โครงการ ผลิตสื่อนวัตกรรมการศึกษาเรื่อง อาหารกับการดำรงชีวิต (1)


ชุดการสอน วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง “อาหารกับการดำรงชีวิต”

 

โครงการการผลิตสื่อนวัตกรรมการศึกษาที่สมบูรณ์ 

ชื่อโครงการ: ชุดการสอน วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง “อาหารกับการดำรงชีวิต” 

ชื่อผู้จัดทำโครงการ: นางสาววิมุทิตา ปัญโญใหญ่ รหัส 52741145 ป.52.01

หลักการและเหตุผล:

การเรียนรู้อาหารและสารอาหาร เป็นขั้นพื้นฐานสำหรับผู้เรียน สามารถนำไปใช้ใน

ชีวิตประจำวันเพื่อให้รู้จักคุณค่าทางโภชนาการ การกินอาหารที่มีสารอาหารครบถ้วน ได้สัดส่วนเหมาะสมกับ เพศ วัย และสภาพร่างกาย  ส่งผลให้ผู้เรียนมีความพร้องทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ  นักเรียนส่วนใหญ่  รู้จักสารอาหารไม่กี่ชนิด ไม่สามารถจำแนกประเภทได้อย่างแม่นยำ  อีกทั้งยังไม่ค่อยรู้จักประโยชน์และโทษจากการขาดสารอาหาร ดังนั้นผู้จัดทำจึงจัดทำชุดการสอนขึ้นเพื่อพัฒนาให้ผู้เรียนได้รู้จักสาร อาหาร ประโยชน์และโทษได้อย่างถูกต้อง

 วัตถุประสงค์

1.  เพื่อให้ผู้เรียนรู้จักสารอาหารที่สำคัญต่อมนุษย์ได้อย่างครบถ้วน

2.  เพื่อให้ผู้เรียนสามารถแยกสารอาหารแต่ละชนิดได้อย่างแม่นยำ

3.  เพื่อให้ผู้เรียนสามารถบอกแหล่งอาหาร ความสำคัญและผลของการขาดวิตามินชนิดต่างๆ ได้

4. เพื่อให้ผู้เรียน สามารถบอกแหล่งอาหาร ความสำคัญและผลของการขาดแร่ธาตุต่างๆได้

5. เพื่อให้ผู้เรียนสามารถบอกความต้องการพลังงานของแต่ละช่วงอายุได้

 ขอบเขตของสื่อนวัตกรรม ที่นำไปใช้

- ขอบเขต เนื้อหาที่จะใช้: อาหารและสารอาหารที่สำคัญ คือ คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน

 วิตามิน แร่ธาตุ และน้ำ และความต้องการพลังงานของร่างกาย

- ขอบเขตระดับชั้นที่จะนำไปใช้: ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

 ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1. ผู้เรียนสามารถแยกสารอาหารแต่ละชนิดได้อย่างแม่นยำ

2. ผู้เรียนสามารถสามารถบอกแหล่งอาหาร ความสำคัญและผลของการขาดวิตามินชนิดต่างๆได้

3. ผู้เรียนสามารถบอกแหล่งอาหาร ความสำคัญและผลของการขาดแร่ธาตุต่างๆได้

4. ผู้เรียนสามารถบอกความต้องการพลังงานของแต่ละช่วงอายุได้

ขั้นตอนการดำเนินงาน

  1. ผู้จัดทำโครงการได้ศึกษาหลักสูตรสาระการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง “อาหารกับการดำรงชีวิต” ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เพื่อหาขอบเขตของเนื้อหา และนำมาทำชุดการสอน โดยเขียนโครงการเสนออาจารย์ เพื่อรออนุมัติและปฏิบัติขั้นตอนต่อไป
  2. ผู้จัดทำโครงการเลือกทำชุดการสอน วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง “อาหารกับการดำรงชีวิต” ในชุดการสอน 1 กล่อง จะประกอบไปด้วย คู่มือครู 1 เล่ม, ซองแบบฝึกปฏิบัติ, ซองข้อทดสอบก่อนและหลังเรียน พร้อมกระดาษคำตอบ และ ซองศูนย์ที่ 1 2 และ 3
  3. ซองศูนย์ที่ 1 จะประกอบไปด้วยบัตรคำสั่ง บัตรเนื้อหา บัตรคำถาม บัตรเฉลย และ เกม “หมวดหมู่อาหารหรรษา”

อุปกรณ์ที่เตรียม 1. กระดาษแข็งสีต่างๆ 2. สีไม้ 3. สีน้ำ

-          จัดเตรียม บัตรคำสั่งเพื่อให้ผู้เรียน อ่านและได้รู้ขั้นตอนของการปฏิบัติ หลังจากนั้น จัดเตรียมบัตรเนื้อหา เพื่อให้ผู้เรียนได้อ่านเนื้อหาโดนรวมของเรื่องที่ศึกษา จัดทำเกม“หมวดหมู่อาหารหรรษา” โดยเกมจะมีเนื้อหาของสารอาหารที่ให้พลังงานแก่ร่างกาย ได้แก่ คาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมัน ซึ่งจะมีหมู่อาหารทั้ง 3 เป็นหลัก จากนั้นผู้เรียนนำเนื้อหา และประโยคที่ถูกต้องมาใส่ในช่องสารอาหารแต่ละหมุ่ให้ถูกต้อง

            4. ซองศูนย์ที่ 2 จะประกอบไปด้วยบัตรคำสั่ง บัตรเนื้อหา บัตรคำถาม บัตรเฉลย และ เกม “จิ๊กซอวิตามิน”

-          จัดเตรียม บัตรคำสั่งเพื่อให้ผู้เรียน อ่านและได้รู้ขั้นตอนของการปฏิบัติ หลังจากนั้น จัดเตรียมบัตรเนื้อหา เพื่อให้ผู้เรียนได้อ่านเนื้อหาโดนรวมของเรื่องที่ศึกษา จัดทำเกม “จิ๊กซอวิตามิน”โดยเกมจะมีเนื้อหา เกี่ยวกับ แหล่งอาหาร ความสำคัญ และผลของการขาดวิตามินชนิด นั้นๆ

            5. ให้ผู้เรียนนำข้อมูลมาต่อกับ หัวข้อหลัก คือ วิตามินละลายในไขมัน ได้แก่ A D E K และวิตามินละลายในน้ำ ได้แก่ B1 B2 B3 B6 B12 และ C จนเป็นรูปจิ๊กซอรูปต่างๆ ซองศูนย์ที่ 3 จะประกอบไปด้วยบัตรคำสั่ง บัตรเนื้อหา บัตรคำถาม บัตรเฉลย และ เกม “ดอกไม้แร่ธาตุ”

-          จัดเตรียม บัตรคำสั่งเพื่อให้ผู้เรียน อ่านและได้รู้ขั้นตอนของการปฏิบัติ หลังจากนั้น จัดเตรียมบัตรเนื้อหา เพื่อให้ผู้เรียนได้อ่านเนื้อหาโดนรวมของเรื่องที่ศึกษา จัดทำเกม “ดอกไม้แร่ธาตุ”โดยเกมจะมีเนื้อหา เกี่ยวกับ แหล่งอาหาร ความสำคัญ และผลของการขาดแร่ธาตุชนิด นั้นๆ

ซึ่งเนื้อหาจะอยู่บนกลีบดอกไม้ ให้ผู้เรียนนำข้อมูลมาเรียงกันจนเป็นดอกไม้ชนิดต่างๆอย่างถูกต้อง

 6. นำสื่อไปทดลองใช้และประเมินผลเพื่อปรับปรุงแก้ไขต่อไป

แผนการสอน 

วิชา วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

บทที่ 3 อาหารและการดำรงชีวิต

เวลา 2 คาบ (60 นาที)


หัวเรื่อง 

  1. ความหมายและความสำคัญของสารอาหาร
  2. สารอาหารที่ให้พลังงาน

           2.1  คาร์โบไฮเดรต

           2.2  โปรตีน

           2.3  ไขมัน

  3. สารอาหารที่ไม่ให้พลังงานและน้ำ

           3.1  วิตามินชนิดต่างๆ

           3.2  แร่ธาตุชนิดต่างๆ

ความคิดรวบยอด 

  1. สิ่งที่กินได้และเกิดประโยชน์ต่อร่างกาย และมีส่วนประกอบซึ่งเป็นสารเคมีอยู่หลายประเภท ได้แก่  คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน แร่ธาตุและวิตามิน เรียกว่า อาหาร
  2. สารเคมีประเภทต่าง ๆ ที่เป็นส่วนประกอบในอาหาร เรียกว่า สารอาหาร
  3. สารอาหารแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือสารอาหารที่ให้พลังงาน ได้แก่ พวกคาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมัน และสารอาหารที่ไม่ให้พลังงาน ได้แก่ พวกแร่ธาตุ วิตามิน และน้ำ

วัตถุประสงค์ 

  1. นักเรียนสามารถอธิบายความหมายและความสำคัญของสารอาหารได้ถูกต้อง
  2. นักเรียนสามารถแยกประเภทสารอาหารที่ให้พลังงงานและไม่ให้พลังงานแก่ร่างกายได้ถูกต้อง
  3. นักเรียนสามารถอธิบายสารอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมันได้ถูกต้อง
  4. นักเรียนสามารถบอกแหล่งที่มาของสารอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมันได้อย่างน้อย 3 แหล่ง
  5. นักเรียนสามารถบอกประโยชน์และโทษของการขาดของสารอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตโปรตีน และไขมันได้
  6. นักเรียนสามารถอธิบายสารอาหารประเภทวิตามิน แร่ธาตุ และน้ำได้ถูกต้อง
  7. นักเรียนสามารถบอกแหล่งที่มาของสารอาหารประเภทวิตามิน แร่ธาตุ และน้ำได้อย่างน้อย 3 แหล่ง
  8. นักเรียนสามารถบอกประโยชน์และโทษของการขาดของสารอาหารประเภทวิตามิน แร่ธาตุ และน้ำได้       

ระยะเวลาในการจัดทำ

-   15 -25 มิถุนายน 2553

งบประมาณที่ใช้จริง

-  1,000 บาท

บรรณานุกรม

            ชีวิตกับสิ่งแสดล้อม สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต. (2544). หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐาน .กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.

            สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2551). ตัวชี้วัดและสาระ การเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้: กรุงเทพมหานคร.



ขั้นตอนการผลิตสื่อนวัตกรรม

- กระบวนการจัดทำ/การผลิต

  1. เริ่มจากการคิดถึงเรื่องที่จะนำมาทำเป็นสื่อชุดการสอน
  2. สืบค้นข้อมูลจาหนังสืออ้างอิงต่างๆ เพื่อประกอบการจัดทำชุดการสอน
  3. เขียนโครงการให้อาจารย์ประจำวิชาตรวจสอบว่าสามารถดำเนินการจัดทำสื่อการสอนได้หรือไม่
  4. เมื่อผ่านการตรวจสอบจากอาจารย์ประจำวิชา จึงเริ่มทำชุดการสอน
  5. เตรียมอุปกรณ์ กระดาษสีต่างๆ คัดเตอร์ กาว สีน้ำ เป็นต้น
  6. จัดหาข้อมูลในการทำศูนย์แต่ละศูนย์ ซึ่งมี 3 ศูนย์ ภายใน 1 ศูนย์ จะประกอบไปด้วย บัตรคำสั่ง บัตรคำถาม บัตรเนื้อหา บัตรเฉลย และ เกม
  7. พิมพ์เนื้อหาทั้งหมดเพื่อเตรียมจะนำไปประกอบเป็นบัตรต่างๆ ในแต่ละศูนย์
  8. ทำบัตรชนิดต่างๆ จนครบทั้ง 3 ศูนย์
  9. ทำซองใส่ในแต่ละศูนย์เพื่อใส่บัตรต่างๆ
  10. ทำซองใส่บัตรต่างๆ จนครบ
  11. ทำเกมศูนย์ที่ 1 เกมหมวดหมู่อาหารหรรษา
  12. ทำเกมศูนย์ที่ 2 เกมจิ๊กซอร์วิตามิน
  13. ทำเกมศูนย์ที่ 3 เกมดอกไม้แร่ธาตุ
  14. จากนั้น นำแต่ละชิ้นส่วนมาประกอบเข้าด้วยกัน โดยกล่องชุดการสอน จะประกอบไปด้วย ซองคู่มือครู ซองแบบฝึกปฏิบัติ ซองแบบทดสอบก่อนและหลังเรียน ซองศูนย์ที่1 ซองศูนย์ที่2 และซองศูนย์ที่3

 

-          ปัญหาที่เกิดขึ้นในระหว่างการผลิต และการแก้ไขปัญหา

ปัญหาที่เกิดขึ้นในระหว่างการทำคือ มีเวลาในการทำอย่างต่อเนื่องน้อย การแก้ปัญหา พยายามแบ่งเวลาในการทำชุดการสอน โดยทำอย่างค่อยเป็นค่อยไป แต่ทำอย่างสม่ำเสมอ งานที่ออกมาก็จะไม่รีบ

-          การตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน 

-การนำผลจากผู้เชี่ยวชาญไปปรับปรุง/แก้ไขสื่อนวัตกรรมการศึกษา

 

 ข้อเสนอแนะ/ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญคนที่ 1 

            นางสาวบุญยม ชมพูคำ (ครูชำนาญการพิเศษ)

-          เป็นชุดการสอนที่ทำได้ดีมาก เหมาะสมกับระดับมัธยมต้น ควรจะนำไปใช้กับนักเรียนหลายๆ กลุ่ม

 

ข้อเสนอแนะ/ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญคนที่ 2

            นางเข็มทอง ปัญโญใหญ่  (ครูชำนาญการพิเศษ)

บัตรเฉลยของศูนย์ที่ 3 สารอาหารที่ไม่ให้พลังงาน (แร่ธาตุ) การใช้สัญลักษณ์ดอกไม้แทนแร่ธาตุ ในบัตรเฉลยควรระบุชื่อแร่ธาตุไว้ใต้รูปดอกไม้ เพื่อให้นักเรียนเข้าใจได้ถูกต้อง และตัวหนังสือต้องมีขนาดใหญ่กว่านี้ และควรนำไปใช้กับนักเรียนในสถานการณ์จริง

การจัดทำสื่อมีรูปแบบ สีสันน่าสนใจ ทำได้ดีมาก เหมาะสมกับระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น

 

ข้อเสนอแนะ/ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญคนที่ 3

            นายนักสิทธิ์ ปัญโญใหญ่ (พนักงานมหาวิทยาลัย) ตำแหน่งอาจารย์

            ศูนย์ที่ 3 สารอาหารที่ไม่ให้พลังงาน (แร่ธาตุ) ควรออกแบบบัตรเฉลยให้มีขนาดตัวอักษรใหญ่ขึ้น และควรแสดงสัญลักษณ์ดอกไม้ควบคู่กับสัญลักษณ์ของแร่ธาตุเพื่อย้ำให้นักเรียนจดจำสัญลักษณ์ได้ดีขึ้น

            การจัดทำสื่อมีรูปแบบและการใช้สี รูปภาพประกอบที่น่าสนใจ ดังนั้นควรได้นำไปทดสอบในกลุ่มย่อย (นักเรียน 3-5 คน) ก่อนที่จะนำไปสอนจริง

-  แบบสรุปวัดดัชนีความสอดคล้อง (IOC) สื่อนวัตกรรมการศึกษา

เรื่อง  อาหารกับการดำรงชีวิต  สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

เกณฑ์การประเมินความสอดคล้อง (Index of consistency: IOC)   ของผู้เชี่ยวชาญ มีดังนี้

ให้คะแนนเท่ากับ +1 หมายถึง แน่ใจว่าข้อคำถามข้อนั้นวัดจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมที่ระบุไว้จริง

ให้คะแนนเท่ากับ  0 หมายถึง ไม่แน่ใจว่าข้อคำถามข้อนั้นวัดจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมที่ระบุไว้จริง

ให้คะแนนเท่ากับ -1 หมายถึง แน่ใจว่าข้อคำถามข้อนั้นไม่ได้วัดจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมที่ระบุไว้  

ที่

รายการประเมิน

ผู้เชี่ยวชาญ

(คนที่)

 

 

 

IOC

ด้านเนื้อหา (ส่วนนำ)

1

2

3

1

บทเรียนมีการออกแบบใช้ง่าย ไม่สับสน

+1

+1

+1

3

1

2

การแจ้งวัตถุประสงค์ให้ผู้เรียนทราบชัดเจน

+1

+1

+1

3

1

ด้านเนื้อหา (ส่วนเนื้อหา)

 

 

 

 

 

3

เนื้อหาในบทเรียนมีความเหมาะสมกับผู้เรียน

+1

+1

+1

3

1

4

การใช้ภาษาสามารถสื่อความหมายได้ชัดเจน

+1

+1

+1

3

1

5

เนื้อหาบทเรียนสอดคล้องกับวัตถุประสงค์

+1

+1

+1

3

1

6

การใช้ภาษาสามารถสื่อความหมายได้ชัดเจน

+1

+1

+1

3

1

7

บทเรียนมีการยกตัวอย่างให้เห็นชัดเจน

+1

+1

+1

3

1

8

บทเรียนมีภาพประกอบสวยงาม และดึงดูดความสนใจของผู้เรียน

+1

+1

+1

3

1

ด้านเนื้อหา (ส่วนสรุป)

 

 

 

 

 

9

การสรุปเนื้อหาในแต่ละตอนอย่างเหมาะสม

+1

+1

+1

3

1

10

ความเหมาะสมของจำนวนแบบทดสอบ

+1

+1

+1

3

1

11

การออกแบบความสวยงามของบทเรียนสำเร็จรูป

+1

+1

+1

3

1

             

 

สรุปผล 

          จากการหาประสิทธิภาพ ค่าดัชนีความสอดคล้องที่ยอมรับได้ต้องมีค่าตั้งแต่ 0.50 ขึ้นไป   ซึ่งในบทเรียนนี้ ได้ค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ที่ 11

 

การทดลองใช้แบบ 1:1 จำนวน 3 คน 

 

          ผลปรากฏว่า ในการทำแบบทดสอบระหว่างเรียน นักเรียนทั้ง 3 คนสามารถทำแบบฝึกหัดระหว่างเรียน ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้ได้

 

ตารางแสดงผลการวิเคราะห์หาประสิทธิภาพของสื่อนวัตกรรมการศึกษา 

เรื่อง อาหารกับการดำรงชีวิต  สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

นักเรียน

คะแนนแบบฝึกปฏิบัติ

คะแนนรวม

 

Pretest

ก่อนเรียน

Postest

หลังเรียน

1

2

3

30

15

15

(10)

(10)

(10)

1.ด.ญ.วรัญญา       ปาลี

10

9

10

29

8

15

2.ด.ญ.ธัญลักษณ์    ธรรโม

10

10

10

30

6

13

3.ด.ญ.ศิริวรรณ       ปัญเจริญ

9

10

10

29

7

13

รวม

88

21

41

เฉลี่ย

29.3

7

13.67

                         = 91.13

              E1/E2   = 97.67/91.13  = 1.07

สรุปผล 

            จากการหาประสิทธิภาพ ที่ตั้งไว้ 80/80 ผลการทดลองใช้นวัตกรรมได้ 97.67/ 91.13 สรุปได้ว่า ประสิทธิภาพของนวัตกรรมสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ แสดงว่า สื่อนวัตกรรมการศึกษา เรื่องอาหารกับการดำรงชีวิต สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมปีที่ 3 มีประสิทธิภาพสามารถนำไปใช้ในการเรียนการสอนได้

 

 

 

 

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 370672เขียนเมื่อ 30 มิถุนายน 2010 09:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 20:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท