ตัวโน้ตดนตรี หรือสัญลักษณ์ที่ใช้แทนเสียงดนตรี


ตัวโน้ตดนตรี หรือสัญลักษณ์ที่ใช้แทนเสียงดนตรี

การอ่านโน้ตดนตรี

       การอ่านโน้ตดนตรีหรือบทเพลงต่าง ๆ ก็เฉกเช่นเดียวกันกับการอ่านหนังสือโดย ทั่วไป กล่าวคือผู้เรียนหรือผู้อ่านจะต้องจดจำสัญลักษณ์หรือพยัญชนะเบื้องต้นที่ใช้แทนเสียง เช่น ก,ข,ค,……ฮ. หรือสระต่าง ๆ แล้วจึงนำสิ่งเหล่านั้นมารวมกันแล้วสะกดเป็นคำ ๆ จึงจะมีความหมาย ที่เราสามารถใช้เขียนเป็นการแสดงออกถึงความรู้สึกนึกคิดต่าง ๆ และเป็นการติดต่อสื่อสารกับผู้อื่น
ในทางดนตรีก็เช่นกันความคิดของผู้ประพันธ์เพลง (Composer) ที่แต่งเพลงออกมาจะถูกบันทึกไว้ด้วยตัวโน้ตเพื่อให้นักดนตรีได้เล่นและถ่ายทอดอารมณ์ออกมาให้ผู้ฟังได้โดยที่นักดนตรีผู้นั้นไม่เคยรู้จักมาก่อนได้ ตัวโน้ตที่ใช้บันทึกในลักษณะต่าง ๆ นั้นจะกลายเป็นโสตภาษาของผู้ฟัง

1 ตัวโน้ตดนตรี
          
เป็นระบบการบันทึกแทนเสียงดนตรีที่มีมาตั้งศตวรรษที่11 โดย กีโด เดอ อเรซ์โซ (Guido d’ Arezzo, 995-1050) บาทหลวงชาวอิตาเลียน ต่อมาได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งสมบูรณ์อย่างที่เราได้พบเห็นและใช้กันในปัจจุบัน ตัวโน้ตสามารถบอกหรือสื่อให้นักดนตรีทราบถึงความสั้น – ยาว, สูง – ต่ำ ของระดับเสียงได้ เราจึงควรมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับลักษณะของตัวโน้ตดนตรี (Music Notation) พอสังเขป

 

 

จากภาพข้างต้นสามารถอธิบายได้ว่า

โน้ตตัวกลม 1 ตัว ได้ตัวขาว 2 ตัว หรือได้ตัวดำ 4 ตัว
โน้ตตัวขาว 1 ตัว ได้ตัวดำ 2 ตัว
โน้ตตัวดำ 1 ตัว ได้ตัวเขบ็ตหนึ่งชั้น 2 ตัว
โน้ตตัวเขบ็ตหนึ่งชั้น 1 ตัว ได้ตัวเขบ็ตสองชั้น 2 ตัว
หมายเลขบันทึก: 366221เขียนเมื่อ 13 มิถุนายน 2010 10:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท