พลาย
พลายพิชัย พลาย ิศิริอรรถ

โลกศึกษา ครั้งที่ ๔ และ ๕


ลงมือทำจริง

โลกศึกษาครั้งที่ ๔ และ ครั้งที่ ๕

กิจกรรมการเรียนการสอน

        บันทึก นี้ขอรวมเป็นการจัดการเรียนการสอนของครั้งที่ ๔ และ ๕ ไปพร้อมกัน เนื่องด้วยมีกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องจากคราวที่แล้ว เพราะกิจกรรมไม่จบลงตามที่กำหนดไว้

        ย้อนไปกิจกรรมในครั้งที่ ๔ ก็มีกิจกรรมพิเศษเพิ่มเข้ามาเนื่องในโอกาสที่เดือนนี้เป็นเดือนที่เกี่ยว ข้องกับสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นวันสิ่งแวดล้อมโลก และวันต้นไม้ประจำปีแห่งชาติของไทยเรา และต้นไม้ที่นำมาปลูกก็คือว่านหางจระเข้ สถานที่ปลูกก็คือสวนสมุนไพรของโรงเรียน โดยผลัดเปลี่ยนกันไปปลูกทีละสองกลุ่ม สวนกลุ่มที่เหลือก็ช่วยกันเขียนนโยบายเพื่อหาเสียง ในการลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นนายก อบต. ของแต่ละหมู่บ้าน

         กิจกรรมครั้งที่ ๕ ในวันนี้ เริ่มต้นด้วยการสนทนาพูดคุยถึงบทบาทหน้าที่ขอองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นว่ามี หน้าที่เกี่ยวกับอะไรบ้างที่นักเรียนรู้จัก จากนั้นก็ถึงคราวที่ตัวแทนของแต่ละกลุ่มจะต้องออกมาเสนอนโยบายของตนให้ เพื่อน ๆ ในชุมชนได้รับทราบ หลังจากครบทุกกลุ่มก็เป็นการโชว์ตัวครั้งสุดท้ายพร้อมหาแสดงความสามารถของ แต่ละคนอีกครั้ง จากนั้นให้สมาชิกในชุมชนออกเสียงโดยการยกมือ

          เมื่อการเลือกตั้งสิ้นสุดลงก็เป็นการประกาศคะแนนและผลการเลือกตั้ง ต่อด้วยการแต่งตั้งคณะทำงานโดยแบ่งเป็นด้านต่าง ๆ(ตามบทบาทสมมติ) เริ่มตั้งแต่ นายก อบต. รองนายก อบต. และผู้รับผิดชอบงาน ด้านการรักษาความสะอาด  ด้านอนุรักษ์ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ด้านการส่งเสริมการศึกษา ด้านบรรเทาสาธารณภัย  ด้านอนุรักษ์และสืบสานวัฒนธรรมท้องถิ่น ด้านเศรษฐกิจ และด้านส่งเสริมสุขภาพ

          ท้ายที่สุดเป็นการให้นักเรียนได้สะท้อนความคิดเห็น ความรู้สึก ที่ได้จากการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโลกศึกษาในวันนี้ ว่านักเรียนไดเรียนรู้อะไรบ้าง

บันทึกการจัดกิจกรรม

          ๑. กิจกรรมปลูกต้นไม้(ว่านหางจระเข้) เป็นกิจกรรมที่เด็ก ๆ ได้ลองทำจริง จากการสังเกตพบว่าเด็ก ๆ ไม่มีทักษะในด้านนี้เลย ผลที่ออกมาอาจจะดูเละตุ้มเป๊ะไปบ้าง แต่การเรียนรู้บางทีก็ต้องปล่อยให้เลอะซะบ้าง เพื่อสร้างประสบการณ์ใหม่ ๆ

          ๒. กิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มจะพบว่ามีสมาชิกบางคน บางกลุ่มที่ไม่เข้าร่วมกิจกรรม จึงเป็นโอกาสดีที่จะได้แนะนำเด็ก ๆ ในเรื่องของการเคารพกฎกติกาของกลุุ่ม ถ้าทุกคนยังทำตามใจตนเองอยู่ก็จะทำให้สังคมเกิดความวุ่นวายได้ ผลปรากฎว่าเด็ก ๆ เริ่มเข้าใจและกลับเข้ากลุ่่มของตนตามเดิม

          ๓. กิจกรรมการเลือกตั้งวันนี้ทำให้เด็ก ๆ เข้าใจบทบาทหน้าที่ของตนเองเพิ่มขึ้น และจะได้เห็นว่าการเลือกตั้งในระดับท้องถิ่นนั้้น บางทีใครมีญาติพี่น้องเยอะก็ได้เปรียบเหมือนกัน แต่แท้จริงแล้วสิ่งที่ทุกคนต้องทำก็คือการเลือกคนที่ดีเข้าไปทำงานเพื่อ พัฒนาท้องถิ่นของตน

         ๔. จากการให้เด็ก ๆ ออกมาสะท้อนความคิดว่าได้เรียนรู้อะไรบ้างในแต่ละครั้ง เป็นการประเมินผลอย่างหนึ่งที่สามารถตรวจสอบผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ได้ เช่นกัน

คำสำคัญ (Tags): #โลกศึกษา
หมายเลขบันทึก: 371882เขียนเมื่อ 4 กรกฎาคม 2010 09:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 15:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีค่ะคุณครูพลาย

กำลังจะออกจากระบบ เจอโลกศึกษา มาติดตามตอนต่อไป และเป็นกำลังใจค่ะ

เด็ก ๆ ไม่มีทักษะในด้านนี้เลย ผลที่ออกมาอาจจะดูเละตุ้มเป๊ะไปบ้าง แต่การเรียนรู้บางทีก็ต้องปล่อยให้เลอะซะบ้าง เพื่อสร้างประสบการณ์ใหม่ ๆ

ชอบกิจกรรม บทบาทสมมติ ด้วยค่ะ สร้างรากฐานประชาธิปไตย แก่เด็กน้อย

 

ขอบคุณ คุณ poo นะครับที่แวะมาให้กำลังใจกัน

มีอะไรดี ๆ ก็ช่วยแนะนำบ้างนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท