การศึกษาพิเศษและการเรียนรวม
<p align="left">
ในทัศนคติของข้าพเจ้าคิดว่าเด็กพิเศษทุกคนก็เป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณค่าเท่ากับเด็กปกติ ผู้ใหญ่ต้องให้ความสำคัญกับเด็กเหล่านี้ด้วย เด็กพิเศษทุกคนต้องได้รับการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ซึ่งในปัจจุบันก็มีโรงเรียนศึกษาพิเศษ ศูนย์การศึกษาพิเศษ ไว้คอยให้การศึกษาสำหรับเด็กเหล่านี้ โรงเรียนเหล่านี้ นอกจากจะให้ความรู้แก่เด็กแล้ว โรงเรียนศึกษาพิเศษยังสอนการใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมอีกด้วย ส่วนศูนย์การศึกษาพิเศษ นอกจากจะให้ความรู้แล้วยังมีการ ฟื้นฟูสมรรถภาพในด้านต่างของเด็กด้วย เช่นการใช้ดนตรีช่วยในการพัฒนากล้ามเนื้อของเด็ก ออทิสติก ผู้ปกครองก็จะมีส่วนร่วมในการฟื้นฟูสมรรถภาพเด็ก ถือเป็นการเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่าง พ่อ แม่ กับลูก
และเมื่อเด็กคนใดมีความพร้อมที่จะเรียนร่วมกับเด็กปกติก็สามารถเข้าไปเรียนร่วมกับเด็กปกติในโรงเรียนปกติได้ โดยอาจเรียนโดยใช้หลักสูตรเดียวกับเด็กปกติ เด็กพิเศษบางคนอาจเรียนเต็มเวลา บางคนอาจเรียนร่วมเป็นบางวิชาหรือบางกิจกรรม ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับความพร้อมของเด็กแต่ละคน
การให้การศึกษากับเด็กพิเศษเป็นการเพิ่มคุณค่าให้กับตัวเด็กเอง เพราะในสังคมนั้น เราถือว่าคนที่ได้รับการศึกษาเป็นคนที่มีคุณภาพ เด็กพิเศษทุกคนก็อยากได้รับการยอมรับจากคนในสังคม ซึ่งตัวเด็กพิเศษทุกคนก็พยายามปรับตัวและเข้าใจสังคม
แต่ในทางกลับกัน ผู้คนในสังคมเปิดใจกว้างยอมรับเด็กเหล่านี้แล้วหรือยัง สังคมได้มีการสอนให้เด็กปกติที่อยู่ร่วมกับเด็กพิเศษรู้จักการปฏิบัติตัวต่อเด็กพิเศษพอแล้วหรือยัง
จากประสบการณ์ของข้าพเจ้าที่ได้ศึกษาดูงานการเรียนร่วม “ในขณะที่ข้าพเจ้ากำลังคุยและคอยช่วยอธิบายการบ้านของเด็กพิเศษที่มีความบกพร่องทางการอ่านและ การสะกดคำ การวิเคราะห์ ( เด็ก LD ) อยู่นั้นก็มีเพื่อนของเด็กคนนี้พูดขึ้นมาว่า
“ พี่ๆ คนนี้มันโง่ ครูบอกว่ามันอ่านหนังสือไม่ออก เขียนหนังสือก็ไม่เก่ง” ทันทีที่ข้าพเจ้าได้ยินข้าพ คิดว่า ทำไมครูคนนั้นถึงพูดแบบนี้ให้เด็กๆ คนอื่นได้ยิน นี้อาจเป็นสิ่งที่ทุกคนมองข้าม ทุกฝ่ายมัวแต่พัฒนาเด็กพิเศษ แต่ อาจจะลืมไปว่า ก็ต้องให้ความรู้ความเข้าใจกับคนในสังคมด้วยเหมือนกัน
นอกจากนี้อีกปัญหาที่ข้าพเจ้าพบ จากการที่ได้ไปศึกษาโรงเรียนพิเศษ และศูนย์การศึกษาพิเศษ “ พอคณะของข้าพเจ้าเข้าไปดูการเรียนการสอน ก็มีเด็กผู้หญิงคนหนึ่งซึ่งเป็นเด็กออทิสติก วิ่งเข้ามากอดเพื่อนของข้าพเจ้าที่เป็นผู้ชายแล้วเรียกว่า “ พ่อ” แล้วเด็กคนนี้ก็จะอยู่กับเพื่อนของข้าพเจ้าตลอดจนคณะของพวกเรากลับ” จากเหตุการณ์นี้สะท้อนถึงสภาพจิตใจของเด็กที่ต้องอยู่ห่างพ่อแม่ เพราะว่าโรงเรียนศึกษาพิเศษ และศูนย์การศึกษาพิเศษยังมีอยู่น้อย ไม่ครอบคลุมทุกพื้นที่ เด็กบางคนต้องอยู่ประจำที่โรงเรียน พ่อแม่ก็จะมาหาเพียงเดือนละครั้งเท่านั้น นี้ก็เป็นอีกปัญหาหนึ่งที่ข้าพเจ้าได้รับรู้ และอยากให้ผู้ที่เกี่ยวข้องรับรู้และหาทางแก้ไข
“ ขึ้นชื่อว่า มนุษย์ ย่อมมีค่าเท่ากันทุกคน อย่าตัดสินคุณค่าที่ภายนอก เป็น มนุษย์ต้องเห็นใจเพื่อนมนุษย์ ด้วยกัน อย่าให้แพ้สัตว์เดรัจฉานที่รักพวกพ้องของมัน มิฉะนั้น มนุษย์ ก็จะเป็นเพียง
“สิ่งมีชีวิตที่ไร้จิตใจ”
</p> <p align="center"></p>