พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547


พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547

สรุปสาระสำคัญ

พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547

โดย

นายเกรียงศักดิ์   เขื่อนอุ่น นักศึกษา ป.โท  ศูนย์โรงเรียนบ้านท่าวังผา “ ประชารัฐวิทยาคาร “

.............................................

พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547  มีสาระสำคัญดังนี้

               1.  ระดับกระทรวง  มีคณะกรรมการบริหารบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา เรียกว่า “ คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา “ และเรียกโดยย่อว่า   “ ก.ค.ศ. “

มีรัฐมนตรีว่ากระทรวงศึกษาธิการเป็นประธานกรรมการ และมีสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา เรียกโดยย่อว่า “ สำนักงาน ก.ค.ศ. “ มีเลขาธิการ ก.ค.ศ. ซึ่งมีฐานะเป็นอธิบดีเป็นเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินงานในหน้าที่ของ ก.ค.ศ. ( มาตรา 7  มาตรา 20 )

  1. ระดับกรม  ในส่วนราชการอื่นนอกจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ก.ค.ศ.

จะตั้ง อ.ก.ค.ศ.  เพื่อทำหน้าที่บริหารงานบุคคลสำหรับข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในส่วนราชการนั้น ( มาตรา 25 )

              3.   ระดับเขตพื้นที่การศึกษา  มีคณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ประจำเขตพื้นที่การศึกษา เรียกโดยย่อว่า “  อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาเขต “โดยออกนามเขตพื้นที่การศึกษานั้น ๆ

มีประธานอนุกรรมการที่มาจากอนุกรรมการเลือกตั้งกันเอง ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเป็นอนุกรรมการและเลขานุการโดยตำแหน่ง และเป็นผู้บังคับบัญชาของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบในการปฏิบัติงานราชการที่เป็นอำนาจและหน้าที่ของ

อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา และตามที่อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษามอบหมาย ( มาตรา 21 มาตรา 24 )

            4.   ระดับสถานศึกษา  คณะกรรมการสถานศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยการศึกษาแห่งชาติ มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลสำหรับข้าราชการครุและบุคลากรทางการศึกษา ในสถานศึกษา โดยกำกับดูแลการบริหารงานบุคคลในสถานศึกษาให้สอดคล้องกับนโยบาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ หลักเกณฑ์และวิธีการตามที่ ก.ค.ศ. และ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา กำหนด มีผู้บริหารสถานศึกษาเป็นผู้บังคับบัญชาของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ในสถานศึกษา ( มาตรา 26 มาตรา 27 )

           5.  การกำหนดตำแหน่ง  มีการกำหนดตำแหน่ง วิทยฐานะ และการให้ได้รับเงินเดือน เงินวิทยฐานะ และเงินประจำตำแหน่ง ของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งซึ่งมีหน้าที่เป็นผู้สอนในสถานศึกษาที่สอนต่ำกว่าปริญญาตรี จะมีตำแหน่งครูผู้ช่วย กับตำแหน่งครู และตำแหน่งครูมีวิทยฐานะ 4 อันดับ คือ ครูชำนาญการ ครูชำนาญการพิเศษ ครูเชี่ยวชาญ และครูเชี่ยวชาญพิเศษ มีอัตราเงินเดือน

เงินวิทยฐานะ และเงินประจำตำแหน่งตามกฎหมายว่าด้วยเงินเดือน เงินวิทยฐษนะและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ( มาตรา 31 มาตรา 38 และมาตรา 39 )

 

       6.  การบรรจุและแต่งตั้ง มีการกระจายอำนาจในการบรรจุและแต่งตั้งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา  อาทิ

               6.1  เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  โดยอนุมัติ ก.ค.ศ.มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้ง

ตำแหน่งซึ่งมีวิทยฐานะเชี่ยวชาญพิเศษ และรัฐมนตรีนำเสนอนายกรัฐมนตรีเพื่อนำความกราบบังคมทูล เพื่อ

ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้ง และมีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้งตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่มีวิทยบานะต่ำกว่าเชี่ยวชาญพิเศษ และตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

 ซึ่งมิได้อยู่ในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษา โดยอนุมัติ ก.ค.ศ. หรือ อ.ก.ค.ศ. ที่ ก.ค.ศ.มอบหมาย ( มาตรา 53 ( 1 )

( 2 ) ( 5 )

             6.2  ผู้อำนวยสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา โดยอนุมัติ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้งตำแหน่ง รองผู้อำนวยการสถานศึกษา ผู้อำนวยการสถานศึกษา รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ศึกษานิเทศก์ ตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่นในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และตำแหน่งซึ่งมีวิทยฐานะ ชำนาญการ ชำนาญการพิเศษ เชี่ยวชาญพิเศษ ( มาตรา 53 ( 3 ) )

            6.3   ผู้อำนวยการสถานศึกษา  โดยอนุมัตื อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้ง ตำแหน่งครูผู้ช่วย และครู ( ที่ยังไม่ได้รับเลื่อนวิทยฐานะ ) และตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่น ในสถานศึกษา ( มาตรา 53 ( 4 )

       7.  การย้าย ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ผู้ใดจะย้ายไปดำรงตำแหน่งในหน่วยงานการศึกษา ภาในเขตพื้นที่การศึกษา หรือต่างเขตพื้นที่การศึกษา ต้องได้รับอนุมัติจาก อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษา ของผู้ประสงค์ย้ายและผู้รับย้าย ( มาตรา 59 วรรคหนึ่ง )

             7.1   การย้ายผู้บริหารของหน่วยงานการศึกษา ระหว่างเขตพื้นที่การศึกษา ให้มีการประสานงานระหว่าง อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา เมื่ออ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา ที่จะรับย้ายอนุมัติแล้ว ให้ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุแต่งตั้งตามนั้น ( มาตรา 59 วรรคสอง )

             7.2   การย้ายผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ให้เลขาคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป้นผู้สั่งย้าย โดยอนุมัติ ก.ค.ศ. และให้อยู่ปฏิบัติหน้าที่ได้ไม่เกินสี่ปี เว้นแต่มีเหตุผลและความจำเป็นเพื่อประโยชนืของทางราชการ ให้อยู่ต่อได้คราวละหนึ่งปี แต่ต้องไม่เกินหกปี ( มาตรา 60 )

      8.  การเลื่อนขั้นเงินเดือน  ให้ผู้บังคับบัญชาแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นพิจารณา โดยผู้บริหารสถานศึกษา พิจารณาเสนอความดีความชอบของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษา  ผู้อำนวยการสถานศึกษาในหน่วยงานการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา และข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

ในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เมื่อ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาให้ความเห็นชอบแล้ว ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุและแต่งตั้งเป็นผู้สั่งเลื่อนขั้นเงินเดือน (  มาตรา 73 )

      9.  การรักษาวินัย   ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ต้องประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้เรียน ชุมชน สังคม มีความสุภาพเรียบร้อย รักษาความสามัคคี ช่วยเหลือเกื้อกูลต่อผู้เรียนและระหว่างข้าราชการด้วยกันหรือผู้ร่วมปฏิบัติราชการ ต้อนรับ ให้ความสะดวก ให้ความเป็นธรรมต่อผู้เรียนและประชาชนผู้มาติดต่อราชการ ( มาตรา 88 )

     10.  การดำเนินการทางวินัย  ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา มีกรณีอันมีมูลที่ควรกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัย ให้ผู้บังคับบัญชาแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน ( ผิดไม่ร้ายแรงก็ต้องตั้ง ) ถ้าถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง ให้ผู้มีอำนาจสั่งบรรจุแต่งตั้งเป็นผู้แต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน และต้องมีกรณีอันมีมูลว่ากระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรงเท่านั้น ( มาตรา 98 )

    11. ข้าราชการครู ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครู พ.ศ. 2523  เป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาตามกฎหมายนี้ และรับเงินประจำตำแหน่ง ตลอดสิทธิอื่น ๆ ตามสิทธิอยู่ตามกฎหมาย

 ( มาตรา 130)

    12.  ข้าราชการพลเรือนสามัญ ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535  เป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาและมีตำแหน่งตามที่ ก.ค.ศ.กำหนด ( มาตรา 131 )

   

ประโยชน์ของ พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547   มีดังนี้

  1. ทำให้เราได้ทราบโครงสร้างในกระทรวง กรม กอง  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
  2. ทำให้เราได้รับตำแหน่งตามวิทยฐานะ เงินประจำตำแหน่ง
  3. ทำให้เราได้รู้เกี่ยวกฎระเบียบ วินัย
  4. ทำให้เราได้รับทราบบทบาทหน้าที่ในตำแหน่งต่าง ๆ ในระดับกรม กอง สำนักงานเขตพื้นที่
  5. ทำให้เราได้รับทราบเกี่ยวกับระเบียบการย้าย

             

 

หมายเลขบันทึก: 369552เขียนเมื่อ 26 มิถุนายน 2010 11:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 06:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

รบกวนถามอาจารย์เกรียงศักดิ์ค่ะ เรื่องวินัยครูค่ะ

หนูมีกรณีถามอาจารย์กรณีข้าราชการครูผิดวินัยค่ะ

นาย ก และนาง ข ได้มีกรณีฟ้องร้องกันเรื่องขมขื่นกระทำชำเรา โดยที่ นาง ข ได้ทำการฟ้องนาย ก ว่าได้ข่มขืนตน โดยที่ทั้งสอง

คนเป็นข้าราชการครู ทั้งสองคน เรื่องเกิดขึ้นเมื่อ สามปีก่อน แต่ปัจจุบันเรื่องได้ยุติ ได้ที่นาง ข ได้ยกฟ้อง และยอมความกัน และคดี

ก็สิ้นสุด (และทั้งนาย ข และนาง ก ต่างก็มีสามีและภรรยาอยู่แล้ว)

แต่ โทษทางวินัย นาย ก และ นาง ข ยังคงค้างอยู่

ในขณะที่เขตพื้นที่ของนาย ก ได้ดำเนินการตั้งคณะกรรมการสอบสวนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

และได้มีหนังสือแจ้งมายังเขตพื้นที่ ที่นาง ข สังกัดอยู่ เพื่อให้ดำเนินการสอบสวนเนื่องจากเป็นผู้ร่วมกระทำความผิด

โดยที่นาย ก ได้โดนสอบสวนและกล่าวว่า เหตุที่เกิดไม่ใชเพราะการข่มขืนแต่เพราะมีใจแก่กันมีการให้ของขวัญกันและมีการไป

ท่องเที่ยวด้วยกัน โดยที่มีบันทึกการเยื่ยมชม เป็นหลักฐาน และให้การว่ามีการร่วมประเวณีมากกว่าหนึ่งครั้ง

ทางเขตพื้นที่ของนาย ข จึงมีความเห็นว่าถ้าหากเป็นกรณีข่มขืน ทำไมนาง ข ถึงไม่แจ้งความฟ้องร้องแต่ครั้งแรก

ดิฉันจึงอยากทราบว่า โทดของทั้งคู่จะเป็นประมาณใดค่ะ

ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ เป็นวิทยาธาน แก่ผู้รู้น้อยที่ยังสอบบรรจุยังไม่ติดค่ะ

เป็นเรื่องที่น่าสนใจยิ่ง

หนูอยากทราบว่าระเบียบการโยกย้ายผู้บริหารสถานศึกษา เมื่อได้รับหนังคำสั่งย้ายแล้ว ให้ย้ายภายในระยะเวลากี่วันค่ะ และเมื่อเกินกำหนดระยะเวลาดังกล่าวแล้ว ยังไม่ได้ไปปฏิบัติงานในโรงเรียนแห่งใหม่ ผลจะเป็นอย่างไรค่ะ อยากทราบด่วนค่ะ ขอบคุณค่ะ

หนูอยากทราบว่าระเบียบการโยกย้ายผู้บริหารสถานศึกษา เมื่อได้รับหนังคำสั่งย้ายแล้ว ให้ย้ายภายในระยะเวลากี่วันค่ะ และเมื่อเกินกำหนดระยะเวลาดังกล่าวแล้ว ยังไม่ได้ไปปฏิบัติงานในโรงเรียนแห่งใหม่ ผลจะเป็นอย่างไรค่ะ อยากทราบด่วนค่ะ ขอบคุณค่ะ

เกณฑ์การย้ายข้าราชการครู สังกัด สพฐ.ที่จะเริ่มใช้มกราคม 2559นี้ใชัเกณฑ์ 4 ปี เริ่มใช้กับครูที่บรรจุตั้งแต่ปีไหน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท