พรบ.ส่งเสริมวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี


กฎหมายน่ารู้

สรุป พระราชบัญญัติส่งเสริมวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  พ.ศ. ๒๕๕๓

          เนื่องจากปัจจุบันความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นไปอย่างรวดเร็ว  พัฒนาและขยายสาขาเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก  แต่กฎหมายที่เกี่ยวข้องใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันยังไม่ครอบคลุมถึงวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นใหม่  สมควรตั้งสภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  เพื่อส่งเสริมควบคุมการประกอบวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  เพื่อประโยชน์ในการคุ้มครองความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน

หมวดที่  ๑  สภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

สภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นฐานะนิติบุคคล

สภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  ตั้งขึ้นมีวัตถุประสงค์

๑.       ส่งเสริมและพัฒนาวิชาชีพโดยการค้นคว้า  ทดลอง  วิจัย

๒.     ส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้พิการและผู้ด้อยโอกาสเข้าเป็นสมาชิก

๓.     ส่งเสริมความสามัคคีผู้ระกอบวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

๔.     ควบคุมดูแลความประพฤติของผุ้ประกอบวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้ถูกต้องตามจรรณยาบรรณ

๕.     ช่วยเหลือเผยแพร่ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

๖.      ช่วยเหลือแนะนำเผยแพร่ความรู้

๗.     ให้คำปรึกษาหรือข้อเสนอแนะต่อรัฐบาล

สภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 

มีอำนาจหน้าที่

๑.       กระทำกิจการต่าง ๆ ตามวัตถุประสงค์

๒.     กำหนดแผนการส่งเสริมวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

๓.     ออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ประกอบวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

๔.     พักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาต

๕.     ออกข้อบังคับสภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

สภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  มีรายได้ดังนี้

๑.       ค่าจดทะเบียนสมาชิก  ค่าบำรุง  ค่าธรรมเนียม

๒.     เงินอุดหนุนจากงบประมาณแผ่นดิน

๓.     เงินและทรัพย์สินที่มีผู้อุทิศให้

๔.     ผลประโยชน์จาการจัดการเงินและทรัพย์สิน

๕.     ดอกผลของเงินข้อ ๑,๒,๓ และ ๔

หมวดที่  ๒  สมาชิก

                    สภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  มี  ๓  ประเภท

                       ๑ . สมาชิกสามัญ

                       ๒ . สมาชิกวิสามัญ

                       ๓.  สมาชิกกิตติมศักดิ์

     สมาชิกสามัญ  มีคุณสมบัติดังนี้

๑.       อายุไม่ต่ำกว่า  ๒๐ ปีบริบูรณ์

๒.     สัญชาติไทย

๓.     มีความรู้ในวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

๔.     ไม่ประพฤติผิดจรรยาบรรณ

๕.     ไม่เคยต้องโทษจำคุก

๖.      ไม่เป็นผู้มีจิตฟั่นเฟือน

สมาชิกวิสามัญ 

                     ต้องเป็นสมาคมที่มีวัตถุประสงค์หลักด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีโดยตรงหรือเกี่ยวข้องกับงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

สมาชิกกิตติมศักดิ์ 

                     ต้องเป็นผู้ทรงคุณวุฒิด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ประชุมใหญ่แต่งตั้งสมาชิกภาพสิ้นสุดเมื่อ 

๑.       ตาย

๒.     ลาออก

๓.     คณะกรรมการให้พ้นจากสมาชิกภาพ

๔.     ไม่ชำระค่าจดทะเบียน  คำบำรุงสมาชิก

๕.     สภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพิกถอนใบอนุญาต

สมาชิกมีการประชุมใหญ่สามัญปีละ ๑ ครั้ง

หมวดที่  ๓  คณะกรรมการ

            คณะกรรมการประกอบด้วย  

๑.       นายกสภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี    (  สมาชิกเลือกตั้ง )

๒.     กรรมการ  ๑๒  คน   (  สมาชิกเลือกตั้ง )

๓.     กรรมการโดยตำแหน่ง   ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  เลขาธิการคณะกรรมการอุดมศึกษา  เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน  เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ  ผู้แทนสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

๔.     กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้ง  จากบุคคลที่มีความรู้ความสามารถประสบการณ์ด้านวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  ๔  คน

หมวดที่  ๔  การดำเนินงานของคณะกรรมการ

                    การดำเนินงานของคณะกรรมการ

-          การประชุมคณะกรรมการต้องมีไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมด

-          นายกสภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นปรานในที่ประชุม

-          คณะกรรมการมีการจัดทำแผนการดำเนินงานประจำปี

หัวหน้าสำนักงานสภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี   มีอำนาจหน้าที่ดังนี้

๑.       ควบคุมรับผิดชอบงานธุรการทั่วไป

๒.     บังคับบัญชาเจ้าหน้าที่ในสำนักงาน

๓.     ดูแลรักษาทะเบียนสมาชิก  ทะเบียนผู้ได้รับอนุญาต

๔.     ควบคุมดูแลทรัพย์สินของสภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

๕.     ปฏิบัติการอื่นใดตามที่คณะกรรมการมอบหมาย

หมวดที่  ๕  การกำหนดข้อบังคับขอองสภาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

-          ร่างข้อบังคับเสนอโดยคณะกรรมการหรือสมาชิกสามัญ

-          เสนอร่างข้อบังคับทำได้เมื่อมีสมาชิกสามัญไม่น้อยกว่า  ๒๐๐  คนรับรอง

-          ร่างข้อบังคับมีคะแนนเสียงไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของสมาชิกที่มาประชุมถือว่ามีมติเห็นชอบ

-          สภานายกวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสามารถยับยั้งข้อบังคับได้  แต่ต้องแสดงเหตุผลชัดเจน

หมวดที่  ๖  การส่งเสริมการประกอบวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

                    ผู้ประกอบวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้รับสิทธิประโยชน์ดังต่อไปนี้

๑.       เข้าศึกษาอบรมเกี่ยวกับวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

๒.     ได้รับทุนการศึกษา  ค้นคว้า  ทดลองและวิเคราะห์

๓.     ได้รับการส่งเสริมให้เข้าร่วมประชุมและเป็นสมาชิกองค์การวิชาชีพระหว่างประเทศ

๔.     สิทธิประโยชน์อื่นตามที่คณะกรรมการกำหนด

หมวดที่  ๗  การควบคุมการประกอบวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคุม

                   - ผู้ประกอบวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีต้องได้รับใบอนุญาตจากสภาวิชาชีพวิทยาศาตร์และเทคโนโลยี

                     ผู้ขอใบอนุญาตต้องเป็นสมาชิกสามัญ

-          เข้ารับการฝึกอบรมการปฏิบัติงานเกี่ยวกับวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีตามที่กำหนดในข้อบังคับ

-          ประพฤติปฏิบัติตนเหมาะสมตามจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ

หมวดที่  ๘  การกำกับดูแล

                    รัฐมนตรี  มีอำนาจหน้าที่กำกับดูแลดังนี้

๑.       กำกับดูแลการดำเนินงานของสภาวิชาชีพวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

๒.     สั่งให้พนักงาน เจ้าหน้าที่สวบสวนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการดำเนินงานของสภาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

๓.     สั่งเป็นหนังสือให้กรรมการชี้แจงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับกิจการของสภา

๔.     สั่งเป็นหนังสือให้สภาระงับหรือแก้ไขการกระทำที่ขัดต่อวัตถุประสงค์กฎหมาย ข้อบังคับ

หมวดที่  ๙  บทกำหนดโทษ

                   - ผู้ใดฝ่าฟืนประกอบวิชาชีพโดยไม่ได้รับใบอนุญาตและผู้ใดที่ถูกพักใบอนุญาตแล้ว

                     กระทำการที่ให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนมีสิทธิประกอบวิชาชีพต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 

                      ๓ ปี หรือปรับไม่เกิน ๖ หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

                   - ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของคณะกรรมการจรรยาบรรณต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน

                     ๑ เดือนหรือปรับไม่เกิน ๑,๐๐๐ บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

 

 

หมายเลขบันทึก: 366051เขียนเมื่อ 12 มิถุนายน 2010 14:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 มีนาคม 2012 10:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท