ความหมายและความสำค้ญของนวัตกรรมและสารสนเทศ


นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา

      

บทที่ 1

ความหมายและความสำคัญของนวัตกรรมและสารสนเทศ

 

1.1  ความหมายของนวัตกรรมการศึกษา

 

คำว่า นวัตกรรมการศึกษา ตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า Education Innovation ซึ่งหมายถึง การนำเอาสิ่งใหม่ที่อาจจะอยู่ในรูปของความคิดหรือการกระทำ รวมถึงสิ่งประดิษฐ์เข้ามาใช้ในกระบวนการเรียนการสอน ตลอดจนการบริหารจัดการทางการศึกษา เพื่อให้เกิดการเรียนรู้รวดเร็ว กระตุ้นให้ผู้เรียนมีความสนใจและแสวงหาความรู้เพิ่มมากขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ   นวัตกรรมส่วนใหญ่จะเกิดจากส่วนประกอบของเทคโนโลยี ซึ่งเมื่อเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงก็มักจะทำให้นวัตกรรมเปลี่ยนแปลงไปด้วย

 1.2  ความหมายของเทคโนโลยีการศึกษา

 คำว่า เทคโนโลยี เป็นคำที่ใช้ทับศัพท์คำว่า Technology ในภาษาอังกฤษ ซึ่งเป็นผลจากการศึกษาค้นพบทางด้านวิทยาศาสตร์แล้วนำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดสิ่งใหม่ ๆ ขึ้น  เทคโนโลยีการศึกษาจึงหมายถึง การนำเทคโนโลยีบางอย่างมาประยุกต์ใช้กับการศึกษา  เพื่อสร้างเสริมกระบวนการเรียนรู้ให้เกิดได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น

คำว่า นวัตกรรม และ เทคโนโลยี จึงมีส่วนเกี่ยวข้องกัน แม้ว่าจะเป็นการนำเทคโนโลยีซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นอุปกรณ์และสิ่งประดิษฐ์มาประยุกต์  โดยมีกระบวนการกระทำหรือการจัดการทำให้เกิดนวัตกรรมขึ้นมาก็ตาม  แต่คนส่วนใหญ่มักจะใช้คำว่า เทคโนโลยี แทน   โดยเฉพาะในปัจจุบันได้มีการประยุกต์วิธีการโดยนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Information and Communication Technology) ซึ่งประกอบด้วยคอมพิวเตอร์และการสื่อสารทางไกลเป็นองค์ประกอบหลักเข้ามาใช้ในการศึกษา   จึงมักจะเรียกว่า การใช้เทคโนโลยีและการสื่อสารการศึกษา  หรือเรียกย่อว่า การใช้ ICT ทางการศึกษา  แทนที่จะใช้คำว่า “นวัตกรรมทางการศึกษา”  และเพื่อให้สอดคล้องกับความนิยมในการใช้คำเช่นนี้     ในบทเรียนนี้จึงใช้คำว่า เทคโนโลยีการศึกษา แทน  โดยให้หมายถึง นวัตกรรมที่ใช้เทคโนโลยีและการสื่อสารเป็นองค์ประกอบหลักที่ก่อให้เกิดนวัตกรรมใหม่ ๆ ทางการ ศึกษา  ซึ่งกำลังเป็นที่นิยมใช้กันอย่างกว้างขวางในการศึกษาปัจจุบัน

 1.3 ความหมายของระบบสารสนเทศ

  ระบบที่จะนำมาใช้ในการบริหารงานในที่นี้ ได้แก่  ระบบสารสนเทศ (Information system) ซึ่ง อนันต์ เกิดดำ (2548)   ได้ให้ความหมายไว้ดังนี้

        ระบบสารสนเทศ คือ เซ็ตขององค์ประกอบที่สัมพันธ์กันซึ่งรวบรวม ประมวล จัดเก็บและเผยแพร่สารสนเทศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจและการควบคุมในองค์กร  (ดูภาพที่ 8.1 ประกอบ)

 

 

 

 

 ภาพที่ 8.1   :   แสดงโครงสร้างของระบบสารสนเทศ

                       จากภาพที่ 8.1   จะเห็นได้ว่า โครงสร้างหลักของสารสนเทศประกอบด้วย ข้อมูลนำเข้า   การ

ประมวลผล   สารสนเทศ  โดยมีข้อมูลย้อนกลับเป็นตัวควบคุม

                        1.  ข้อมูลนำเข้า (Input) คือ ข้อมูลที่จำเป็นเพื่อนำเข้าสู่ระบบเพื่อจะทำให้เกิดการประมวลผลขึ้น   ข้อมูลที่จำเป็นจะมาจากสภาพแวดล้อมของระบบ   ส่วนจะเป็นอะไรนั้นขึ้นอยู่กับแต่ละระบบ เช่น ถ้าเป็นระบบบริหารในสถาบันการศึกษา ข้อมูลนำเข้าอาจประกอบด้วย อาจารย์ นักเรียน อาคารเรียน รายวิชาต่าง ๆ

2.     การประมวลผล (Processing)   คือ การเปลี่ยนรูปแบบข้อมูลให้อยู่ในรูปที่มีความหมาย ซึ่งอาจจะได้แก่ การคำนวณ การสรุป หรือการจัดหมวดหมู่ของข้อมูล การประมวลผลประกอบด้วยองค์ประกอบย่อย ดังนี้

                                2.1  บุคลากร   หมายถึง   บุคคลที่ทำงานในองค์กรในฝ่ายสารสนเทศ

                                2.2 กระบวนการ หมายถึง ขั้นตอนการทำงานซึ่งกำหนดขึ้นเพื่อให้การทำงานได้ผลตามที่ต้องการ                      

                                2.3  ฮาร์ดแวร์   หมายถึง เครื่องมือทั้งหมดที่ใช้ในระบบสารสนเทศ

                                2.4  ซอฟต์แวร์ หมายถึง ซอฟต์แวร์ระบบ และซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่ใช้ในระบบทั้งหมด

                                2.5 แฟ้มข้อมูล หมายถึง ข้อมูลที่เก็บไว้ในแฟ้มข้อมูลเพื่อประโยชน์ในการประมวล ผลคราวต่อไป   ข้อมูลเหล่านั้นจะเก็บในหน่วยความจำสำรองขอ’คอมพิวเตอร์

                        3.     ผลลัพธ์ (Output)  คือ สารสนเทศที่ได้จากการประมวลผลซึ่งจะปรากฏอยู่ในรูปรายงานต่าง ๆ   คุณลักษณะของสารสนเทศที่มีคุณภาพ ได้แก่

                                3.1 ตรงตามความต้องการ (Relevancy) หมายถึง ลักษณะที่สารสนเทศนั้นสามารถที่จะตอบคำถามในลักษณะที่เจาะจงได้ เช่น ในการขายเสื้อผ้าผู้ชาย ถ้าถามว่าเสื้อผ้าแบบไหน สีไหนขายได้ดีที่สุด

                                3.2 ความตรงต่อเวลา (Timeline) หมายถึง สารสนเทศที่ผลิตออกมานั้นจะผลิตออกมาทันกับความต้องการของผู้ใช้

                                3.3 ความเที่ยงตรง (Accuracy) หมายถึง สารสนเทศจะต้องไม่ทำให้เกิดความเข้าใจผิดและมีข้อผิดพลาด   ลักษณะที่บ่งบอกถึงความเที่ยงตรงได้แก่

3.3.1 ความสมบูรณ์ (Completeness) สารสนเทศที่จำเป็นจะต้องมีอย่าง ครบถ้วน                                             

                                        3.3.2   ความถูกต้อง (Correctness) สารสนเทศจะต้องมีความถูกต้อง

                                        3.3.3     ความปลอดภัย (Security) สารสนเทศจะต้องมีความปลอดภัย นั่นคือ                                                  ถ้าส่วนไหนจะให้ใครใช้ก็ใช้ได้เฉพาะคนนั้นเท่านั้น     

                                3.4 ประหยัด (Economy) หมายถึง การใช้ทรัพยากรที่จะผลิตสารสนเทศนี้ใช้ในการแก้ปัญหาจะต้องไม่แพงมาก

                                3.5 มีประสิทธิภาพ (Efficiency) หมายถึง ศักยภาพในการพัฒนาสารสนเทศต่อหนึ่งหน่วยของทรัพยากรที่ใช้ เช่น ความตรงต่อเวลาต่อหนึ่งบาท เป็นต้น

                        4.     ส่วนย้อนกลับ (Feed back)   เป็นส่วนที่ใช้ในการควบคุมการทำงานของการประมวลผลเพื่อให้การประมวลผลนั้นบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้      ผลจากการเปรียบเทียบจะนำ ไปสู่การปรับข้อมูลนำเข้าหรือกระบวนการประมวลผล

 1.4  ประเภทของระบบสารสนเทศที่ใช้ในองค์กร

ปัจจุบัน   ระบบสารสนเทศเป็นที่นิยมใช้ในองค์การทุกประเภท    ไม่ว่าจะเป็นองค์การขนาดใหญ่หรือขนาดเล็ก   ระบบสารสนเทศที่ใช้กันอยู่ในองค์กรทั่ว ๆ ไปจำแนกได้ ดังนี้

                        1.4.1 ระบบประมวลผลรายการ (Transaction Processing System:  TPS)                                                  ระบบประมวลผลรายการเป็นพื้นฐานของระบบธุรกิจ ซึ่งเป็นระบบที่ช่วยผู้บริหารในระดับปฏิบัติการระบบจะใช้คอมพิวเตอร์ในการบันทึกรายการประจำวันในการทำธุรกิจ ตัวอย่างเช่น ระบบการสั่งซื้อ ระบบการจองห้องพัก   ระบบเงินเดือนและค่าจ้าง   ระบบรับและสั่งสินค้าออก

                                    เนื่องจากการบริหารในระดับปฏิบัติการ   งานกฎเกณฑ์และเงื่อนไขได้กำหนดไว้ล่วงหน้าแน่นอนแล้ว   ดังนั้น การตัดสินใจจะต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้แล้วเท่านั้น   ตัวอย่างเช่น  การตัดสินใจจะให้เครดิตแก่ลูกค้าของธนาคาร   สิ่งที่ผู้บริหารในระดับนี้จะตัดสินใจว่าจะให้หรือไม่  เขาจะทำได้ก็เพียงแต่ตรวจว่าลูกค้ามีคุณสมบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้หรือไม่เท่านั้น

                        1.4.2 ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร (Management Information System:  MIS)

                                    ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารหรือที่นิยมเรียกกันทั่วไปว่า ระบบ MIS คือ ระบบที่ผลิตสารสนเทศที่ผู้บริหารต้องการเพื่อใช้ในการบริหารงานให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ   ระบบจะผลิตรายงานเพื่อผู้บริหาร   บางกรณีผู้บริหารอาจจะเรียกใช้ด้วยระบบออนไลน์    โดยทั่วไปแล้วระบบ MIS จะเป็นข้อมูลภายในองค์กร   ไม่เกี่ยวกับข้อมูลภายนอกหรือข้อมูลสภาพแวดล้อม   ในเบื้องต้น MIS จะผลิตสารสนเทศเพื่อผู้บริหาร โดยเฉพาะในด้านการวางแผน การควบคุม และการตัดสินใจ

                        1.4.3 ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System:  DSS)     

                                    ระบบสนับสนุนการตัดสินใจส่วนมากเป็นระบบที่พัฒนาขึ้นเพื่อช่วยให้การตัดสินใจของผู้บริหารเป็นไปได้อย่างสะดวก   ระบบจะสามารถสรุปหรือเปรียบเทียบข้อมูลจากทุกแหล่งไม่ว่าจะเป็นข้อมูลภายในหรือข้อมูลภายนอกองค์กร    แหล่งข้อมูลภายใน ได้แก่  ข้อมูลในแฟ้มข้อมูลในองค์กรที่มีอยู่แล้ว  เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับการขาย  ข้อมูลเกี่ยวกับการผลิต  ข้อมูลทางด้านการเงิน  ข้อมูลจากแหล่งภายนอก  ได้แก่ ข้อมูลด้านอัตราดอกเบี้ย   ข้อมูลแนวโน้มของประชากร  หรือข้อมูลด้านความต้องการของตลาดโลก   ระบบการตัดสินใจส่วนมากเป็นระบบที่มีการโต้ตอบระหว่างผู้ใช้กับคอมพิวเตอร์  และจะมีความสามารถในการวิเคราะห์ค่าทางสถิติ   มีตารางการทำงาน   มีกราฟแบบ ต่าง ๆ  ที่จะช่วยให้ผู้ใช้ประเมิน

                                    ข้อมูลในการตัดสินใจในระบบสนับสนุนการตัดสินใจที่ก้าวหน้ามาก  ผู้ใช้อาจจะสร้างแบบจำลองของปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการตัดสินใจ   ลักษณะของระบบสนับสนุนการตัดสินใจที่ดีอาจสรุปได้ ดังนี้

  1. ระบบจะต้องใช้ช่วยผู้บริหารในกระบวนการตัดสินใจ
  2. ระบบจะต้องสามารถสนับสนุนการตัดสินใจได้ทุกระดับ    แต่จะเน้นที่ระดับวาง แผนบริหารและวางแผนกลยุทธ์
  3. ระบบมีความสามารถในการจำลองสถานการณ์  และมีเครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์สำหรับช่วยเหลือผู้ตัดสินใจ
  4. ระบบจะต้องสามารถติดต่อกับฐานข้อมูลขององค์กรได้
  5. ระบบจะต้องเป็นระบบที่ตอบโต้กับผู้ใช้ได้  สามารถใช้งานได้ง่าย  ผู้ใช้สามารถใช้งานได้โดยพึ่งความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญน้อยที่สุด

                        1.4.4 ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูง (Executive Support System:  ESS)

                                    ระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหารระดับสูงเป็นระบบที่ช่วยให้ผู้บริหารระดับสูงติดตามผลการปฏิบัติงานขององค์การ   ติดตามกิจกรรมของคู่แข่ง   ชี้ให้เห็นปัญหา  มองหาโอกาส และคาดคะเนแนวโน้มต่าง ๆ ในอนาคต   ในการนำ ESS มาใช้นั้น จะต้องออกแบบให้ระบบใช้ทั้งข้อมูลภายในและข้อมูลภายนอกองค์กร   นอกจากนี้ ยังต้องรวมเอาเครื่องมือต่าง ๆ ที่ใช้ในการจำลอง การวิเคราะห์   ตัวอย่างเช่น LOTUS1-2-3, EXCEL หรือโปรแกรมตารางการทำงานอื่น ๆ

                        1.4.5 ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert System) 

                                    ระบบผู้เชี่ยวชาญมีส่วนคล้ายคลึงกับระบบอื่น ๆ  คือเป็นระบบคอมพิวเตอร์ที่ช่วยผู้บริหารแก้ไขปัญหาหรือทำการตัดสินใจได้ดีขึ้น   อย่างไรก็ดี ระบบผู้เชี่ยวชาญจะแตกต่างกับระบบอื่นอยู่มาก  เนื่องจากระบบผู้เชี่ยวชาญจะเกี่ยวข้องกับ  การจัดการความรู้ (Knowledge management) มากกว่าสารสนเทศ   และถูกออกแบบให้ช่วยในการตัดสินใจโดยใช้วิธีเดียวกับผู้เชี่ยวชาญที่เป็นมนุษย์โดยใช้หลักการทำงานด้วยระบบปัญญาประดิษฐ์ (Artificial intelligence)         

                                    ระบบผู้เชี่ยวชาญจะทำการโต้ตอบกับมนุษย์โดยมีการถามข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อความกระจ่าง ให้ข้อแนะนำ และช่วยเหลือในกระบวนการตัดสินใจ   นั่นคือ การทำงานคล้ายกับเป็นมนุษย์ผู้เชี่ยวชาญในการแก้ไขปัญหานั้น ๆ   เนื่องจากระบบนี้ก็คือการจำลองความรู้ของผู้เชี่ยวชาญจริง ๆ  มานั่นเอง   โดยผู้เชี่ยวชาญในที่นี้อาจเป็นได้ทั้งผู้เชี่ยวชาญในการบริหาร  ผู้เชี่ยวชาญในเรื่องภาษี ผู้เชี่ยวชาญในเรื่องยา  หรือแม้แต่ผู้เชี่ยวชาญในการทำอาหารก็ตาม

 

 

        

 

หน่วยที่  2  

บทบาทของสารสนเทศในการบริหารองค์กรทางการศึกษา

สถานศึกษาสามารถนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษาไปใช้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพในการบริหารจัดการทางการศึกษาได้อย่างหลากหลาย   จะเห็นได้ว่าลักษณะบางอย่างของเทคโนโลยี  เช่น  ความรวดเร็ว  การจัดเก็บอย่างเป็นระบบ  การทำงานที่ไม่ผิดพลาด  และการทำงานอย่างไม่เหน็ดเหนื่อย  ตลอดจนลักษณะอื่น ๆ อีกมากล้วนแต่สามารถนำมาใช้ในงานต่าง ๆ เพื่อให้ได้ผลที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น  ในขณะเดียวกันก็จะต้องคำนึงถึงผลที่เกิดขึ้นจากการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ด้วย เช่น การขาดความเฉลียว  การขาดการจำแนกความแตกต่างที่ไม่ได้กำหนดไว้ล่วงหน้า   ดังนั้น จึงต้องนำสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้เข้าไปอยู่ในระบบเพื่อให้การทำงานเกิดประสิทธิภาพมากที่สุด

 

2.1 ลักษณะที่เทคโนโลยีสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ

 ครรชิต  มาลัยวงศ์  (2549)  ได้กล่าวถึงเหตุผลที่หน่วยงานต่าง ๆ ควรนำคอมพิวเตอร์มาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการจัดการไว้ ดังนี้

                        2.1.1       การทำงานได้อย่างต่อเนื่องโดยไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย    ทำให้สามารถประยุกต์ไปใช้ในงานที่ต้องการให้บริการได้ตลอด 24 ชั่วโมง โดยไม่ต้องมีเวลาหยุด   ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนได้แก่  การฝากและถอนเงินจากธนาคาร  ซึ่งประยุกต์ใช้เครื่อง ATM  ทำให้ลูกค้าสามารถฝากถอนเงินได้ตลอด 24 ชั่วโมง   แต่ก็ต้องคำนึงถึงความปลอดภัยโดยสร้างที่เก็บเงินให้แข็งแรงและนำไปตั้งไว้ในที่ปลอดภัย  หรือมิเช่นนั้นก็ต้องสามารถส่งสัญญาณไปยังสถานที่ซึ่งสามารถส่งเจ้าหน้าที่ไปดูแลความปลอดภัยได้อย่างรวดเร็ว    คุณลักษณะข้อนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในงานบริหารจัดการได้จำนวนมาก   ในทางการศึกษาก็สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในเรื่องต่าง ๆ ได้เช่นเดียวกัน  เช่น

                        การเรียนรู้ด้วยระบบ e - Learning   ทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนได้ตลอดเวลาที่ต้องการโดยไม่จำเป็นต้องเรียนตามตารางที่กำหนดไว้อย่างตายตัว   บางครั้งผู้เรียนอาจไม่มีความพร้อมที่จะเข้าเรียน หรือบางครั้งกำลังเรียนด้วยความเข้าใจและอยากจะเรียนอย่างต่อเนื่อง แต่พอหมดเวลาที่กำหนดไว้ก็ไม่สามารถจะเรียนต่อได้    แต่ระบบ e - Learning จะช่วยให้ผู้เรียนสามารถเลือกเวลาที่เหมาะสมที่สุดตามที่ตัวเองต้องการได้   โดยไม่ต้องขึ้นอยู่กับผู้สอนหรือต้องคอยเรียนพร้อมกับผู้เรียนคนอื่น ๆ  

                        2.1.2       การทำงานได้โดยไม่มีผิดพลาด   ทำให้สามารถนำไปใช้ในงานจำนวนมากที่ต้องการความถูกต้องและเกิดผลที่ถูกต้อง เช่น การตรวจข้อสอบ การอ่านบาร์โค้ด การที่คอมพิวเตอร์สามารถทำงานดังกล่าวได้โดยไม่มีผิดพลาด ทำให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้กำหนดเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของสิ่งต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นตัวบุคคล หนังสือ หรือสิ่งของ ตลอดจนสินค้าแต่ละรายการ โดยออกแบบให้คอมพิวเตอร์เก็บข้อมูลเข้าไปที่มีความแตกต่างกัน เช่น อาจจะเป็นตัวเลข สัญลักษณ์ หรือรหัสต่าง ๆ เมื่อพบข้อมูลที่กำหนดไว้ก็จะสามารถนำไปใช้ได้โดยไม่ผิดพลาด

                        2.1.3       การทำงานได้อย่างรวดเร็ว   ทำให้สามารถนำไปใช้กับงานที่มีปริมาณมาก ทำให้งานเสร็จได้ภายในเวลาอันรวดเร็ว  ในสมัยแรก ๆ  จึงมีการนำคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ในงานสำมะโนประชากรซึ่งต้องมีการนำข้อมูลจำนวนมากมานับรวมกัน และยังมีการคำนวณจำนวนมากด้วย สำนักงานสถิติแห่งชาติจึงเป็นหน่วยงานแรก ๆ  ที่ใช้คอมพิวเตอร์ทำงานในลักษณะดังกล่าว    ในปัจจุบันได้มีการประยุกต์คุณลักษณะข้อนี้ไปใช้อย่างกว้างขวาง  เช่น การสื่อสารที่ต้องการความรวดเร็ว  ข้อมูลที่ส่งมาจากแหล่งต่าง ๆ  ที่อยู่ห่างไกลกันสามารถนำมาประมวลผลร่วมกันภายในเวลาอันรวดเร็ว  เช่น  การรวมคะแนนจากหน่วยเลือกตั้งจำนวนมาก  สามารถนำมาประมวลผลและประกาศผลได้ภายในเวลาเพียงไม่กี่ชั่วโมง  ในทางการศึกษาก็มีงานลักษณะเช่นนี้เป็นจำนวนมากเช่นกัน  เช่น  การจัดทำข้อมูลการคัดเลือกเข้าเรียนต่อในมหาวิทยาลัย และการประกาศผลสอบคัดเลือก  เป็นต้น

                        2.1.4       การทำงานอย่างเป็นระบบ   ทำให้เกิดความชัดเจนของขั้นตอนการทำงาน รายละเอียดของข้อมูลนำเข้า และ รายละเอียดของผลผลิตของงาน   ก่อนที่จะใช้คอมพิวเตอร์ทำงานจำเป็นจะต้องคิดวิเคราะห์และออกแบบระบบงานให้ชัดเจนเสียก่อน    ต่อจากนั้นจึงจะสร้างระบบงานที่ใช้คอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยทำงาน   ในการทดลองระบบงานหรือในการทำงานจริง  ถ้าพบข้อมูลผิดพลาดใด ๆ ก็สามารถตรวจสอบและค้นหาสาเหตุ    หากพบสาเหตุที่ผิดพลาดก็จะสามารถแก้ไขชุดคำสั่งงานและทดลองจนกว่าจะได้ผลตามที่ต้องการ   ผลจากการทำงานอย่างเป็นระบบทำให้มีการนำเทคโนโลยีนี้เข้ามาใช้งานแทบทุกอย่าง   ซึ่งนอกจากจะได้ผลงานตามความต้องการแล้วยังสามารถตรวจสอบองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องได้อย่างชัดเจนทุกขั้นตอนอีกด้วย

2.2 การใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีในการพัฒนาประสิทธิภาพการบริหาร     

      จัดการศึกษา

 การที่นวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษามีคุณลักษณะที่ดีหลายประการดังกล่าวข้างต้น จึงได้มีการพัฒนาและนำไปประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการทางการศึกษา เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน      ในการประยุกต์เข้าไปช่วยด้านการบริหาร    จำเป็นต้องมีการบริหารจัดการนวัตกรรมและเทคโนโลยีเป็นการเฉพาะด้วย     องค์ประกอบของเทคโนโลยีการศึกษาก็เช่นเดียวกัน  หากจะนำไปใช้ในการบริหารจัดการก็ต้องเตรียมความพร้อมของทุกองค์ประกอบ และให้องค์ประกอบเหล่านั้นทำงานอย่างสอดคล้องกัน   โดยต้องดำเนินการในเรื่องที่สำคัญ ดังนี้

                            2.2.1       การจัดทำแผนการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้   ต้องให้ผู้เกี่ยวข้องมีความเข้าใจและเตรียมตัวในการพัฒนาสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องให้ประสานสอดคล้องกัน    การเตรียมงบประมาณรองรับเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องให้ครอบคลุมค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องให้เพียงพอ   ขณะเดียวกันก็ต้องเตรียมคนที่จะดูแลระบบงานใหม่เพื่อให้สามารถทำงานตามบทบาทหน้าที่ที่ได้กำหนดไว้    สิ่งสำคัญที่จะละเลยไม่ได้ก็คือ ผู้เกี่ยวข้องที่เกิดจากการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้จำเป็นต้องได้รับทราบ และทำความเข้าใจในสิ่งที่เกิดขึ้นด้วย

                            2.2.2       การพัฒนาหรือจัดหาระบบเทคโนโลยีที่ต้องการนำเข้ามาใช้    จะต้องดำเนินการอย่างเป็นระบบ   โดยมีการพิจารณา  ศึกษาวิเคราะห์  และคัดเลือกด้วยวิธีการที่กำหนดไว้อย่างชัดเจน   ขั้นตอนนี้อาจต้องใช้เวลาและต้องให้เกิดความมั่นใจว่าจะได้ระบบที่ดีที่เหมาะสมต่อการใช้งาน   การให้ผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์เข้ามาช่วยจัดหาระบบจึงเป็นสิ่งจำเป็น   โดยเฉพาะการเปรียบเทียบระบบที่มีใช้กันอยู่แล้วกับระบบที่จะสร้างขึ้นใหม่หรือการเลือกใช้ระบบที่มีใช้กันอยู่ที่อื่น  แต่อาจจะต้องพัฒนาปรับปรุงให้เหมาะสมยิ่งขึ้น   จะต้องกำหนดรายละเอียดให้ชัดเจน  และ   ให้รวมไปถึงการจัดหาคณะผู้พัฒนาระบบ    หรือผู้ให้บริการที่จะปรับปรุงพัฒนาระบบที่จะนำมาใช้ในสถานศึกษาที่จะนำเทคโนโลยีนั้นมาใช้บริหารจัดการ

                            2.2.3       การเลือกเทคโนโลยีที่เหมาะสม    มีความสำคัญต่อความสำเร็จหรือความล้มเหลวของการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อการบริหารจัดการมาก  เนื่องจากระบบงานด้านเทคโนโลยีมีองค์ประกอบจำนวนมากทั้ง Hardware,  Software,   และ  Application   องค์ประกอบต่าง ๆ เหล่านี้จะต้องจัดหาให้สอดคล้องกัน   ปัญหาที่มักพบก็คือการใช้ผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกองค์กรที่ไม่เข้าใจ ความต้องการที่แท้จริงขององค์กร   หรือการใช้บุคลากรขององค์กรที่ขาดความรู้และประสบการณ์ที่หลากหลายเพียงพอต่อการเลือกองค์ประกอบดังกล่าวให้เหมาะสมกัน  โดยเฉพาะความทันสมัยของเทคโนโลยีของแต่ละองค์ประกอบที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว    ดังนั้น  การมีคณะจัดหาระบบเทคโนโลยีที่เหมาะสมจึงควรจะใช้ผู้เชี่ยวชาญและบุคลากรขององค์กรร่วมกัน   โดยคณะทำงานนี้จะต้องมีเวลาร่วมกันพิจารณาและจัดทำรายละเอียดให้ชัดเจนเพื่อให้ได้ระบบที่ดีที่สุด     ในระหว่างที่มีการพิจารณาจัดหาอาจจะต้องไปศึกษาดูงานจากการใช้จริงขององค์กรอื่นที่เทียบเคียงกันได้  ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการกำหนดรายละเอียดต่าง ๆ  ได้อย่างดี

                            2.2.4       การพัฒนาบุคลากรที่ควบคุมการใช้เทคโนโลยี  เป็นสิ่งจำเป็นที่จะช่วยให้การทำงานประสบความสำเร็จและมีประสิทธิภาพ     บุคลากรที่ควบคุมการใช้เทคโนโลยีจะต้องพัฒนาให้มีความรู้และสามารถทำงานตามข้อกำหนดของการใช้เทคโนโลยีได้อย่างครบถ้วน    ในขณะเดียวกันก็ต้องพัฒนาหรือทำความเข้าใจกับผู้ใช้ที่เกี่ยวข้องให้สามารถประยุกต์งานที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องกับระบบงานใหม่ที่นำมาใช้ด้วย   มิเช่นนั้นอาจจะพบว่ากว่าจะใช้งานได้พร้อมเพรียงกัน เทคโนโลยีที่นำเข้ามาใช้ก็ล้าสมัยและจำเป็นต้องปรับปรุงใหม่   ทั้ง ๆ ที่ผลงานที่ได้ยังไม่ถึงเกณฑ์ที่กำหนด

                            2.2.5       การบำรุงรักษา   เป็นเรื่องสำคัญมากที่การใช้เทคโนโลยีทางการศึกษาจะต้องมีแผนการบำรุงรักษาระบบงาน  ซึ่งมีทั้ง Hardware, Software  และ การพัฒนาบุคลากร    ในการบำรุงรักษา Hardware จำเป็นต้องมีการปรับปรุงอุปกรณ์บางส่วนให้ทันสมัย   อุปกรณ์บางส่วนต้องดูแลตามที่กำหนด   Software บางส่วนต้องปรับปรุงให้รองรับกับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป   และระบบงานบางส่วนต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับความต้องการในการใช้งาน   นอกจากนั้น  ยังต้องคำนึงถึงการเพิ่มจัดทำระบบใหม่เพิ่มเติมที่ควรจะต้องสามารถเชื่อมต่อกับระบบเดิม  และนำข้อมูลที่เกี่ยวข้องไปใช้งานร่วมกัน   หากข้อมูลจากระบบเดิมไม่สามารถหรือไม่สะดวกที่จะนำไปใช้กับระบบ งานใหม่ที่เพิ่มเติมเข้ามา  จะทำให้เกิดปัญหาในการบริหารจัดการและจะนำไปสู่การเลิกใช้ระบบใดระบบหนึ่งต่อไป หรือมิเช่นนั้นก็ต้องจัดทำระบบใหม่และเลิกระบบที่สร้างขึ้นทั้งหมด   ดังนั้น การบำรุง รักษาระบบงานให้เหมาะสมต่อความต้องการที่มีการเปลี่ยนแปลงและสอดคล้องกับเทคโนโลยีจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง และช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานเห็นคุณค่าและเกิดเจตคติที่ดีต่อการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการบริหารจัดการอีกด้วย

                            2.2.6       การติดตามประเมินผล    ระบบงานบริหารจัดการที่ใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยควรมีการประเมินผลอย่างน้อย  2 ส่วน ด้วยกัน   ส่วนแรกต้องประเมินผลงานที่กำหนดไว้ในแผนงาน เช่น ความสามารถให้บริการตามเป้าหมาย  การนำเสนอรายงานตามกำหนดเวลา   ส่วนที่สองที่มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนกว่ากันก็คือ การประเมินความพึงพอใจของผ

คำสำคัญ (Tags): #นวัตกรรม
หมายเลขบันทึก: 372823เขียนเมื่อ 7 กรกฎาคม 2010 19:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 22:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

เรียน...อาจารย์

ระบบ MIS และ ระบบDSS มีความเหมือน หรือแตกต่างกัน อย่างไรบ้างคะ ? แนวข้อสอบของอาจารย์จะออกแนวไหนบ้างคะ

ขอบคุณค่ะ

นิสิต ป. บัณฑิต รุ่น 6

สวัสดีค่ะ...

ระบบ MIS และ ระบบDSS มีความเหมือน หรือแตกต่างกัน อย่างไรบ้างคะ ? อยากทราบเหมือนกันค่ะ สรุปบทเรียนถึงบทที่ 3 หรือเปล่า ค่ะ แล้วส่งงานที่ใคร

ขอบคุณค่ะ

ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร (Management Information System : MIS) แบ่งระบบย่อยของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการได้ 4 ระบบ ดังนี้ 1. • ระบบปฏิบ้ติการทางธุรกิจ (Transaction Processing System : TPS ) เป็นการประมวลผลข้อมูลที่เป็นข้อเท็จจริงในการดำเนินงานประจำวันภายในองค์กรโดยใช้เครื่องมือทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยเฉพาะคอมพิวเตอร์

2. ระบบจัดทำรายงานสำหรับการจัดการ (Management Reporting System : MRS) หมายถึง ระบบสารสนเทศที่ถูกออกแบบและพัฒนาขึ้นเพื่อรวบรวมประมวลผล จัดระบบการทำรายงานและเอกสาร

3. ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Supporting System : DSS) หมายถึง ระบบสารสนเทศที่จัดหารหรือเตรียมข้อมูลสำหรับผู้บริหาร เพื่อช่วยในการตัดสินใจแก้ปัญหาหรือเลือกโอกาสที่เกิดขึ้น

4. ระบบสารสนเทศสำหรับงาน (Office information System : OIS) เป็นระบบสารสนเทศที่ถูกออกแบบและพ้ฒนาขึ้นเพื่อช่วยให้การทำงานในสำนักงานมีประสิทธิภาพ โดยเน้นเทคโนโลยีเครื่องใช้สำนักงานที่ถูกออกแบบมาเพื่อปฏิบัติงานร่วมกันค่ะ

เพราะฉะนั้น ความต่างของ MIS และ DSS จะเห็นได้ว่าการทำหน้าที่ต่างกันในเรื่องของระบบนะคะ

แนวข้อสอบรอให้ผ่านไป 4 บทจะแจ้งให้ทราบค่ะ อาทิตย์นี้ 18 ก.ค 53 ค่อยพบกันแล้วจะอธิบายให้ทราบอีกครั้งค่ะ ส่วนอาทิตย์หน้าพบอ.ปราโมทย์นะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท