การสร้างงานประจำสู่งานวิจัย


งานประจำสู่งานวิจัย

 

     Routine to Research in Photharam Hospital

               หลังจากที่เราได้รำเรียนหลักสูตรการบริหารโรงพยาบาล  คณะสาธารณสุขศาสตร์  ม.มหิดล ได้สัมผัสกับการสร้างงานประจำสู่งานวิจัย ก่อนที่จะต้องมานั่งทำวิทยานิพนธ์อยู่ในทุกวันนี้  ยังไม่ค่อยรู้สึกว่ามันดีอย่างไร เนื่องจากต้องเรียนหลายวิชามากมาย แต่พอทำวิทยานิพนธ์แล้ว การทำR2R นี้มันเข้าถึงง่ายกว่าเยอะเลย

                 วันหนึ่งได้หยิบเรื่องราวของ R2R สื่อให้ทีมผู้บริหารได้ฟัง  หัวหน้ากลุ่มการพยาบาลให้การสนับสนุน และตอบรับในการสร้างการเรียนรู้เรื่องนี้ในโรงพยาบาล  เราจึงไม่รอช้า รีบติดต่อพระอาจารย์...อิอิ คือ รศ.นพ.สมชาติ โตรักษา ปี 52 ท่านเป็นหัวหน้าภาควิชาบริหารงานสาธารณสุข ท่านยินดีที่จะให้ความรู้แก่โรงพยาบาล

                 จากนั้นเรามาสร้างกระแส R2R ในโรงพยาบาล ติดประกาศ ประชาสัมพันธ์ ลงเรื่องราวในวารสารรอบรั้วโรงพยาบาล แจ้งเวียนให้ทุกหน่วยงานทราบ แจ้งในกรรมการบริหารโรงพยาบาล จนทุกคนรับทราบว่ามีเรื่องนี้อยู่ในโรงพยาบาลแล้ว

                 เมื่อรศ.นพ.สมชาติ โตรักษา ได้มาเป็นวิทยากรให้เรา ถึงกับอึ้งงงง...เพราะมีบุคลากรสนใจมากมาย เมื่อ 13 ตุลาคม 2552  หลังจากวันนี้ ทำให้โรงพยาบาลเรามีผลงานวิชาการ จำนวนมากกว่า 25 เรื่อง ล้วนแต่เป็นเรื่องน่านใจทั้งนั้น  ด้วยแนวคิดของผู้บริหารที่ส่งเสริมงานนี้ จึงจัดให้มีการประกวดผลงาน Best Practice ในโรงพยาบาลขึ้น วันที่ 10 พฤศจิกายน 2552 มีผลงานที่ได้รับคัดเลือก3 รางวัลคือ

1.การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง 

2.ใกล้ใจ โยงใย ถึงปัญหา พัฒนาการเก็บข้อมูล ก้าวย่างอย่างเข้าใจผู้ป่วยเอดส์  

3.การพัฒนาการประคบหัวนมด้วยน้ำอุ่น  เพื่อลดการบาดเจ็บที่หัวนมในหญิงหลังคลอด

                    ผลงานอทั้งหมดนี้ มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้นอกโรงพยาบาล ได้แก่ การประกวดผลงานวิชาการของสสจ. ราชบุรี โรงพยาบาลของเราได้รับรางวัลมากมาย คือ

  ด้านบริการในชุมชน ผลงานที่ได้รางวัลที่ 2  คือ

บัญญัติ 10 ประการ : บทบัญญัติจากประสบการณ์ของอาชีพล้างขวดน้ำปลา

   • ด้านสถานบริการ ผลงานที่ได้รางวัลที่ 2 และรางวัลที่ 3  คือ

2. ผลการพัฒนารูปแบบการเฝ้าระวังอาการเปลี่ยนแปลงของผู้ป่วย หอผู้ป่วยอายุรกรรมหญิง  โรงพยาบาลโพธาราม

3. การให้คำปรึกษาการใช้ยา เทคนิคพิเศษแบบสูดพ่นในผู้ป่วยโรคหืด และโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่มีปัญหาการใช้ยาสูดพ่น

                   การสร้างการเรียนรู้ ครั้งนี้ทำให้เห็นว่า ในโรงพยาบาลของเรา มีงานประจำมากมายที่สามารถสร้างเป็นผลงานวิชาการได้เป็นอย่างดี ด้วยฝีมือของบุคลากรที่มีความสามารถ ทั้งนี้ ต้องขอขอบพระคุณท่านผู้บริหารที่สนับสนุนและเห็นความสำคัญของผลงานวิชาการ  ขอบพระคุณ รศ.นพ.สมชาติ โตรักษา ที่กรุณาเป็นที่ปรึกษาให้แก่โรงพยาบาล ในปีนี้หัวหน้าพยาบาล คุณสมจิตร์ ศักดิ์สิทธิกร ก็สนับสนุนอีกเช่นกัน วันที่ 9 กค. 2553 ท่านอาจารย์จะได้กรุณาให้เกียรติมาให้ความรู้แก่พวกเราที่ถือเป็นการต่อยอดการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย  จากหน่วยงานต่างๆที่ส่งผู้เข้าร่วมประชุมและชื่อผลงานมา ปีนี้น่าจะเกิดผลงานไม่น้อยกว่า 25 เรื่องเหมือนปีก่อน  น่าภูมิใจจริงๆ ...อิอิอิ

         บทเรียนที่ได้ ...ไม่ลองไม่รู้  ไม่ดูก็ไม่กล้า ไม่ท้าทายก็ไม่ทำ 

                

หมายเลขบันทึก: 366955เขียนเมื่อ 16 มิถุนายน 2010 17:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

สวัสดีครับ สงสัยต้องเปลี่ยนนิยามใหม่แล้วครับ

"คนสวยโพธาราม คนงามบ้านโป่ง ดนเก่งที่โรงพยาบาล ต้องพยาบาลโพธาราม อีกเช่นกัน...สิ บอก ไห่"

ยอดเยี่ยมเลยค่ะ...เป็นต้นแบบที่ดีของการทำ R2R มีเรื่องเล่าดีดี นำมาบอกเล่าสู่กันฟังอีกนะคะ...

Zen_pics_007 

เข้ามาเรียนรู้เรื่องดีๆ 

เป็นกำลังใจให้ คนทำงาน

จุดประกายความคิดให้อยากทำชิ้นงานอีกแล้วค่ะ ขอบคุณสำหรับสิ่งดีๆ ด

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท