ศึกษาดูงานคลินิกระงับปวดเรื้อรังที่แคนาดาและอเมริกา


Complex pain clinic in Halifax, Nova Scotia, Canada and Complex pain clinic in Children Hospitals and Clinics, Minneapolis, Minnesota, USA 29 May-26 JUNE 2010..

สืบเนื่องจาก Teadales Cortie grant, funded by health research initiative สนับสนุนการไปศึกษาดูงาน และการเข้าฝึกอบรม The pain master class ที่ Halifax, Canada และ Minneapolis, Minnesota, USA ตามลำดับ ในระหว่างวันที่ 29 พฤษภาคม 2553 - 26 มิถุนายน 2553 ทำให้ฉันได้รับความความเรื่องการจัดการความปวดในเด็กมากมาย

ก) ลำดับแรกอยากเล่าเรื่อง "Complex pain clinic" ที่ IWK health center, Halifax, Nova Scotia, Canada

การจัดการความปวดในเด็กที่มีปัญหาซับซ้อน เรื้อรัง จะทำเป็นทีมสหสาขาวิชาชีพ ประกอบด้วย วิสัญญีแพทย์ นักจิตวิทยา พยาบาลผู้เชี่ยวชาญในคลินิก นักกายภาพบำบัด ถ้าเป็นเคสใหม่ที่ถูกส่งตัวมาที่คลินิก จะ approach ผู้ป่วยเด็กและผู้ปกครองเป็นทีม เพื่อประเมินร่วมกัน

1. ทีมนำเคสมาคุยกันก่อน

2. และและบิดา/ มารดา จะเข้ามาในห้องดังภาพ

Prcaal1

Professor G Allen Finley, Midical director Medical Director of Pediatric Pain Management at the IWK Health Centre and Professor of Anaesthesia and Psychology at Dalhousie University และด้านขวามือ คือ The president ของ IWK health center

Iwkca5

ในห้องจะมีอุปกรณ์ตรวจร่างกายสำหรับแพทย์ เตียงผู้ป่วย มุมของเล่น มุมเอกสารคู่มือ แผ่นพับให้ความรู้ โซฟาให้เด็ก คุณพ่อ คุณแม่ได้นั่งอย่างผ่อนคลาย

3. ทีมทักทาย ทำความคุ้นเคย และซักประวัติ ร่วมกัน โดยแต่ละคนก็ short note ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับความปวดในเด็กแต่ละราย และสลับกันซักถาม ล้อและสอดคล้องกัน ใช้เวลาประมาณ 30-  60 นาที

4. เด็กจะถูกแยกพบนักจิตวิทยา เพื่อค้นหาปัญหา และแนวทางช่วยเหลือที่ไม่ใช่การรักษาด้วยวิธีให้ยาเพียงอย่างเดียว เช่น การสะกดจิต การจินตภาพ ฯลฯ เพราะส่วนใหญ่เคสที่มาจะเป็นเด็กวัยรุ่น ใช้เวลาประมาณ 30-45 นาที จากนั้นเด็กต้องพบนักกายภาพบำบัดเพื่อตรวจร่างกาย และค้นหา source ของความปวดว่าอยู่ที่ไหนอีกทาง

4. คุณพ่อ คุณแม่ จะแยกไปพบกับพยาบาล Clinical nurse ในทีม เพื่อ ซักประวัติทางครอบครัว ค้นหาปัญหาด้านเด็กและครอบครัว และวางแผนกับครอบครัวเพื่อช่วยเหลือเด็กที่มีความปวดใช้เวลาประมาณ 30-45 นาที

5. เสร็จแล้วทีมจะอนุญาตให้เด็ก คุณพ่อคุณแม่ไปพักรับประทานอาหาร และนัดพบอีกช่วงบ่าย เพื่อวางแผนเรื่องการรักษาร่วมกัน

6. บ่ายโมงตรง ทีมคุยกันหาข้อสรุปและการรักษาที่จะให้ทั้งการใช้ยาและวิธีไม่ใช้ยา จากนั้นเชิญเด็ก คุณพ่อ หรือคุณแม่ที่มากับเด็กเข้าพบ และแจ้งผลการตรวจ ยาที่จะให้ หรือวิธีการอื่นที่ขะช่วยเด็กได้ เปิดโอกาสให้เด็กและครอบครัวซักถาม (จากการสังเกต เด็กและญาต ความรู้เรื่องความปวด กลไกความปวด ยาที่ใช้กี่ มิลลิกรัม ชื่อยาอะไร รับประทานอย่างไรดีมาก เด็กกล้าพูด กล้าแสดงความคิดเห็น) เคสส่วนใหญ่ที่มารักษา มักจะ shopping มาหลายโรงพยาบาล แต่อาการปวดไม่ดีขึ้น จึงถูกส่งมาที่คลินิกรักษาความปวดเรื้อรังซับซ้อนโดยอาศัยการทำงานร่วมกันของทีมสหสาขาวิชาชีพ และจะมีการนัดตรวจตามนัดเป็นระยะ หากมีปัญหาโทรศัพท์ email สอบถาม pain clinical nurse specialist ในทีม และมีการลิงค์กับเครือข่ายที่เด็กไปรักษามาก่อน เป็นต้น

วันหนึ่งมีเคสสูงสุด ประมาณ 5 ราย ทีมจะใช้เวลาทั้งวันในการทำงาน ยาแก้ปวดที่นี่ก็จะมีหลากหลาย อย่างครบวงจร  เวลาในการให้ผู้ป่วยมีมาก เพราะฉะนั้น ผู้ป่วย ครอบครัว พึงพอใจ ซึ่งต่างจากบ้านเราที่คนไข้เยอะมาก ยกตัวอย่างทีมมะเร็งเด็ก ออกคลินิกอาทิตย์ละ 2 วัน ผู้ป่วยสูงสุด มากกว่า 50 รายต่อวัน อย่างไรก็ตาม ก็ได้แนวทางนำมาพัฒนาและประยุกต์ใช้ในงานการจัดการความปวดในเด็ก แต่ดีที่สุดต้องดูเป็นทีมสหสาขาวิชาชีพ เหมือนทีม Complex pain clinic ที่นี่ค่ะ

ข) ต่อไปจะเล่า Complex pain clinic ที่ Childrens Hospitals and Clinics, Minneapolis, Minnesota, USA รูปแบบการทำงาน เหมือนที่ Halifax, Canada ทีมเพิ่มมาอีก 1 คือนักสังคมสงเคราะห์ มีพยาบาลทำหน้าที่เป็น pain clinic co-ordinator แต่หัวหน้าทีมเป็นแพทย์ผู้อำนวยการ Children Pain and palliative care ของโรงพยาบาลเด็ก และจะทำงานประสานกับ Integtrative medicine office ที่นั่น ที่มีการรักษาทางเลือกมากมาย เช่น Aromatherapy(กลิ่นบำบัด), massage therapy (นวด), Biofeed back, Hypnosis (การสะกดจิต) ทำให้ง่ายต่อการจัดการความปวดเป็นทีมอย่างครบวงจร

Dsc09324

หลังคุยกับเด็ก Dr Stefan, Mediacal director pain and palliative จะสอนเด็กเรื่องการจัดการความปวดด้วยตัวเด็ก โดยเมื่อเด็กและครอบครัวเข้าพบทีมตอนบ่าย Dr Stefan จะพูดกับเด็กว่า เราได้คุยกันแล้วเรื่องความปวดของหนู มี 2 เรื่องที่จะบอกคือข่าวดี และข่าวร้าย จะฟังเรื่องไหนก่อน เด็กจะบอกว่าฟังข่าวดี "ข่าวดีคือ เราเชื่อว่าหนูปวดจริง ข่าวร้ายคือ ...hard work" แล้วก็จะสอนเด็กโดยใช้ flip chart ดังภาพ และให้เด็กและคุณพ่อคุณแม่นำกลับบ้าน เพื่อกลับไปทบทวน และให้ตัดสินใจว่าจะรักษาที่คลินิกนี้ไหม ถ้าโอเคให้โทรมาบอกพยาบาล เพราะเด็กส่วนใหญ่ที่มา มาจากคลินิกหรือโรงพยาบาลอื่นที่ส่งต่อมา ที่นี่มีเคสเพียง 1-3 รายต่อวัน น้อยกว่าแคนาดา และมีเวลาให้คนไข้ทั้งวันเช่นกัน

Dsc09290

Dsc09288

Dsc09324

Dsc09363

Dsc09311

waiting area ก่อนเข้าพทีม

Dsc09301

เด็ก คุณพ่อ คุณแม่ จะคุยกันในห้องนี้ค่ะในครั้งแรกที่มา

Dsc09305

Dsc09306

กระดานนี้ ยังใช้การ์ตูนหน้าเดิมที่ไม่ใช่ revised face sacle แต่ pain reference card เปลี่ยนแล้วเป็นหน้า revised

Dsc09372

Dsc09374

 

Dsc09307

Dsc09309

Dsc09344

Dr Tim Culbert, Medical director, Integrative medicine office ทำงานร่วมกับทีมคลินิกความปวด

Dsc09471

กับ Pain and palliative care team

 

Thank you very much. I had gain more knowledge from both Halifax-Canada team and Minneapolis team about pediatric pain management..focusing on complex pain clinic.

Kesanee..updated July 11, 2010..12:01 pm

คำสำคัญ (Tags): #complex pain clinic , canada, usa
หมายเลขบันทึก: 373856เขียนเมื่อ 11 กรกฎาคม 2010 11:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:11 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท