อ.ผัก
อาจารย์ พท. ศุภฤกษ์ ภมรรัตนปัญญา

ทฤษฎีธาตุเจ้าเรือน...กับการกินอาหารของชาวอีสาน


ทฤษฎีธาตุเจ้าเรือน...กับการกินอาหารของชาวอีสาน

ทฤษฎีธาตุเจ้าเรือน...กับการกินอาหารของชาวอีสาน

 

                                                                  ศุภฤกษ์  ภมรรัตนปัญญา  

     บรรพบุรุษไทยได้ผสมผสานองค์ความรู้ด้านการแพทย์แผนไทย เข้ากับวิถีการดำเนินชีวิตได้อย่างกลมกลืนเป็นการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม เช่น การรับประทานอาหาร ได้มีการจัดอาหารตามธาตุเจ้าเรือน จากความหลากหลายของพืชผักและสมุนไพรไทยทำให้อาหารแต่ละพื้นบ้านของไทยจึงมีหลากหลายรสชาติ และสามารถปรับใหม่สอดคล้องกับธาตุจ้าเรือนได้อย่างสอดคล้อง เช่น แกงส้มมีรสเปรี้ยว บำรุงธาตุน้ำ แกงเลียง แกงแค มีรสเผ็ดร้อน บำรุงธาตุลม หรือเมี่ยงคำเป็นอาหารปรับธาตุชั้นหนึ่ง เพราะมีเครื่องปรุงหลายอย่าง เช่น ใบชะพลู มะนาว พริก หอม ขิง มะพร้าว ถั่ว น้ำตาล กุ้งแห้ง สามารถปรุงตามสัดส่วนที่สอดคล้องกับธาตุเจ้าเรือนของแต่ละคน หรือยำผักพื้นบ้าน 4 ธาตุ ที่รวบรวม ผัก4 ธาตุ หลากหลายชนิด

             ผักพื้นบ้านในท้องถิ่นของชาวอีสานที่แบ่งตามธาตุ ทั้ง 4 ที่พบมากในท้องถิ่นดังตัวอย่างคือ   

 ธาตุดิน   ผักพื้นบ้านสำหรับคนธาตุดิน เป็นผักที่มี รสฝาด หวาน มัน เค็ม เช่น มะขามป้อม สมอไทย ฝรั่ง  ทองหลาง กระโดน ถั่วพู ผักฮาก ฟักทอง ยอดเม็ก ถั่วฝักยาว เป็นต้น
                 กระโดน ใบรสฝาด แก้ท้องร่วง สมานลำไส้
                 ฟักทอง ผล รสหวาน มัน บำรุงร่างกาย เจริญอาหาร มีเบต้าแคโรทีนสูง ต้านอนุมูลอิสระ
                 ยอดเม็ก รสฝาด แก้ท้อง อืด
                 ถั่วฝักยาว รสมัน แก้ท้องอืด บำรุงไต

 ธาตุน้ำ    ผักพื้นบ้านสำหรับคนธาตุน้ำเป็นผักที่มี รสเปรี้ยว เช่น มะม่วง มะดัน มะกอก  เป็นต้น
                 มะม่วง ใบ รสเปรี้ยว แก้ระดูเสีย กัดเสมหะ ขับฟอกโลหิต แก้หวัด ระบายท้อง
                 มะกอก ใบ รสเปรี้ยวอมฝาด แก้โรคธาตุพิการ แก้บิด สารเส้นใบสูง ลดความดันโลหิต                                                            
                 ติ้ว
ใบ รสเปรี้ยว มีเบต้าแคโรทีนสูง รักษาโรคไขมันในเลือดสูง ความดันเลือดสูง   
                 มะนาว ผล รสเปรี้ยว ป้องกันโรคลักปิดลักเปิด ขับเสมหะ แก้อาการเจ็บคอ

ธาตุลม   ผักพื้นบ้านสำหรับคนธาตุลม เป็นผักที่มี รสเผ็ดร้อน เช่น กะเพรา กระชาย ยี่หร่า โหระพา

            กระชาย ราก รสเผ็ดร้อน ขับปัสสาวะ แก้บิดมูกเลือด ลดความดันโลหิต
            โหระพา ใบอ่อน รสเผ็ดร้อน แก้ท้องอืดเฟ้อ แก้ลม วิงเวียน ขับเสมหะ
            ชะพลู
ใบอ่อน รสเผ็ดร้อน ช่วยเจริญอาหาร ขับเสมหะ มีวิตามินเอสูง ต้านอนุมูลอิสระ
            ข่าอ่อน เหง้าอ่อน รสเผ็ดร้อน แก้ปวดท้อง แก้จุกเสียด แน่นเฟ้อ
            ผักชีฝรั่ง ใบอ่อน รสเผ็ดร้อน ขับลม
            ขิง
เหง้าอ่อน รสเผ็ดร้อน ขับลม แก้ท้องอืด จุกเสียด แน่นเฟ้อ คลื่นไส้อาเจียน

ธาตุไฟ    ผักพื้นบ้านสำหรับคนธาตุไฟเป็นผักที่มี รสขม เย็น จืด เช่น มะละกอ บัวบก กะหล่ำปลี

            มะละกอ ผลดิบ รสจืด ขับลม ขับปัสสาวะ แก้ขัดปัสสาวะ ขับพยาธิ
           บัวบก
ใบ รสขม มัน รักษาแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้ ลดความดันโลหิต วิตามิ

           ผักเป็ดน้ำ ยอดอ่อน รสจืดเย็น แก้วัณโรค ไอเป็นเลือด ต้านอนุมูลอิสระ
           ผักกาดหอม
ใบอ่อน รสเฝื่อนเย็น ช่วยทำให้นอนหลับ แก้ไข้ แก้ไอ ขับปัสสาวะ ขับเหงื่อ
           กะหล่ำปลี ใบอ่อน รสจืด ดับพิษ แก้ร้อนใน กระหายน้ำ

 

เอกสารอ้างอิง

วุฒิ  ธรรมเวช.  ร่วมอนุรักษ์มรดก สารานุกรมสมุนไพร รวมหลักเภสัชกรรมไทย.   กรุงเทพ : 2549.

เพ็ญนภา  ทรัพย์เจริญ.    สถานภาพและทิศทางการวิจัยการแพทย์แผนไทย.    นนทบุรี : สถาบัน

การแพทย์แผนไทย กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข,  2539.

คำสำคัญ (Tags): #สมุนไพร
หมายเลขบันทึก: 366607เขียนเมื่อ 15 มิถุนายน 2010 08:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2014 07:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท