งานวิจัย 2 : เรื่อง ภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน ในกรุงเทพมหานคร


งานวิจัยเรื่อง ภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนเอกชน
งานวิจัย  2 :  เรื่อง  ภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน ในกรุงเทพมหานคร
โดย            นางสาวยุพดี     จันทร์หอมกุล
ปีที่วิจัย      พ.ศ.  2545
บทคัดย่อ
                การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย. เพื่อศึกษาภาวะผู้นำแบบแลกเปลี่ยนและภาวะผู้นำแบบเปลี่ยนสภาพของผู้บริหารโรงเรียนเอกชนในกรุงเทพมหานคร  และ เพื่อเปรียบเทียบภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนเอกชนที่ได้รับรองมาตรฐานและโรงเรียนที่ยังไม่ได้รับการรับรองมาตรฐานคุณภาพการศึกษาในกรุงเทพมหานคร  ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ผู้บริหารและครูโรงเรียนเอกชนที่ได้รับการรับรองมาตรฐานคุณภาพการศึกษา และโรงเรียนที่ยังไม่ได้รับการรับรองมาตรฐานคุณภาพการศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน ที่เปิดสอนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาล ถึงมัธยมศึกษาตอนปลายในกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 2,682 คน   กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ผู้บริหารและครูโรงเรียนเอกชน ซึ่งผู้วิจัย ได้กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของ Krejcie และ Morgan ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 336 คน   เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล  คือ  ค่าร้อยละ  ค่าเฉลี่ย (Mean)  ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(Standard Deviation)   และสถิติทดสอบค่า t (t - test)  โดยทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์โปรแกรม SPSS
ผลการวิจัยพบว่า               
1.  ผู้บริหารโรงเรียนเอกชนที่ได้รับการรับรองมาตรฐานและยังไม่ได้รับรองมาตรฐานคุณภาพการศึกษารับรู้การใช้ภาวะผู้นำของตนเองไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เมื่อพิจารณาตามรายด้าน ผู้บริหารทั้ง 2 กลุ่ม ใช้ภาวะผู้นำด้านการให้รางวัลตามสถานการณ์ ด้านการดลใจ ด้านการมุ่งสัมพันธ์เป็นรายคน และด้านการกระตุ้นการใช้ปัญญาในระดับสูง และใช้ภาวะผู้นำด้านการบริหารแบบวางเฉยในระดับปานกลาง
2.ครูโรงเรียนเอกชนที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน และยังไม่ได้รับการรับรองมาตรฐานรับรู้การใช้ภาวะผู้นําของผู้บริหารไม่แตกตางกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เมื่อพิจารณาตาม รายด้าน ครูทั้ง 2 กลุ่ม ด้านการดลใจ ด้านการมุ่งสัมพันธ์เป็นรายคนและด้านการกระตุ้นการใช้ปัญญาในระดับสูง ด้านการให้รางวัลตามสถานการณ์ครูโรงเรียนเอกชน ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานรับรู้ในระดับสูง ส่วนครูโรงเรียนเอกชนที่ยังไม่ได้รับการรับรองมาตรฐานรับรู้ในระดับปานกลาง ด้านการบริหารแบบวางเฉย ครูโรงเรียนเอกชนที่ได้รับการรับรองมาตรฐานรับรู้ในระดับปานกลาง ส่วนครูโรงเรียนเอกชนที่ยังไม่ได้รับการรับรองมาตรฐานรับรู้ในระดับสูง
 สรุปผลการวิจัย
ผลการศึกษา “ภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน ในกรุงเทพมหานคร” ปรากฏผล ดังนี้
1. สถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม ผู้บริหารโรงเรียนส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 63.60 มีอายุ 46 ปีขึ้นไป ร้อยละ 54.50 ระดับการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี ร้อยละ 63.60 และมีประสบการณ์ในการทำงาน 16 ปีขึ้นไป ร้อยละ 59.10 ครูผู้สอนส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 75.00 มีอายุระหว่าง 25-35 ป ร้อยละ 40.60 ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ 85.10 และมีประสบการณ์ในการทำงานระหว่าง 11-15 ป ร้อยละ 29.90 และ 16 ปีขึ้นไป ร้อยละ 29.90
2. เปรียบเทียบภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนเอกชนที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน คุณภาพการศึกษาและยังไม่ได้รับการรับรองมาตรฐานคุณภาพการศึกษา รับรู้การใช้ภาวะผู้นำของตนเองไม่แตกต่างกัน และเมื่อพิจารณาตามรายด้าน พบว่า ผู้บริหารโรงเรียนเอกชนทั้ง 2 กลุ่ม ใช้ภาวะผู้นำด้านการให้รางวัลตามสถานการณ์ด้านความเสนหา ด้านการดลใจ ด้านการมุ่งความสัมพันธ์เป็นรายคน และด้านการกระตุ้นการใช้ปญญา อยู่ในระดับสูง และใช้ภาวะผู้นําด้านการบริหารแบบวางเฉยอยู่ในระดับปานกลาง
3. เปรียบเทียบภาวะผู้นําของผู้บริหารตามการรับรู้ของครูโรงเรียนเอกชนที่ได้รับการรับรองมาตรฐานและยังไม่ได้รับการรับรองมาตรฐานคุณภาพการศึกษาพบว่ารับรู้ไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณาตามรายด้าน พบว่าด้านความเสน่หา ด้านการดลใจ ด้านการมุงสัมพันธ์เป็นรายคน และการกระตุ้นการใช้ปัญญา ครูโรงเรียนเอกชนทั้ง 2 กลุ่ม รับรู้อยู่ในระดับสูง ส่วนด้านการให้รางวัลตามสถานการณ์ครูโรงเรียนเอกชนที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน รับรู้อยู่ในระดับสูง ส่วนครูโรงเรียนเอกชนที่ยังไม่ได้รับการรับรองมาตรฐานรับรู้ในระดับปานกลาง ส่วนด้านการบริหาร แบบวางเฉย ครูโรงเรียนเอกชนที่ได้รับการรับรองมาตรฐานรับรู้ในระดับปานกลาง และครูโรงเรียนเอกชนที่ยังไม่ได้รับการรับรองมาตรฐาน รับรู้ในระดับสูง
4. เปรียบเทียบภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนเอกชนที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน และยังไม่ได้รับการรับรองมาตรฐานคุณภาพการศึกษา ตามการรับรู้ของตนเอง เมื่อพิจารณาตาม รายข้อพบว่าผู้บริหารทั้ง 2 กลุ่ม รับรู้ไม่แตกต่างกัน
5. เปรียบเทียบภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนเอกชนที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน และยังไม่ได้รับการรับรองมาตรฐานคุณภาพการศึกษา ตามการรับรูของครูเมื่อพิจารณาตามรายข้อพบ ว่าในด้านการให้รางวัลตามสถานการณ์ด้านการดลใจ ด้านการมุ่งความสัมพันธ์เป็นรายคน และ ด้านการกระตุ้นการใช้ปัญญาครูรับรู้ไม่แตกต่างกัน  ส่วนด้านการบริหารแบบวางเฉยครูโรงเรียน เอกชนที่ยังไม่ได้รับการรับรองมาตรฐานรับรู้ว่าจะตองมีอะไรผิดพลาดเสียก่อนผู้บริหารจึงจะ ดําเนินการตรวจสอบและแก้ไขมากกว่าครูโรงเรียนเอกชนที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน ส่วนด้านความเสน่หา พบว่า ครูโรงเรียนเอกชนที่ได้รับการรับรองมาตรฐานรับรู้ว่าผู้บริหารแสดงให้เห็น ว่าเป็นคนที่มีความเฉลียวฉลาด และมีสมรรถภาพสูงในการปฏิบัติงานมากกว่าครูโรงเรียนเอกชน ที่ยังไม่ได้รับการรับรองมาตรฐาน
หมายเลขบันทึก: 373505เขียนเมื่อ 10 กรกฎาคม 2010 12:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 16:34 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท