การวางแผน


ความเป็นมาของการวางแผน

ชื่อหนังสือ หลักและเทคนิคของการวางแผน

ชื่อผู้แต่ง  อนันต์  เกตุวงค์

เรื่อง   ความเป็นมาของการวางแผน

การวางแผนเป็นสิง่ที่ยอมรับกันในวงการผู้บริหาร  ผู้เชี่ยวชาญ   และนักการเมือง โดยทั่วไปว่าเป้นกิจกรรมที่สำคัญในการดำเนินการต่างๆ จำเป็นที่ต้องมีแผนหรือการวางแผนที่ถูกต้อง  ดดยลักษณะของการวางแผน    ประการที่เกิดขึ้น คือ การประสานงานอย่างมีระบบ  และการวางโครงการในอนาคต    ดังนั้น ประเทศ สังคม และสถาบันต่าง ๆ  ที่ประสบความสำเร็จ          จะสามารถในการวางแผน  และถือว่าการวางแผนเป็นสิ่งสำคัญ  ซึ่งความสามารถในการวางแผน  ได้ถูกการพัมนาเรื่อย ๆ อย่างมีระบบ ตามวัคถุประสงต์และความมุ่งหมาย  ทั้งนี้ การวางผนยังเป็นการเตรียมการเพื่อการนำไปสู่เป้าหมายสุดท้าย    ทั้งเป็นกระบวนการของการนำไปสู่วัตถุประสงค์

ความสำคัญของการวางแผน

  1. เพื่อรักษาดุลยภาพของความไม่แน่นอนและการเปลี่ยนแปลงในอนาคต
  2. มุ่งมั่นตั้งใจที่จะมุ่งไปสู่ความสำเร็จของวัตถุประสงค์
  3. ทำการปฏิบัติงานเป็นไปอย่างประหยัด
  4. เพื่อให้การควบคุมง่ายขึ้น

ประโยชน์ของการวางแผน

  1. การวางแผนเปรียบเสมือนยานพาหนะไปสู่การเปลี่ยนแปลงอย่างมีระบบ
  2. การปฏิบัติงานที่มีวัตถุประสงค์และเป้าหมาย
  3. การวางแผนเป็นกำหนดการกระทำต่าง ๆ นินาคตโดยอาศัยหลักวิชา  มีการใช้ตัวเลข  สถิติ  ข้อมูลต่าง ๆ เป็นเครื่องพิจารณา
  4. การกำหนดวัตถุประสงค์  นโยบาย เป้าหมาย และแนวปฏิบัติ
  5. การวางแผนช่วยให้หัวหน้างานทำงานด้วยความแน่ใจและมั่นใจ
  6. การวางแผน และผู้นำมีความรับผิดชอบงานได้อย่างเต็มที่
  7. แผนงานเป็นเครื่องชี้ให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงในอนาคต
  8. การวางแผนที่ดี  ถูกต้อง  และสมบูรณ์  จะช่วยให้การบริหารงานของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเป็นไปด้วยความเรียบร้อยตามเป้าหมายมากขึ้น
  9. การบริหารงานตามแผนจะช่วยประหยัดทรัพยากรต่าง ๆ
  10. การวางแผนจะเป็นแนวปฏิบัติที่นำมาใช้ได้รับการพิจารณาอย่างถี่ถ้วนและมีหลักการ

หลักสำคัญของการวางแผน  และความหมายของการวางแผน

                                การวางแผนเปรียบเสมือนการเริ่มต้นทำงาน  ถ้ามีการวางแผนที่ดี  งานที่ดำเนินการต่อไปจะบรรลุเป้าหมายที่ดี   ในปัจจุบันนี้  การวางแผนได้ถูกนำมาใช้กันอย่างกว้างขวางในหน่วยงานและองค์การต่าง ๆ ทั้งในภาครัฐบาลและเอกชน  นักวิชาการทางการบริหารหลายท่านให้คำนิยามไว้ว่า   การวางแผน  คือ  กระบวนการของการพิจารณาตัดสินใจล่วงหน้าว่าจะจะทำอะไร   อย่างไร  มีการเลือวัตถุประสงค์ นโยบาย  โครงการเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์นั้น ๆ             โดยหลักการวางแผนที่ดีกล่าวไว้เป็นข้อ ๆ ดังนี้

                                1. ไม่มีการวางแผนใดที่ดีที่สุดสำหรับความต้องการทางการบริหารทุกอย่าง  แต่มีวิธีการเลือกใช้ได้อย่างชัดเจนและเหมาะสมกับสถานการณ์ที่แตกต่าง ๆกัน

                                2. องค์หรือหน่วยงานที่มีการวางแผนควรจะระดมกำลังคนตามความสามารถ ตามลักาณะงานในแผนนั้น

                                3. งานที่แท้จริงของการวางแผนจะมอบหมายให้นักบริหารผู้มีหน้าที่ปฏิบัติงาน  และบุคคลผู้ซึ่งมีความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติงาน  และทราบปัยหาต่าง ๆ เป็นผู้ดำเนินการวางแผน

                                4. เป็นการวางแผนที่ให้การยอมรับ  ชี้แจง  แนะนำ ทางการประชาสัมพันธ์ได้ทั้งภายในและนอกองคืการ

                                5. ผู้วางแผน  หรือผู้นำจะต้องมีการรับฟังความคิดเห็น ปัญหาอุปสรรค ต่าง ๆ ด้วย

ข้อคำนึงของผู้วางแผนและปฏิบัติตามแผน

                                แผนงานเป็นเรื่องของอนาคตที่กระทำในปัจจุบัน  การวางแผนมิได้มิได้เป็นสิ่งที่สมบูรณ์ในตัวของมันเองแต่ผูกพันไปถึงการปฏิบัติตามแผนนั้นด้วย  เพราะหากการวางแผนไม่ดี  การดำเนินการตามแผนก็เป็นไปได้ยาก  แผนซึ่งกำหนดขึ้นมาแล้วไม่อาจนำไปปฏิบัติได้

 

 

 

พื้นฐานสำหรัการวางแผน  ประกอบด้วย 4  ประการหลัก คือ

  1. ความช่ยเหลือที่มีต่อวัตถุประสงค์ในความมุ่งหมายของแผนงาน
  2. การวางแผนต้องมาก่อนงานด้านอื่น ๆ
  3. การวางแผนเป็นงานที่มีอยู่ทุกขั้นตอนของการปฏิบัติงาน
  4. ประสิทธิภาพของแผนงาน 
หมายเลขบันทึก: 371686เขียนเมื่อ 3 กรกฎาคม 2010 13:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 15:01 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เนื้อหาดีมากครับช่วยพิสูจน์อักษรนิดหนึ่ง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท