ดร.ภาณุวัฒน์ จันทร์ประสิทธิ์
ดร.ภาณุวัฒน์ ดร.ภาณุวัฒน์ จันทร์ประสิทธิ์ จันทร์ประสิทธิ์

จากคำว่า ศิษย์ จนกลายมาเป็นคำว่าครู


 จากคำว่า "ศิษย์" จนกลายมาเป็นคำว่า "ครู"

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้รับพระราชทานแก่ครูอาวุโสในโอกาสที่เข้าเฝ้าฯ รับพระราชทานเข็มเครื่องหมายเชิดชูเกียรติมีข้อความที่เกี่ยวกับลักษณะของครูที่ดีไว้ตอนหนึ่งว่า


"ครูที่แท้นั้น ต้องเป็นผู้กระทำแต่ความดี คือ
ต้องหมั่นขยันและอุตสาหะพากเพียร
ต้องเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และเสียสละ
ต้องหนักแน่น อดกลั้นและอดทน
ต้องรักษาวินัย สำรวมระวังความประพฤติของตนให้อยู่ในระเบียบแบบแผนอันดีงาม
ต้องปลีกตัวปลีกใจออกจากความสบาย และความสนุกรื่นเริงที่ไม่ควรแก่เกียรติภูมิ
ต้องตั้งใจให้มั่นคงและแน่วแน่
ต้องซื่อสัตย์รักษาความจริงใจ
ต้องเมตตาหวังดี
ต้องเมตตาหวังดี
ต้องวางใจเป็นกลาง ไม่ปล่อยไปตามอำนาจคติ
ต้องอบรมปัญญาให้เพิ่มพูนสมบูรณ์ขึ้นทั้งในด้านวิทยาการและความรู้ในเหตุผล

ด้วยความรักและห่วงห่วงใยดังลูกแท้ เฝ้าอบรมดูแลสั่งสอน

ไม่ได้หวังเงินทอง ไม่ต้องการสิ่งไหน ครูหวังเพียงให้เจ้าได้มีความรู้

จะเป็นเหมือนสะพาน ให้เจ้าข้ามสู่จุดหมาย

นี่คือความตั้งใจของครู  เจ้าคงคิดคงบ่นว่าอะไรหนักหนา

เด็กน้อยวันหนึ่งเจ้าจะเข้าใจ จงตั้งใจให้เป็นคนเก่งคนดี

เจ้าไปได้ดีโชคดีครูก็สุขใจ แต่อย่าเอาความรู้ไปคดโกงใคร

จงใช้ชีวิตบนความดีงาม

ความหวังเพียงเล็กๆน้อย ที่ความหวังและความตั้งใจของครูถูกสื่อสาร เป็นบทเพลง

เพื่อเป็นเครื่องเตือนใจ ให้กับศิษย์เก่า และ ศิษย์ ปัจจุบัน

ได้สำนึก ระลึกถึงพระคุณครูบาอาจารย์ที่ประสิทธิ์ประสาทวิชาความรู้ให้ศิษย์

อย่างเต็มความสามรถที่จะทำได้  

คำวาครู มาจากคำบาลลีสันสกฤต คือ คำว่า ครุ






ความหมายของครู


พุทธทาสภิกขุ (๒๕๒๗ : ๙๒) กล่าวว่า คำว่า "ครู" เป็นคำที่สูงมาก เป็นผู้เปิดประตูทางวิญญาณ แล้วก็นำให้เกิดทางวิญญาณไปสู่คุณธรรมเบื้องสูง เป็นเรื่องทางจิตใจโดยเฉพาะ มิได้หมายถึงเรื่องวัตถุ






อำไพ สุจริตกุล (๒๕๓๔ : ๔๗-๔๘) กล่าวว่า คำว่า "ครู" "ปู่ครู" "ตุ๊ครู" และ "ครูบา" ในสมัยโบราณ หมายถึง พระสงฆ์ผู้ทำหน้าที่สอนกุลบุตรทุกระดับอายุ ตั้งแต่วัยเด็ก จนถึงวัยรุ่น สอนทั้งด้านอักขรวิธี ทั้งภาษาไทย และภาษาบาลี สอนให้เป็นคนดีมีวิชาชีพ ตลอดจนความรู้ทางพระพุทธศาสนา แม้เมื่อศิษย์มีอายุครบบวชแล้ว ก็ยังคงศึกษาในวัดหรือสำนักนั้น ๆ ต่อไป จนมีความรู้ความชำนาญ สามารถถ่ายทอดวิชาที่ได้รับการสั่งสอนฝึกฝนจากครูบาของตนให้แก่ศิษย์รุ่นหลังของสำนักต่อไป หรืออาจลาไปแสวงหาความรู้ความชำนาญต่อจากพระสงฆ์หรือครูบา หรือตุ๊ครู ณ สำนักอื่น เมื่อเชี่ยวชาญแล้วก็กลับมาช่วยสอนในสำนักเดิมของตน จนเป็นครูบาสืบทอดต่อไป

















เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ได้ร้อยกรองบทประพันธ์เกี่ยวกับครูไว้อย่างไพเราะจับใจว่า


ใครคือครู ครูคือใครในวันนี้


ใช่อยู่ที่ปริญญามหาศาล


ใช่อยู่ที่เรียกว่า ครูอาจารย์


ใช่อยู่นานสอนนานในโรงเรียน


ครูคือผู้นำทางความคิด


ให้รู้ถูกรู้ผิด คิดอ่านเขียน


ให้รู้ทุกข์รู้ยากรู้พากเพียร


ให้รู้เปลี่ยนแปลงสู้รู้สร้างงาน


ครูคือผู้ยกระดับวิญญาณมนุษย์


ให้สูงสุดกว่าสัตว์เดรัจฉาน


ครูคือผู้สั่งสมอุดมการณ์


มีดวงมานเพื่อมวลชนใช่ตนเอง


ครูจึงเป็นนักสร้างผู้ยิ่งใหญ่


สร้างคนจริงสร้างคนกล้าสร้างคนเก่ง


สร้างคนให้ได้เป็นตัวของตัวเอง


ขอมอบเพลงนี้มาบูชาครู


จากตัวอย่างความหมายของครูข้างต้น จะเห็นว่า ครูต้องเป็นคนที่มีทั้งความรู้และความประพฤติที่ดี กอปรด้วยความเมตตากรุณาต่อศิษย์ คงไม่เกินความจริงที่จะกล่าวว่า ครูเป็นบุคคล "ไตรภาคี" คือ มาจากองค์ประกอบสำคัญ ๓ ประการ คือ ๑) ความรู้ดี ๒) ความประพฤติดี และ ๓) มีคุณธรรม (เมตตากรุณา) หากขาดองค์ประกอบอย่างใดอย่างหนึ่งจะไม่สามารถเป็นครูที่ดีได้






องค์ประกอบ ๓ ประการนี้ เป็นหลักความจริงที่น่าพิจารณาอย่างยิ่งสำหรับผู้มีหน้าที่เป็นครู เพราะผู้ที่มีองค์ประกอบทั้งสามนี้ และพัฒนาถึงชั้นสูงสุด จะอยู่ในฐานะเป็นยอดครู หรือบรมครู เช่น พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงได้รับการขนานพระนามว่า "บรมครู" เพราะพระองค์ ทรงมีองค์ประกอบ ๓ ประการนี้ที่พัฒนาถึงชั้นสูงสุดแล้ว คือ ทรงมีพุทธคุณ ๓ ประการ คือ


๑. พระปัญญาคุณ (ความรู้)


๒. พระวิสุทธิคุณ (ความบริสุทธิ์, ความประพฤติดี)


๓. พระกรุณาคุณ (ความสงสาร,ทนไม่ได้ที่จะไม่ช่วยเหลือคนอื่น)










ความหมายของครู ตามรูปแบบ


ความหมายของครูดังกล่าวข้างต้นเป็นความหมายตามเนื้อความหรือเนื้อแท้ของครู กล่าวคือ ผู้ที่เป็นครูควรมีภาวะดังกล่าวอันได้แก่ ความรู้ ความประพฤติ และคุณธรรม ไม่ว่าครูนั้นจะอยู่ ณ ที่ใด หน่วยงานไหนก็ตาม


อย่างไรก็ตาม ยังมีความหมายของครูอีกอย่างหนึ่งที่กำหนดโดยกฎหมาย ให้เป็นรูปแบบ แบ่งเป็นชั้นหรือระดับ สูงต่ำแตกต่างกัน และอาจเกิดสิ่งที่เรียกว่าเกียรติ หรือศักดิ์ศรี แทรกซ้อนอยู่ในรูปแบบนั้นด้วย ซึ่งบางทีอาจปิดกั้นไม่ให้มองเห็นความ หมายตามเนื้อแท้ก็ได้ ความหมายของครูโดยกฎหมายนี้อาจเรียกว่า “ความหมายของ ครูตามรูปแบบ” แต่มันเป็นความหมายไม่แน่นอนตลอดไป อาจมีการเปลี่ยนไปได้ใน เมื่อใดกฎหมายกำหนดขึ้นมาใหม่ ก็อาจจะเปลี่ยนไปใหม่ได้ตามรูปแบบนั้น ๆ






ความหมายของครูตามรูปแบบนั้นจะเห็นได้จากกฎหมายบางฉบับ เช่น พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครู พ.ศ. ๒๕๒๓ กำหนดรูปแบบของครูโดยเรียกว่า “ข้าราชการครู” ซึ่งมี ๓ กลุ่ม ได้แก่


๑. กลุ่มที่ทำหน้าที่เป็นผู้สอนในหน่วยงานการศึกษา


๒. กลุ่มที่มีหน้าที่บริหารและให้การศึกษาในหน่วยงานทางการศึกษา


๓. กลุ่มที่มีหน้าที่เกี่ยวกับให้การศึกษาที่ไม่สังกัดโรงเรียน วิทยาลัย หรือสถานศึกษาที่เรียกชื่ออย่างอื่นของกระทรวงศึกษาธิการ






เฉพาะกลุ่มที่ ๑ ซึ่งทำหน้าที่สอนเป็นหลัก มีการแบ่งตำแหน่งเป็นระดับต่าง ๆ ไปจากล่างไปสูง คือ


- ครู ๑


- ครู ๒


- อาจารย์ ๑


- อาจารย์ ๒


- อาจารย์ ๓


- ผู้ช่วยศาสตราจารย์


- รองศาสตราจารย์


- ศาสตราจารย์


บางตำแหน่งก็กำหนดให้มีได้เฉพาะในบางหน่วยงาน คือตั้งแต่ตำแหน่งผู้ช่วย ศาสตราจารย์ถึงศาสตราจารย์ จะมีได้เฉพาะหน่วยงานที่มีการสอนถึงระดับ ปริญญาตรี เท่านั้น


ความหมายของครูตามรูปแบบอาจมีส่วนกระทบในทางลบต่อความหมายของครูตาม เนื้อแท้ก็ได้ และคำว่า “ครู” อาจจะค่อย ๆ เลือนหายไปจากความสนใจของสังคมโดยอาจ ถูกมองว่าไม่เหมาะสมกับยุคสมัย เช่นที่เรียกว่า “ครู” ก็เรียกว่า “อาจารย์” หรือผู้ ช่วยศาสตราจารย์ หรือคำอื่น ๆ อาจจะเป็นใครก็ได้ที่สามารถทำหน้าที่สอนได้ จนที่สุดแม้แต่ เครื่องเทคโนโลยีก็อาจเป็นครูได้ เพราะสามรถทำหน้าที่สอนให้เกิดความรู้ได้ ดังนั้นองค์ประกอบแห่งความเป็นครูที่กล่าวข้างต้น คือ ความรู้ ความประพฤติและคุณธรรม อาจเหลือเฉพาะองค์ประกอบเดียวคือ ความรู้เท่านั้นก็






ที่มาของคำว่า ครู


ที่มาของคำว่า ครู คำว่า "ครู" มาจากศัพท์ภาษาสันสกฤต "คุรุ" และภาษาบาลี "ครุ, คุรุ"


 


http://forum.khonkaenlink.info/index.php?topic=208434.0
หมายเลขบันทึก: 366811เขียนเมื่อ 15 มิถุนายน 2010 23:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 14:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

มีครู 1 จนถึงศาสตราจารย์เลยน่ะค่ะ

แต่ไม่ว่าจะครูระดับไหน

ครูก็มีบุญคุณ ที่ศิษย์ไม่เคยลืมเลยค่ะ

http://gotoknow.org/blog/pa15/366679

ฟังเพลงคนไทยกันน่ะค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท