พรุชิงบ้านเรา


ความรักความสามัคคีและการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขบนความแตกต่างแต่ไม่แตกแยกของชุมชนเล็กๆ

         

       

          ความรักความสามัคคีและการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขบนความแตกต่างแต่ไม่แตกแยกของชุมชนเล็กๆ ซึ่งอยู่ในพื้นที่ หมู่ที่ 7 ตำบลท่าม่วง อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา ซึ่งเป็นที่ที่จัดอยู่ในสถานการณ์ชายแดนใต้ คือเอกลักษณ์ของชุมชน "พรุชิง" ตลอดเส้นทางจากตัวอำเภอเทพา-ชุมชนพรุชิง ระยะทางโดยประมาณ 30 กิโลเมตร ซึ่งสองข้างทางจะเป็น สวนยางพารา สวนผลไม้ และทุ่งนา บรรยากาศโดยทั่วไปจะดูเงียบเหงาและราบเรียบตามวิธีเรียบง่ายของชนบท ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน จึงกลายเป็นความสามัคคีของชาวบ้าน ได้สืบทอดกันมาจากบรรพบุรุษ โดยไม่แบ่งแยกศาสนานับเป็นจุดแข็งสำคัญที่ทำให้ชุมชนแห่งนี้อยู่อย่างมีความสุข

             หมู่บ้านพรุงชิง หรืออีกชื่อหนึ่งที่ชาวบ้านเรียกกัน "กาปงกอแก" หรือบ้านโกงกางนั้นแหละครับ ตอนผมยังเด็ก คนเฒ่าคนแก่เคยเล่าความเป็นมาของ ชื่อ หมู่บ้าน แต่ตอนนี้ผมจำเกือบไม่ได้เดียวเล่าผิดเล่าถูกไว้มาเล่าครังต่อไปละกันน่ะครับ

          หมู่บ้านพรุชิงของเรานั้นเป็นหมู่บ้านเล็กๆ ที่ทางคณะกรรมการหมู่บ้านได้เปิดโอกาสให้ชาวบ้านได้แสดงความคิดเห็นในทุกๆ เรื่อง และมีกิจกรรมอยู่เรื่อยมาโดยเฉพาะกิจกรรมทางด้านวัฒนธรรมประเพนีที่สืบทอดกันมา หมู่บ้านพรุชิง ได้รวมกันก่อตั้งสหกรณ์ออมทรัพย์ของหมู่บ้านโดยอาศัยความร่วมมือของชาวบ้านกันเอง และเติบใหญ่จนป้จจุบัน ต่อมาหลังจากเหตุการณ์ชายแดนใต้เกิดขึ้นมาได้ไม่นานมากนัก เริ่มมีโครงการต่างๆ เข้ามา เช่น โครงการฟื้นฟูนาร้างเฉลิมพระเกียรติ โครงกาเพาะเห็ด โครงการตัดเย็บเสื้อผ้า โครงการผลิตน้ำข้าวกล้อง ฯลฯ  โครงเหล่านี้จะไม่เกิดขึ้นมาเลยถ้าชาวบ้านในชุมชนไม่ให้ความร่วมมือร่วมใจ และสอดส่องดูแลซึ่งกันและกัน และพอเป็นแบบอย่างให้ชุมชน อื่นๆ ต่อไป

หมายเลขบันทึก: 371453เขียนเมื่อ 2 กรกฎาคม 2010 12:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:09 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท