เรียนรู้การสร้างเครือข่ายพัฒนาทั้งโรงเรียนจากการวิจัยปฏิบัติการ


เรียนรู้การสร้างเครือข่ายพัฒนาทั้งโรงเรียนจากการวิจัยปฏิบัติการ

การพัฒนาโรงเรียนเป็นบ้านที่สองจำเป็นต้องมีความร่วมมือกันเพื่อสร้างพลังที่จะขับเคลื่อนให้เกิดบรรยากาศและปัญญาที่สร้างสรรค์ สมาชิกทุกคนต้องเห็นพ้องและให้สัญญาต่อกัน ว่าจะทำงานให้มีคุณภาพทุกคนและทำทุกวัน  ดังนั้น  เครือข่ายความร่วมมือภายในโรงเรียนต้องเกิด ซึ่งเป็นหน้าที่ของผู้บริหารที่ต้องใช้หลักการบริหารอย่างมีส่วนร่วม  มีการกระจายอำนาจที่เหมาะสม และมีการติดตามกำกับและนิเทศการทำงานของครู นอกจากนี้ยังต้องมีภาวะความเป็นผู้นำที่จะทำให้การทำงานมีความสามัคคีมุ่งมั่นให้เกิดความสำเร็จร่วมกัน  มีกลไกสร้างเสริมการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องด้วยระบบการประเมินตนเองภายในองค์กร ด้วยวงจร PDCA ครูในฐานะสมาชิกภายในเครือข่ายต้องมีความเข้าใจและมีความสามารถปฏิบัติงานครูอย่างมีประสิทธิภาพส่งผลต่อการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นสำคัญ ครูเองจะเกิดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องจากการติดตาม ตรวจสอบ และค้นหาความรู้ใหม่ด้วยการปฏิบัติการวิจัยควบคู่ไปกับการสอน


กล่าวโดยสรุป  กระบวนการพัฒนาบ้านที่สอง มี 3 องค์ประกอบ  คือ
1. องค์ประกอบด้านปัจจัยนำเข้า ได้แก่ ความรู้ ความสามารถและจิตวิญญาณของความเป็นครู ของผู้บริหารและครู
2. องค์ประกอบด้านกระบวนการ ได้แก่ การบริหารแบบมีส่วนร่วม และ การสอนที่เน้นนักเรียนเป็นสำคัญ
3. องค์ประกอบด้านผลผลิต ได้แก่ ผลการเรียนรู้ที่มีคุณภาพของนักเรียน  ผลงานการเรียนรู้ของครู และผู้บริหารอย่างมืออาชีพ และการเรียนรู้ของชุมชน

คำสำคัญ (Tags): #บทความ
หมายเลขบันทึก: 371837เขียนเมื่อ 3 กรกฎาคม 2010 23:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 มีนาคม 2012 23:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

กระทัดรัด..ได้จัยความ....สรุปดีจ้า

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท