วิกฤตซับไพม์ส่งผลกระทบกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจได้อย่างไร?


วิกฤตซับไพม์ จัดได้ว่าเป็น “Toxic” เพราะพิษสงของมันกระทบกับหลายผู้ หลายคน หลายหน่วยงาน หลายสถาบัน เช่น สถาบันการเงิน บริษัทเงินทุน ผู้ลงทุน และคนทั่วไป
Subprime Crisis หรือ วิกฤตซับไพม์ จัดได้ว่าเป็น “Toxic” เพราะพิษสงของมันกระทบกับหลายผู้ หลายคน หลายหน่วยงาน หลายสถาบัน เช่น สถาบันการเงิน บริษัทเงินทุน ผู้ลงทุน และคนทั่วไป สินเชื่อ Subprime คืออะไร ? คำตอบ สินเชื่อที่พึงระมัดระวัง เนื่องจากมีสถานะทางการเงินที่ไม่ชัดเจนหรือไม่ดีนั่นเอง หรือสินเชื่อที่มีแหล่งรายได้ไม่อยู่ในระดับที่ดีหรือรายได้ไม่แน่นอน Subprime Crisis ที่สหรัฐอเมริกาเกิดขึ้นกับสินเชื่อบ้าน หรือ housing loan/mortgage loan ซึ่งมีการเกิดดังนี้ o ธนาคารปล่อยเงินกู้บ้านในช่วง Housing Boom ในสหรัฐอเมริกา ซึ่งช่วงเวลานั้นราคาบ้านในตลาดก็สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ธนาคารก็ปล่อยกู้อย่างสบายใจจนธนาคารไม่สามารถให้กู้ได้เพิ่มเติม จากเงินกองทุนที่จำกัด ขณะที่ธนาคารยังเล็งเห็นโอกาสในการปล่อยสินเชื่อบ้านอยู่ เนื่องจากมีความต้องการสินเชื่อบ้านอยู่มากมาย o จากข้อจำกัดเรื่องเงินกองทุน จึงเกิดผลิตภัณฑ์ทางการเงินใหม่ จากการที่มีการตั้งบริษัทที่มีวัตถุประสงค์พิเศษ หรือ SPV : Special Purpose Vehicle เพื่อซื้อสินทรัพย์ของธนาคาร หรือเงินให้สินเชื่อบ้านที่ธนาคารปล่อยกู้ไปนั่นเอง โดยมีการแบ่งสินทรัพย์ดังกล่าวตามคุณภาพเป็นกลุ่มๆ และให้ Credit Rating agency หรือบริษัทที่จัดระดับเรตติ้ง จัดระดับให้เรียบร้อย ก่อนที่จะนำสินทรัพย์ดังกล่าวซึ่งเรียกกันว่า Mortgage Back Securities ไปขายให้นักลงทุน ซึ่งการทำลักษณะนี้ทำให้ธนาคารสามารถขาย/ปลดปล่อยสินทรัพย์ดังกล่าวออกไปจากธนาคาร และสามารถให้สินเชื่อเพิ่มต่อไปได้ o จากการที่ธนาคารตั้งใจว่าจะขาย/ปล่อยสินทรัพย์ออกไป ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ธนาคารไม่ค่อยสนใจคุณภาพของผู้กู้ ธนาคารจึงปล่อยสินเชื่อให้แก่กลุ่มลูกค้าที่ต้องพึงระวัง หรือมีสถานะทางการเงินที่ไม่ดี รวมถึงไม่ค่อยใส่ใจรายละเอียดของการให้เงินกู้ (ซึ่งพบว่า มีการให้กู้ที่มีเงื่อนไขการชำระคืนเงินกู้เป็นรายเดือนแบบก้าวหน้า โดยไม่ได้คำนึงถึงรายได้ของผู้กู้ว่าจะสามารถก้าวหน้าเช่นเดียวกับการผ่อนชำระเงินกู้หรือไม่ และการกำหนดอัตราดอกเบี้ยเป็นแบบก้าวหน้า โดยให้ช่วงปีแรกอัตราดอกเบี้ยค่อนข้างต่ำเพื่อดึงดูดให้มีการกู้เงิน แล้วก็มีอัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นเรื่อยๆ o ปัญหาเมื่อราคาบ้านในตลาดเริ่มลดลง และลดลงจนต่ำกว่าราคาที่จำนอง ธนาคารเองก็อยากให้ผู้กู้ชำระคืนเงินกู้ หรือไม่ก็เพิ่มเงื่อนไขในการกู้ ทำให้ผู้กู้ที่ไม่สามารถทำได้ก็เริ่มมีปัญหา จึงมีปริมาณบ้านที่ถูกบังคับขายเพื่อชำระหนี้เพิ่มมากขึ้น จึงมีปริมาณบ้านในตลาดจำนวนมาก ยิ่งทำให้ราคาบ้านยิ่งลดลงๆๆไปอีก o ธนาคารได้รับผลกระทบจากลูกหนี้เงินกู้ซื้อบ้านซึ่งไม่สามารถผ่อนชำระเงินกู้ได้ หรือลูกหนี้ที่ต้องบังคับขายบ้านมาชำระหนี้ในขณะที่ราคาตลาดของบ้านต่ำกว่ามูลหนี้ และจาก Mortgage Back Securities ที่ธนาคารเข้าไปลงทุนซึ่งมีมูลค่าด้อยลงเนื่องจากภาวะวิกฤตนี้ ธนาคารจึงขาดทุน ทำให้เงินกองทุนของธนาคารลดลง ดังนั้นธนาคารที่ยังสามารถดำรงอยู่ได้จึงต้องมีมาตรการในการปล่อยสินเชื่ออย่างเข้มงวดมาก ซึ่งส่งผลต่อการลงทุน และระบบธุรกิจ จึงเป็นปัจจัยหนึ่งซึ่งทำให้เศรษฐกิจชะลอตัว
หมายเลขบันทึก: 372614เขียนเมื่อ 6 กรกฎาคม 2010 22:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 15:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท