บทบาทของการวิจัยที่มีต่อทฤษฎีและสมมติฐาน


บทบาทของการวิจัยที่มีต่อทฤษฎีและสมมติฐาน

     ทฤษฎี หมายถึง แนวความคิดหรือความเชื่อที่เกิดขึ้นอย่างมีหลักเกณฑ์ มีการทดสอบและ  การสังเกตจนเป็นที่แน่ใจ ทฤษฎีเป็น เซทของมโนทัศน์ที่เชื่อมโยงซึ่งกันและกัน เป็นข้อสรุปอย่างกว้างที่พรรณาและอธิบายปรากฎการณ์อย่างเป็นระบบ ถ้าทฤษฎีได้รับการพิสูจน์บ่อย ๆ ก็จะกลายเป็นกฎเกณฑ์ ทฤษฎีเป็นแนวความคิดที่มีเหตุผลและสามารถนำไปประยุกต์ และปฏิบัติได้ ทฤษฎีมีบทบาทในการให้คำอธิบายเกี่ยวกับปรากฏทั่วไปและชี้แนะการวิจัย

    สมมติฐาน  หมายถึง  การอธิบายความคาดหมายล่วงหน้าสำหรับปรากฏการณ์ที่สามารถสังเกตได้ มักใช้เป็นมูลฐานแห่งการหาเหตุผล การทดลอง หรือการวิจัย ในทางวิทยาศาสตร์ นักวิทยาศาสตร์จะตั้งสมมติฐานจากสิ่งที่สังเกตการณ์ได้ก่อนหน้านี้ ซึ่งอาจไม่สามารถอธิบายได้อย่างชัดเจนด้วยทฤษฎีที่มีอยู่ในปัจจุบัน นั่นคือ  สมมติฐานอาจเป็นข้อคาดการณ์ที่จัดตั้งขึ้น เพื่อใช้ในการสรุปคำตอบของปัญหาประเภท ถ้าเป็นเช่นนี้ แล้วจะเป็นเช่นไร (what if)

       โดยทั่วไปแล้วเรามักจะถือว่าการลองเดาคำตอบของปัญหาเป็นสมมติฐานอย่างหนึ่ง ซึ่งนั่นเรียกว่า การคาดเดาอย่างมีหลักการ   เพราะมันเป็นคำตอบอันเป็นที่แนะนำซึ่งมีพื้นฐานอยู่บน หลักทฤษฎี ในขณะที่ผู้ทำการทดลองอาจทดสอบและปฏิเสธสมมติฐานหลายอย่างก่อนที่จะนำไปสู่การแก้ปัญหา สมมติฐานที่ดี   ควรมีลักษณะดังนี้

  • สามารถปฏิบัติและทดลองได้ (testability)
  • เข้าใจง่าย (simplicity)
  • มีขอบเขตชัดเจน (scope)
  • สามารถอธิบายปรากฏการณ์อื่นได้ในอนาคต (fruitfulness)
  • มีองค์ความรู้เดิมอันเป็นที่ยอมรับ (conservatism)

     หลักการตั้งสมมติฐาน
              1.  ต้องเป็นข้อความที่บอกความสัมพันธ์ระหว่าง ตัวแปรต้น กับ ตัวแปรตาม
              2. ในการศึกษาปรากฏการณ์หนึ่ง ๆ อาจตั้งสมมติฐานได้หนึ่งสมมติฐานหรือหลายสมมติฐานก็ได้  และสมมติฐานที่ตั้งขึ้นอาจจะถูกหรือผิดก็ได้   ดังนั้นจำเป็นต้องมีการทดลอง      เพื่อตรวจสอบว่า สมมติฐานที่ตั้งขึ้นนั้นเป็นที่ยอมรับหรือไม่   ซึ่งจะทราบภายหลังจากการทดลองหาคำตอบแล้ว

      สมมติฐานถือได้ว่าเป็นสิ่งที่จำเป็นมากอย่างหนึ่งในการวิจัย  เพราะเป็นตัวบ่งบอกถึงความเชื่อมโยงระหว่างปัญหากับข้อเท็จจริงเชิงประจักษ์ที่จะตอบปัญหา  สมมติฐานเปรียบเสมือนแนวทางในการสำรวจปรากฏการณ์ที่เกี่ยวกับปัญหาที่กำลังทำการสืบค้นอยู่นั้น ความสำคัญของสมมติฐานพอจะสรุปได้เป็นข้อๆ ดังนี้

      1) สมมติฐานชี้ให้เห็นปัญหาชัดเจน  ทั้งนี้ถ้าไม่มีสมมติฐานเป็นเครื่องชี้นำ       ผู้วิจัยอาจเสียเวลาในการหาสาเหตุและการแก้ปัญหา ซึ่งการตั้งสมมติฐานนั้น ผู้วิจัยจะต้องมีการตรวจสอบอย่างถี่ถ้วนถึงข้อเท็จจริงและมโนทัศน์ที่คาดว่าจะสัมพันธ์กับปัญหา แล้วแยกแยะให้เห็นข้อสนเทศที่คาดว่าจะเกี่ยวข้องในเชิงความสัมพันธ์ ซึ่งจะช่วยทำให้เห็นประเด็นของปัญหาที่ทำการวิจัยชัดเจนมากขึ้น
      2) สมมติฐานเป็นตัวชี้การออกแบบการวิจัย สมมติฐานที่ดีจะเป็นตัวบ่งชี้ว่ารูปแบบการวิจัยควรจะเป็นเช่นไรจึงจะเหมาะสมกับการแก้ไขปัญหาเฉพาะที่ต้องการทราบ  ซึ่งสมมติฐานจะบอกแนวทางถึงการเก็บรวบรวมข้อมูล  กลุ่มตัวอย่าง   แบบสอบหรือเครื่องมือที่จำเป็นต้องใช้ วิธีการสถิติที่เหมาะสมคืออะไร  ตลอดจนจะรวบรวมข้อเท็จจริงในสถานการณ์ใดที่เหมาะสมกับปัญหา
      3) สมมติฐานช่วยอธิบายปรากฏการณ์  สมมติฐานจะช่วยอธิบายความสัมพันธ์ที่น่าจะเป็นสาเหตุและผลของการเกิดปรากฏการณ์ โดยสมมติฐานที่สร้างขึ้นจากข้อเท็จจริงจะช่วยให้ผู้วิจัยมีเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการสำรวจและอธิบายสิ่งที่แฝงอยู่เบื้องหลังได้

หมายเลขบันทึก: 371039เขียนเมื่อ 1 กรกฎาคม 2010 09:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 01:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

เข้าใจง่ายดีจัง ขอบคุณนะค่ะ

อธิบายความหมายของสมมติฐานได้เข้าใจง่ายดี

สวัสดีครับ....

อ่านแล้วเข้าดีมาเลยครับ..

เป็นกำลังใจให้นะครับพี่จูน

ถ้าคนเราสงสัย แล้วพูด

ทำไม ทำไม ทำไม

ถ้าหาคำตอบไม่ได้ในตอนนั้น ก้จะมี

คำพูดตามมาว่า

สมมติว่าน่าจะ สมมติว่าน่าจะ สมมติว่าน่าจะ

ถือว่าเป็นการเริ่มต้นของมมติฐานได้ไหมครับ

เป็นกำลังให้ครับ

เขียนได้ชัดเจนเข้าใจได้ง่ายขึ้นมาก

อ่านแล้วเข้าใจง่ายค่ะ

ดิฉันขอถามการบ้านเรื่อง

ยี่ห้อของโถสุขภัณฑ์ กับการเลือกยี่ห้อหรือไม่เมื่อปวดหนักจนอั้นไม่อยู่ โจทย์ให้หาตัวแปรต้น ตัวแปรตาม และตัวแปรควบคุมค่ะ

น้องน้อย ได้รับน้ำดื่มจำนวน 2 ขวด ขวดละสองลิตร หลังจากดื่มน้ำขวดแรกหมด

ครูให้นักเรียนนั่งพักจนกว่าจะปวดปัสสาวะจนสุดขีด จึงจะให้ไปถ่ายปัสสาวะได้

ห้องน้ำมีโถสุขภัณฑ์ ยี่ห้อการัต และอเมริกันสแตนดาร์ท

ครูของน้องให้หาตัวแปรต้น ตัวแปรตาม และตัวแปรควบคุมค่ะ โจทย์น่าสนุกนะคะ ขอความกรุณาอาจารย์ แยกให้น้องด้วยเถอะค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท