เครือข่ายท้องถิ่น


ความสำคัญกับการสร้างพื้นที่สู่สากล เพราะจะเป็นการก้าวข้ามอุปสรรคระบบราชการ และเป็นการสร้างศักยภาพใหม่ท้องถิ่น ที่จะเป็นพื้นฐานสู่การปฏิรูปประเทศไทย

บันทึก การประชุมเครือข่ายท้องถิ่น  ครั้งที่ 2/2553

วันที่ 18 มิถุนายน 2553

ณ  ห้องประชุม 2   กระทรวงการต่างประเทศ  ถนนศรีอยุธยา กทม.

 

ผู้ร่วมประชุม :  คุณสุพจน์ อิศรางกูร ณ อยุธยา (ผู้แทน กต.)   นายเอ็ด  ภิรมย์     นายสมพงษ์  พัดปุย นายระวี  รุ่งเรือง  นายยุทธศิลป์  ป้านภูมิ นายสุมน  เจริญสาย        นายปัญญา  คงปาล   นายชาญ  รูปสม   น.ส.สวรรยา  กายราช                       ผู้แทน อบต.คลองสาม (คุณลำพู  พูลทอง   นายศักดิ์สิทธิ์  ระพาเพท)

 

เปิดประชุมเวลา 9.30 น.

                นายสุพจน์ อิศรางกูร ณ อยุธยา  ผู้แทนกระทรวงต่างประทศ  เป็นประธานที่ประชุม 

 

วาระที่ 1 เรื่องประธานแจ้งให้ทราบ 

                รมว.กษิต  ภิรมย์  ไม่สามารถร่วมประชุมได้เนื่องจากไปราชการต่างประเทศ จะกลับปลายเดือน

                 ความเป็นมา :  เป็นการประชุมต่อเนื่องจากครั้งที 2 (11 มิ.ย. 53)  เพื่อสรุปแผนการดำเนินงาน

 

1.1 สรุปความคืบหน้าสถานการณ์   (คุณสมพงษ์  รายงาน)

            1) นายกรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์  เวชาชีวะ   ร่วมประชุมสันนิบาตเทศบาลที่เมืองสงขลา  เทศบาลร้องเรื่องงบประมาณขาด เนื่องจากรัฐบาลนำงบที่จะจัดสรรค์ให้ท้องถิ่นไปเป็นงบนโยบายส่วนกลาง  นายกรัฐมนตรีรับปากจะคืนให้ในปีต่อไป และจะผลักดันให้ท้องถิ่นได้งบร้อยละ 26    เทศบาลรู้สึกว่าระบบกลางของรัฐเป็นอุปสรรคกระจายอำนาจ แต่จะผลักดันต่อไปโดยร่วมในกระแสปฎิรูปประเทศไทย

            2) นายกรัฐมนตรีไปรับฟังความเห็นภาคประชาชนเรื่อง “ปฎิรูปประเทศไทย” นายกฯ ให้แนวทางปฎิรูปฯ  รับปากว่าจะลดความเหลื่อมล้ำ และจะจัดตั้งคนกลางมารับผิดชอบปฎิรูปประเทศไทย

 

1.2  รายงานความคืบหน้า กทม. (คุณสุมน  เจริญสาย)

                ถึงปัจจุบันจัดตั้งสภาองค์กรชุมชนได้ 24 เขต  กิจกรรมสำคัญคือ  1) สร้างระบบชุมชนให้ปลอดภัยจากผลกระทบการชุมนุม รวมทั้งความปลอดภัยจากยาเสพติด อาชญากรรม  2) ร่วมกับ ป.ป.ท.ต่อต้านการทุจริตภาครัฐ   ชุมชน กทม.ผ่านเหตุการณ์มามาก ทำให้มีความเข้มแข็งขึ้น ต่อไปเปิดศักยภาพใหม่เป็น “ชุมชนสู่สากล”

 


วาระที่ 2  แนวคิดในการทำงานของท้องถิ่น

 

นายเอ็ด  ภิรมย์  (ประธานมูลนิธิการพัฒนาพื้นฐาน)

             เสนอให้การทำงานของภาคประชาชน เชื่อมประสานกับองค์กรปกครองท้องถิ่น  โดยถือหลักความเป็นอิสระจากพรรคการเมือง

 

นายระวี รุ่งเรือง  (นายก อบต.หนองขนาน  จ.เพชรบุรี)

                ประเด็นสำคัญของท้องถิ่น คือ  การทุจริต    อปท.ยังไม่เข้มแข็ง  และ การจัดสรรเงินรายได้จากรัฐไม่พอเพียง  การกระจายอำนาจไม่ราบรื่น   องค์กรปกครองท้องถิ่นต้องคิดนอกกรอบจากที่ส่วนกลางกำหนด   ไม่คิดแต่หวังพึ่งรัฐส่วนกลาง ใช้ต้นทุนในพื้นที่สร้างงานคุณภาพ เช่น ศูนย์พันธ์ข้าว   ในญี่ปุ่นมีตัวอย่าง เมืองหนึ่งผลิตเครื่องยนต์ Yamaha จนขายดังไปทั่วโลกนำรายได้เข้าประเทศ และเลี้ยงรัฐบาลกลาง   อบต.หนองขนาน สร้างทรัพย์สินของ อบต.ขึ้นมามาก เช่น ฉางข้าวและอุปกรณ์ตลาดกลางข้าว  ให้กลุ่มประชาชนเช่าไปดำเนินงาน  กิจการคืบหน้า องค์กรชาวบ้านเติบโต

 

คุณกนกรัฐ  สิงหะพงษ์    (มูลนิธิการพัฒนาพื้นฐาน)

                ขณะนี้มีลู่ทางที่ท้องถิ่นจะประสานกับต่างประเทศได้ เช่น  เวียดนาม  รัฐสิบสองปันนา  ลาว  ออสเตรเลีย  ส่วนใหญ่เป็นเรื่องการเกษตร

นายยุทธศิลป์  ป้านภูมิ  (นายกเทศมนตรีตำบลท่าช้างคล้อง จ.เลย)

                จังหวัดเลยมีทิศทางพัฒนาโดยใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนำหน้า  แต่มีส่วนราชการชวนชาวบ้านปลูกยางพารา ทำให้เกษตรกรมีความเสี่ยง   องค์กรปกครองท้องถิ่นต้องเสนอทิศทางให้แม่นสู่ความยั่งยืน  และชวนชาวบ้านทำ

 

นายสมพงษ์  พัดปุย 

                สำหรับโครงการนี้เริ่มโดยไม่มีงบประมาณ แต่ถ้าท้องถิ่นเห็นคุณค่าอาจแชร์งบประมาณกัน หรือผนวกเข้ากับกิจกรรมที่มีอยู่  การไม่มีงบประมาณแต่แรกก็ดีไปอย่าง ทำให้มีอิสระในการคิด  กระทรวงต่างประเทศก็อำนวยความสะดวกสถานที่อยู่แล้ว

 

วาระที่ พิจารณา โครงการและกรอบแผนยุทธศาสตร์ (เอกสารประกอบ) 

            ที่ประชุมได้พิจารณาโครงการและแผนงาน  แก้ไข และสรุปดังนี้

                1)ให้ความสำคัญกับการสร้างพื้นที่สู่สากล Global District เพราะจะเป็นการก้าวข้ามอุปสรรคระบบราชการ และเป็นการสร้างศักยภาพใหม่ท้องถิ่น  ที่จะเป็นพื้นฐานสู่แผนการปฎิรูปประเทศไทย

                2)เพิ่มเติมตัวชี้วัดเป็น 7 ข้อ   และเพิ่มการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมท้องถิ่นเข้าเป็นมาตรกร  สรุปเป็นเอกสารที่ได้แก่ไขแล้ว

                3) ให้ความเห็นเพิ่มเติมและรับรองแผนงาน

 

วาระที่ 4 แนวทางดำเนินการต่อไป 

                4.1 มอบหมายให้ คุณสมพงษ์  และ คุณสุพจน์  ปรึกษา รมว.กษิต ภิรมย์  เพื่อขอกระทรวงต่างประเทศเป็นเจ้าภาพจัดประชุมเปิดตัวโครงการ โดยมีผู้แทนองค์กรปกครองท้องถิ่น และองค์กรภาคีที่จะสนับสนุน มาร่วม

                4.2 มอบหมายผู้ประสานงานระดับภาค  ทำหน้าที่ประสานเชิญขวนท้องถิ่นที่สนใจเข้าร่วมประชุมเปิดตัวโครงการ

                ภาคเหนือ – นายลำพูน  มนัยนิล (อบต.ป่ามะม่วง จ.ตาก)   นายมานะ  วุฑฒยากร (อบต.วังกรด  จ.พิจิตร)

                ภาคตะวันออก – นายปัญญา  คงปาล (สมาคมสหพันธ์เกษตรกรเพื่อการพัฒนา)   

                ภาคอีสาน – นายยุทธศิลป์  ป้านภูมิ (เทศบาลท่าช้างคล้อง จ.เลย) 

                ภาคกลาง – นายระวี  รุ่งเรือง (อบต.หนองขนาน จ.เพชรบุรี)  

                               และนาย วิระศักดิ์  ฮาดดา (อบต.คลองสาม จ.ปทุมธานี)

                ภาคใต้ – นายสมพงษ์  พัดปุย

                กรุงเทพมหานคร  มอบผู้แทนสภาองค์กรชุมชน กทม.  – นายณัชพล  เกิดเกษม   นายสุมน  เจริญสาย   นายราชพฤษ์  สิงห์พรหม    นายชาญ  รูปสม

                คณะประสานงานกลาง – นายสมพงษ์  พัดปุย   นายกนกรัฐ  สิงหพงษ์    นายอาจหาญ  ศิริพูล  

                  นายพิชัย  นวลนภาศรี   นายวิสูตร  มีผึ้ง

สมพงษ์  พัดปุย  บันทึก

หมายเลขบันทึก: 372294เขียนเมื่อ 5 กรกฎาคม 2010 21:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 20:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท