โครงร่างวืจัย


โครงร่างวืจัย

โครงร่างงานวิจัย

 

 

๑.   ชื่อโครงการ     -    สภาพการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาในอำเภอกัลยาณิวัฒนา  สังกัดสำนักงาน

                                       เขตพื้นที่ การศึกษา เชียงใหม่ เขต ๖

                     -     ACADEMIC   ADMINISTRATION  OF SCHOOLS  IN GALYANIVADHANA

                                DISTRICT   UNDER  THE  OFFICE   CHIANGMAI   EDUCATIONAL

                                SERVICE   AREA  6

 

๒.   ชื่อผู้วิจัย            นายวิเชียร     นามแก้ว              นักศึกษาภาควิชาบริหารการศึกษา  คณะศึกษาศาสตร์ 

                                    มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี   รหัสนักศึกษา   ๕๒๕๓๑๒๙๐๙

 

 

๓.   ที่มาและความสำคัญของปัญหา

                งานวิชาการเป็นภารกิจหลักของสถานศึกษาที่พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ  พ.ศ.๒๕๔๒  และแก้ไขเพิ่มเติม ( ฉบับที่ ๒ ) พ.ศ.๒๕๔๕  มุ่งให้กระจายอำนาจในการบริหารจัดการไปให้สถานศึกษาให้มากที่สุด ด้วยเจตนารมณ์ที่จะให้สถานศึกษาดำเนินการได้โดยอิสระคล่องตัวรวดเร็ว สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน  สถานศึกษา  ชุมชน  ท้องถิ่น และการมีส่วนร่วมจากผู้ที่มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายซึ่งจะเป็นปัจจัยสำคัญทำให้สถานศึกษามีความเข้มแข็งในการบริหารจัดการ  สามารถพัฒนาหลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้ตลอดจนการวัดประเมินผลรวมทั้งวัดปัจจัยเกื้อหนุน การพัฒนาคุณภาพนักเรียน ชุมชน ท้องถิ่นได้อย่างมีคุณภาพ    การพัฒนาประสิทธิภาพในการบริหารงานวิชาการจะต้องดำเนินการวางแผนงานด้านวิชาการ  งานจัดการเรียนรู้  การวัดประเมินผลและการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้เป็นไปตามแนวทางของหลักสูตรสถานศึกษามีการจัดระบบควบคุมภายในโดยการประสานความร่วมมือในการพัฒนางานวิชาการกับองค์กรอื่น   ประกอบกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ หมวด ๓ ส่วนที่ ๘ สิทธิและเสรีภาพในการศึกษา มาตรา ๔๙ บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่าสิบสองปี ที่รัฐต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย และใน พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒โดยเฉพาะ หมวด ๔ แนวทางจัดการศึกษา เป็นการปฏิรูปการเรียนรู้ที่ถือว่าเป็นหัวใจของการปฏิรูปการศึกษา ซึ่งจะมุ่งประโยชน์สูงสุดแก่ผู้เรียนและในหมวด ๕ การบริหารและการจัดการศึกษา มาตรา ๓๙ กำหนดให้กระทรวงกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษา ทั้งด้านวิชาการ งบประมาณ การบริหารงานบุคคล และการบริหารทั่วไปไปยังคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษาโดยตรงโดยเฉพาะการบริหารงานวิชาการ ซึ่งถือว่า เป็นหัวใจสำคัญของการบริหารสถานศึกษาและเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารการศึกษา ที่ผู้บริหารจะต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ยึดหลักให้สถานศึกษาจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาให้เป็นไปตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานและสอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของชุมชนอย่างแท้จริง โดยมีครู ผู้บริหาร ผู้ปกครองและชุมชนมีส่วนร่วม ผู้บริหารสถานศึกษาจะต้องสนับสนุนให้ครูจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้บรรลุจุดมุ่งหมายของหลักสูตรมุ่งจัดการศึกษาให้มีคุณภาพและมาตรฐาน สามารถตรวจสอบคุณภาพการจัดการศึกษาได้ทุกช่วงชั้น มุ่งส่งเสริมให้มีการร่วมมือเป็นเครือข่าย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและคุณภาพในการจัดและพัฒนาคุณภาพการศึกษา

แต่จาก การประเมินคุณภาพการศึกษาภายนอกที่ผ่านมาพบว่าการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในอำเภอกัลยาณิวัฒนาปัจจุบัน ยังปฏิบัติไม่ครอบคลุมกับ ภารกิจของโรงเรียน ตามที่กำหนดไว้ใน พระราชบัญญัติ การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ และแก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ ๒)พ.ศ.๒๕๔๕    ซึ่งก็สอดคล้องกับการประเมินภายนอกระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานรอบแรก (พ.ศ. ๒๕๔๔-๒๕๔๘   ของสำนักงานประเมินมาตรฐานการศึกษา ( สมศ.)พบว่าด้านผู้บริหาร  ข้อที่ยังไม่ได้มาตรฐานคือ  การบริหารงานวิชาการโดยเฉพาะการมีหลักสูตรที่เหมาะสมกับผู้เรียนและท้องถิ่น มีสื่อการเรียนการสอนที่เอื้อต่อการเรียนรู้ (สำนักงานประเมินมาตรฐานการศึกษา . ๒๕๔๙ : ๑ )

ในฐานะที่ผู้ศึกษา เป็นคณะกรรมการ ในกลุ่มงานบริหารวิชาการ ของโรงเรียนกลุ่มเครือข่ายพัฒนาการศึกษาภูผาสวรรค์  อำเภอกัลยาณิวัฒนาทั้งอำเภอ    จึงมีความสนใจที่จะศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารงานวิชาการ ของโรงเรียนในอำเภอกัลยาณิวัฒนา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เชียงใหม่ เขต ๖ ว่ามีสภาพการปฏิบัติงานตลอดจนปัญหาในการบริหารงานวิชาการเป็นอย่างไร มีข้อจำกัดในด้านใดเพื่อจะได้ข้อมูลสำคัญที่จะใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนให้มีคุณภาพต่อไป

 

๔.   ทบทวนวรรณกรรม

๔.๑   การบริหารสถานศึกษา  ตามมาตรา ๓๙  แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ  พ.ศ. ๒๕๔๒  และแก้ไขเพิ่มเติม ( ฉบับที่ ๒ ) พ.ศ. ๒๕๔๕   กำหนดให้มีการบริหารทั้งหมด   ๔  ด้าน คือ  การบริหารงานวิชาการ   การบริหารงานงบประมาณ   การบริหารงานบุคคล   และการบริหารทั่วไป

กมล ภู่ประเสริฐ (๒๕๔๕:๖) ได้ให้ความหมายของงานวิชาการว่า หมายถึง การบริหารที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาคุณภาพการศึกษา อันเป็นเป้าหมายสูงสุดของภารกิจ สถานศึกษา

กิติมา    ปรีดีดิลก ( ๒๕๓๒,หน้า ๕๗ )  กล่าวว่าการบริหารวิชาการเป็นการดำเนินงานเกี่ยวกับการเรียนการสอนโดยตรง เป็นกิจกรรมที่ช่วยให้ผลการศึกษามีคุณภาพที่สุดดังนั้นไม่ว่ากิจกรรมใดที่สัมพันธ์การเรียนการสอนและทำให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพ ถือว่างานเหล่านั้นเป็นงานในขอบเขตหน้าที่ของผู้บริหาร  ในด้านวิชาการทั้งสิ้น

รุ่ง ลอยเลิศ (๒๕๔๓:๒๐) ได้ให้ความหมายของงานวิชาการว่า หมายถึง การ จัดการเรียนการสอนและการจัดกิจกรรมทุกอย่างภายในโรงเรียนให้เกิดความรู้และการศึกษา ของเด็ก

รุจิร์ ภู่สาระ และจันทรานี สงวนนาม (๒๕๔๕:๕๖)  ได้ให้ความหมายของงาน วิชาการว่า หมายถึง เป็นการบริหารกิจกรรมทุกชนิดในสถานศึกษาซึ่งเกี่ยวข้องกับการปรับปรุง พัฒนาการเรียนการสอน ให้เกิดผลตามเป้าหมายของหลักสูตร อย่างมีประสิทธิภาพ

ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์ (๒๕๔๓:๒)  ได้ให้ความหมายของงานวิชาการว่า หมายถึง เป็นการจัดกิจกรรมทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับการปรับปรุงพัฒนาการเรียนการสอน ให้ ได้ผลดีและมีคุณภาพให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับผู้เรียน

จากความหมายของนักการศึกษาที่กล่าวมาอาจสรุปความหมายของงานวิชาการ การบริหารกิจกรรมทุกอย่างทางด้านวิชาการ ในสถานศึกษาที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตร การปรับปรุง พัฒนาการเรียนสอน ให้ได้ผลดีมีประสิทธิภาพ ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเพื่อให้ผู้เรียน มีคุณภาพ อันเป็นเป้าหมายสูงสุดของสถานศึกษา

 

๕.    คำถามการวิจัย

                ในการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาในอำเภอกัลยาณิวัฒนา มีสภาพและปัญหาใดบ้างที่เป็นอุปสรรคในการบริหารงานวิชาการ

 

๖.   วัตถุประสงค์การวิจัย

๖.๑.เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นของครูผู้สอนที่มีต่อการบริหารงาวิชาการของผู้บริหาร สถานศึกษาใน อำเภอกัลยาณิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่

๖.๒. เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูผู้สอนที่มีต่อการบริหารงานวิชาการของผู้บริหาร สถานศึกษาใน อำเภอกัลยาณิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่ จำแนก ตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา และประสบการณ์การสอน

                   ๖.๓   เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในอำเภอกัลยานิวัฒนา  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงใหม่ เขต ๖

 

๗.  ผลที่คาดว่าจะได้รับ

          ทราบปัญหาและแนวทางแก้ไขปรับปรุงการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาในอำเภอกัลยาณิวัฒนา  ซึ่งมีข้อจำกัดหลายๆด้าน เช่น ด้านภาษา  วัฒนธรรม  ประเพณี  การคมนาคม  ตลอดจนด้าน ขนบธรรมเนียมประเพณีของชนเผ่า

 

๘.   รูปแบบวิธีดำเนินการวิจัย

          เป็นการศึกษาเชิงสำรวจ  มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการดำเนินงานและปัญหาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนในอำเภอกัลยาณิวัฒนา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงใหม่เขต๖ โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน

 

๙.  วิธีการวิจัย

                ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

                การศึกษาใช้ประชากรเป็นกลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอนโรงเรียนในอำเภอกัลยาณิวัฒนา  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงใหม่ เขต ๖  ปีการศึกษา  ๒๕๕๒  จำนวนทั้งสิ้น   ๑๐๓ คน    โดยมีผู้บริหารสถานศึกษา  ๑๑  คน  และครูผู้สอน   ๙๒    คน       

 

๑๐.   เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

                การสร้างและการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ

เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาอิสระเป็นแบบสอบถามที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้นเพื่อให้เหมาะสมกับบริบทของผู้บริหารสถานศึกษาและครูในอำเภอกัลยาณิวัฒนา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงใหม่ เขต ๖  จำนวน ๑๑ โรงเรียน นำเสนออาจารย์ที่ปรึกษาแล้วเสนอผู้เชี่ยวชาญเพื่อตรวจสอบความตรงในด้านโครงสร้าง (construct validity) โดยแบบสอบถามแบ่งออกเป็น ๒ ตอน คือ

ตอนที่ สถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถามมีลักษณะเป็นแบบตรวจสอบรายการ (checklist)สอบถามเกี่ยวกับเพศ อายุ วุฒิการศึกษา อายุราชการและตำแหน่งปัจจุบันของผู้ตอบแบบสอบถาม

ตอนที่   สภาพและปัญหาการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา เป็นแบบมาตรส่วนประมาณค่า (rating scale)  ๕ ระดับ คือ มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย และน้อยที่สุดโดยถามเกี่ยวกับงานวิชาการ ๑๑ ด้าน คือ ๑. การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ๒. การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ ๓.  การวัดผลประเมินผลและการเทียบโอนผลการเรียน ๔. การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา   ๕.   การพัฒนาสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา ๖.  การพัฒนาแหล่งเรียนรู้  ๗. การนิเทศการศึกษา  ๘.  การแนะแนวการศึกษา   ๙. การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา   ๑๐.  การส่งเสริมความรู้ด้านวิชาการแก่ประชาชน  

 ๑๑.  การประสานความร่วมมือในการพัฒนาวิชาการกับสถานศึกษาอื่น  ๑๒. การสนับสนุนงานวิชาการแก่ครอบครัว องค์กร หน่วยงานและสถาบันที่จัดการศึกษา

ขั้นตอนการสร้างและการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ

๑) ศึกษาหลักการ เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

๒) กำหนดกรอบแนวคิดของการศึกษา

๓) สร้างเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา

๔) นำเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเสนออาจารย์ที่ปรึกษา เพื่อตรวจสอบ ให้คำแนะนำแล

ปรับปรุงแก้ไข

๕) เสนอเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาที่ปรับปรุงเรียบร้อยแล้วเสนอให้ผู้เชี่ยวชาญ  ๓ คน เพื่อตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือทั้งในด้านความตรงเชิงโครงสร้าง (construct validity) ความตรงเชิงเนื้อหา (content validity) และความเหมาะสมด้านภาษา (wording)

๖) นำเครื่องมือไปทดลองใช้กับผู้อำนวยการสถานศึกษาและครูผู้สอนในสถานศึกษา

ขั้นพื้นฐานที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง จำนวน ๓๐ ชุด ได้แก่ โรงเรียนบ้านแม่แฮเหนือ จำนวน ๑๐ ชุดโรงเรียนบ้านบ่อแก้ว จำนวน ๑๐ ชุด และโรงเรียนบ้านแม่ยางห้า จำนวน ๑๐ ชุด เพื่อหา

สัมประสิทธิ์ความเที่ยง (reliability) โดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค (ประยูร อาษานาม, ๒๕๔๓)  

๗) นำเครื่องมือที่ทดลองใช้แล้ว เสนออาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อขอคำแนะนำและปรับปรุง

แก้ไขจัดทำเครื่องมือฉบับสมบูรณ์

 

โครงสร้างและลักษณะของเครื่องมือ

เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นแบบสอบถาม จำนวน ๑ ชุด แบ่งออกเป็น ๒ ตอน มี

รายละเอียดดังนี้

ตอนที่ สถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถามมีลักษณะเป็นแบบตรวจสอบรายการ (checklist)

ตอนที่ สภาพและปัญหาการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า (rating scale) แบ่งเป็น ๕ ระดับ ถามเกี่ยวกับงานวิชาการ    ๑๑ ด้าน คือ ๑. การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา ๒. การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ ๓.  การวัดผลประเมินผลและการเทียบโอนผลการเรียน ๔. การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา   ๕.   การพัฒนาสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา   ๖.  การพัฒนาแหล่งเรียนรู้  ๗. การนิเทศการศึกษา  ๘.  การแนะแนวการศึกษา   ๙. การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา   ๑๐.  การส่งเสริมความรู้ด้านวิชาการแก่ประชาชน   ๑๑.  การประสานความร่วมมือในการพัฒนาวิชาการกับสถานศึกษาอื่น  ๑๒. การสนับสนุนงานวิชาการแก่ครอบครัว องค์กร หน่วยงานและสถาบันที่จัดการศึกษา

 

โดยมีเกณฑ์ในการตัดสิน ดังนี้

๕  หมายถึง ระดับการปฏิบัติหรือระดับปัญหามากที่สุด

๔  หมายถึง ระดับการปฏิบัติหรือระดับปัญหามาก

๓  หมายถึง ระดับการปฏิบัติหรือระดับปัญหาปานกลาง

๒  หมายถึง ระดับการปฏิบัติหรือระดับปัญหาน้อย

๑  หมายถึง ระดับการปฏิบัติหรือระดับปัญหาน้อยที่สุด

 

๑๑.  การเก็บรวบรวมข้อมูล

ผู้ศึกษาได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลตามลำดับ ดังนี้

๑) ขอหนังสือจาก มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี ถึงผู้บริหารโรงเรียนในอำเภอกัลยาณิวัฒนา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงใหม่ เขต ๖ เพื่อขอความร่วมมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง

๒) นำเครื่องมือที่ใช้ศึกษาพร้อมทั้งหนังสือไปดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง โดยส่งแบบสอบถามไปจำนวน     ๑๐๓ ชุด 

 

 

๑๒.  การวิเคราะห์ข้อมูล

การวิเคราะห์ข้อมูล ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลตามวัตถุประสงค์ของการศึกษาโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป SPSS for Windows ดังนี้

๑) ข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถามตอนที่ ๑ สถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถามนำมา

วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่และหาค่าร้อยละ

๒) ข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถามตอนที่ ๒ ซึ่งเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า นำมา

วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย (X) และหาค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( S.D.)

๓) ในการแปลผลข้อมูล ค่าเฉลี่ย (X) นั้น กำหนดเกณฑ์ตามช่วงของค่าเฉลี่ย ดังนี้ (บุญชม

ศรีสะอาด, ๒๕๓๕)

คะแนนเฉลี่ยระหว่าง ๔.๕๑-๕.๐๐ หมายถึง มีการปฏิบัติหรือมีปัญหาอยู่ในระดับมากที่สุด

คะแนนเฉลี่ยระหว่าง ๓.๕๑-๔.๕๐ หมายถึง มีการปฏิบัติหรือมีปัญหาอยู่ในระดับมาก

คะแนนเฉลี่ยระหว่าง ๒.๕๑-๓.๕๐ หมายถึง มีการปฏิบัติหรือมีปัญหาอยู่ในระดับปานกลาง

คะแนนเฉลี่ยระหว่าง ๑.๕๑-๒.๕๐ หมายถึง มีการปฏิบัติหรือมีปัญหาอยู่ในระดับน้อย

คะแนนเฉลี่ยระหว่าง ๑.๐๐-๑.๕๐ หมายถึง มีการปฏิบัติหรือมีปัญหาอยู่ในระดับน้อยที่สุด

 

๑๓.  การบริหารงานวิจัย  ( ตารางการปฏิบัติงาน )

 

การดำเนินการ

พฤศจิกายน๒๕๕๒ ตุลาคม ๒๕๕๓

เดือนที่

 ๑

เดือนที่

เดือนที่

 ๓

เดือนที่

เดือนที่

เดือนที่

เดือนที่

 ๗

เดือนที่

 ๘

กำหนดเป้าหมาย

 

 

 

 

 

 

 

 

ทบทวนวรรณกรรม

       

 

 

 

 

 

 

 

เขียนโครงร่าง

 

 

 

    

 

 

 

 

รวบรวมข้อมูล

 

 

 

 

   

 

 

 

วิเคราะห์ข้อมูล

 

 

 

 

   

    

 

 

เรียบเรียง

 

 

 

 

 

 

     

 

ทบทวนแก้ไข

 

 

 

 

 

 

 

 

พิมพ์ ตรวจสอบ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

๑๔.    เอกสารอ้างอิง

กมล ภู่ประเสริฐ. (๒๕๔๔) การบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา . กรุงเทพฯ: บริษัททิปส์พับบลิเคชั่น จำกัด.

กมลวรรณ ชัยวานิชศิริ (๒๕๓๖) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับผู้บริหาร ที่สัมพันธ์กับประสิทธิผลของ โรงเรียนเอกชนกรุงเทพมหานคร กรุงเทพมหานคร ปริญญานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร

กระทรวงศึกษาธิการ. (๒๕๔๓). การประกันคุณภาพการศึกษากระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพฯ :๑๕โรงพิมพ์คุรุสภา.

_______. (๒๕๔๖). คู่มือการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคล. กรุงเทพฯ: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

กัมพล จินตนานันท์. (๒๕๓๘). การศึกษาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการประถมศึกษา จังหวัดหนองคาย. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

กุศยา แสงเดช. (๒๕๔๔). การวิจัยในชั้นเรียน. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.กรมวิชาการ, กระทรวงศึกษาธิการ. (๒๕๔๕). การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ตามหลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

_______. (๒๕๔๕). แนวทางการวัดและประเมินผลการเรียน. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.

_______. (๒๕๔๖). การประเมินผลการศึกษาในชั้นเรียนตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพ.. ๒๕๔๔. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.

_______. (๒๕๔๔). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๔๔. กรุงเทพฯ: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์

_______. (๒๕๔๔). สาระและมาตรฐานการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๔๔. กรุงเทพฯ: กรมวิชาการ.

_______. (๒๕๔๔). สาระและมาตรฐานการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๔๔. กรุงเทพฯ: กรมวิชาการ.

_______. (๒๕๔๔). สาระและมาตรฐานการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ

ในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช๒๕๔๔. กรุงเทพฯ: กรมวิชาการ.

_______. (๒๕๔๔). สาระและมาตรฐานการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๔๔. กรุงเทพฯ: กรมวิชาการ.

_______. (๒๕๔๔). สาระและมาตรฐานการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ ในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๔๔. กรุงเทพฯ: กรมวิชาการ.

กรมวิชาการ, กระทรวงศึกษาธิการ. . (๒๕๔๔). สาระและมาตรฐานการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๔๔. กรุงเทพฯ: กรมวิชาการ.

_______. (๒๕๔๔). สาระและมาตรฐานการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษาในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๔๔. กรุงเทพฯ: กรมวิชาการ.

. (๒๕๔๔) สาระและมาตรฐานการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในหลักสูตร

การศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๔๔. กรุงเทพฯ: กรมวิชาการ.

_______. (๒๕๓๙). การประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน .. ๒๕๓๙. กรุงเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.

คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, สำนักงาน. (๒๕๔๔) หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน

พุทธศักราช ๒๕๔๔. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

ธเนศ ขำเกิด (๒๕๔๕) การประเมินผลการฝึกอบรมตามรูปแบบของเคิร์กแพทริค วารสารวิชาการ ฉบับเดือนกุมภาพันธ์ กรุงเทพมหานคร ชวนการพิมพ์

ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์ (๒๕๓๕) การบริหารวิชาการ กรุงเทพมหานคร ศูนย์สื่อเสริม กรุงเทพมหานคร

เพลินพิศ  มันกระโทก (๒๕๔๗) ประสิทธิภาพการจัดการศึกษาของผู้บริหารโรงเรียนดีเด่น อำเภอแม่ แตง จังหวัดเชียงใหม่  วิทยานิพนธศิลปศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม

รัตนา ศรลา (๒๕๔๗)  การมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ จังหวัดเชียงใหม่  วิทยานิพนธ์ วิทยานิพนธศิลปศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิต วิทยาลัยมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม

เรมวล นันท์สุภาวัฒน์ (๒๕๔๒) ภาวะผู้นำทางการพยาบาลในองค์กร เชียงใหม่ ภาควิชาการบริหาร การพยาบาล คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

รุ่ง ลอยเลิศ (๒๕๔๒)  การพัฒนาคุณภาพงานวิชาการในโรงเรียนประถมศึกษาอำเภอศรีนคร จังหวัด เชียงใหม  ปริญญานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

วิศิษฎ์ ขวัญเมือง (๒๕๓๖) การศึกษาการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาตาม ทัศนะของครู ในโรงเรียนสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดนราธิวาส กรุงเทพ : ปริญญานิพนธ์ ศึกษาศาสตร์ มหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทร วิโรฒประสานมิตร

ศึกษาธิการ,กระทรวง (๒๕๔๖) การบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นนิติบุคคล กรุงเทพมหานคร โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์

สถาบันสงเสริมการประกันคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาแหงชาติ (๒๕๔๕) การประกันคุณภาพ การศึกษา กรุงเทพมหานคร สามเจริญการพิมพ์

สยามรัฐ กุลประดิษฐ์ (๒๕๔๒)การใช้อำนาจของผู้บริหารในการบริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานการ ประถมศึกษาอำเภอสันป่าตอง เชียงใหม ปริญญานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

สวัสดิ์ เมฆพยับ (๒๕๓๖) บทบาทที่เป็นจริงและบทบาทที่คาดหวังในการบริหารงานวิชาการของผู้

บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดอ่างทอง ปริญญานิพนธ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม

สุกัน เทียนทอง (๒๕๔๖) การวิจัยในชั้นเรียน แบบหน้าเดียว. วารสารวิชาการฉบับเดือนมิถุนายน 2456 กรุงเทพมหานคร ชวนการพิมพ์

สุโขทัยธรรมาธิราชสุโขทัย (๒๕๒๗) เอกสารการสอนชุดวิชาประสบการณ์วิชาชีพศึกษาศาสตร์ หน่วยที่ ๙-๑๐ กรุงเทพมหานคร:ชวนการพิมพ์

สุมน อมรวิวัฒน์ (๒๕๔๕) การปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ในโรงเรียนนำร่อง รูปแบบที่คัดสรร กรุงเทพมหานคร ห้างหุ้นส่วนจำกัด เอส พี เค เปเปอร์ แอนด์ฟอร์ม เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์ (๒๕๔๖) การจัดการศึกษาไทยประเด็นที่ควรพิจารณา วารสาร ราชบัณฑิตยสถาน กรุงเทพมหานคร กรุงเทพมหานคร ชวนการพิมพ์

สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ (๒๕๒๘) การบริหารโรงเรียน กรุงเทพมหานคร

สามเจริญการพิมพ์

เสาวลักษณ์ เอี่ยมฐานนท์ (๒๕๔๕) ภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญ ศึกษาอำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครสรีธรรมราช  วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์ มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

อุทัย เจริญธรรม (๒๕๔๒) การบริหารงานวิชาการในโรงเรียนสังกัดสำนักงาน การประถมศึกษาอำเภอ เมืองจังหวัดลำปาง ปริญญานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

อำภา บุญช่วย (๒๕๓๓) การบริหารงานวิชาการโรงเรียน กรุงเทพฯ โอ เอส พริ้นติ้งเฮ้าส์ อำรุง จันทวานิช (๒๕๔๖) รายงานวิจัยและประเมินผลประสิทธิภาพการประถมศึกษาองคกำหนด ประสิทธิภาพของการประถมศึกษา.กรุงเทพฯ คุรุสภาลาดพราว

Hendel Darwin. (1977) . “Statistic” AERA Mini Presentation. (April ): 48,5

 

คำสำคัญ (Tags): #วิจัย
หมายเลขบันทึก: 368373เขียนเมื่อ 21 มิถุนายน 2010 23:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 01:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท