อ.ผัก
อาจารย์ พท. ศุภฤกษ์ ภมรรัตนปัญญา

ผญา : บทประพันธ์ที่ทรงคุณของชาวอีสาน ๑


ผญา : บทประพันธ์ที่ทรงคุณของชาวอีสาน ๑

ผญา : บทประพันธ์ที่ทรงคุณของชาวอีสาน ๑

ผญาย่อยหรือผญาเกี้ยว คือผญาที่หนุ่มสาวใช้พูดโต้ตอบเกี้ยวพาราสีกัน ทาง
อีสานเรียกว่า จ่ายผญา (พูดผญา) เวลามีงานเทศกาลหนุ่มสาวจะได้มีโอกาศ
พบปะพูดคุยกัน หนุ่มสาวสมัยก่อนเวลาพูดคุยกันจะไม่พูดตรงๆ เหมือนสมัย
ทุกวันนี้ เขาจะใช้คำผญาเปรียบเทียบเปรียบเปรยอุปมาอุปมัย ให้อีกฝ่ายหนึ่ง
คิดเอาหรือแปลเอาเอง เช่น
ช. พากันทำการสร้าง หยังน้อคือสิม่วน แท้น้อ
ให้อ้ายขอจอดยั้ง ฟังข้อคอความ ได้บ้อ
ญ.น้องกะลงข่วงเล่น เข็นไนท่าเว้าบ่าว ซั้นแหล่ว
คันอ้ายมาฮอดแล้ว เชิญเคี้ยวหมากพลู ก่อนเถิ่น
ช. เฮาหากเทียวทางพ้อ นำกันหลายเทือ
น้องบ่จำจือหน้า ผะอวนอ้ายกะเลาลืม ซั้นแล่ว
ใจประสงค์ต่อไม้ จังได้แบกขวานมา
ใจประสงค์ต่อปลา จั่ง แบกแหมาพร้อม
คันแมนเป็นตาได้ สีสานไซมาใส่
คันบ่เป็นท่าแล้ว สิแจวดั้นด่วนคืน ซั้นแหล่ว
อ้ายอยากถามข้าวอ้อย ป้องห่างลำงาม นั้นนา
มีเครือหนาม เกี่ยวพันแล้วยังน้อง
ญ. น้องหากปลอดอ้อยซ้อย เสมออ้อยกลางกอ
กาบกะบ่ห่อ หน่อน้อยกะบ่ซอน
ปลอดอ้อยซ้อย คือดังตองตัด
แต่ผัดเป็นตองมา หลดบ่มีชายต้อง ดอกอ้าย
หมายเลขบันทึก: 371899เขียนเมื่อ 4 กรกฎาคม 2010 10:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มีนาคม 2015 15:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท