โครงการ "หลักสูตรช่างสิบหมู่สู่หลักสูตรท้องถิ่น"


การทำหลักสูตรท้องถิ่น

โครงการ "หลักสูตรช่างสิบหมู่สู่หลักสูตรท้องถิ่น"

แผนงาน     กลยุทธ์สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ข้อที่ 3

กลยุทธ์      โรงเรียนอินทร์ธานีวิทยาคม กลยุทธ์ที่ 3

ลักษณะโครงการ     โครงการใหม่

ผู้รับผิดชอบ     โรงเรียนอินทร์ธานีวิทยาคม(เจ้าภาพหลัก)

                    กลุ่มสาระวิชาการงานและเทคโนโลยี่,ศิลปศึกษา(เจ้าภาพรอง)

                    คณะครูโรงเรียนอินทร์ธานีวิทยาคม(เจ้าภาพร่วม)

หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง     มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช

.................................................................................................

1. หลักการและเหตุผล

          ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542

มาตรา 23 การจัดการศึกษา ทั้งการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย ต้องเน้นความสำคัญทั้งความรู้ คุณธรรม กระบวนการเรียนรู้และบูรณาการตามความเหมาะสมของแต่ละระดับการศึกษาในเรื่องต่อไปนี้
(1) ความรู้เรื่องเกี่ยวกับตนเอง และความสัมพันธ์ของตนเองกับสังคม ได้แก่ ครอบครัว ชุมชน ชาติ และสังคมโลก รวมถึงความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ความเป็นมาของสังคมไทยและระบบการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
(2) ความรู้และทักษะด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมทั้งความรู้ความเข้าใจและประสบการณ์เรื่องการจัดการ การบำรุงรักษาและการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลยั่งยืน
(3) ความรู้เกี่ยวกับศาสนา ศิลปะ วัฒนธรรม การกีฬา ภูมิปัญญาไทย และการประยุกต์ใช้ภูมิปัญญา
(4) ความรู้ และทักษะด้านคณิตศาสตร์ และด้านภาษา เน้นการใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้อง
(5) ความรู้ และทักษะในการประกอบอาชีพและการดำรงชีวิตอย่างมีความสุข

        และสอดคล้องกับคำสั่งกระทรวงศึกษาธิการที่ สพญ 293/2551 ลงวันที่ 11  กรฎาคม  พ.ศ. 2551 เรื่องให้ใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 โดยกำหนดให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามีบทบาทสำคัญในการจัดทำกรอบหลักสูตรท้องถิ่น เพื่อเชื่อมโยงหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน และเพื่อให้ท้องถิ่นได้มีส่วนร่วมในจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา

 โรงเรียนอินทร์ธานีวิทยาคม ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา และหลักสูตรท้องถิ่น รวมถึงการพัฒนาครู นักเรียน และชุมชน ให้มีความรู้ ความสามารถทั้งทางด้านเทคโนโลยี่ เพื่อที่จะช่วยให้นักเรียน สามารถเรียนรู้ได้ง่ายขึ้น และมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าเดิม และส่งผลให้การเรียนการสอนมีคุณภาพ ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น จึงได้มีโครงการ "หลักสูตรช่างสิบหมู สู่หลักสูตรท้องถิ่น" ขึ้น 

2. วัตถุประสงค์

     2.1 เพื่อให้ครูมีความรู้ ความเข้าใจ สมารถใช้เทคโนโลยี่เป็นเครื่องมือ เพื่อจัดการความรู้สู่หลักสูตรท้องถิ่น โดยบูรณาการกับหลักสูตรช่างสิบหมู่ ได้

     2.2 เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้ หลักสูตรท้องถิ่น และสามารถมีชิ้นงานเผยแพร่ต่อชุมชนได้

     2.3  เพื่อให้โรงเรียนมีหลักสูตรท้องถิ่น โดยบูรณาการกับหลักสูตรช่างสิบหมู่

3. เป้าหมาย

    3.1 เป้าหมายเชิงปริมาณ

        3.1.1 ครูโรงเรียนอินทร์ธานีวิทยาคมจำนวน 14 คน เข้าร่วมประชุมการจัดการความรู้สู่หลักสูตรท้องถิ่น สามารถนำผลงานทางวิชาการของตนเผยแพร่อย่างน้อย 1 ชิ้น

        3.1.2 นักเรียนโรงเรียนอินทร์ธานีวิทยาคม มีชิ้นงานตามงานช่างที่ตนเองเลือกตามความถนัดอย่างน้อย 1 ชิ้น และสามารถเผยแพร่ หรือจำหน่ายได้

        3.1.3 โรงเรียนอินทร์ธานีวิทยาคม มีหลักสูตรท้องถิ่นในการเรียนการสอน อย่างน้อย  4 หลักสูตร

     3.2 เป้าหมายเชิงคุณภาพ

        3.2.1 ครูโรงเรียนอินทร์ธานีวิทยาคม สามารถใช้เทคโนโลยี่เป็นเครื่องมือในการจัดการความรู้สู้หลักสูตรท้องถิ่นได้

        3.2.2 โรงเรียนอินทร์ธานีวิทยาคม มีหลักสูตรท้องถิ่น โดยนักเรียนสามารถทำชิ้นงาน เพื่อขยายสู่ชุมชนได้

4. ระยะเวลาดำเนินการ   เมษายน - กันยายน 2553

5. สถานที่ดำเนินการ

    โรงเรียนอินทร์ธานีวิทยาคม และมหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช

6. วิธีการดำเนินการ

    6.1 ขั้นเตรียมการ

          6.1.1 เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติ

          6.1.2 ประสานงานวิทยากร

          6.1.3 เตรียมเอกสาร วัสดุอุปกรณ์

    6.2 ขั้นดำเนินการ

          6.2.1 จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ"การจัดการความรู้สู่หลักสูตรท้องถิ่น"

          6.2.2 แบ่งนักเรียนออกเป็น 4 กลุ่มงานตามความถนัด และสนใจ โดยโรงเรียนแบ่งครูเป็นครูพี่เลี้ยงวิทยากร ตามกลุ่มงานที่นักเรียนเลือก

           6.2.3 จัดตารางเรียนในวันศุกร์ เวลา 13.00 น-16.00 น.ทุกสัปดาห์

           6.2.4 คราพี่เลี้ยงจะต้องบันทึกการสอนของวิทยากรทุกสัปดาห์ แล้วนำมาแยกเป็นหน่วยการเรียน/แผนการสอน(เป็นเอกสารทางวิชาการ)

     6.3 ขั้นสรุปและประเมินผล

         6.3.1 การสังเกตุ

         6.3.2 แบบสอบถาม

         6.3.3 ตรวจผลงาน/ชิ้นงาน

         6.3.4 สรุปรายงานผล

7. เนื้อหาสาระ

     7.1 ช่างทำเรือโบราณ

     7.2 ช่างกดลายปัดทอง

    7.3 ช่างแกะสลักหนัง

    7.4 ช่างทำผ้าบาติก(ผ้าพบฎ)

8. งบประมาณ

 ใช้งบประมาณจากมหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช จำนวน 50,000 บาท ตามรายการต่อไปนี้

    8.1 จัดอบรมครู"การจัดการความรู้สู่ท้องถิ่น             จำนวน 10,000 บาท

    8.2 ค่าวัสดุอุปกรณ์การเรียนการสอน                      จำนวน 40,000 บาท

        8.2.1 ช่างทำเรือโบราณ                                  จำนวน 31,501 บาท

        8.2.2 ช่างกดลายปัดทอง                                 จำนวน 3,904 บาท

        8.2.3 ช่างแกะสลักหนัง                                    จำนวน 4,595 บาท

        8.2.4 ช่างผ้าบาติก(ผ้าพบฎ) งบโรงเรียน               จำนวน 1,000  บาท       

หมายเลขบันทึก: 374377เขียนเมื่อ 12 กรกฎาคม 2010 17:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 14:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท