สรุป เรื่องแกนแห่งกลยุทธ์ เพื่อเผชิญพลังผลักดันการแข่งขัน


แกนแห่งกลยุทธ์

สรุปย่อ ยุทธวิธีการแข่งขัน (Competitive Strategy)

กลยุทธ์ทางธรุกิจ

 กลยุทธ์ (Strategy) ในทางเศรษฐกิจ หมายถึง วิถีทางหรือแนวทางที่ถูกกำหนดขึ้นเพื่อ การระดมและจัดสรรการใช้ทรัพยากร ของประเทศ ในอันที่จะช่วยให้บรรลุถึงซึ่งเป้าหมายทางเศรษฐกิจในทางธุรกิจปัจจุบัน หมายถึง กระบวนการในการกำหนดเป้าหมายที่แน่ชัดของธุรกิจทั้งในระยะสั้นและระยะยาว การสร้างหรือพัฒนา วิถีทางในทางปฏิบัติ ตลอดจนการระดมแลจัดสรรทรัพยากรขององค์การธุรกิจ เพื่อให้สามารถบรรลุถึงซึ่งเป้าหมาย ที่ได้ถูกกำหนดไว้ อย่างมีประสิทธิผล โดยทั่วไปความหมายของกลยุทธ์ประกอบด้วยปัจจัย 2 ประการ คือ เป้าหมายหรือ วัตถุประสงค์ที่ต้องการจะบรรลุถึง และการกำหนดแนวทาง หรือวิธีการในทางปฎิบัต การพัฒนากลยุทธ์ในองค์กร ประกอบด้วย 2 ขั้นตอนใหญ่ คือ การสร้างกลยุทธ์ (strategy formation) และการนำกลยุทธ์ไปใช้ในทางปฏิบัติ (strategy implementation) การสร้างกลยุทธ์ (strategy formation) เป็นกระบวนการต่อเนื่องประกอบด้วย 
(1) การประเมินจุดอ่อน-จุดแข็งขององค์กร (2) การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมเพื่อกำหนดโอกาสธุรกิจ-ความเสี่ยง (3) การประเมินทัศนคติ ค่านิยมและความเชื่อมั่นของผู้นำในองค์กร และ(4) การตระหนักถึงข้อจำกัดทางสังคมและกฎหมาย ซึ่งจะเห็นได้ว่าการประเมินวิเคราะห์ในองค์ประกอบ (1) และ (3) เป็นการวิเคราะห์ปัจจัยภายในองค์กร ในขณะที่ (2) และ (4) เป็นการวิเคราะห์ปัจจัยภายนอกองค์กร

 การนำกลยุทธ์ไปใช้ในทางปฏิบัติ (strategy implementation) จะขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพการบริหารขององค์กร เช่น การจัดสรรและระดมทรัพยากรไปใช้ให้สอดคล้องกับกลยุทธ์ที่วางไว้ การแบ่งและจัดสรรงาน โครงสร้างองค์กรภายในการควบคุม และวัดประสิทธิผลของการดำเนินงานอย่างเป็นระบบ

 การประเมินว่ากลยุทธ์ที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมต่อองค์กรหรือไม่มีหลักเกณฑ์กว้างๆ 10 ประการดังนี้

  1. ความเป็นไปได้ในการบรรลุเป้าหมายที่ตั้ง
  2. แผนปฏิบัติการครอบคลุม สอดคล้องกับเป้าหมายที่ตั้ง และสนับสนุนซึ่งกันและกัน
  3. กลยุทธ์เหมาะสมกับโอกาส (opportunity) ที่มี
  4. กลยุทธ์เหมาะสมกับความเสี่ยง (threat) ที่มี หรือคุ้มกับโอกาสการทำกำไร
  5. เป้าหมายและแผนปฏิบัติงาน เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมในขณะนั้น
  6. เป้าหมายและแผนปฏิบัติงาน เหมาะสมกับกำลังและความสามารถ
  7. เป้าหมายและแผนปฏิบัติงาน สอดคล้องกับจุดเด่นขององค์กร
  8. เป้าหมายและแผนปฏิบัติงาน สอดคล้องกับทัศนคติ ค่านิยม ความเชื่อของผู้นำองค์กร
  9. ผู้นำกลยุทธ์ไปปฏิบัติมีความเข้าใจเป้าหมายและแผนปฏิบัติงานอย่างถ่องแท้
  10. ความสามารถขององค์กรในการบริหารจัดการที่จะนำกลยุทธ์ไปใช้อย่าง มีประสิทธิภาพ

 

แกนแห่งกลยุทธ์เพื่อเผชิญพลังผลักดันการแข่งขัน

 การพัฒนากลยุทธ์จะต้องอาศัยการเข้าใจพลังผลักดันการแข่งขัน 5 ประการดังที่กล่าวมาใน 10 บทข้างต้น อย่างไรก็ตาม จะมีแกนแห่งกลยุทธ์ 3 ประเภท ซึ่งนักธุรกิจสามารถนำไปใช้เป็นแกนนำในการพัฒนากลยุทธ์เพื่อเผชิญกับพลังแข่งขัน แกนแห่งกลยุทธ์ 3 ปะเภท ได้แก่

1.  กลยุทธ์การเป็นผู้นำด้านต้นทุน (cost leadership) ด้วยการใช้กลยุทธ์การตลาดเพื่อขยายยอดขายและส่วนแบ่งตลาด ลงทุนในเครื่องจักร เทคโนโลยีเพื่อ เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การวางรูปแบบผลิตภัณฑ์ให้ง่ายต่อการผลิต การควบคุมต้นทุนอย่างเคร่งครัด และการหลีกเลี่ยงลูกค้าไม่สำคัญ อย่างไรก็ตามความเสี่ยงของการใช้กลยุทธ์ผู้นำด้านต้นทุน อาจเกิดเนื่องมาจาก การเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีอย่างรวดเร็วทำให้เครื่องจักรที่ลงทุนไปล้าสมัย การลอกเลียนแบบการผลิตจากคู่แข่ง การละเลยการบริการลูกค้าอาจเป็นจุดอ่อนสำคัญ และการเปลี่ยนแปลงภาวะทางเศรษฐกิจ

2.  การสร้าง product differentiation เช่น สร้างความโดดเด่นที่แสดงถึงฐานะของผู้ซื้อ ความเป็นเลิศทางเทคโนโลยี ผู้นำด้านคุณภาพ ผู้นำการให้บริการ ผู้นำการเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่ และความเป็นผู้เห็นประโยชน์ของผู้บริโภคและสังคม

3.  กลยุทธ์จำกัดเขต (focus strategy) เป็นกลยุทธ์ที่นิยมในองค์กรธุรกิจขนาดเล็ก โดยการจำกัดขอบเขตใน การดำเนินธุรกิจ ของตน เช่น จำกัดสายผลิตภัณฑ์ การจำกัดกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย การจำกัดขอบเขตตลาดในภูมิภาคใดภูมิภาคหนึ่ง หรือจำกัดประเภทของช่องทางจำหน่าย การใช้กลยุทธ์จำกัดเขต บริษัทจะต้องเลือกส่วนของตลาด ที่มีศักยภาพใน การทำกำไรสูง มีความต้องการเฉพาะอย่างที่ยังไม่ได้รับ การตอบสนองจากผู้ผลิตรายอื่นๆ และสร้างความพอใจ และความผูกพันกับกลุ่มลูกค้า อย่างไรก็ตามกลยุทธ์ดังกล่าว มีข้อพึงระวัง ได้แก่ ส่วนแบ่งตลาดที่แคบเกินไป อาจเป็นอันตรายในอนาคต เมื่อผู้แข่งขัน รายใหญ่ เริ่มตระหนักถึง การสูญเสียส่วนแบ่งตลาด ส่วนนี้ หรือ ความต้องการเฉพาะอย่าง ของลูกค้าได้ถูกละเลย จากคู่แข่งขันขนาดใหญ่กว่า มิฉะนั้นการใช้กลยุทธ์ดังกล่าว อาจทำให้บริษัทเสียเปรียบ เมื่อคู่แข่งขันขนาดใหญ่ เข้ามาดำเนินการ

 ข้อพึงระวังที่สำคัญคือ บริษัทควรจะเลือกใช้แกนกลยุทธ์ประเภทใดประเภทหนึ่งโดยเฉพาะที่เหมาะสมกับตนเองที่สุด และหลีกเลี่ยงใช้ กลยุทธ์ใดกลยุทธ์หนึ่งครึ่งๆ กลางๆ มิฉะนั้นบริษัทอาจจะไม่สามารถต่อสู้กับคู่แข่งขัน ที่มีความสามารถโดยเฉพาะได้อย่างมีประสิทธิผล

 

 

หมายเลขบันทึก: 373583เขียนเมื่อ 10 กรกฎาคม 2010 15:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 15:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

มาทักทาย เยี่ยมชมผลงาน ครับ นึกว่า ขงเบ้ง

(ส่วนตัวนิด-รูปคนกับดอกไม้อันไหนสวยกว่ากันนะ)

สรุปบทความได้ดีคคร้าเยี่ยมยอด

แกนกลยุทธ์ จุดเด่น เกณฑ์สามอย่าง เป็นผู้นำ ด้านต้นทุน หนุนยอดขาย สร้าง product แตกต่าง ตาม design จำกัดข่าย ขอบเขต เจตน์จำนง ...เป็นความรู้ที่ดีมากจ้า..

สวัสดีครับ..

อ่านแล้วได้กลยุทธเพิ่มอีกหน่อย

เนื้อหาดีมากเลยค่ะพี่นิ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท