เสน่ห์
นาย พิชญานิน เสน่ห์ สรรเสริญ

สาระดีกับเรื่องสมุนไพรกับความดันโลหิต


5 วิธีลดความดันสูงด้วยการรักษาทางเลือก

ปริมาณเกลือที่รับประทาน มีส่วนเกี่ยวข้องกับภาวะความดันโลหิตสูง ผู้ที่รับประทานเกลือมาก จะพบว่ามีความดันสูงมากกว่าผู้ที่รับประทานเกลือน้อยกว่า ดังนั้น วิธีการป้องกันที่ดีที่สุดจะต้องลดเกลือ เพิ่มผักผลไม้ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอตรวจเช็คความดันโลหิตทุก 6 เดือน และหากพบความดันโลหิตสูงผิดปกติควรรีบดูแลรักษาปละปรับพฤติกรรมตามหลักปัญจกิจ หรือร่วมกับ 5 แนวทางการรักษาทางเลือกที่เรานำมาฝากกันค่ะ
1. คันธบำบัด มีคำแนะนำมากมายจากอโรมาเทอราปิสต์ ให้ใช้น้ำมันหอมระเหยบางชนิดช่วยบำบัดอาการ และทำให้ผ่อนคลาย เช่น น้ำมันหอมระเหย กลิ่นคาโมไมล์ลาเวนเดอร์
2. การบำบัดด้วยอาหาร ด้วยการลดปริมาณเกลือโซเดียม และหันมาเพิ่มอาหารที่มีธาตุโพแทสเซียม และแมกนีเซียม ซึ่งมีมากในผักและผลไม้สด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กล้วย มันฝรั่ง และผักใบเขียวต่างๆ เช่น เซเลอรี่(ขึ้นฉ่ายฝรั่ง) ซึ่งถือเป็นผักที่ดีในการลดความดันโลหิต
3. การบำบัดด้วยสมุนไพร การดื่มน้ำสมุนไพรจากขึ้นฉ่าย กระเจี๊ยบแดง และบัวบก เป็นต้น
4. การผ่อนคลายและทำสมาธิ เทคนิคการทำสมาธินั้นมีประโยชน์ช่วยรักษาระดับความดันโลหิต จากการศึกษามีคำแนะนำว่า การทำสมาธิ 20 นาที วันละ 2 ครั้งจะช่วยลดความดันโลหิตได้
5. โสตบำบัด คำแนะนำจากนักวิจัยเพื่อช่วยลดความดันโลหิต คือให้ฟังเพลงที่ช่วยผ่อนคลาย แล้วหายใจเข้าออกลึกๆ แล้วปล่อยให้ตัวเองซึมซับเอาพลังงานเสียงเข้าไว้

ความดันโลหิตสูงนั้นป้องกันได้ถ้าเริ่มต้นปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตของตัวคุณสู่วิถีชีวิตที่มีความสุขทั้งกายและใจตั้งแต่วันนี้

ที่มา : เกร็ดสุขภาพ(วัยสูงอายุ) นิตยสาร ชีวจิต ฉบับที่ 191 ปีที่ 8 กันยายน 2549

รวบรวมข้อมูลโดย: งานพัฒนาและจัดการสารสนเทศ ฝ่ายเทคโนโลยีสารสนเทศห้องสมุด

5 สมุนไพรพื้นบ้านช่วยลดความดัน

ถ้าคุณหรือคนใกล้ตัวกำลังเป็นผู้หนึ่งที่ต้องเผชิญภาวะความดันโลหิตสูงอยู่ คุณรู้ไหมว่า สมุนไพรพื้นบ้านของไทยก็มีสรรพคุณลดความดันโลหิตสูงได้ดีไม่แพ้ยาของต่างชาติเช่นกัน เกร็ดสุขภาพฉบับนี้นำ 5 สมุนไพรไทยที่มีคุณสมบัติดังกล่าวมาแนะนำให้ทราบกันค่ะ

กระเทียม ซอยกระเทียมสดประมาณครึ่งช้อนชา กินพร้อมอาหารวันละ 2-3 ครั้งหรือจะใช้วิธีเคี้ยวกระเทียมสดๆ ก็ได้ อย่ากินตอนท้องว่าง ฤทธิ์ร้อนของกระเทียมจะทำให้แสบกระเพาะได้
ขึ้นฉ่าย เลือกต้นสดมาตำ คั้นเอาแต่น้ำดื่ม หรือใช้ต้นสด 1-2 กำมือตำให้ละเอียดต้มกับน้ำ แล้วกรองเอากากออก ใช้รับประทานครั้งละ 1-2 ช้อนโต๊ะก่อนอาหาร หรือกินเป็นผักสดผสมในอาหารก็ได้
กาฝากมะม่วง กาฝากเป็นไม้พุ่มปรสิตขึ้นบนกิ่งไม้ใหญ่ๆ ในตำราไทยใช้กาฝากของต้นมะม่วง นำมาตากแห้งต้มน้ำดื่มต่างน้ำชาหรือตากแห้งคั่วแล้วชงดื่ม ในบางท้องถิ่นแนะให้ใช้กาฝากสดนำใบและกิ่ง 1 กำมือต้มกับน้ำดื่ม
กระเจี๊ยบแดง ใช้กลีบเลี้ยงแห้ง ต้มน้ำหรือชงน้ำร้อนกินเป็นชากระเจี๊ยบ ช่วยลดความดันโลหิต ลดคอเลสเตอรอลได้ แก้นิ่ว และลดไข้
บัวบก ในตำรายาไทยทั่วไปใช้เป็นยาบำรุงหัวใจ แก้อ่อนเพลีย ขับปัสสาวะ แก้ร้อนใน แต่มีตำรายาพื้นบ้านที่นำมาใช้ลดความดันโลหิตสูง โดยใช้ต้นสด 1 – 2 กำมือ ต้มกับน้ำดื่มได้
ยังมีสมุนไพรอื่นๆ ที่เราใช้ปรุงอาหารเป็นประจำและมีสรรพคุณช่วยลดความดันได้ เช่น ขิง ขี้เหล็ก ผักชี ผักชีฝรั่ง มะขาม แมงลัก เป็นต้น

คำสำคัญ (Tags): #ความดันโลหิต
หมายเลขบันทึก: 370164เขียนเมื่อ 28 มิถุนายน 2010 16:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 17:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท