วิธีคลายเครียด


วิธีคลายเครียด

ความเครียดทางอารมณ์ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นกับทุกคนไม่มากก็น้อย ความเครียดอาจจะเกิดจากปฏิกิริยาในตัวเราเอง เช่น ปวดท้องอึขณะที่ขับรถติดในชั่วโมงเร่งด่วน หรือความเครียดที่เกิดจากสิ่งแวดล้อมภายนอก เช่น หุ้นตก สูญเสียเงิน ถูกโกงแชร์ เป็นนายกโดนปฎิวัติ ฯลฯ

ความเครียดขนาดน้อยๆ เป็นเรื่องปกติ ไม่มีปัญหา แต่อาจจะมีประโยชน์ ที่ทำให้เราพยายามเอาชนะมัน ทำให้เรามีชีวิตอยู่รอดปลอดภัย เช่น เครียดเพราะกลัวสอบเอ็นทรานซ์ไม่ได้ จึงทำให้ขยันเรียน แต่ความเครียดถ้ามีขนาดมาก ก็มีผลเสียต่อสุขภาพ เช่น ความเครียดอาจจะทำให้ภูมิต้านทานโรคลดลง ทำให้เป็นหวัดง่าย เริมกำเริบ หรือในบางคนอาจจะเกิดโรคจู๋หมดน้ำยา หรือถึงขนาดฆ่าตัวตาย

ผู้เชี่ยวชาญทางด้านความเครียด แนะนำหลักการลดความเครียดไว้หลายอย่าง ขั้นแรกหาสาเหตุที่ก่อให้เกิดความเครียด เขาให้คำนิยามของสาเหตุความเครียดไว้ว่า มันคือภาวะที่บีบคั้น ที่เกินความสามารถของเราที่จะตอบสนองได้ ความสามารถในการตอบสนองต่อความเครียด ขึ้นกับพันธุกรรม บุคลิกภาพ ประสบการณ์ของชีวิตของเรา เช่น คนบางคนอาจจะเครียด เมื่อต้องขึ้นไปร้องเพลงบนเวที แต่บางคนชอบมาก เนื่องจากมีพันธุกรรม หรือบุคลิกของความไม่ขี้อายชอบแสดงออก บางคนเข้าใกล้หมาแล้วเครียดมาก เนื่องจากมีประสบการณ์โดนหมากัดตอนที่ยังเด็ก
สาเหตุของความเครียดหลายอย่าง มันเห็นได้เข้าใจได้เด่นชัด เช่น พ่อหรือแม่เสียชีวิต ลูกไม่สบาย แฟนเลิกร้าง กิ๊กเลิกรา หางานทำ ไม่ได้ ถูกไล่ออกจากงาน หาเงินไม่พอใช้ เป็นหนี้พนันบอล ฯลฯ แต่ความเครียดเล็กๆ น้อยๆ ในชีวิตประจำวันก็ไม่ควรมองข้าม เช่น ต้องขับรถฝ่าจราจรไปส่งหรือรับลูกที่โรงเรียนทุกวัน เพื่อนร่วมงานนิสัยไม่ดี คอมฯ มีปัญหาแฮงค์บ่อยทำให้ต้นฉบับหาย น้ำมันราคาแพง ความเครียด เล็กๆ น้อยๆ เหล่านี้ถ้าเป็นอยู่นานๆ ก็สามารถสร้างความเสียหาย ให้กับชีวิตร่างกายหรือสุขภาพของเราได้มาก เพราะมันกระตุ้นร่างกายเรา ให้หลั่งฮอร์โมนความเครียดตลอดเวลา ทำให้เกิดโรคขึ้น เช่น ทำให้เป็นโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ แล้วตามมาด้วยอัมพาตอัมพฤกษ์

ี้หลังจากนั้น เราก็มานั่งพิจารณาสิ่งที่เราจดบันทึกไว้ พิจารณาสิ่งที่เราคิดว่าทำให้เราเครียดมากๆ แล้วเลือกขึ้นมาอย่างหนึ่ง เพื่อทำการวิเคราะห์โดยใช้เทคนิคที่ใช้แก้ปัญหาดังนี้

ถ้าคุณมีความรู้สึกหมดไฟ ไม่อยากทำงาน หรือเครียดมากเป็นเวลานานเป็นสัปดาห์ ความรู้สึกนี้จะมีผลต่อความสัมพันธ์ในทางอาชีพ และในชีวิตส่วนตัวหรือในการทำมาหากินของคุณได้

ความอัดอั้นตันใจที่มากล้น ความรู้สึกเมินเฉยต่อการงาน ความหงุดหงิดรำคาญใจเป็นเวลายาวนาน ความขุนเคืองใจ และมีความโน้มเอียงที่จะโต้เถียงเป็นประจำ สิ่งเหล่านี้ เป็นตัวชี้บ่งถึงอาการหมดไฟในการทำงาน ซึ่งจำเป็นต้อง ได้รับการจัดการเยียวยาให้มันดีขึ้น 
 

พล.ต.ต.นพ. นริศ เจนวิริยะ ศัลยแพทย์

คำสำคัญ (Tags): #มหาสารคาม22
หมายเลขบันทึก: 374244เขียนเมื่อ 12 กรกฎาคม 2010 11:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 15:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ผู้เชี่ยวชาญแนะนำกลยุทธ์ในการต่อสู้ความเครียด ว่าอย่างไรบ้างคะ

เห็นบอกว่า "ดังนี้" จะให้อ่านต่อที่ไหนคะพี่อร 555555555

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท