การรู้จักอัลลอฮฺ การปฏิญาญตน การตักวา


ความจำเป็นของมนุษย์ที่จะต้องมีหลักศรัทธา

บทที่ 1

การรู้จักอัลลอฮฺ

หลักการศรัทธาในอิสลาม

                การศรัทธาเรียกเป็นภาษาอาหรับว่า “اَلإِيْمَانُ” ในทางภาษาหมายถึง การเชื่อมั่น ทางวิชาการหมายถึง การเชื่อมั่นต่อบทบัญญัติที่อัลลอฮฺ ศุบห์ฯ ทรงประทานให้แก่นบีมุฮัมมัด ศ็อลฯ นำมาเผยแผ่แก่มวลมนุษย์ ประกอบด้วย อัล-อีมาน อัล-อิสลาม อัล-อิหฺสาน ซึ่งผู้ศรัทธาต่ออัลลอฮฺ ต่อนบีมุฮัมมัด ศ็อลฯ และต่อบัญญัติที่พระองค์ทรงประทานมาเรียกเป็นภาษาอาหรับว่า มุอฺมิน และผู้หญิงเรียกว่า มุอฺมินะฮฺ

 

ความหมายของคำว่า “อิสลาม”

                อิสลามในทางภาษาหมายถึง การยอมจำนน การสร้างสันติสุข ในทางวิชาการหมายถึง การนอบน้อมต่ออัลลอฮ์ โดยยืนยันถึงเอกภาพ และยอมจำนนต่อพระองค์โดยการเคารพภักดีและไม่ตั้งสิ่งใดเป็นภาคีต่อพระองค์ ผู้ที่ยอมรับในอิสลามเรียกเป็นภาษาอาหรับว่า “มุสลิม” ผู้หญิงเรียกว่า “มุสลิมะฮฺ”

                อิสลามคือการปฏิบัติตามหลักคำสอนของอัลลอฮฺ  ซึ่งเป็นผลที่เกิดจากการศรัทธาที่มีอยู่ในหัวใจ  ส่วนหลักอีมานคือ การศรัทธาที่อยู่ในหัวใจ แม้ว่าความหมายของอีมานและอิสลามมีความแตกต่างกัน แต่หลักทั้งสองก็มีความสัมพันธ์กัน ถ้าหากว่ามุสลิมซึ่งมีความศรัทธาอยู่ในหัวใจ แต่มิได้แสดงออกด้วยการปฏิบัติ ถือว่าเขายังไม่เป็นมุอฺมิน   แต่เป็นมุสลิมเพียงการกล่าวคำกะลิมะฮ์ชะฮาดะฮ์เพื่อเข้านับถือศาสนาอิสลามเท่านั้น  ดังที่ปรากฎในอัล-กุรฺอานว่า

* ÏMs9$s% Ü>#{ôãF{$# $¨YtB#uä ( @è% öN©9 (#qãZÏB÷sè?

`Å3»s9ur (#þqä9qè% $oYôJn=ó™r& $£Js9ur È@äzô‰tƒ ß`»yJƒM}$# ’Îû öNä3Î/qè=è% ( ÇÊÍÈ        

 

                “ชาวอาหรับทะเลทรายกล่าวว่า เราศรัทธาแล้ว (มุฮัมมัด) จงกล่าวเถิดว่า ท่านทั้งหลายยังมิได้ศรัทธา แต่ท่านทั้งหลายจงกล่าวเถิดว่า เราเป็นมุสลิมแล้ว เนื่องจากการศรัทธายังมิได้อยู่ในหัวใจของพวกท่าน”

สูเราะฮฺ อัล-หุจญรอต ส่วนหนึ่งของอายะฮฺที่14

                อิมามอบูหะนีฟะฮฺและนักวิชาการตามแนวทางอะชาอิเราะฮฺกลุ่มหนึ่งกล่าวว่า การเปล่งคำยืนยันถึงการศรัทธาถือว่า เป็นองค์ประกอบหนึ่งของการศรัทธาที่แท้จจริง โดยไม่เกี่ยวข้องกับการประกอบความดี การศรัทธาตามทัศนะของนักวิชาการกลุ่มนี้หมายถึง  การเชื่อมั่นในหัวใจ และกล่าวออกมาเป็นคำพูด ยกเว้นผู้ที่มีเหตุขัดข้อง เช่นผู้ที่เป็นใบ้ จำเป็นที่เขาจะต้องมีความเชื่อมั่นอยู่ภายในหัวใจและยืนยันด้วยการแสดงภาษาใบ้หรือภาษามือ ผู้ใดมีความศรัทธาอยู่ในหัวใจ แต่มิได้ยืนยันออกมาด้วยคำพูด แม้จะเพียงครั้งเดียวในชั่วอายุของเขา ทั้งๆที่เขาสามารถพูดได้ ในสภาพนี้เขายังไม่เป็นผู้ศรัทธา ความแตกต่างระหว่างการเป็นมุสลิมกับการเป็นกาฟิร(ผู้ปฏิเสธ) อยู่ที่การเปล่งเสียงยืนยันในการศรัทธาต่อศาสนาอิสลาม  คือ การกล่าวคำกะลิมะฮฺชะฮาดะฮฺ ถ้าหากว่าผู้เป็นกาฟิรมีความเสื่อมใสศรัทธาในศาสนาอิสลามแต่มิได้กล่าวกะลีมะฮฺชะฮาดะฮฺ เขากะยังมิได้เข้ารับนับถือศาสนาอิสลามหรือเป็นมุสลิมแต่อย่างใด ส่วนลูกของมุสลิมถือว่าเป็นมุสลิมตามสายเลือดดยปริยาย แม้ว่ามิได้กล่าวคำกะลิมะฮฺชะฮาดะฮฺก็ตาม

                นักวิชาการบางท่านตั้งเงื่อนไขว่า การทำความดีเป็นส่วนหนึ่งของการศรัทธา และบอกถึงองค์ประกอบของการศรัทธาว่า จำเป็นต้องมีความเชื่อมั่น กล่าวคำกะลีมะฮฺชะฮาดะฮฺเพื่อเป็นการยืนยัน และแสดงออกด้วยการปฏิบัติความดี ดังปรากฎในอัล-กุรฺอานว่า

¨bÎ) šúïÏ%©!$# (#qä9$s% $oYš/u‘ ª!$# §NèO (#qßJ»s)tFó™$#     ÇÌÉÈ

                ความว่า “แท้จริง บรรดาผู้ที่กล่าวว่า พระเจ้าของเราคืออัลลอฮ์ จากนั้นเขาปฏิบัติความดี”

สูเราะฮฺฟุศศิลัต  อายะฮฺ  ที่30

นบีมุฮัมมัด ศ็อลฯ  ได้กล่าวเมื่อถูกถามถึงความหมายของอิสลามที่ครบสมบูรณ์ ท่านกล่าวว่า        

                “ท่านจงกล่าวว่า ฉันศรัทธาต่ออัลลอฮ์แล้วท่านจงปฏิบัติความดี”

บันทึกโดยมุสลิม (62)

ความจำเป็นของมนุษย์ที่จะต้องมีหลักศรัทธา

                หลักศรัทธาเป็นความจำเป็นทางด้านจิตใจของมนุษย์ เพราะมนุษย์ไม่สามารถใช้ชีวิตอยู่อย่างเป็นปกติสุขได้นอกจากจะต้องมีสิ่งยึดเหนี่ยวภายในจิตใจ ไม่ว่าจจะเป็นหลักศาสนา ปรัชญา หรืออุดมการณ์ เพราะสิ่งต่างๆเหล่านี้มีผลในการควบคุมพฤติกรรมของมนุษย์ทางด้านจริยธรรม กำหนดความดีและความชั่ว ความถูกและความผิด ความเหมาะสม แม้ว่าพระองค์อัลลอฮ์ทรงประทานสติปัญญาแก่มนุษย์ เพื่อให้แยกแยะความถูกผิดแล้วก็ตาม

                บางคนกล่าวว่ามนุษย์มีอิสระจากความเชื่อมั่น ชีวิตของเขายึดติดอยู่กับภาพลักษณ์ภายนอกที่ปรากฏเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นเกียรติยศ ตำแหน่ง ชื่อเสียง อำนาจ อิทธิพล และสิ่งงมงาย โดยถือว่าเป็นแนวทางที่ถูกต้อง ส่วนความเชื่ออื่นๆเป็นเพียงนามธรรมเท่านั้น การยึดถือแนวทางดังกล่าวทำให้เกิดผลเสียมากมาย เช่น เกิดความยุ่งเหยิง ปั่นป่วน ความเห็นแก่ตัว ความมัวเมาในอำนาจ ตำแหน่ง ชื่อเสียง ผลประโยชน์ อิทธิพล บางครั้งทำให้เกิดอคติ และยึดถือความคิดของตัวเองเป็นใหญ่ ไม่ยอมรับความเห็นของผู้อื่น

                มนุษย์จำเป็นต้องมีหลักศรัทธาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ  ดังที่ ดร.มุฮัมมัด ซัยยิด ฏอนฏอวียฺเชคอัล-อัซฮัรฺ กล่าวว่า

“วิญญาณมีความหิวโหยเช่นเดียวกับความหิวโหยของร่างกาย วิญญาณมีความต้องการอาหาร ความจริงที่ไม่อาจโต้แย้งได้คือ ความต้องการหลักศรัทธาทางศาสนาเป็นธรรมชาติของมนุษย์ ส่วนความจริงที่ไม่อาจปฏิเสธได้คือ มนุษย์จำเป็นต้องมีความศรัทธา เพราะไม่อาจมีชีวิตอยู่อย่างสงบสุขได้ ถ้าหากเขาไม่มีความศรัทธาอยู่ในหัวใจ”

 

ระดับการเพิ่มหรือลดของการศรัทธา

                การศรัทธาแบ่งตามสภาพของบุคคลมี 3 ประเภทคือ

ก-      การศรัทธาที่มีเพิ่มและมีลด  คือ การศรัทธาของมนุษย์และญิน

ข-      การศรัทธาที่ไม่มีเพิ่มและไม่มีลด คือ การศรัทธาของบรรดามลาอิกะฮ์ ตามทัศนะของ

นักวิชาการส่วนมาก

ค-      การศรัทธาที่มีแต่เพิ่มไม่มีลด คือ การศรัทธาของบรรดานบี ตามทัศนะของนักวิชาการอะ

ชาอิเราะฮฺ

                นักวิชาการได้อ้างหลักฐานทั้งทางสติปัญญาและทางตัวบท หลักฐานทางสติปัญญาคือ หากว่าการศรัทธาของมนุษย์เท่ากัน ไม่มีความแตกต่าง ไม่มีเพิ่ม ไม่มีลด  จะทำให้การศรัทธาของทุกคนอยู่ในระดับเดียวกัน ไม่ว่าเขาจะเป็นผู้ประกอบความดีเป็นประจำหรือจมปลักอยู่กับการประกอบความชั่วก็ตาม ดังที่ปรากฎในอัล-กุรฺอานว่า

$yJ¯RÎ) šcqãZÏB÷sßJø9$# tûïÏ%©!$# #sŒÎ) tÏ.èŒ ª!$# ôMn=Å_ur öNåkæ5qè=è% #sŒÎ)ur ôMu‹Î=è? öNÍköŽn=tã ¼çmçG»tƒ#uä öNåkøEyŠ#y— $YZ»yJƒÎ) 4’n?tãur óOÎgÎn/u‘ tbqè=©.uqtGtƒ ÇËÈ  

 

“แท้จริงบรรดาผู้ศรัทธาซึ่งเมื่ออัลลอฮฺถูกกล่าวขึ้น หัวใจของพวกเขาเกิดความหวั่นเกรง และเมื่อโองการต่างๆของพระองค์ถูกนำมาอ่านแก่เขาทั้งหลาย ทำให้การศรัทธาเพิ่มพูนขึ้นแก่พวกเขา” 

สูเราะฮฺ อัลอันฟาล 8 อายะฮฺ ที่2

                นักวิชาการด้านเตาฮีดได้ถ่ายทอดทัศนะของบรรดาเศาะหาบะฮฺเกี่ยวกับระดับของการอีมาน

-                                           อัลกอซิม อิบนิสะลาม ได้ระบุชื่อบรรดาเศาะหาบะฮฺและบุคคลอื่นจำนวน 130 คน กล่าวว่า อีมาน คือ คำพูดและการปฏิบัติ เพิ่มขึ้นและลดลง ซึ่งเป็นแนวทางของชาวอะฮฺลุสสุนนะฮ์ ที่เรายึดถือปฏิบัติ

-                   อิมามอะหมัด อิบนิฮันบัล กล่าวว่า บรรดาตาบิอีน บรรดาอิมาม และนักวิชาการตามหัวเมือง

ต่างๆจำนวน 70 คน มีความเห็นตรงกันว่า อีมานเป็นคำพูดและการปฏิบัติ เพิ่มขึ้นด้วยการปฏิบัติตามบัญญัติ และลดลงด้วยการฝ่าฝืนบัญญัติ

ส่วนการอีมานของบรรดานบีมีแต่เพิ่ม ไม่มีลด เนื่องจากได้รับความคุ้มครองความบริสุทธิ์ และอัลลอฮฺทรงอภัยโทษในความผิดทั้งหมด

นักวิชาการกลุ่มหนึ่งนำโดยอิมาม อบูหะนีฟะฮ์ กล่าวว่าอีมานไม่มีเพิ่มไม่มีลด แต่ที่ถูกต้องอีมานแบ่งออกเป็นหลายระดับ อีมานของผู้เลียนแบบย่อมไม่เท่ากับการอีมานของผู้รู้จักอัลลอฮ์ด้วยหลักฐานทั้งตัวบทและสติปัญญา

มุกัลลัฟ คือ ผู้มีภาระรับผิดชอบทางศาสนา โดยต้องบรรลุศาสนภาวะ มีสติสัมปชัญญะ มีประสาทสัมผัสสมบูรณ์ และการเผยแผ่ศาสนาไปถึง

ผู้ที่ไม่ถือว่าเป็นมุกกัลลัฟคือ

1-            เด็กที่ยังไม่บรรลุศาสนภาวะ

2-            ผู้วิกลจริต เนื่องจากการรับรู้และการครองสติของเขาไม่สมบูรณ์

3-            ผู้ที่ประสาทสัมผัสไม่สมบูรณ์ คือผู้ที่ตาบอดหูหนวกพร้อมกัน

4-            ผู้ที่การเผยแผ่อิสลามไปไม่ถึง

บุคคลเหล่านี้ถือว่าไม่เข้าข่ายต้องรับผิดชอบทางศาสนา ตามนัยนี้ อะฮฺลุลฟัตเราะฮฺคือ ผู้ที่มีชีวิตอยู่ในช่วงที่ไม่มีรสูลเผยแผ่ หรือผู้ที่การเผยแผ่ศาสนายังไปไม่ถึงเขา เช่นผู้ที่อาศัยอยู่ในป่าเขา เครื่องมือสื่อสารไม่มี ขาดการติดต่อกับโลกภายนอก บุคคลเหล่านี้ไม่ต้องรับผิดชอบทางศาสนา ดังที่ปรากฎในอัล-กุรฺอานว่า

$tBur $¨Zä. tûüÎ/Éj‹yèãB 4Ó®Lym y]yèö6tR Zwqߙu‘ ÇÊÎÈ

“และเรา(อัลลอฮ์) ไม่เป็นผู้ลงโทษจนกว่าเราจะส่งรสูลลงมา”

สูเราะฮฺ อัล-อิสรออฺ  อายะฮ์ที่ 15

 

การศรัทธาแบบตักลีด

                 “ตักลีด”หมายถึง การเลียนแบบ การยึดถือความเห็นหรือปฏิบัติตามผู้อื่น ส่วนคำว่า“มุกอลลิด” หมายถึง ผู้เลียนแบบ ผู้ยึดถือความเห็นหรือปฏิบัติตามผู้อื่น ตักลีดแบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้

              1.ตักลีดที่ต้องห้าม หมายถึงการเลียนแบบโดยไม่ใช้สติปัญญา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเลียนแบบอวิชา ในกรณีนี้นอกจากผู้ถูกเลียนแบบจะเป็นผู้หลงผิดแล้ว ยังทำให้ผู้เลียนแบบหลงผิดด้วย

 2.ตักลีดที่อนุญาต หมายถึงการเลียนแบบผู้มีความรู้ หรือหลักวิชาการที่ถูกต้องและมี

เหตุผล การเลียนแบบประเภทนี้เป็นที่อนุญาตและชอบด้วยบัญญัติศาสนา

                ส่วนตักลีดทางการศรัทธาที่ถูกต้องคือ ไม่อนุญาตให้นักวิชาการเลียนแบบผู้อื่นโดยไม่พิจารณาหลักฐาน ถ้าเป็นบุคคลธรรมดาก็อนุญาตให้เลียนแบบและเชื่อตามการศึกษาของผู้ที่มีความรู้ได้  การรู้จักอัลลอฮ์และการรู้จักคุณลักษณะของอัลลอฮ์  เป็นหน้าที่จำเป็นของมุสลิมและมุสลิมะฮ์ทุกคน ส่วนการรู้จักรสูลและคุณลักษณะของรสูล บรรดาเศาะหาบะฮฺและรู้ถึงเกียรติประวัติของท่าน เป็นความจำเป็นทางศาสนา เพราะหากว่าบุคคลไม่สนใจในการรู้จักอัลลอฮ์และละเลยไม่ศึกษาหลักศาสนาอย่างถูกต้องแล้ว บุคคลนั้นจะเป็นมุสลิมที่สมบูรณ์ไม่ได้

               

หลักการศรัทธาในอิสลาม

                นักวิชากรแบ่งการศรัทธาออกเป็น 3 หมวด  คือ

1-            อิลาฮียาต หมายถึง หลักศรัทธาที่เกี่ยวข้องกับอัลลอฮ์และการกำหนดสภาวะ(เกาะฎออฺ เกาะดัรฺ)

2-            นุบูวาต หมายถึง หลักศรัทธาที่เกี่ยวของกับนบีและรสูล และการศรัทธาต่อบรรดาคัมภีร์

ของอัลลอฮ์

3-            สัมอิยาต หมายถึง หลักศรัทธาที่เกี่ยวกับสิ่งที่มนุษย์ไม่สามารถล่วงรู้ได้ นอกจากจะได้รับการ

บอกกล่าวจากอัล-กุรฺอานและสุนนะฮฺของนบีมุฮัมมัด ศ็อลฯ บางครั้งเรียกหลักศรัทธานี้ว่า ฆ็อยบียาต หมายถึง สิ่งเร้นลับ ได้แก่การศรัทธาต่อบรรดามลาอิกะฮฺ การศรัทธาต่อวันอาคีเราะฮฺ การศรัทธาต่อชีวิตหลังความตาย (โลกบัรฺซัค) ญิน และชัยฏอน เป็นต้น

                สิ่งแรกที่อิสลามกำหนดให้มุสลิมต้องเรียนรู้และยึดมั่น คือหลักศรัทธา 6 ประการ

1-            การศรัทธาต่อพระเจ้า ซึ่งมีพระนามว่า “อัลลอฮฺ”  มนุษย์ไม่สามารถมองเห็นพระองค์ และไม่สามารถหยั่งถึงพระองค์ด้วยประสาทสัมผัส   แต่มนุษย์สามารถรู้ถึงการมีอยู่ของพระองค์โดยการพิจารณาโลก ดวงดาวต่างๆ เทหวัตถุที่มีอยู่ในสากลจักรวาล และสิ่งที่พระองค์ทรงสร้างอัลลอฮฺทรงมีคุณลักษณะที่สมบูรณ์  และทรงมีพระนามอันวิจิตร

2-            การศรัทธาต่อบรรดามลาอิกะฮฺ  ผู้ซึ่งบังเกิดจากรัศมี ไม่ปรากฏรูปร่าง นอกจากจะได้รับบัญชาจากอัลลอฮ์เพื่อจำแลงกายให้มาพบกับนบีหรือผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์ มนุษย์ทั่วไปไม่สามารถสัมผัสกับมลาอิกะฮฺได้ มลาอิกะฮฺภักดีต่ออัลลอฮฺโดยไม่ฝ่าฝืนคำสั่งของพระองค์ ไม่มีผู้ใดรู้ถึงจำนวนที่แท้จริงของพวกเขานอกจากอัลลอฮฺ มลาอิกะฮฺสำคัญที่มุสลิมจำเป็นต้องรู้จักมีดังนี้

1-            ญิบรีลหรือญิบรออีน มีหน้าที่นำสารจากอัลลอฮ์ ยังบรรดารสูล

2-            มีกาอีล มีหน้าที่นำริสกีมายังโลก

3-            อิสรอฟีล มีหน้าที่เป่าสัญญาณแห่งวันกิยามะฮฺ

4-            อิสรออีล มีหน้าที่เก็บวิญญาณของมนุษย์

5-            เราะกีบ อะตีด มีหน้าที่บันทึกความดีความชั่วของมนุษย์

6-            มุงกัร นะกีร มีหน้าที่สอบสวนผู้ตายในกุบูร

7-            ริดวาน มีหน้าที่ดูแลสวรรค์

8-            มาลิก มีหน้าที่ดูแลนรก

นอกจากนี้ยังมีมลาอิกะฮฺที่ทำหน้าที่อื่นๆอีก เช่น ทำหน้าที่แบกอะรัชของอัลลอฮฺ ดูแลทารกในครรภ์ ป้องกันมนุษย์ไม่ให้ประสบอันตราย และสดุดีสรรเสริญพระองค์ เป็นต้น

3-            การศรัทธาต่อคัมภีร์ของอัลลอฮฺ มุสลิมต้องศรัทธาว่า อัลลอฮ์ทรงประทานคัมภีร์แก่บรรดารสูล ไม่มีใครรู้จำนวนของคัมภีร์ที่แน่นอนนอกจากอัลลอฮ์  แต่ที่ปรากฏชัดเจนจากอัล-กุรฺอ่านและสุนนะฮฺของนบีมุฮัมมัด ศ็อลฯ มี 4 เล่ม ได้แก่

1-            คัมภีร์เตารอต   อัลลอฮ์ทรงประทานให้แก่นบีมูซา (โมเสส) อะลัยฮิสสลาม ประกอบด้วยบทบัญญัติ หลักศรัทธา และบอกข่าวดีถึงการปรากฏตัวของนบีมุฮัมมัด ศ็อลฯ ในฐานะรสูลท่านสุดท้าย คัมภีร์เล่มนี้รู้จักกันในนามของคัมภีร์โตราห์

2-            คัมภีร์อินญีล  อัลลอฮ์ทรงประทานให้แก่นบีอีซา (เยซู) อะลัยฮิสสลาม  ประกอบด้วยหลักการศรัทธา ซึ่งเรียกร้องให้มนุษย์ศรัทธาต่ออัลลอฮ์องค์เดียว และยกเลิกบางบัญญัติที่มีอยู่ในคัมภีร์เตารอต พร้อมกับบอกถึงการมาของท่านนบีมุฮัมมัด ศ็อลฯ คัมภีร์เล่มนี้รู้จักกันในนามของคัมภีร์ไบเบิ้ล

3-            คัมภีร์ซะบูร   อัลลอฮฺทรงประทานให้แก่นบีดาวูด (เดวิด) อะลัยฮิสสลาม ประกอบด้วยบทวิงวอน บทสรรเสริญ และคติธรรม  แต่ไม่มีบัญญัติศาสนา เพราะอัลลอฮฺทรงใช้ให้นบีดาวูดดำเนินตามบัญญัติของนบีมูซา อลัยฮิสสลาม

4-            คัมภีร์อัล-กุรอาน อัลลอฮฺทรงประทานให้แก่นบีมุฮัมมัด ศ็อลฯ ประกอบด้วยหลักการศรัทธา บทบัญญัติ และเรื่องราวของบรรดารสูลและกลุ่มชนในอดีต คัมภีร์อัล-กุรฺอานยกเลิกบทบัญญัติในคัมภีร์ก่อนๆทั้งหมด

นอกจากนี้อัลลอฮฺยังประทาน  ศุฮุฟ ให้แก่นบีบางท่านอีกด้วย ดังที่นบีมุฮัมมัด ศ็อล กล่าวว่า

                “พระองค์ทรงประทานคัมภีร์ 4 เล่ม   และศุฮุฟ 100 เล่ม  ให้นบีชีษ  50 เล่ม  นบีอิดรีส 30 เล่ม  นบีอิบรอฮีม 10 เล่ม  และนบีมูซา 10 เล่ม ก่อนที่นบีมูซาจะได้รับคัมภีร์เตารอต”  (ตัฟสีรฺ อัด-ดุรรุลมันซูร  เล่มที่ 6  หน้าที่ 57)

                 คัมภีร์ก่อนๆ ไม่มีการบันทึกขณะที่ถูกประทานลงมา จึงมีการท่องจำสืบทอดกันต่อมา เวลาผ่านไปจึงทำให้เกิดการหลงลืมและผิดเพี้ยน บางครั้งมีการนำเอาประวัติบุคคลและเหตุการที่เกิดขึ้นมารวมอยู่ในคัมภีร์แต่ละเล่มได้แก่ คัมภีร์เตารอต คัมภีร์อินญีล และคัมภีร์ซะบูรฺ หลังจากนั้นได้ประมวลคัมภีร์ดังกล่าวไว้ในเล่มเดียวกัน นักวิชาการกล่าวว่า คัมภีร์เตารอต ขณะนี้มีเนื้อหารวมอยู่ในพระคริสต์ธรรมคัมภีร์ภาคพันธะสัญญาเดิม(Old Testament) มีทั้งหมด 39 เล่ม คัมภีร์เตารอตฉบับของยิวมีชื่อว่า โตราห์ (Torah) ซึ่งมีความแตกต่างจากพันธะสัญญาเดิมในศาสนาคริสต์  คัมภีร์อินญีลมีเนื้อหาบางส่วนอยู่ในพันธะสัญญาใหม่ (New Testament) มีทั้งหมด 27 เล่ม ส่วนคัมภีร์ซะบูรมีเนื้อหาอยู่ในพันธะสัญญาเดิมที่ชื่อว่า บทเพลงสรรเสริญของเดวิด (Psalms of David)

                ด้วยเหตุนี้ทำให้ไม่ทราบว่าส่วนใดเป็นเนื้อหาของคัมภีร์เตารอต คัมภีร์อินญีล คัมภีร์ซะบูรที่แท้จริง หน้าที่ของมุสลิมเพียงแต่ศรัทธาว่า พระองค์อัลลอฮ์ทรงประทานคัมภีร์เตารอตให้แก่นบีมูซา คัมภีร์อินญีลให้แก่นบีอีซา คัมภีร์ซะบูรให้แก่นบีดาวูด และทรงประทานคัมภีร์ที่เป็นศุฮุฟให้แก่นบีชีษ นบีอิบรอฮีม และนบีมูซา โดยไม่ต้องศรัทธาในรายละเอียด

 

อัลกุรอาน

                อัล-กุรอานเป็นคัมภีร์ที่อัลลอฮฺทรงประทานแก่นบีมุฮัมมัด ศ็อล เพื่อให้นำมาประกาศเผยแผ่แก่มนุษยชาติ ไม่จำกัดเฉพาะเผ่าหนึ่งเผ่าใด หรือชนชาติหนึ่งชนชาติใด ซึ่งผิดกับคัมภีร์ก่อนที่ถูกประทานมาเพื่อกลุ่มชนเฉพาะ โดยเป็นภาษาอาหรับ เริ่มตั้งแต่สูเราะฮฺอัลฟาติหะฮฺจนจบสูเราะฮ์อัน-นาส มีทั้งหมด 114 สูเราะฮฺ แบ่งออกเป็น 30 ญุซอฺ และแบ่งเป็นอายะฮฺได้ 6,236 อายะฮฺ คัมภีร์อัล-กุรอานมีลักษณะเฉพาะคือ

1-            เป็นคัมภีร์ที่ถูกประทานมา โดยมีการบันทึกและท่องจำในทันที จึงเป็นคัมภีร์ที่มีความ

สมบูรณ์

2-            อัลลอฮ์ทรงรักษาอัล-กุรอาน มิให้ถูกทำลาย บิดเบือน ดังที่ปรากฏในอัล-กุรอ่านว่า

 

 

$¯RÎ) ß`øtwU $uZø9¨“tR tø.Ïe%!$# $¯RÎ)ur ¼çms9 tbqÝàÏÿ»ptm: ÇÒÈ

ความว่า “แน่นอนยิ่งเรา(อัลลอฮฺ)ได้ประทานซิกฺร(อัลกุรอาน)ลงมาและเราเป็นผู้ดูแลรักษาอัล-กุรอาน”

                                           ( อัลฮิจฺร อายะฮ์ที่ 9)

3-            อัล-กุรอานถูกประทานมาโดยยกเลิกคัมภีร์ก่อนๆทั้งหมด

4-            การถ่ายทอดอัล-กุรอานอาศัยการท่องจำ การบันทึก และถ่ายทอดสืบต่อมาโดยบุคคลจำนวนมาก จนถึงสมัยปัจจุบัน โดยคงความสมบูรณ์ไว้ดังเช่นสมัยนบีมุฮัมมัด ศ็อลฯ ปราศจากการแก้ไขและการสังคายนาใดๆ

5-            อัล-กุรอานมีเนื้อหาประกอบด้วยหลักศรัทธา ศาสนบัญญัติ และจริยธรรม เฉพาะหลักกฎหมายมีประมาณ 500 อายะฮฺ มีระบบวิถีชีวิต และรากฐานของวิชาความรู้ จึงมีความเหมาะสมทุกสภาพกาลจนถึงวันกิยามะฮ์

6-            อัล-กุรอานท้าทายต่อผู้ที่ไม่เชื่อว่าคัมภีร์เล่มนี้มาจากอัลลอฮ์  การท้าทายมี 2

ประเภทคือ

ก-      ท้าทายทางด้านวรรณกรรม อันเป็นการท้าทายนักกวีและนักวรรณกรรมชาว

อาหรับ โดยให้พวกเขาประพันธ์เพียงสูเราะฮฺหนึ่งเช่นเดียวกับอัล-กุรอาน เวลาผ่านมาถึง 1,400 กว่าปี ก็ยังไม่มีผู้ใดลบคำท้าทายนี้ได้

ข-      การท้าทายผู้ที่ไม่ใช่ชาวอาหรับด้วยการนำเสนอข้อมูลทางวิชาการ ซึ่งคัมภีร์อัล-

กุรอานได้กล่าวถึงศาสตร์ต่างๆไว้ในรูปของหลักพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ แพทยศาสตร์ อุตุนิยมวิทยา ชีววิทยา สังคมวิทยา ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ เกษตรศาสตร์ ฯลฯ คัมภีร์อัล-กุรอานท้าทายให้พิสูจน์ว่า มีข้อมูลทางด้านวิชาการส่วนใดที่ไม่ถูกต้อง แต่ปรากฏว่าไม่มีนักวิชาการคนใดกล่าวคัดค้าน

7-            อัล-กุรอานมิไช่คำพูดและข้อเขียนของมนุษย์และญิน

8-            ภาษาของอัล-กุรอานเป็นภาษาอาหรับที่ยังคงใช้กันอยู่หรือที่เรียกว่า “ภาษาเป็น”

แม้ว่าคัมภีร์อัล-กุรอานจะมีอายุมากกว่า 1,400 ปีก็ตาม ภาษาของคัมภีร์อัล-กุรอานยังคงเป็นภาษาที่ชาวอาหรับทั่วไปใช้กันอยู่และอ่านเข้าใจ ไม่ใช่ภาษาที่ใช้เฉพาะนักการศาสนาเท่านั้น

9-            อัล-กุรอานเป็นดำรัสของอัลลอฮฺ ไม่ปะปนกับคำพูดของนบีมุฮัมมัด ศ็อลหรือคำพูดของเศาะหาบะฮฺ และเป็นคัมภีร์เพียงเล่มเดียวที่มีผู้อ่านผู้ท่องจำมากที่สุดในโลก และมีการตีพิมพ์จำนวนมาก ไม่ว่าจะพิมพ์ ณ ส่วนใดของโลก ก็จะมีข้อความตรงกัน แม้ว่าลายอักษรจะมีความแตกต่างกันก็ตาม

10-     อัล-กุรอานเป็นคัมภีร์ที่อ่านแล้ว ได้กุศลผลบุญ ทั้งผู้อ่าน ผู้ฟัง และผู้

ศึกษา

4-            การศรัทธาต่อบรรดารสูล มุสลิมจะต้องศรัทธาว่าอัลลอฮฺได้แต่งตั้งนบีและรสูลจากมนุษย์ เพื่อทำหน้าที่ประกาศเผยแผ่บัญญัติของพระองค์ในแต่ละยุคแต่ละสมัย นับตั้งแต่นบีอาดัมจนถึงนบีมุฮัมมัด ศ็อลฯ ดังที่ปรากฏในอัล-กุรอานว่า

ô‰s)s9ur $uZ÷Wyèt/ ’Îû Èe@à2 7p¨Bé& »wqߙ§‘ Âcr& (#r߉ç6ôã$# ©!$# (#qç7Ï^tGô_$#ur |Nqäó»©Ü9$# (               ÇÌÏÈ  

ความว่า “และแน่แท้เรา(อัลลอฮฺ) ได้แต่งตั้งรสูล ในทุกประชาคมมนุษย์ (โดยบัญชาให้พวกเขาประกาศว่า) พวกท่าน จงเคารพภักดีอัลลอฮฺและจงห่างไกลจากบรรดาฏอฆูต

                                                              (สูเราะฮฺอัล-นะหฺลิ ส่วนหนึ่งจากอายะฮฺที่ 36 )

!$¯RÎ) y7»oYù=y™ö‘r& Èd,ptø:$$Î/ #ZŽÏ±o0 #\ƒÉ‹tRur 4 bÎ)ur ô`ÏiB >p¨Bé& žwÎ) Ÿxyz $pkŽÏù ֍ƒÉ‹tR ÇËÍÈ  

 

ความว่า “แท้จริง เรา (อัลลอฮฺ) ได้ส่งเจ้า (มุฮัมมัด ศ็อล) มาด้วยสัจธรรม โดยเป็นผู้บอกข่าวดีและเป็นผู้ตักเตือน และไม่มีประชาชาติใด (ในอดีต) เว้นแต่จะต้องมีผู้ตักเตือนในพวกเขา ”             

                                           (สูเราะฮฺฟาฏิร อายะฮฺที่ 24)

นบี คือ ผู้ที่อัลลอฮฺทรงแต่งตั้งให้นำบัญญัติของรสูลก่อนหน้าเขามาเผยแผ่

รสูลคือ ผู้ที่อัลลอฮฺทรงแต่งตั้งให้นำบัญญัติใหม่มาเผยแผ่

บัญญัติที่อัลลอฮ์ทรงประทานแก่นบีและรสูลแต่ละท่านก่อนหน้านบีมุฮัมมัด ศ็อลฯ ในแต่ละยุคแต่ละสมัย อาจจะเหมือนกันบ้างและอาจจะแตกต่างกันบ้างตามความเหมาะสม แต่บัญญัติที่อัลลอฮ์ทรงประทานให้แก่นบีทุกคนเหมือนกันหมด คือ การให้เคารพภักดีต่ออัลลอฮฺองค์เดียว และมิให้ตั้งสิ่งใดเป็นภาคีกับพระองค์

                นบีและรสูลมีจำนวนเท่าใดนั้นไม่มีผู้ใดรู้ได้นอกจากอัลลอฮ์ ดังที่ปรากฏในอัล-กุรฺอานว่า

Wxߙâ‘ur ô‰s% öNßg»oYóÁ|Ás% šø‹n=tã `ÏB ã@ö6s% Wxߙâ‘ur öN©9 öNßgóÁÝÁø)tR šø‹n=tã 4

zN¯=x.ur ª!$# 4Óy›qãB $VJŠÎ=ò6s? ÇÊÏÍÈ

                ความว่า “บรรดารสูลซึ่งเราได้เล่าถึงพวกเขาแก่เจ้ามาก่อนแล้วและบรรดาร่อซูลที่เรามิได้เล่าแก่เจ้าเกี่ยวกับพวกเขา และอัลลอฮ์ได้ตรัสกับมูซาอย่างแน่นอน”

สูเราะฮฺอันนิสาอฺ 4อายะฮฺ ที่164

                จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์กล่าวว่า บรรดานบีมีทั้งหมด 124,000 คน และบรรดารสูลมีประมาณ 313 ,314 , 315 คน แต่ที่ปรากฏชื่อในอัลกุรอานมีเพียง 25 ท่าน  นบีที่ปรากฏชื่อในอัล-หะดีษมี 1 ท่าน คือนบีชีษ

ลักษณะนบีของอัลลอฮฺมีดังนี้

1-            ต้องศรัทธาว่าอัลลอฮ์ทรงเป็นพระเจ้า

2-            ต้องได้รับการแต่งตั้งจากอัลลอฮฺให้เป็นนบีและรสูล มิใช่สถาปนาขึ้นเอง

3-            บัญญัติศาสนาที่นำมาเผยแผ่เป็นการวะหฺยจากอัลลอฮฺมิได้เกิดจากการคิดขึ้นเอง หรือ

ตรัสรู้เอง

4-            ต้องศรัทธาในโลกอาคีเราะฮฺ

5-            ต้องไม่เป็นนบีหลังจากนบีมุฮัมมัด ศ็อลฯ

                มุสลิมต้องศรัทธาต่อบรรดารสูลของอัลลอฮฺทุกคน และศรัทธาว่านบีมุฮัมมัดเป็นนบีสุดท้าย ไม่มี นบีและรสูลคนใดหลังจากท่านอีก อัลลอฮ์ทรงประทานศาสนบัญญัติมายังนบีต่างๆ และบัญญัติที่สมบูรณ์พระองค์ทรงประทานมายังนบีมุฮัมมัด ศ็อลฯ ดังปรากฏในอัล-กุรฺอานว่า

tPöqu‹ø9$# àMù=yJø.r& öNä3s9 öNä3oYƒÏŠ àMôJoÿøCr&ur öNä3ø‹n=tæ ÓÉLyJ÷èÏR àMŠÅÊu‘ur ãNä3s9 zN»n=ó™M}$# $YYƒÏŠ 4

                ความว่า “วันนี้ข้าทำให้ศาสนาของสูเจ้าทั้งหลายครบสมบูรณ์สำหรับพวกสูเจ้า และข้าได้ทำให้ความโปรดปรานของข้าที่มีแก่พวกสูเจ้าครบถ้วน และข้ายินดีให้อิสลามเป็นศาสนาของสูเจ้าทั้งหลาย”

(สูเราะฮฺ อัล-มาอิดะฮฺ อายะฮฺ ที่3)

                อายะฮฺนี้ยืนยันอย่างชัดเจนถึงความสมบูรณ์ของศาสนาอิสลาม เพื่อไม่ให้มุสลิมหลงเชื่อทัศนะของผู้ที่มีใจอคติว่า ศาสนาอิสลามยังมีความบกพร่องและไม่เหมาะสมกับยุคปัจจุบัน และนบีมุฮัมมัด ศ็อลฯ  ก็เป็นรสูลท่านสุดท้าย ดังที่ปรากฏในอัล-กุรฺอาน ว่า

$¨B tb%x. JptèC !$t/r& 7‰tnr& `ÏiB öNä3Ï9%y`Íh‘ `Å3»s9ur tAqߙ§‘ «!$# zOs?$yzur z`¿ÍhŠÎ;¨Y9$# 3

tb%x.ur ª!$# Èe@ä3Î/ >äóÓx« $VJŠÎ=tã ÇÍÉÈ

                ความว่า “มุฮัมมัดมิได้เป็นบิดาของผู้ใดในหมู่บุรุษของพวกสูเจ้า แต่เป็นรสูลของอัลลอฮ์   โดยเป็นนบีท่านสุดท้าย และอัลลอฮ์ทรงรู้ยิ่งในทุกสิ่ง”

(สูเราะฮฺ อัล-อะหฺสาบ  อายะฮฺที่40)

                 5-   การศรัทธาต่อโลกอาคีเราะฮฺ คือ การศรัทธาเกี่ยวกับโลกหน้า ความสำคัญของการศรัทธาข้อนี้คือ ผู้ใดปฏิเสธเขาจะสิ้นสภาพจากการเป็นมุสลิมทันที  ถึงแม้ว่าเขาศรัทธาต่ออัลลอฮฺ ศรัทธาต่อศาสดามุฮัมมัด และศรัทธาต่อคัมภีร์อัล-กุรอาน ก็ตาม

 6-   การศรัทธาต่อการกำหนดสภาวะ เกี่ยวกับความดีและความชั่ว

 

พระนามและคุณลักษณะของอัลลอฮฺ

                นักวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันถึงสิ่งจำเป็นประการแรกที่มุกัลลัฟจะต้องรู้ ทัศนะที่ถูกต้องที่สุดคือ จำเป็นต้องรู้จักอัลลอฮ์ก่อนสิ่งอื่นใด เพราะมีคำกล่าวว่า

أَوَّلُ الدِّيْنِ مَعْرِفَةُ اللهِ

ความว่า “สิ่งแรกของศาสนา คือการรู้จักอัลลอฮฺ” ความหมายของการรู้จักอัลลอฮฺในที่นี้คือ การรู้จักคุณลักษณะของพระองค์ รู้จักพระนามของพระองค์ และรู้จักบัญญัติเกี่ยวกับการปฏิบัติต่อพระองค์ในฐานะพระเจ้า มิได้หมายถึงการรู้จักอัลลอฮฺว่าเป็นอย่างไร อิบนุอับบาส รฎิฯ กล่าวว่า ท่านรสูล ศ็อลฯ กล่าวว่า

تَفَكَّرُوْا في خَلْقِ اللهِ وَلاَ تَفَكَّرُوْا فِي اللهِ

                “ท่านทั้งหลายจงพิจารณาการสร้างของอัลลอฮฺ และจงอย่าพิจารณาในอัลลอฮฺ”

(เศาะฮีฮุลญามิอฺ)

                ไม่มีผู้ใดสามารถหยั่งรู้อัลลอฮฺได้ และการค้นคว้าเกี่ยวกับอัลลอฮฺจะนำไปสู่การตั้งภาคีกับพระองค์ โดยการนำเอาลักษณะของมนุษย์เปรียบเทียบกับอัลลอฮฺ

                เมื่อต้องการรู้จักอัลลอฮฺจงพิจารณาดูสิ่งที่พระองค์ทรงสร้าง เช่นมนุษย์ มีการได้ยิน การมองเห็น การพูด การมีชีวิต สติปัญญา และอวัยวะต่างๆของร่างกาย มีความพอใจ คว

หมายเลขบันทึก: 368254เขียนเมื่อ 21 มิถุนายน 2010 10:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 พฤษภาคม 2012 18:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ให้ความรู้ดีคะ ถึงจะไม่ค่อยเยอะมากแต่ก็ดี

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท