ประชุมวิชาการโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม


รีบดูแลสุขภาพตนเองก่อนที่จะสายเกินแก้
การป้องกันควบคุมโรคมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านม

 

รู้ไหมค่ะว่ามะเร็งอะไรพบมากที่สุดในมะเร็งของผู้หญิงไทย
 มะเร็งปากมดลูกเป็นมะเร็งที่พบมากที่สุดของมะเร็งในสตรีไทย พบากในช่วงอายุ 35-60 ปี
สาเหตุของมะเร็งปากมดลูก
                จากการศึกษาวิจัยพบว่าการติดเชื้อไวรัสฮิวแมนแพปพิลโลมา หรือติดเชื้อเอชพีวี ( HPV: Human Papillomavirus) บริเวณอวัยวะเพศโดยเฉพาะบริเวณปากมดลูก มีส่วนสัมพันธ์กับการเกิดมะเร็งปากมดลูก
ปัจจัยเสี่ยง
                ฝ่ายหญิง  - การมีคู่นอนหลายคน ความเสี่ยงสูงขึ้นตามจำนวนคู่นอนที่เพิ่มขึ้น
-         การมีเพศสัมพันธ์เมื่ออายุน้อย
-         การสูบบุหรี่
-         มีประวัติการเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น เอดส์ เริม ซิฟิลิส เป็นต้น
-         มีบุตรหลายคน
ฝ่ายชาย   -  ผู้ชายที่เป็นมะเร็งขององคชาติหรือเคยมีภรรยาเป็นมะเร็งปากมดลูก
อาการของมะเร็งปากมดลูก
                -มะเร็งปากมดลูกในระยะเริ่มแรกจะไม่มีอาการ
                -มีเลือดออกผิดปกติ โดยเฉพาะเลือดออกหลังมีเพศสัมพันธ์ มีเลือดออกหลังจากหมดประจำเดือนแล้ว เลือดออกเป็นระยะๆประจำเดือนมานานผิดปกติ
                -มีอาการตกขาวซึ่งอาจจะมีเลือดปน
                -มีอาการเจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์
การป้องกันมะเร็งปากมดลูก
  การป้องกันระดับปฐมภูมิ (ป้องกันที่สาเหตุ)
                -หลีกเลี่ยงหรือลดปัจจัยเสี่ยง
                -การฉีดวัคซีนเอชพีวี เพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน
การป้องกันระดับทุติยภูมิ (ตรวจหาความผิดปกติ)
                -การตรวจหาเชื้อไวรัสเอชพีวี
                -การตรวจทางเซลล์วิทยาของปากมดลูก
                -การตรวจการเปลี่ยนแปลงของปากมดลูก
การเตรียมตัวก่อนรับการตรวจ PAP SMEAR
-ไม่ควรมีกาตรวจภายในมาก่อน 24 ชั่วโมง
-ห้ามสวนล้างภายในช่องคลอดมาก่อน 24 ชั่วโมง
-งดการมีเพศสัมพันธ์คืนวันก่อนมารับการตรวจภายใน
-ไม่ควรเหน็บยาใดๆในช่องคลอดมาก่อน 48 ชั่วโมง
-ควรมารับการตรวจมะเร็งหลังประจำเดือนหมดแล้วประมา  2 สัปดาห์ สำหรับผู้ที่ไม่มีประจำเดือนแล้วให้มาได้ตามสะดวก
 การป้องกันระดับตติยภูมิ (การรักษา)
                -การรักษาในรอยโรคก่อนเป็นมะเร็งหรือระยะก่อนลุกลาม
                -การรักษามะเร็งปากมดลูก
                                -มะเร็งในระยะที่ 1 รักษาโดยการผ่าตัดและจะให้ การรักษาต่อด้วยรังสี รักษาในกรณีที่ผู้ป่วยมีโอกาสกลับเป็นซ้ำขอรอยโรคสูง
                                -มะเร็งระยะที่ 2-4 รักษาด้วยรังสีรักษาและหรือร่วมกับการให้ยาเคมีบำบัด
วัคซีนเอชพีวีป้องกันมะเร็งปากมดลูกได้อย่างไร

 

                วัคซีนกระตุ้นเซลล์เม็ดเลือดขาว
 
                สารภูมิคุ้มกันในกระแสเลือด

                               

                ปากมดลูก  &  ผนังช่องคลอด
 
วัควีซเอชพีวีผลิตมาจาก โปรตีนที่เปลือกหุ้มของเชื้อเอชพีวี ผสมกับสารเสริมการกระตุ้นภูมิคุ้มกัน ปริมาณ 0.5 มล.  จะฉีดวัคซีนในช่วงอายุที่มีข้อมูลด้ารภูมิคุ้มกันความปลอดภัยแลประสิทธิภาพในการป้องกัน 9-26 ปี
ช่วงอายุที่มีข้อมูลด้านภูมิคุมกันและความปลอดภัย 26-55 ปี
วัคซีนเอชพีวีต้องฉีด 3 ครั้ง เข้ากล้ามเนื้อต้นแขน
-เข็มที่ 2 ห่างจากเข็มแรก 1-2 เดือน
-เข็มที่ 3 ห่างจากเข็มแรก 6 เดือน
ระดับภูมิคุ้มกันอยู่นานอย่างน้อย 7-9 ปี
คำแนะนำที่ควรทราบก่อนฉีดวัคซีนเอชพีวี

1.ไม่สามารถใช้ทดแทนการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกได้

2.ไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อเอชพีวี หูดหงอนไก่และรอยโรคก่อนมะเร็งได้ทุกราย

3.ไม่สารถป้องกันการติดเชื้อและรอยโรคที่เกิดจากเชื้อเอชพีวีสายพันธุ์อื่น ที่ไม่ได้มีในวัคซีน

4.ถ้ามีการติดเชื้อเอชพีวีแล้ว ประสิทธิภาพของวัคซีนจะลดลงหรือได้ประโยชน์ไม่สูงเท่าที่ควร

5.ไม่สามารถใช้รักษาหูดหงอนไก่ รอยโรคก่อนมะเร็ง

6.ไม่สามารถป้องกันโรคอื่นๆของอวัยวะเพศ

7.ถ้ามีภูมิคุ้มกันต่ำหรือภูมิคุ้มกันบกพร่อง  ภูมิคุ้มกัน จากการฉีดวัคซีนอาจจะลดลง

8.ถ้ามีเพศสัมพันธ์ ควรมีเพศสัมพันธ์ในเชิงป้งกัน

9.ควรคุมกำเนิดด้วยวิธีที่มีประสิทธิภาพ  จนกระทั่งฉีดครบ 3 เข็มไปแล้วอย่างน้อย 1 เดือน

10.ควรฉีดวัคซีนเอชพีวีให้ครบ 3 เข็มในช่วงเวลาที่กำหนด

11.ควรมารับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเมื่อถึงวัยอันควร

12.ควรนอนพักผ่อนสังเกตอาการอย่างน้อย 30 นาที ควรมีเพื่อนหรือผู้ปกครองมาด้วย

 

 

มะเร็งเต้านม

พบมากในผู้หญิงไทย เป็นอันดับ 2 เริ่มเป็นตอนอายุ 40 ปีขึ้นไป จะเกิดที่ท่อน้ำนมและจ่อมน้ำนมเป็นส่วนใหญ่
 สาเหตุ
-ปัจจัยเสี่ยงที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้
                -เพศ
                -อายุ
                -กรรมพันธุ์
                -ประวัติครอบครัว
                -เคยเป็นมะเร็งเต้านม
                -เชื้อชาติ (ชาวยิว ฝรั่ง)
                -เคยผ่าตัดเต้านมแล้วมีผลผิดปกติ
                -เคยได้รับการฉายแสงที่หน้าอก
                -ประประจำเดือน  ( มาเร็วกว่า 12 ปี หมดช้ากว่า 50 ปี)
-ปัจจัยเสี่ยงที่เปลี่ยนแปลงได้
                -ไม่มีบุตร  (มีบุตรช้า)
                -การใช้ยาคุมกำเนิด
                -การใช้ยาฮอร์โมนเพศทดแทน  ( วัยทอง , ตัดมดลูก )
                -ดื่มแอลกอฮอล์
                -อาหาร
                -การออกกำลังกาย
คนที่มีคนในครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านมจะเกิดขึ้นในคนที่มีอายุน้อยและจะมีโรคร่วม เช่น มะเร็งไข่ 
การตรวจเต้านม การคัดกรอง
-         BSE ตรวจด้วยตนเอง
-         CBE ตรวจเต้านมด้วยบุคคลากรทางการแพทย์
-         Mammogram  เอกซเรย์เต้านมหรือแมมโมแกรม
การแปลผลเอกซเรย์เต้านม
-         BIRADS  O  แปลผลไม่ได้
-         BIRADS   1  ปกติ
-         BIRADS   2  มีสิ่งผิดปกติที่ไม่ใช่มะเร็ง
-         BIRADS      3 มีสิ่งผิดปกติที่น่าจะไม่ใช่มะเร็ง
-         BIRADS    4  สงสัยมีสิ่งผิดปกติ  อาจเป็นมะเร็ง
-         BIRADS    5 เป็นมะเร็งเต้านม
ฝากถึงสาวๆๆนะค่ะ สละเวลาเพื่อดูแลสุขภาพของเราสักนิดก่อนที่จะสายเกินแก้ไข

By พี่อุ้ม น้องนุ้ย

หมายเลขบันทึก: 371058เขียนเมื่อ 1 กรกฎาคม 2010 10:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 มิถุนายน 2012 15:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท