ลิขสิทธิ์ กับจิตสำนึกไทย สิ่งที่ต้องแก้ไข ไม่ใช่แค่ในกระดาษ...


ตัวอย่างการเคารพกฎหมายลิขสิทธิ์ในหนังสือแบบเรียนไทย: เปรียบเทียบ ไทย อังกฤษ และอเมริกา

ผมเป็นคนถ่ายภาพไม่เป็น แต่เป็นคนชอบถ่ายภาพ
เวลาไปไหนมักจะมีกล้องติดมือไปด้วยเสมอ

รูปบางส่วนที่เห็นว่าจะเป็นประโยชน์ ก็มักนำอัพโหลดลงวิกิมีเดียคอมมอนส์
เว็บแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางด้านสื่อภาพและวีดีทัศน์ ที่มีภาพมากมายและหลายหลาย
สำหรับนำประกอบบทความในโครงการวิกิพีเดีย ที่เรารู้จักกันดี
(ผมว่าเว็บนี้ เป็นเว็บที่ยอมรับไฟล์ภาพต้นฉบับขนาดใหญ่ที่มีไม่กี่แห่งในโลก
และไฟล์เหล่านี้ ก็จะถูกเก็บบันทึกเป็นจดหมายเหตุแก่ชนรุ่นหลังได้ในอนาคต)

ภาพบางภาพ ก็มีคนมาเปิดดู ชอบใจ แล้วก็อปนำไปใส่ในเว็บของเขา รวมทั้งใส่หนังสือต่าง ๆ

ถามว่า แล้วไม่หวงลิขสิทธิ์เหรอที่นำภาพต้นฉบับไปให้เขาก็อปง่าย ๆ

ผมไม่หวงครับ

การเผยแพร่ความรู้ ซึ่งผมไม่ค่อยมี
ก็ทำด้วยอาศัยภาพถ่ายต่าง ๆ ซึ่งส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา, โรงเรียน
นำไปอัพโหลดไว้ให้ฝรั่งเขาดูกัน บางครั้งก็มีคนนำมาประกอบบทความวิกิพีเดียภาษาไทยด้วยเหมือนกัน


สิ่งที่ผมพบ ฝรั่งเขาจะใส่ใจกับเรื่องลิขสิทธิ์ในผลงานมาก
โดยเฉพาะภาพถ่ายในวิกิพีเดียคอมมอนส์ ซึ่งส่วนใหญ่ผู้อัพโหลดจะไม่หวงกันท่า
แต่จะปล่อยสัญญาอนุญาตเป็น cc http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/7/79/CC_some_rights_reserved.svg/90px-CC_some_rights_reserved.svg.png บ้าง อะไรบ้าง

คือส่วนใหญ่จะให้ไปใช้ได้ มีเงื่อนไขเล็กน้อย บ้างก็ห้ามเอาไปทำการค้า บางคนก็ไม่ห้าม

แต่โดยสรุปแล้ว ทุกภาพที่นำไปใช้นอกวิกิพีเดีย
ต้องอ้างว่า เอามาจากเว็บนี้นะ โดยเป็นผลงานภาพถ่ายของคนนี้ ๆ

ทั้งเพื่อไม่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ ให้เกียรติ และเคารพในผลงานที่ผู้ถ่ายภาพแต่ละคนอุตสาห์มีน้ำจิตน้ำใจมาลงไว้ให้เอาไปใช้ได้ฟรี ๆ แบบไม่มีปิดกั้น

นับกว่า ๑๐๐ เว็บไซต์ต่างประเทศ ที่นำผลงานผมไปใช้ แล้วอ้างกลับอย่างถูกต้อง

(ตัวอย่างที่ดีของเว็บในประเทศไทย ที่นำภาพถ่ายของผมไปใช้แล้วอ้างถึงวิกิพีเดียอย่างถูกต้องครับ เป็นเว็บของสถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ http://www.sri.cmu.ac.th/~transportation/province.php?id=6)

 

 

เมื่อวานก่อน ผมไปที่โรงเรียน เห็นหนังสือเรียน "ฟรี" ของรัฐบาล ที่นำมาแจกเด็ก ๆ ผมสนใจและดีใจที่เดี๋ยวนี้หนังสือเรียนของเราพัฒนาแล้ว มีภาพสีประกอบมากมาย น่าอ่าน น่าศึกษา ต่างจากสมัยก่อนที่... รู้ ๆ กันครับ

ผมหยิบมาเล่มเดียว คือวิชาสาระสังคมศึกษาของชั้น ป.๖ ปรากฎว่าผมไปเจอภาพนี้เข้าครับ

http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/c/c0/Laplae_49.JPG

(เป็นภาพน้ำท่วมหมู่บ้านในอำเภอลับแลครับ ผมมีภาพแบบนี้เป็นร้อยภาพเลย)

ภาพนี้ปรากฎอยู่ในหน้า ๒๑๖  อารามเมื่อแรกพบ ให้ดีใจนัก
ที่มีคนนำภาพของผมมาลงหนังสือเรียนให้เด็ก ๆ ได้ศึกษา

 

http://lh4.ggpht.com/_pTG3in6GYZE/TCETugyEDdI/AAAAAAAAHcI/6K9VqTCoXyw/s576/%C2%A1%C2%B4%C3%8B%C2%B4%C3%8B%C2%B4%C3%8B%C3%8B%C2%A1%C3%8B%C2%A1.jpg

 

ระหว่างที่ผมกำลังดีใจนั้น ผมคิดได้ว่า เออ ภาพนี้ผมลงไว้ที่วิกิมีเดียคอมมอนส์นี่หน่า

เขาคงอ้างถึงเจ้าของผลงานบ้าง...

แต่ปรากฎว่าไม่ครับ ไม่มีเลย ผมพลิกดูจากหน้าแรกถึงหน้าสุดท้าย ไม่มีการอ้างอิงถึงที่มาภาพ แถมมีการระบุสงวนลิขสิทธิ์ของสำนักพิมพ์กำกับไว้ด้วย

 

เอาแล้วไง ไทยแลนด์!

"ตกใจ" แทนละกัน...

 

 

http://lh6.ggpht.com/_pTG3in6GYZE/TCETukj6nGI/AAAAAAAAHcE/rGAW73w1P_A/DSC_0466.jpg

 

ความเหมือน

และความต่าง

 

กรณีนำภาพของผมในวิกิมีเดียคอมมอนส์ไปลงในหนังสือหรือสื่อต่าง ๆ หากเป็นในต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศที่ใส่ใจเรื่องกฎหมายลิขสิทธิ์ เช่น อเมริกา อังกฤษ ฯลฯ

เขาจะอ้างที่มาภาพทุกครั้ง แม้ว่าจะนำภาพมาใส่เยอะแค่ไหน ชื่อเจ้าของผลงานจะมากเพียงไร เขาจะใส่ไว้ทุกครั้งครับ และแทบทุกครั้งเขาจะเมล์มาขออนุญาตผมก่อนเสมอครับ แม้ผมจะระบุสถานะภาพนั้นให้เป็นสาธารณสมบัติ http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/6/62/PD-icon.svg/64px-PD-icon.svg.png แล้วก็ตามที

 

ตัวอย่างของอังกฤษครับ

ในหนังสือเล่มนี้มีภาพที่ผมถ่ายด้วยครับ (ถ้าอยากดูเล่มจริงคงต้องไปห้องสมุดแห่งมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์)

 

http://lh4.ggpht.com/_pTG3in6GYZE/TCEWBC3G_3I/AAAAAAAAHcY/3w37UmShYsE/s640/ddd.JPG

ในนี้มีชื่อผมด้วยในหน้ากิตติกรรมประกาศ (ไม่บอกหรอกว่าอยู่ตรงไหน อิอิ)

 

ลองดูของอเมริกาบ้างครับ

 

อันนี้เป็นหนังสือของมหาวิทยาลัยในมลรัฐอินเดียน่า ของพี่กันเขาครับ

http://lh3.ggpht.com/_pTG3in6GYZE/TCEdz30m6GI/AAAAAAAAHck/DuzEKXrSmrI/s800/sdfsdfdf.jpg

 

ก็อย่างว่านะแหละครับ การเคารพกฎหมายลิขสิทธิ์ของไทยเป็นเช่นไรก็รู้ ๆ กันอยู่ แต่ที่ผมอยากตั้งข้อสังเกตคือ หนังสือเหล่านี้ ซึ่งรวมถึงหนังสือเรียนสาระสังคมศึกษาของพี่ไทย ต่างเป็นหนังสือที่เป็นเอกสารทางการศึกษาประเภทหนึ่งเหมือนกัน

ที่สำคัญคือ เดี๋ยวนี้หนังสือเรียนของเด็ก ๆ จะมีภาพประกอบมากมาย และในภาพประกอบมากมายเหล่านั้น

ใครจะรู้ว่า ภาพนั้นจะมาจากเจ้าของภาพที่สงวนลิขสิทธิ์ หรือหวงสิทธิ์ภายใต้เงื่อนไขบางประการหรือไม่ การก็อปแปะเป็นหนังสือเรียนโดยไม่อ้างอิงที่มา เป็นประเด็นสำคัญที่ควรให้ความสนใจครับ

ด้วยการที่เป็นหนังสือสำหรับเด็ก การปลูกฝังจิตสำนึกการเคารพสิทธิ์ในทางทรัพย์สินทางปัญญาจึงเป็นสิ่งสำคัญมาก

เพราะเมื่อเด็กไทยได้รับการปลูกฝัง อย่างน้อยก็ด้วยวิธีการอ้างอิงที่มารูปภาพ ในหนังสือเรียน ซึ่งเด็กต้องผ่านตาทุกเมื่อเชื่อวัน

ถ้าเราให้ความสำคัญกับทุกผลงานสร้างสรรค์ แม้จะเป็นภาพเล็ก ๆ เด็กเขาจะ "ซึมซับ" การเคารพการนำ "ผลงานสร้างสรรค์" ของคนอื่นมาใช้โดยอัตโนมัติ และจะกลายเป็นการส่งเสริมการสร้างสรรค์ผลงานสร้างสรรค์ เพราะทุกสิ่งที่เด็กสร้างสรรค์ ล้วนได้รับความสำคัญเท่าเทียมกัน

ซึ่งนี่อาจส่งผลถึงการลบค่านิยม อะไรก็กู(เกิล) การก็อปแปะพินาศ การลอกงานมาส่งครู (และอาจรวมไปถึงการลอกวิทยานิพนธ์คนอื่นด้วยกระมังครับ)

สิ่งเหล่านี้ไม่ควรเกิดขึ้น แต่ก็กำลังเกิดขึ้น เช่นที่เห็นทุกวันนี้ (และในตัวอย่างนี้) และสิ่งเหล่านี้ล้วนกำลังกัดกินจินตนาการการสร้างสรรค์และค่านิยมการแสวงหาความรู้ที่ถูกต้องของเด็กไทย ซึ่งกำลังจะกลายเป็นอนาคตของชาติที่ไร้คุณภาพได้ในอนาคตครับ

 

 

อย่าให้มีวันนั้นเลย.. คิดแล้ว ผมกลัวจริง ๆ ครับ!

 

 

 

 


ที่มาภาพ:

ภาพ Laplae_49.JPG โดย ผู้ใช้:Tevaprapas ใน วิกิพีเดียคอมมอนส์

ภาพหนังสือ INVESTIGATING RELIGION จาก Cambridge  University

ภาพหนังสือ ITRI Grade2 Teacher Manual จาก Indiana  University

หนังสือ:

เสาวลักษณ์ อักษร,  สุทน ทิมอ่ำ และวิริยะ บุญยะนิวาสน์. (2553).  หนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐาน สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖.  กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์อักษรเจริญทัศน์. หน้า 216.

หมายเลขบันทึก: 368665เขียนเมื่อ 23 มิถุนายน 2010 14:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 20:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท