหน้าที่ทุกจุดบริการ ไม่เว้นแม้กระทั่งการนั่งขายคูปองทางเข้าห้องสมุด การตรวจกระเป๋าทางออก จะมีวิธีการบริหารจัดการที่ดีกว่านี้หรือไม่

ถ้าคิดบวกก็มาเรียนรู้การทำงานของลูกน้องจะได้เช้าใจเค้ามากขึ้น การแสดงน้ำใจและความเข้าใจ ไม่รังเกียจ ไม่แบ่งแยกชนชั้น ช่วยเหลือได้ ก็ช่วยเหลือกัน น่าจะทำให้การทำงานในองค์กรสนุกกว่าค่ะ

3. ผู้บริหารจัดให้มีการเตรียมความพร้อมโดยขอให้เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานตามจุดบริการสอนงานหรือถ่ายทอดงานให้แก่บรรณารักษ์ ท่านคิดว่าถูกต้องหรือไม่

แล้วแต่มุมมอง หากเรายึดติดกับตำแหน่ง ก็อาจไม่เหมาะ แต่การเรียนรู้ได้จากคนรอบข้างเรา คนจรจัด คนพิการ ก็ให้มุมมองบางอย่างกับเรา ถ้าเราไม่รู้ เรียนรู้จากใครก็ได้ค่ะ ความรู้บางอย่างเรายังได้มาโดยบังเอิญจากแม่บ้านทำความสะอาด

3. ผู้บริหารไม่สามารถสั่งการให้บรรณารักษ์มาประจำได้ทุกจุด จึงได้ขอให้บรรณารักษ์ที่เกษียณอายุราชการเข้ามาปฏิบัติหน้าที่แทนเจ้าหน้าที่ ท่านคิดว่าเหมาะสมหรือไม่

คิดว่าน่าจะมีทางแก้ไขที่ดีกว่านี้โดยที่ไม่ต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม

จากคำถามมีความไม่เข้าใจกันระหว่างผู้บริหาร บรรณารักษ์ เจ้าหน้าที่

เอาใจเขา มาใส่ใจเรา ทำไมผู้บริหารสั่งการอย่างนั้น ทำไมเราไม่ชอบทำงานตรงนั้น ลบ ego ออกไปจากตัว แล้วมองอย่างเข้าใจกันและกันค่ะ คงต้องเริ่มด้วยกิจกรรม ..วันเปิดใจ...

ต้องท่องคาถาคิดบวกค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท