อ.ผัก
อาจารย์ พท. ศุภฤกษ์ ภมรรัตนปัญญา

ความหลากหลายทางวัฒธรรม


ความหลากหลายทางวัฒธรรม

ความหลากหลายทางวัฒธรรม

                                                โดย  ศุภฤกษ์  ภมรรัตนปัญญา

                        คำว่า วัฒนธรรม หมายถึง รูปแบบของกิจกรรมมนุษย์และวิถีการดำเนินชีวิต  ซึ่งเป็นพฤติกรรมและสิ่งที่คนในหมู่พวกของตนผลิตสร้างขึ้น  ด้วยการเรียนรู้จากกันและกันและร่วมใช้อยู่ในหมู่พวกของตน

                        วัฒนธรรม  ส่วนหนึ่งสามารถแสดงออกผ่านทางด้านดนตรี วรรณกรรม จิตรกรรม ประติมากรรม การละคร และภาพยนตร์ แม้บางครั้งอาจมีผู้กล่าวว่าวัฒนธรรมคือ เรื่องที่ว่าด้วยการบริโภคและสินค้าบริโภค นอกจากนี้ยังรวมไปถึงเทคโนโลยีสมัยใหม่ เรื่องของวิทยาศาสตร์ ศิลปะ เช่น ศิลปะของการทำอาหาร และระบบศีลธรรมด้วย

                        การที่มนุษย์จะเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องของวัฒนธรรมนั้น เราไม่จำเป็นที่จะต้องเรียนรู้ได้จากสิ่งที่อยู่รอบ ๆ ตัวเราได้ทั้งนั้น เพราะวัฒนธรรม ก็คือ หนทางทั้งหมดของการดำเนินชีวิต นั่นเอง อาทิ

                        ครอบครัว  คนในครอบครัวของเราก็ถือว่ามีส่วนสำคัญในการที่ทำให้เราเข้าใจในความหมายของคำว่า วัฒนธรรม ว่าหมายถึงอะไรและเป็นอย่างไร  เพราะจากการเกิดและเติบโตขึ้นมาได้ในสังคมหนึ่งนั้น วัฒนธรรมก็เปรียบเสมือนกับมรดกที่ได้รับการถ่ายทอดจากคนรุ่นหนึ่งไปสู่คนอีกรุ่นหนึ่ง โดยผ่านกระบวนการเรียนรู้จากการอบรมสั่งสอนและประสบการณ์ของพ่อแม่ จึงทำให้เราสามารถเข้าใจได้ว่าคนในสังคมเดียวกันจะมีพฤติกรรม  ทัศนคติ ความเชื่อ ค่านิยมและการแสดงออกทางวัฒนธรรมเช่นไร

                        วัด  ถือเป็นสถานที่ที่เป็นแหล่งชุมนุมของคนในสังคมเพื่อประกอบพิธีกรรมหรือกิจรรมทางศาสนา ที่เราสามารถเรียนรู้ขนบธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรมของผู้คนในท้องถิ่นได้จากสถานที่แห่งนี้  นอกจากพิธีกรรมหรือกิจกรรมทางศาสนาแล้ว สถาปัตยกรรมหรือภาพเขียนภายในวัดยังบ่งบอกถึงวัฒนธรรมดั้งเดิม  ที่เกิดขึ้นมาพร้อมกับคนในสังคม  สามารถทำให้เราเข้าใจถึงวิถีชีวิตวัฒนธรรมของคนในท้องถิ่นนั้นได้เป็นอย่างดี

                        แหล่งท่องเที่ยว  ไม่ว่าจะเป็นทั้งทางภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคอีสาน และภาคใต้ ล้วนมีสถานที่ท่องเที่ยวที่เป็นโบราณสถาน โบราณวัตถุ ที่มีประวัติในการก่อสร้างและบ่งบอกถึงวัฒนธรรมในท้องถิ่นที่จะถ่ายทอดการเรียนรู้วิถีชีวิตชุมชนและเชื่อมต่อวัฒนธรรมประเพณีระหว่างคนรุ่นเก่าไปสู่คนรุ่นใหม่ได้เป็นอย่างดี

 

 

หมายเลขบันทึก: 371680เขียนเมื่อ 3 กรกฎาคม 2010 12:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2014 07:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

สวัสดีครับ อ่านแล้วได้ความรู้ขึ้นเยอะเลยครับ

พอดีมีงานวิชานี้ด้วย

ขออีก เอาอีก แบบ มันส์น่ะครับ แรงๆ จ้า

สวัสดีครับ คุณ ร้าย..ความคิด

ยินดีครับ จะพยายามคัดเลือกบทความที่เขียนไว้ มาลงให้ได้อ่านอีกนะครับ

สวัสดีครับ ภก.ศุภรักษ์

เดี่ยวจัดให้อีกครับ เอาเเบบชุดใหญ่เลยเนาะ ฮ๋าๆๆ

ขอบข่ายความหมายของคุณธรรม

คุณธรรม หมายถึง สิ่งที่บุคคลส่วนใหญ่ให้การยอมรับว่าเป็นสิ่งที่ดีงาม ซึ่งส่งผลให้เกิดการกระทำที่เป็นประโยชน์ จริยธรรมหมายถึง หลักแห่งความประพฤติหรืแนวทางของการประพฤติ พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ได้ให้คำนิยามไว้ว่า จริยธรรม คือ ธรรมที่เป็นข้อประพฤติ ปฏิบัติ ศีลธรรม กฎศีลธรรม คุณธรรมจริยธรรมเป็นสิ่งที่ควรประพฤติ ปฏิบัติ เป็นการประพฤติที่ดี ที่ชอบ ที่ถูก และที่ควร เป็นการพัฒนาที่มุ่งหมายให้คนในสังคมอยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุข ดำรงชีวิตอยู่อย่างบริบูรณ์ เปี่ยมด้วยความดีทั้งกาย วาจา และใจ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท