บันทึกที่ 10 การนำเสนอกระบวนการผลิตบทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง การบวกจำนวนสองหลักมีทด ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2


กระบวนการผลิตบทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง การบวกจำนวนสองหลกมีทด


บทที่ 1

โครงการผลิตสื่อนวัตกรรมการศึกษา
ชื่อโครงการ  บทเรียนสำเร็จรูป
บทเรียนสำเร็จรูป สำหรับการพัฒนาทักษะทางด้านคณิตศาสตร์  เรื่อง การบวกเลขสองหลักมีทด
 ชื่อผู้จัดทำโครงการ 
 นางสาวรัชนู  แข็งแรง  นักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพครู รหัส 52741155 
หมู่เรียน ป 52.01
 หลักการและเหตุผล 
ปัจจุบันเด็กนักเรียนระดับช่วงชั้นที่ 1 ส่วนมากยังไม่สามารถทำการบวก เลขจำนวนสองหลักมีทดได้อย่างถูกต้องมากนักวิชาคณิตศาสตร์มีบทบาทสำคัญยิ่งในการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียน  ทำให้ผู้เรียนมีความคิดสร้างสรรค์  คิดอย่างมีเหตุผลเป็นระบบแบบแผน  และการดำเนินการ  การบวก การลบเลขนั้น ถือเป็นพื้นฐานในการฝึกทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์  การบวกเลขจำนวนสองหลัก  ก็เป็นเนื้อหาหนึ่งในสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์  ที่เราใช้กันอยู่ประจำทุกวันอยู่แล้ว สื่อนวัตกรรมชิ้นนี้จึงน่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่ได้ศึกษาค้นคว้าเพื่อใช้ในการประกอบการเรียนการสอนเรื่อง การบวก ลบเลข ได้เป็นอย่างดี
 วัตถุประสงค์ 
  1. เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจถึงความสำคัญของการบวก เลขเพื่อนำไปใช้ในอนาคต
  2. เพื่อให้ผู้เรียนหาผลบวกของจำนวนนับสองจำนวนได้อย่างถูกต้อง
  3. เพื่อให้ผู้เรียนพัฒนาทักษะเรื่องการบวก
 
ขอบเขต
1.ความหมายของการบวกเลข
2.การบวกเลขสองหลักที่มีทด
3.สื่อสามารถช่วยสอนนักเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ให้มีกระบวนการคิดเลขได้อย่างเป็นระบบ
4.สื่อสามารถช่วยพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียนให้เข้าใจได้
  ผลที่คาดว่าจะได้รับ
 1.ผู้เรียนจดจำหลักในการ บวกเลขสองหลักมีทดที่ถูกกต้องได้ดียิ่งขึ้น      
 2.สื่อสามารถช่วยพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียนให้เข้าใจ   และเห็นเป็นรูปธรรมมากขึ้น
 3.ผู้เรียนสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ได้ตลอดชีวิต
4.สามารถสร้างและพัฒนาบทเรียนสำเร็จรูป เรื่องเลขสองหลักมีทด ของรายวิชาคณิตได้ดีขึ้นไป
 ขั้นตอนการดำเนินงาน
 1. ศึกษาและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องที่สนใจ
 2. เขียนโครงการเสนออาจารย์ประจำวิชาเพื่อทำการตรวจสอบ
 3. เมื่อผ่านการตรวจสอบและได้รับการอนุมัติก็เริ่มทำโครงการ
 4. นำโครงการบทเรียนสำเร็จรูปที่ทำไปให้ครูผู้สอนตรวจ
 5. ปรับปรุงแก้ไขในส่วนที่ยังไม่สมบูรณ์
6. ทดลองใช้กับนักเรียนชั้น ป.2 จำนวน 4 คน
 7. วิเคราะห์และประเมินผลการทดลอง
 8. สรุปผลการทดลอง และนำข้อปกพร่องที่พบไปปรับปรุงแก้ไข
 
 9. ทำบทเรียนสำเร็จรูปฉบับที่สมบูรณ์ที่สุด
 10. นำส่งครูผู้สอน
 ระยะเวลาในการจัดทำ
         ตั้งแต่วันที่ 25 พฤษภาคมถึงวันที่ 30 มิถุนายน พศ. 2553
 งบประมาณที่ใช้จริง
  1. ค่ากระดาษ A4                      200      บาท
  2. ค่าเข้าเล่ม                              100       บาท
  3. ค่าปริ้น                                 130      บาท
  4. ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ                      100      บาท
                                 รวม                   530     บาท
บทที่ 2
ขั้นตอนการผลิตสื่อนวัตกรรม
1.กระบวนการจัดทำ/การผลิต
                1. ศึกษาวิธีการจัดทำ (บทเรียนสำเร็จรูป)
                2. ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ
                3. สร้าง (บทเรียนสำเร็จรูป)
                4. วิเคราะห์ปัญหาและสาเหตุจากการจัดการเรียนการสอน
                5. ศึกษารายละเอียดของหลักสูตรเพื่อวิเคราะห์เนื้อหา จุดประสงค์ และกิจกรรม
                6. พิจารณาแนวทางการแก้ไขปัญหา
                7. ศึกษารูปแบบของการสร้างสื่อ
                8. ออกแบบสื่อ
                9. ลงมือสร้างสื่อให้สอดคล้องกับเนื้อหาและหาจุดประสงค์การเรียนรู้
                10. ส่งให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหา
                11. นำไปทดลองใช้พร้อมบันทึกผลเพื่อปรังปรุงแก้ไขส่วนที่บกพร่อง
                12. ปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้
                13. จัดทำเป็นรูปเล่มที่สมบูรณ์
 
2.ปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างการผลิต และการแก้ไขปัญหา
                1. ระยะเวลาที่ในการผลิตสื่อมีจำกัด เพราะใช้ระยะเวลาในการผลิต 1 เดือนเท่านั้น
                2. เนื่องจากผู้จัดทำ ทำงานอยู่ที่บริษัทเอกชน จึงไม่สามารถใช้เวลาในการจัดทำสื่อได้อย่างเต็มที่เท่าที่ควร
 

บทที่ 3

การหาประสิทธิภาพของสื่อหรือนวัตกรรม
                1. การหาความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาชองสื่อผู้เชี่ยวชาญ โดยใช้ค่าดัชนีความสอดคล้อง (Index of Item Object Congruence: I.O.C) โดยผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้ให้คะแนนเป็น +1 หรือ 0  หรือ -1
                                โดย         +1   แน่ใจว่าสอดคล้อง
                 0   ไม่แน่ใจว่าสอดคล้อง
-1   แน่ใจว่าไม่สอดคล้อง
 
            IOC =
เมื่อ   IOC  คือ ดัชนีความสอดคล้อง
         R          คือ คะแนนของผู้เชี่ยวชาญ
      N          คือ จำนวนผู้เชี่ยวชาญ
                   หมายเหตุ ค่า IOC ตั้งแต่ 0.5 ขึ้นไป ถือว่าใช้ได้
 
2. การคำนวณหาประสิทธิภาพของผลลัพธ์  (E2)
                                                                                                    = 100
                                   เมื่อ         คือ ประสิทธิภาพของผลลัพธ์
                                                  คือ คะแนนรวมของทดสอบหลังเรียน
                                                   คือ คะแนนเต็มของแบบทดสอบหลังเรียน
                                                คือ จำนวนผู้เรียน
                การยอมรับประสิทธิภาพ
                1. สูงกว่าเกณฑ์ คือ ตั้งเกณฑ์ /   ไว้  แล้วได้ค่าประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ เช่น ตั้งมาตรฐานไว้ 80/80  แล้วคำนวณค่าประสิทธิภาพบทเรียนสำเร็จรูปได้ 85/85
                        2. เท่าเกณฑ์  คือ ตั้งเกณฑ์ /   ไว้  แล้วได้ค่าประสิทธิภาพเท่ากับเกณฑ์ที่ตั้งไว้พอดี เช่น ตั้งมาตรฐานไว้
80/80  แล้วคำนวณค่าประสิทธิภาพบทเรียนสำเร็จรูปได้ 80/80
                3. ต่ำกว่าเกณฑ์  คือ ตั้งเกณฑ์ /   ไว้  แล้วได้ค่าประสิทธิภาพต่ำกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ ไม่เกิน + 2.5  %
 
6
2. การคำนวณหาประสิทธิภาพของผลลัพธ์  (E2)
                                                                                                    = 100
                                   เมื่อ         คือ ประสิทธิภาพของผลลัพธ์
                                                  คือ คะแนนรวมของทดสอบหลังเรียน
                                                   คือ คะแนนเต็มของแบบทดสอบหลังเรียน
                                                คือ จำนวนผู้เรียน
                การยอมรับประสิทธิภาพ
                1. สูงกว่าเกณฑ์ คือ ตั้งเกณฑ์ /   ไว้  แล้วได้ค่าประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ เช่น ตั้งมาตรฐานไว้ 80/80  แล้วคำนวณค่าประสิทธิภาพบทเรียนสำเร็จรูปได้ 85/85
                        2. เท่าเกณฑ์  คือ ตั้งเกณฑ์ /   ไว้  แล้วได้ค่าประสิทธิภาพเท่ากับเกณฑ์ที่ตั้งไว้พอดี เช่น ตั้งมาตรฐานไว้
80/80  แล้วคำนวณค่าประสิทธิภาพบทเรียนสำเร็จรูปได้ 80/80
                3. ต่ำกว่าเกณฑ์  คือ ตั้งเกณฑ์ /   ไว้  แล้วได้ค่าประสิทธิภาพต่ำกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ ไม่เกิน + 2.5  %
 

บทที่ 4

สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ
สรุปได้ดังนี้
                ผลการพัฒนาบทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง การบวกเลขสองหลักมีทด ที่ผู้จัดทำขึ้นประกอบด้วย ส่วนสำคัญ คือ
1) บทนำ 2) แบบทดสอบก่อนเรียน 3) กรอบความรู้ 4) แบบฝึกหัด และ 5) แบบทดสอบหลังเรียน มีประสิทธิภาพและ
ได้มาตรฐานตามเกณฑ์มาตรฐานและมีค่าความตรงเชิงเนื้อหาบทเรียนสำเร็จรูป เฉลี่ยเท่ากับ 80 เปอร์เซนต์ขึ้นไป
ซึ่งแปลผลได้ว่า บทเรียนสำเร็จรูป  เรื่อง การบวกเลขสองหลักมีทด มีคุณภาพในระดับดีมากที่สุด สามารถพัฒนานักเรียนให้มีความรู้ ความเข้าใจ และ สามารถเรียนรู้และตอบคำถามจากกเนื้อเรื่องได้
 
อภิปรายผล
                1.บทเรียนสำเร็จรูป กระบวนวิชา นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา (ETI5701) เรื่องการบวกเลขสองหลักมีทด ที่ผู้สร้างขึ้นนั้น มีประสิทธิภาพซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ในการประเมินนั้น เนื่องมาจากผู้จัดทำได้มีการวางแผนอย่างเป็นระบบ โดยศึกษาสภาพปัญหาและวิเคราะห์ความเหมาะสมที่ได้นำเนื้อหามาใช้สร้างเป็นบทเรียนสำเร็จรูป รวมทั้งได้นำทฤษฎีหลักการจากหนังสือต่างๆ ที่เกี่ยวข้องมาจัดสร้างบทเรียนให้สอดคล้องกับสภาพของผู้เรียน และยังผ่านการแนะนำของที่ปรึกษา ผู้เชี่ยวชาญเป็นระยะๆ ซึ่งได้มีการปรับปรุงแก้ไขหลายครั้ง จนผ่านการประเมินทั้งในด้านเนื้อหาแล้วจึงนำมาให้นักเรียนทำการทดสอบ             2.การแสดงเนื้อหาได้นำหลักทฤษฎีเกี่ยวกับการเร้าความสนใจของผู้เรียน โดยเลือกตัวอักษรหรือข้อความ ภาพ การใช้สีมาประกอบ การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับบทเรียน รวมทั้งมีแบบฝึกหัดให้ผู้เรียนได้ทดสอบ
                3.ในแต่ละตอนของเนื้อหา ในบทเรียนมีแรงกระตุ้นให้กับนักเรียนในขณะที่นักเรียนทำแบบฝึกหัดจบแล้วแสดงผลทันที
                4.ในการสร้างบทเรียน ได้ใช้หลักการเรียนด้วยตนเองหรือการเรียนแบบเอกภาพ ซึ่งผู้เรียนจะเป็นอิสระในการเรียนไม่ต้องถูกบังคับในการเรียน จะเรียนเมื่อไหร่ก็ได้ หรือจะเรียนซ้ำได้หลายๆครั้ง จนกว่าจะเข้าใจเนื้อหาและการวางแผนการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบเป็นขั้นตอนที่สอดคล้องกับการเรียนของผู้เรียน เพื่อให้การจัดการเรียนการสอนบรรลุจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้
ข้อเสนอแนะ
                จากการดำเนินการศึกษาครั้งนี้ ผู้จัดทำขอเสนอแนวคิดในการนำบทเรียนสำเร็จรูปสอนเพิ่มเติม ไปใช้เพื่อช่วยในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและการซ่อมเสริม ดังนี้
                                1. จากผลการวิจัยที่พบว่า บทเรียนสำเร็จรูปช่วยสอนสามารถเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนได้ ครูและผู้ปกครอง จึงควรแนะนำบทเรียนสำเร็จรูป ให้นักเรียนได้ศึกษาตามเวลาและโอกาสที่เหมาะสม
                                2. จากผลการวิจัยที่พบว่า บทเรียนสำเร็จรูปช่วยสอนสามารถเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนได้ครูที่สอนในสาระวิชาที่สามารถนำบทเรียนสำเร็จรูปช่วยสอนไปเป็นส่วนหนึ่งของการสอนได้ ควรนำไปปรับใช้ประกอบการสอนให้เหมาะสมตามระดับที่รับผิดชอบ
 
หมายเลขบันทึก: 370719เขียนเมื่อ 30 มิถุนายน 2010 10:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 20:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท