To The Student " A Fable" นิทานเมืองคณิตศาสตร์


นิทานคณิตศาสตร์

 

        ครั้งหนึ่งได้อ่านหนังสือชื่อ Nature of Mathematics  by Karl J. Smith มีนิทานน่าสนใจอยู่เรื่องหนึ่งในส่วนของบทนำ เป็นนิทานที่พูดถึงเด็กสองคน กับเมืองคณิตศาสตร์ เรื่องเล่าว่า

        กาลครั้งหนึ่ง มีเด็กผู้หญิงสองคน ชื่อ เชลลี และอีกคนหนึ่งชื่อ ซินดี้  ทั้งสองมีความมุ่งมั่นที่จะเข้ามายังเมืองที่เรียกว่า เมืองคณิตศาสตร์ ที่ซึ่งเป็นเมื่องที่แต่ละคนพูดเตือนเธอทั้งคู่กันว่าเป็นเมืองที่สับสนนะ ใครก็ตามที่เข้ามายังเมืองนี้ต้องมีความกระตือรือร้น แต่ก็มีหลายคนกังวล เครียด ยอมแพ้ แล้วก็ออกจากเมืองนี้ไป

        เชลลี มีความมุ่งมั่นอย่างมากที่จะต้องประสบความสำเร็จ เธอจะต้องเรียนรู้เส้นทางในเมืองนี้ให้ได้ ตัวอย่างเช่นเพื่อที่จะเดินทางจากหอพักของเธอไปยังห้องเรียน เธอตั้งใจที่จะจดจำข้อมูลที่สำคัญ เช่น ต้องเดินไปทางทิศใต้ 325 ก้าว จากนั้นเดินไปทางทิศตะวันตกอีก 253 ก้าว แล้วเดินไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ 129 ก้าวและสุดท้ายเดินขึ้นไปทางเหนือ 86 ก้าว ซึ่งมันไม่ใช่เรื่องง่ายเลยที่จะจดจำได้ทั้งหมด แต่โชคดีเธอมีครูที่ดีแนะนำเธอว่าให้เธอลองทดลองทำซ้ำๆกัน 50 ครั้งจะช่วยให้เธอจดจำทางได้สำเร็จ และเพราะว่าเธอต้องคอยท่องจำนวนก้าวที่ต้องเดินทำให้เธอไม่ใส่ใจกับความสวยงามที่อยู่ข้างทาง ไม่ได้เห็นตึกที่มีสีสันงดงามแตกต่างกัน ต้นไม้ พุ่มไม้ หรือดอกไม้ข้างทาง เธอเดินเหมือนคนถูกปิดตา หลังจากเธอทดลองเดินซ้ำๆกัน 50ครั้งตามคำแนะนำของครู เธอประสบความสำเร็จในการเดินทางไปยังห้องเรียน และยังเดินไปยังร้านอาหาร แต่เธอไม่สามารถที่เรียนรู้การเดินทางไปยังสถานีรถ หรือ ภัตตาคารหรูๆได้ มันมีเส้นทางมากมายเกินกว่าที่เธอจะจดจำได้ เธอได้ยอมแพ้และออกจากเมืองนี้ไป เมืองคณิตศาสตร์มันสลับซับซ้อนเกินไปสำหรับเธอ

         ซินดี้ กลับตรงกันข้ามกันเลย เธอดูเป็นธรรมชาติ มีความกังวลน้อยกว่า เธอไม่ได้สนใจคำแนะนำของครูมากนัก เธอไม่ได้สนใจจำนวนก้าวที่จะต้องเดินไปยังที่ต่างๆ เธอมีความสนใจ อยากรู้อยากเห็น เธอสนใจตึกสูงที่ดูแตกต่างกัน ต้นไม้ พุ่มไม้ ดอกไม้ริมทาง หรือสิ่งอื่นๆที่ไม่ได้เกี่ยวข้องในการจำเส้นทาง(จำนวนก้าว) บางครั้งเธอได้เดินไปถึงสุดทางตัน เพื่อจะได้รู้ว่ามันจะพาเธอไปที่ใด ซินดี้ประสบความสำเร็จในการเดินทางไปที่ต่างๆในเมืองคณิตศาสตร์ เธอค้นพบว่ามันช่างง่ายและสนุกสนาน นอกจากนี้ เธอยังได้สร้างตึกขึ้นอีกมากมายในที่ที่ว่างของเมืองคณิตศาสตร์

         เป็นไงบ้างครับกับนิทานเรื่องนี้ ผมมักนำอาเรื่องนี้มาให้นักเรียนได้อ่านก่อนมีการเรียนการสอน(ต้นฉบับภาษาอังกฤษ)เพื่อเป็นการบูรณาการกับภาษาอังกฤษ และไม่ตกใจเมื่อเจอภาษาต่างประเทศ แล้วมาสรุปร่วมพูดคุยกัน และให้นักเรียนไปเขียนเรียงความว่าเมื่อฟังนิทานเรื่องนี้จบแล้ว นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า.......

          ใครสนใจร่วมแลกเปลี่ยน นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า..........จะยินดีมากครับ

หมายเลขบันทึก: 370476เขียนเมื่อ 29 มิถุนายน 2010 16:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 02:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ในบางคณิตศาสตร์ต้องใช้ความเข้าใจ มากกว่าการจำ เพราะบางทีเราอาจลืมได้

เชลลีจำยังไงจัง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท