ณ ห้วงเวลาที่หลายคนเพรียกหา ปนน.


ปนน.

ณ  ห้วงเวลาหนึ่งที่หลายคนเพรียกหาความสุข

หลายคนจากที่นี่ไป ด้วยภารกิจแห่งชีวิตที่ต้องขวนขวายและเดินทางค้นหาชีวิตของตัวเอง

หลายคนยังต้องวนเวียนอยู่กับ ปนน. ในหลายๆโอกาส

 

คนที่จบแล้ว จากไป ใจก็คะนึงหา ระคนในดวงจิตคิดนึกถึงวันเวลาที่ได้ผ่านล่วงเลยไปอย่างไม่หยุดยั้ง  คิดถึงเพื่อนพ้องน้องพี่ เสียงเพลงและเสียงกลอง  และหลายคนก็คงคิดถึงและนึกตลกทุกๆครั้งที่ตนเองแต่งชุดซูลูซีลีครั้งแรกในชีวิต 

 

คนที่อยู่ก็มีสุขทุกข์คละเคล้ากันไปตามบทบาทและหน้าที่

 

หลายคนจากไป และเป็นบัณฑิตแห่ง ปนน. ที่เติบใหญ่ เติบโต แผ่กิ่งก้านสาขา อยู่ในต่างถิ่น

แต่ก็ยังคิดถึงถิ่นที่เก่า

 

2540-2541  การรวมตัวกันของนักศึกษาที่มีอุดมการณ์ที่จะเสียสละเพื่อผู้อื่นได้เริ่มขึ้นจากหลายๆคน หลายๆคณะ  ผมเองไม่ได้อยู่ในเหตุการณ์ เพราะขณะนั้นยังอ่อนเยาว์นักที่จะได้รู้จักกันในชื่อ “ศูนย์ประสานงานนักศึกษาเพื่อน้องผู้ด้อยโอกาสทางการศึกษา” --- ศนน.  และมีพัฒนาการมาเป็น ชมรมประสานงานนักศึกษาเพื่อน้องผู้ด้อยโอกาสทางการศึกษา(ปนน.) ในลำดับต่อมา

 

เวลาได้ผันผ่านไปจนถึงต้นปี 2546 ผมไปค่ายแรกกับ ปนน. ที่นาหนองทุ่มวิทยา จังหวัดชัยภูมิ  ยังความประทับใจและดีใจมาสู่ชีวิต  แม้ขณะนี้ก็ยังรู้สึกภูมิใจที่ตัดสินใจไปค่ายในครั้งนั้น

 

บนตึกแฝด.............ต้องเดินขึ้นไปชั้น 2 ผ่านหน้าพี่น้องอนุรักษ์ไปสู่ห้องน้อยๆ ถูกโอบล้อมไว้ในห้องแคบ  แต่ใจเราใหญ่ ฮึกเหิมเสมอๆ

 

เราเคยบ่นๆกันว่า  “ห้องชมรมแคบ”........... ประชุมก็ต้องนั่งบนรองเท้าหน้าประตูบ้าง ยืนบ้าง เพราะเนื้อที่ส่วนใหญ่ถูกแบ่งไปใช้เป็นที่สำหรับอุปกรณ์และเอกสารต่างๆนานา

 

ปี 2547-2548 พวกเราเปลี่ยนสีประตูหน้าชมรมให้เป็นสีแดง ......เรียกว่า ปนน. ยุคประตูแดง  อันมีนายสังคม  เทียบผา เป็นประธานชมรม และถัดมาด้วยภาสกร  เตือประโคน

 

ที่นี่ผมถูกเพื่อน พี่ น้องหลายๆคนเรียกว่า “BOSS”  อันเป็นชื่อใหม่ในวงการในโอกาสขึ้นรับตำแหน่งอันทรงเกียรติที่ The president of Saupy Club  

ผมปรึกษาหารือหลายท่านโดยเฉพาะพี่เล็ก บัญชา  ซึ่งในขณะนั้นดำรงตำแหน่งอุปนายกองค์การนักศึกษา ว่าจะขอย้ายที่ทำการชมรมจากเดิมมาอยู่บริเวณตรงข้ามสนามเทนนิส ที่อยู่เดิมของชมรม อสส. ที่รกร้างว่างเปล่า  และเสนอขอมหาวิทยาลัยย้ายที่ทำการสำเร็จ  เราก็ร่วมกันสร้างบ้านแปงเมือง  ในที่แห่งใหม่  ประตูก็ยังคงรูปแบบเดิมที่ “ประตูแดง”

 

ต้นดอกกระดังงา  เราซื้อมาลง 2 ต้น ต้นไทรโยงและดอกแก้วเราไปขุดมาปลูกไว้กับโคนต้นหมากที่มีอยู่เดิม  ชมรมเรากว้างขึ้น จิตใจเราก็กว้างขึ้นตามไปด้วย............แต่ก็ยังหวนระลึกถึงห้องเล็กๆห้องเดิมบนตึกแฝดมิเสื่อมคลาย

 

รถสองแถวคันใหญ่สีเขียวๆ คนขับชื่อน้าศักดิ์  ก็ยังทำหน้าที่ในการับส่งพวกเราไปฝึก วรยุทธ์ ตามที่ต่างๆอยู่เสมอๆมิเสื่อมคลาย

 

อาจารย์ที่ปรึกษาก็มีสับเปลี่ยนหมุนเวียนกันไปเรื่อยตามโอกาส  ยกเว้น อ.สมจิต แดนสีแก้ว ที่ยังเหนียวแน่นเป็นที่ปรึกษาเสมอมา...อ.สมจิต แดนสีแก้ว  àผศ.สมจิต  แดนสีแก้ว à รศ.สมจิต  แดนสีแก้ว à รศ.ดร.สมจิต  แดนสีแก้ว  และปัจจุบันเป็นรองคณบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษา  คณะพยาบาลศาสตร์

 

วันนี้ ปนน.  เติบโต  เข้มแข็ง  และสง่างาม ครับ

หมายเลขบันทึก: 368477เขียนเมื่อ 22 มิถุนายน 2010 15:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 พฤษภาคม 2012 12:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

เข้าใจค่ะว่า...คนทุกคนมีอดีต อ่านแล้วทำให้คิดถึงความหลังสมัยที่เราออกค่ายพัฒนาชนบทเหมือนกัน แม้เราจะไม่ได้สัมผัสเหมือนท่านศิษย์เก่า ปนน. แต่เราก็ได้มิตรภาพที่ดีตามมา ... ดีค่ะอดีตบางครั้งก็ทำให้เรายิ้มได้เมื่อนึกถึง

ขอบคุณครับ พวกเราเล่าได้แต่อดีต อนาคตเราเล่าไม่ได้...เพราะยังมาไม่ถึง มีเพียงความคาดหวังว่าเราอยากเห็นอะไรในอนาคต โดยอิงจากอดีตและปัจจุบัน

ขอบคุณอดีตและเพื่อนร่วมทางที่ทำให้เรายิ้มได้

ขอบคุณครับ

ด้วยความผูกพัน ด้วยความจริงจังใจที่มี ด้วยความมุ่งมั่นที่เจอ

ด้วยความรักที่ผูกพัน ผ่านคืนและวันที่สดใส ปนน. พี่บอสคือตัวแทนตลอดไป

และพี่บอสคนนี้ จะอยู่กะ ปนน.ตลอดกาล อิอิ ครับอ้ายบอสสสสสสสสสสสสส.........

ภาพรอยยิ้ม..^_^ เสียงหัวเราะ... คลอเคล้ากับคราบน้ำตา...แห่งมิตรภาพและความทรงจำ

ยังคิดถึงเสมอนะ ปนน.

ว้าว ... คิดถึงๆๆๆๆ

รอยยิ้ม เสียงหัวเราะ และน้ำตา

และที่สุดของความภาคภูมิใจ

ที่เราได้ทำในสิ่งที่บางคน ไม่ได้ทำ

คิดถึง ปนน.คะ

จิ๊บ

ในหลายๆวาระ เราๆๆๆๆๆ หมายถึงในวงสนทนาของคนเคยอยู่ ปนน. อย่างผม และคนรอบๆข้าง

สถานอันชวนพิศมัย ของใครหลายคน

เวลาและประสบการณ์ที่ผ่านมา ทำให้เราได้เรียนรู้ แลกเปลี่ยน ผ่านการเสวนา

ผมว่า ในการทำงานให้ประสบผลสำเร็จ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเนอาสาสมัครนั้นประกอบขึ้นด้วยหลายๆส่วน จึงจะประสบความสำเร็จ โดยเฉพาะการเป็นอาสาสมัครแบบนักศึกษา ผมคิดเล่นๆในวันว่างๆว่า ต้องประกอบด้วย

1. ใจ ใจอันมีจิตสาธารณะ จิตอันเป็นผู้เสียสละ อยากให้ผู้อื่น (แต่ต้องไม่เดือดร้อนตนเองและเดือดร้อนผู้อื่น) ซึ่งในหลายๆโอกาสชาว ปนน. เอง ก็หวังจะไปช่วยเหลือคนอื่น แต่กลับกลายเป็นการสร้างความลำบากใจของตนเองและคนรอบข้างในบางเวลา แต่ก็ไม่มาก

2.กาย อันเป็นร่างกายที่สมบูรณ์ แข็งแรง ที่จะไปช่วยเหลือผู้อื่นได้

3. การสร้างการมีส่วนร่วม ในหลสายๆวาระพวกเราต่างแสวงหาประชาธิปไตยในที่ประชุม เอาเสียงข้างมากว่ากันว่า หากความเห็นใดที่คนในที่ประชุมชอบมากกว่า ก็จะทำตามความเห็นนั้น ซึ่งบางครั้งก็ขัดกับอุดมการณ์ขององ์กร แต่หากผู้นำองค์กร หรือทีมบริหาร เป็นผู้ตัดสินใจเอง ก็กลับถูกมองว่าเป็นพวกเผด็จการ มีอำนาจ จึงต้องหาความพอดีให้เกิดความสมดุลย์

4. อุดมการณ์ร่วม หลายๆองค์กร ให้ความสำคัญกับอุดมการณ์ร่วม ปนน. เองก็มีอุดมการณ์ร่วมเช่นกัน แม้จะเปลี่ยนไปตามยุคสมัยบ้าง แต่หลายคนมาอยู่ ปนน. โดยขาดอุดมการณ์ว่าแท้จริงแล้ว ปนน. มีอุดมการณ์อย่างไร ผมว่ามันน่าสนใจอยู่ไม่น้อย เพราะ การมีจุดประสงค์ที่ดี มีแม่พิมพ์ที่งดงาม เมื่อใส่วัตถุดิบเข้าไป ผลผลิต ย่อมออกมาตามแม่พิมพ์ ตามประสงค์

5. การให้ความสำคัญกับผู้มีประสบการณ์ ผมใคร่ขอแนะนำทุกๆท่านได้ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ ไม่ต่างจากข้อที่ผ่านๆมา เพราะในชีวิตนี้ ผมให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มากๆ เพราะผมเองก็ยังเป็นเด็กนักเมื่อเทียบกับคนรุ่นพ่อ แม่ หรือปู่ ย่า ตา ทวด ผมจึงให้ความสำคัญว่า คนมีประสบการณ์บวกกับความรู้ที่เขามี ย่อมมีทางให้เราก้าวเดินตามไปได้ไม่ยาก เอาเป็นแบบอย่างมิใช่เลียนแบบ เอาเป็นข้อคิด มิใช่ทำตามอย่างเดียว คำพูดหรือสิ่งที่ได้จากผู้มีประสบการณ์ จึงเป็นส่วนสำคัญยิ่ง มีสุภาษิตจีนบทหนึ่งสอนว่า "หากจำถามหาบ่อน้ำ จงถามคนที่เดินผ่านมาก่อน"

ผมอยากให้ ปนน. เป็นสังคมแห่งหารแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ก็เท่านั้นเอง

อยากให้เกิดการถ่ายทอด อย่างถูกวิธี และนำเอาประสบการณ์มาเป็นแนวคิด

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท