ศ.พอเพียงในความเข้าใจของเ่ต่าเครายาว


ศ.พอเพียงไม่ใช่เอาไว้ใช้กับคนยากจนโดยเฉพาะ

ศ.พอเพียง สามารถเป็นจุดมุ่งหมายของชาติ

 

ศ.พอเพียงเน้นไปที่ชีวิตความเป็นอยู่ที่พอดีพอประมาณ คือ1การแสวงหาปัจจัยเลี้ยงชีพโดยชอบธรรม,มีปัญญาแสวงหาปัจจัยที่จำเป็นต้องใช้ในอนาคต(เน้นไปที่น้ำ ดินเป็นต้น),โดยไม่เกินกำลัง 2การรู้จักเก็บและแปรรูป,เรียบเรียงไม่เก็บสะสมจนเกินพอดี,ไม่แสวงหาสิ่งที่เกินจำเป็น 3การแบ่งเวลาให้คนรัก,การเข้าสังคมการติดต่อกับผู้อื่นอย่างเหมาะสม,การช่วยเหลือสังคมเช่นให้ความรู้,การบริจาค

หลายคนต้องการที่จะรวย ศ.พอเพียงเป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญที่ทำให้รวยได้(พอเปรียบได้กับสมชีวิตา 1ในธรรม4ข้อ ของหัวใจเศรษฐี)  ดังนั้น ศ.พอเพียง จึงมีความหมายครอบคลุม ถึงสิ่งที่คนทั่วไปเรียกกันว่าทางสายกลาง เพื่อความไม่ตึงเกินไปจนผิดจากความหมายที่พอดีของธรรมอีก3ข้อในหัวใจเศรษฐี

ศ.พอเพียงไม่ได้มีจุดหมายที่ความร่ำรวยเงินทอง แต่เพื่อความร่ำรวยความสุขเพื่อให้เกิดรอยยิ้มอันสงบสุขของประชาชน (จิตใจของเศรษฐีนั้นไม่หิวโหยไม่วุ่นวายเพราะขาดแคลน ผู้ที่มีเงินมากๆไม่อาจกล่าวได้ว่ามีหัวใจของเศรษฐีทุกคน)

(หัวใจมนุษย์เปรียบเทียบกับหัวใจเศรษฐี)ถ้ามองโดยแยกส่วน 1หัวใจสามารถนำเลือดเข้าเพื่อนำมาเปลี่ยนแปลงให้ดีขึ้น 2หัวใจสามารถเก็บเลือดได้ดีไม่มีรั่วไหล 3หัวใจมีปอดเป็นผู้ช่วยที่ดี 4เลือดถูกนำออกอย่างเหมาะสม นำมาเลี้ยงหัวใจเองและนำออกเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกาย

สิ่งที่เกินมามีลักษณะอย่างไร

     1ปัจจัยของสิ่งที่เรียกว่าชีวิตเพื่อสิ่งใด เพื่อความอยู่รอดอย่างมีคุณค่ามีความดีและเข้าใจถึงความจริง ปัจจัยคืออาหารสี่(อันลึกซึ้ง)เช่น1สิ่งที่เรียกกันทั่วไปว่าอาหารรวมทั้งที่แยกส่วนออกมาเรียกว่า ยา และสภาพแวดล้อมที่ใกล้(เสื้อผ้า,ฝุ่นละออง,หมอก)และไกล(ห้องนอน,บรรยากาศ)

     2ชีวิตนั้นต้องการมากแค่ไหน เข้าใจถึงขอบเขตของ ความต้องการที่ต้องใช้เพื่อไปสู่จุดมุ่งหมายในชีวิต(ความต้องการที่ลดลงเพราะ)

     3การเปลี่ยนแปลงยักย้ายถ่ายโอนสิ่งต่างๆ โดยเหมาะสม เรียกได้ว่าศ.ได้รับปัจจัยที่เหมาะสม จึงสมบูรณ์พร้อมในปัจจัยที่จะนำสิ่งที่เรียกว่าชีวิตไปสู่จุดมุ่งหมาย

    สัมมาอาชีวะ เลี้ยงชีวิตโดยปัจจัยต่างๆโดยชอบ เป็นความสำคัญของศ.เพื่อประโยชน์อันยิ่ง สัมมาอาชีวะเป็นพื้นฐานเพื่อความปกติแห่งกายใจ การเข้าและออกคือท่าทีแห่งการรับรู้และการตอบสนองกับสิ่งที่ปรากฎ

(ความครบถ้วนแห่งปัจจัยเพียงพอหรือยังที่จะไปสู่จุดมุ่งหมาย)

หมายเลขบันทึก: 367280เขียนเมื่อ 17 มิถุนายน 2010 21:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 มิถุนายน 2012 19:54 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท