พระบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐


พระราชบัญญัติ

ว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร

พ.ศ ๒๕๕๐

 

ใหไว ณ วันที่ ๑๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๐

 

         มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้ เรียกว่า “พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร พ.ศ. ๒๕๕๐”
        มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแตวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
       มาตรา ๓
          “ระบบคอมพิวเตอร” หมายความว่า อุปกรณคอมพิวเตอรที่เชื่อมการทํางานเข้าด้วยกัน โดยมีการกําหนด ชุดคําสั่งหรือสิ่งอื่น  หรือชุดอุปกรณทําหน้าที่ประมวลผลข้อมูลโดยอัตโนมัติ
          “ข้อมูลคอมพิวเตอร”  หมายความว่า ข้อมูล ข้อความ ชุดคําสั่ง และให้หมายความรวมถึงข้อมูลอิเล็กทรอนิกสตามกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ด้วย
          “ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร”  หมายความว่า ข้อมูลเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารของระบบคอมพิวเตอร ซึ่งแสดงถึงแหล่งกําเนิด  ต้นทาง ปลายทาง เวลา วันที่ ระยะเวลา ที่เกี่ยวข้องกับการติดต่อสื่อสารของระบบคอมพิวเตอร์นั้น
          ชนิดของบริการ หรืออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการติดต่อสื่อสารของระบบคอมพิวเตอร์นั้น
         “ผู้ให้บริการ” หมายความว่า
          (๑) ผู้ให้บริการแก่บุคคลอื่นในการเข้าสู่อินเทอร์เน็ตหรือใหสามารถติดต่อถึงกันโดยประการอื่น โดยผานทางระบบคอมพิวเตอร
          (๒) ผู้ให้บริการเก็บรักษาข้อมูลคอมพิวเตอรเพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น
                  “ผู้ใช้บริการ” หมายความว่า ผู้ใช้บริการของผู้ให้บริการไม่ว่าต้องเสียค่าใชบริการหรือไมก็ตาม
                  “พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งใหปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
                 “รัฐมนตรี” หมายความว่า รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
          มาตรา ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ และให้มีอํานาจออกกฎกระทรวงเมื่อไดประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้
 

หมวด ๑

ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

 
             มาตรา ๕ ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบ ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะและมาตรการนั้นมิไดมีไวสําหรับตนต้องระวางโทษจําคุกไมเกินหกเดือน หรือปรับไมเกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
             มาตรา ๖ ผู้ใดล่วงรูมาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอรที่ผู้อื่นจัดทําขึ้นเป็นการเฉพาะไปเปิดเผยโดยมิชอบ  เกิดความเสียหายแกผู้อื่นต้องระวางโทษจําคุกได้หรือปรับไมเกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
            มาตรา ๗  ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอรที่มีมาตรการป้องกัน ปรับไมเกินหนึ่งปี ต้องระวางโทษจำคุกไมเกินสองปหรือปรับไมเกินสี่หมื่นบาทหรือทั้งจําทั้งปรับ
            มาตรา ๘  ผู้ใดกระทําโดยมิชอบด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกสเพื่อดักรับไวซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอรของผู้อื่นที่อยูระหว่างการส่งในระบบคอมพิวเตอร และข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นมิไดมีไว้เพราะโยชน์ไดต้องระวางโทษจำคุกไมเกินสามป หรือปรับไมเกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
           มาตรา ๙  ผู้ใดทําใหเสียหาย ทําลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง ของผู้อื่นโดยมิชอบ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าป หรือปรับไมเกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
          มาตรา ๑๐ การทํางานของระบบคอมพิวเตอรของผู้อื่นถูกระงับ ชะลอ ขัดขวาง หรือรบกวนจนไมสามารถทํางานตามปกติได  ต้องระวางโทษจําคุกไมเกินห้าป หรือปรับไมเกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
         มาตรา ๑๑  ผู้ใดส่งข้อมูลคอมพิวเตอรหรือจดหมายอิเล็กทรอนิกสแกบุคคลอื่นโดยปกปิดหรือปลอมแปลงแหล่งที่มา  อันเป็นการรบกวนการใชระบบคอมพิวเตอรของบุคคลอื่นโดยปกติสุข ต้องระวางโทษปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท
         มาตรา ๑๒ ถ้าการกระทําความผิดตามมาตรา ๙ หรือมาตรา ๑๐
         (๑) ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชน  ต้องระวางโทษจำคุกไมเกินสิบป และปรับไมเกินสองแสนบาท
         (๒) การเกิดความเสียหายต่อข้อมูลคอมพิวเตอร หรือระบบคอมพิวเตอรที่เกี่ยวกับการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ ต้องระวางโทษจําคุกตั้งแตสามปีถึงสิบห้าป และปรับตั้งแต่หกหมื่นบาทถึงสามแสนบาท
         มาตรา ๑๓ ผู้ใดเผยแพรชุดคําสั่งที่จัดทําขึ้นเพื่อนําไปใช้เป็นเครื่องมือในการกระทําความผิดตามมาตรา ๕ มาตรา ๖ มาตรา ๗ มาตรา ๘ มาตรา ๙ มาตรา ๑๐
        มาตรา ๑๔ ผู้ใดกระทําความผิดที่ระบุไวดังต่อไปนี้ต้องระวางโทษจําคุกไมเกินห้าป หรือปรับไมเกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
       (๑) นําเข้าสู่ระบบอมพิวเตอรซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอรปลอม หรือข้อมูลอันเปนเท็จ
       (๒) นำเขาสู่ระบบคอมพิวเตอรซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอรอันเป็นเท็จ โดยจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศ
       (๓) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอรซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอรใดๆ  อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร
       (๔) นำเข้าสูระบบคอมพิวเตอร ที่มีลักษณะอันลามกและข้อมูลคอมพิวเตอร
       (๕) เผยแพรหรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอรโดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอรตาม (๑) (๒) (๓) หรือ (๔)
        มาตรา ๑๕ ผู้ใหบริการผู้ใดจงใจสนับสนุนใหมีการกระทําความผิดตามมาตรา ๑๔ ต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผูกระทําความผิดตามมาตรา ๑๔
        มาตรา ๑๖ ผู้ใดนำเข้าสูระบบคอมพิวเตอร์ ที่ปรากฏเป็นภาพของผู้อื่น และภาพนั้นเปนภาพที่เกิดจากการสร้างขึ้น ตัดต่อ เติมหรือดัดแปลงด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส ต้องระวางโทษจําคุกไมเกินสามป หรือปรับไมเกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
        มาตรา ๑๗
         (๑) ผู้กระทำความผิดนั้นเป็นคนไทย และรัฐบาลแห่งประเทศที่ความผิดได เกิดขึ้นหรือผู้เสียหายไดร้องขอให้ลงโทษ
         (๒) ผู้กระทำความผิดนั้นเป็นคนต่างด้าว และรัฐบาลไทยหรือคนไทยเป็นผู้เสียหายและผู้เสียหายไดร้องขอให้ลงโทษจะต้องรับโทษภายในราชอาณาจักร
 

หมวด ๒

พนักงานเจ้าหน้าที่

 
              มาตรา ๑๘ ภายใต้บังคับมาตรา ๑๙ เพื่อประโยชนในการสืบสวนและสอบสวนให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอํานาจอย่างหนึ่งอย่างใด เฉพาะที่จําเป็นเพื่อประโยชนในการใช้เป็นหลักฐานเกี่ยวกับการกระทำความผิดและหาตัวผูกระทําความผิดังต่อไปนี้
               (๑) มีหนังสือสอบถามหรือเรียกบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการกระทําความผิดตามพระราชบัญญัติที่อยูในรูปแบบที่สามารถเข้าใจได
               (๒) เรียกข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอรจากผู้ให้บริการเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารผ่านระบบคอมพิวเตอรหรือจากบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้อง
               (๓) สั่งให้ผู้ให้บริการส่งมอบข้อมูลเกี่ยวกับผู้ใช้บริการให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่
               (๔) ทําสำเนาข้อมูลคอมพิวเตอร จากระบบคอมพิวเตอรที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทําความผิดตามพระราชบัญญัตินี้
              (๕) สั่งให้บุคคลควบคุมข้อมูลคอมพิวเตอร หรืออุปกรณ์ดังกล่าวให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่
             (๖) ตรวจสอบหรือเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร อันเป็นหลักฐานหรืออาจใช้เป็นหลักฐานเกี่ยวกับการกระทําความผิด
             (๗) ถอดรหัสลับของข้อมูลคอมพิวเตอร์ของบุคคลใด หรือให้ความร่วมมือกับพนักงานเจ้าหน้าที่ในการถอดรหัสลับดังกล่าว
            (๘) ยึดหรืออายัดระบบคอมพิวเตอรเท่าที่จําเป็นเฉพาะเพื่อประโยชนในการทราบรายละเอียดแห่งความผิดและผูกระทําความผิดตามพระราชบัญญัตินี้
             มาตรา ๑๙ การใช้อํานาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา ๑๘ (๔) (๕) (๖) (๗) และ (๘) ใหพนักงานเจ้าหน้าที่ยื่นคําร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจเพื่อมีคำสั่งอนุญาตใหพนักงานเจ้าหน้าที่ดําเนินการตามคําร้อง อันเป็นค้วามผิดตามพระราชบัญญัตินี้
            มาตรา ๒๐ การแพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอรที่อาจกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรตามที่กําหนดไว พนักงานเจ้าหน้าที่มีเขตอำนาจขอใหมีคำสั่งระงับการทำใหแพรหลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอรนั้นได
             มาตรา ๒๑ พนักงานเจ้าหน้าที่พบว่าข้อมูลคอมพิวเตอร ใดมีชุดคำสั่งไม่พึงประสงค์รวมอยู่ด้วย พนักงานเจ้าหน้าที่อาจยื่นคําร้องต่อศาลที่ มีเขตอํานาจเพื่อขอให้มีคําสั่งห้ามจําหน่ายหรือเผยแพร หรือสั่งให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นระงับการใช้ได้
            มาตรา ๒๒ ห้ามมิให้พนักงานเจ้าหน้าที่เปิดเผยหรือส่งมอบข้อมูลคอมพิวเตอร ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร หรือข้อมูลของผู้ใช้บริการที่ไดมาตามมาตรา ๑๘ ให้แก่บุคคลใด
           มาตรา ๒๓ พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้ใดกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นล่วงรู ข้อมูลคอมพิวเตอรข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งป หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
          มาตรา ๒๔  ผู้ใดล่วงรู้ข้อมูลคอมพิวเตอร ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร และเปิดเผยข้อมูลนั้นต่อผู้หนึ่งผู้ใด ต้องระวางโทษจําคุกไมเกินสองป หรือปรับไมเกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
          มาตรา ๒๕ ข้อมูล ข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่พนักงานเจ้าหน้าที่ไดมาตามพระราชบัญญัตินี้ อันว่าด้วยการสืบพยานได แต่ต้องเป็นชนิดที่มิไดเกิดขึ้นจากการจูงใจมีคํามั่นสัญญา ขูเข็ญ หลอกลวง หรือโดยมิชอบประการอื่น
         มาตรา ๒๖ ผู้ให้บริการต้องเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอรไว้ไม่น้อยกว่าเก้าสิบวันนับแตวันที่ข้อมูลนั้นเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร
        มาตรา ๒๗  ผู้ใดไม่ปฏิบัติ ตามคำสั่งของศาลหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ที่สั่งตามมาตรา ๑๘ หรือมาตรา ๒๐ หรือไมปฏิบัติตามคําสั่งของศาลตามมาตรา ๒๑ ต้องระวางโทษปรับไมเกินสองแสนบาท
        มาตรา ๒๘ การแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ ให้รัฐมนตรีแต่งตั้งจากผู้มีความรูและความชํานาญเกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอรและมีคุณสมบัติตามที่รัฐมนตรีกําหนด
          มาตรา ๒๙ ในการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้ใหพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นพนักงานฝ่ายปกครองมีอำนาจรับคําร้องทุกขหรือรับคํากล่าวโทษ และมีอํานาจในการสืบสวนสอบสวนเฉพาะความผิดตามพระราชบัญญัตินี้
          มาตรา ๓๐ ในการปฏิบัติหน้าที่พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจำตัวต่อบุคคลซึ่งเกี่ยวข้องบัตรประจําตัวของพนักงานเจ้าหน้าที่ให้เป็นไปตามแบบที่รัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา
 
 ...................................................................................................
หมายเลขบันทึก: 369722เขียนเมื่อ 27 มิถุนายน 2010 00:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 พฤษภาคม 2012 13:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท